วงเสวนา “โรดแมป : สิทธิมนุษยชนบนเส้นทางประชาธิปไตย “วัส”ชี้ รธน.60 หลายจุดไม่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน “พงศ์เทพ”เชียร์ กสม. ทำข้อเสนอยกเลิก ม.279 เลิกรับรองการกระทำของ คสช.
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานเนื่องในวันสถาปนาองค์กร กสม. ครบรอบ 17 ปี โดยในช่วงเช้ามีการสักการะศาลพระพรหม จากนั้นมีการต้อนรับผู้แทนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่มาร่วมแสดงความยินดี และทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความเป็นสิริมงคล และมีการจัดเสวนาหัวข้อ “โรดแมป : สิทธิมนุษยชนบนเส้นทางประชาธิปไตย” โดยนายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 60 มีหลายเรื่องที่จะมีปัญหาว่าขัดกับหลักกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งความขัดแย้งกันในรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในอนาคต ขณะเดียวกันการปฏิรูปและการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีระยะเวลากว่า 20 ปี โดยคนกลุ่มหนึ่งนั้น สิ่งเหล่านี้จะขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ การที่เราจะแก้ปัญหาของประเทศชา ติศาลก็ถือเป็นองค์กรสำคัญ แต่มีอีกองค์กรที่จะควบคู่ไปกับศาลก็คือ ประชาชนจะต้องช่วยกันสร้างพลังต่อรองกับอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมได้ ส่วนปัญหาการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระในลักษณะ 2 มาตรฐานนั้น แม้ในส่วน กสม.จะบอกเหตุผลไว้ชัดเจนว่า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักสากลดังนั้นจะต้องเซ็ตซีโร่เพื่อให้ กสม.ไทยได้สถานะเอกลับคือนมา ทั้งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นมองว่าผู้เขียนกฎหมายน่าจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่
นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า หลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐนิติธรรม และหลักประชาธิปไตยถือเป็นรากแก้วของเสรีประชาธิปไตย แต่รัฐธรรมนูญปี 60 เริ่มต้นก็ถือว่าขัดกับหลักนิติรัฐนิติธรรมแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระบางองค์กร แต่องค์กรไม่เซ็ตซีโร่ จะเอาอะไรมาอธิบายกับหลักความเสมอภาค หลักการห้ามไม่เลือกปฏิบัติ และขัดกับหลักการให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะกลายเป็นประเด็นที่ถูกเอามาขยายผลทางการเมืองในภายหลัง เพราะเป็นรอยด่างของรัฐธรรมนูญตลอดไป ทั้งนี้ แม้ในหลักกฎหมายมหาชนกฎหมายมีผลย้อนหลังได้แต่รัฐต้องมีคำอธิบายว่ามีประโยชน์สาธารณะอย่างไร ทั้งนี้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าประเทศจะมีรัฐบาลมาจาการเลือกตั้งหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สิทธิชุมชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมยังเหมือนเดิม แม้โดยสิทธิชุมชนจะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 40 แต่การบังคับใช้ทำได้น้อยมากเพราะไม่มีกฎหมายรองรับ ขณะที่สิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาก็ไม่ได้ถูกทำให้ดีขึ้น วันนี้มีการปฏิรูปตำรวจซึ่งเรื่องที่สำคัญคือกระบวนการสอบสวนซึ่งกระบวนการสอบสวนของไทย ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการยุติธรรม แต่ที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาลประชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เข้ามาดูแลประชาชนในเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
“อยากให้ กสม.ดูมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่าการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งอนาคตจะกระทบกับเสรีภาพทางการเมือง และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะการตีความคำว่าความมั่นคงของรัฐจะมีขอบเขตมากแค่ไหน ความมั่นคงของรัฐ หมายถึงความมั่นคงของรัฐบาลหรือไม่ ความมั่นคงของรัฐ หมายถึงความมั่นคงของนายกฯหรือไม่ ส่วนเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง หากข้อขัดแย้งยังไม่มีฉันทานุมัติทางสังคมก็จะยังมีความขัดแย้งอยู่ตลอด”นายบรรเจิดกล่าว
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นอำนาจขององค์กรอิสระและศาล แต่ที่ผ่านมามีการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ เหมือนกับการเอาองค์กรอิสระมาอยู่ในกำมือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)และสานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ใครทำดีก็อยู่ต่อ ใครทำไม่ดีก็เซ็ตซีโร่ ส่วนการให้มี ส.ว.ระยะแรกมี 250 คน มาจากการให้ความเห็นชอบของ คสช. ซึ่ง ส.ว.เหล่านี้จะเป็นองค์กรที่เข้ามาให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระในอนาคต ดังนั้นจะไว้ใจได้หรือไม่ เพราะหากคุณลุงอยากกลับมาเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง กลไกตรวจสอบขององค์กรอิสระจะกล้าตรวจสอบหรือไม่ ยกตัวอย่างการตรวจสอบเรื่องนาฬิกาที่จนถึงขณะนี้ยังสอบไม่ถึงไหน อย่างไรก็ตาม องค์กรอิสระที่ควรจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสามารถทำได้และเกิดความเปลี่ยนแปลงคือศาลและตุลาการ จะต้องไม่ยอมรับอำนาจที่ละเมิดสิทธิของคณะรัฐประหาร ไม่รองรับอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ นอกจากนั้นเนื่องจาก กสม.มีหน้าที่เสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งตนเห็นว่า กสม.สามารถทำได้ และจะเป็นคุณูปการต่อประเทศ คือการเสนอให้ยกเลิกมาตร 279 ซึ่งเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนุญปี 60 ที่รับรองให้ประกาศคำสั่งและการกระทำของ คสช.ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กฎหมายอย่างนี้จะปล่อยให้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร
JJNY : “วัส”ชี้ รธน.60 หลายจุดไม่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน “พงศ์เทพ”เชียร์ กสม. ทำข้อเสนอเลิก ม.279
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานเนื่องในวันสถาปนาองค์กร กสม. ครบรอบ 17 ปี โดยในช่วงเช้ามีการสักการะศาลพระพรหม จากนั้นมีการต้อนรับผู้แทนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่มาร่วมแสดงความยินดี และทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความเป็นสิริมงคล และมีการจัดเสวนาหัวข้อ “โรดแมป : สิทธิมนุษยชนบนเส้นทางประชาธิปไตย” โดยนายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 60 มีหลายเรื่องที่จะมีปัญหาว่าขัดกับหลักกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งความขัดแย้งกันในรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในอนาคต ขณะเดียวกันการปฏิรูปและการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีระยะเวลากว่า 20 ปี โดยคนกลุ่มหนึ่งนั้น สิ่งเหล่านี้จะขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ การที่เราจะแก้ปัญหาของประเทศชา ติศาลก็ถือเป็นองค์กรสำคัญ แต่มีอีกองค์กรที่จะควบคู่ไปกับศาลก็คือ ประชาชนจะต้องช่วยกันสร้างพลังต่อรองกับอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมได้ ส่วนปัญหาการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระในลักษณะ 2 มาตรฐานนั้น แม้ในส่วน กสม.จะบอกเหตุผลไว้ชัดเจนว่า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักสากลดังนั้นจะต้องเซ็ตซีโร่เพื่อให้ กสม.ไทยได้สถานะเอกลับคือนมา ทั้งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นมองว่าผู้เขียนกฎหมายน่าจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่
นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า หลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐนิติธรรม และหลักประชาธิปไตยถือเป็นรากแก้วของเสรีประชาธิปไตย แต่รัฐธรรมนูญปี 60 เริ่มต้นก็ถือว่าขัดกับหลักนิติรัฐนิติธรรมแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระบางองค์กร แต่องค์กรไม่เซ็ตซีโร่ จะเอาอะไรมาอธิบายกับหลักความเสมอภาค หลักการห้ามไม่เลือกปฏิบัติ และขัดกับหลักการให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะกลายเป็นประเด็นที่ถูกเอามาขยายผลทางการเมืองในภายหลัง เพราะเป็นรอยด่างของรัฐธรรมนูญตลอดไป ทั้งนี้ แม้ในหลักกฎหมายมหาชนกฎหมายมีผลย้อนหลังได้แต่รัฐต้องมีคำอธิบายว่ามีประโยชน์สาธารณะอย่างไร ทั้งนี้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าประเทศจะมีรัฐบาลมาจาการเลือกตั้งหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สิทธิชุมชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมยังเหมือนเดิม แม้โดยสิทธิชุมชนจะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 40 แต่การบังคับใช้ทำได้น้อยมากเพราะไม่มีกฎหมายรองรับ ขณะที่สิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาก็ไม่ได้ถูกทำให้ดีขึ้น วันนี้มีการปฏิรูปตำรวจซึ่งเรื่องที่สำคัญคือกระบวนการสอบสวนซึ่งกระบวนการสอบสวนของไทย ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการยุติธรรม แต่ที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาลประชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เข้ามาดูแลประชาชนในเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
“อยากให้ กสม.ดูมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่าการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งอนาคตจะกระทบกับเสรีภาพทางการเมือง และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะการตีความคำว่าความมั่นคงของรัฐจะมีขอบเขตมากแค่ไหน ความมั่นคงของรัฐ หมายถึงความมั่นคงของรัฐบาลหรือไม่ ความมั่นคงของรัฐ หมายถึงความมั่นคงของนายกฯหรือไม่ ส่วนเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง หากข้อขัดแย้งยังไม่มีฉันทานุมัติทางสังคมก็จะยังมีความขัดแย้งอยู่ตลอด”นายบรรเจิดกล่าว
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นอำนาจขององค์กรอิสระและศาล แต่ที่ผ่านมามีการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ เหมือนกับการเอาองค์กรอิสระมาอยู่ในกำมือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)และสานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ใครทำดีก็อยู่ต่อ ใครทำไม่ดีก็เซ็ตซีโร่ ส่วนการให้มี ส.ว.ระยะแรกมี 250 คน มาจากการให้ความเห็นชอบของ คสช. ซึ่ง ส.ว.เหล่านี้จะเป็นองค์กรที่เข้ามาให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระในอนาคต ดังนั้นจะไว้ใจได้หรือไม่ เพราะหากคุณลุงอยากกลับมาเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง กลไกตรวจสอบขององค์กรอิสระจะกล้าตรวจสอบหรือไม่ ยกตัวอย่างการตรวจสอบเรื่องนาฬิกาที่จนถึงขณะนี้ยังสอบไม่ถึงไหน อย่างไรก็ตาม องค์กรอิสระที่ควรจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสามารถทำได้และเกิดความเปลี่ยนแปลงคือศาลและตุลาการ จะต้องไม่ยอมรับอำนาจที่ละเมิดสิทธิของคณะรัฐประหาร ไม่รองรับอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ นอกจากนั้นเนื่องจาก กสม.มีหน้าที่เสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งตนเห็นว่า กสม.สามารถทำได้ และจะเป็นคุณูปการต่อประเทศ คือการเสนอให้ยกเลิกมาตร 279 ซึ่งเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนุญปี 60 ที่รับรองให้ประกาศคำสั่งและการกระทำของ คสช.ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กฎหมายอย่างนี้จะปล่อยให้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร