การลงทุนใน 7 จังหวัดชายแดนใต้วูบหนัก ตัวเลขขอรับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI หดลงเหลือแค่ 2,940 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 7,073 ล้านบาท หรือลดลง -58.43% ด้าน ผอ.ศูนย์ BOI ภาคที่ 5 สงขลา แจงจากปัญหาเหตุการณ์ไม่สงบ-สาธารณูปโภคพื้นฐาน เชื่อ 6 เดือนหลังดีขึ้น หลังมีนักลงทุนมาเลเซียเตรียมขึ้นโรงแรม 100 ห้องที่ปัตตานี
นายภนธร วงศ์พรหม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน หรือ BOI ภาคที่ 5 (ศูนย์สงขลา) ซึ่งดูแลพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา, ตรัง, พัทลุง, สตูล, ยะลา, ปัตตานี และนราธิวาส เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตัวเลขอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม-พฤษภาคม) อยู่ที่ 2,940 ล้านบาทหรือลดลงไป -58.43% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ที่ 7,073 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 4,133 ล้านบาท โดยมีจำนวนโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนแค่ 6 โครงการ จาก 17 โครงการในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2560 ส่งผลให้อัตราการจ้างงานของแรงงานไทยลดลงกว่า 84.35% หรือจาก 1,067 คน มาปีนี้มีการจ้างงานแค่ 167 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้จังหวัดตรังมีการลงทุนในพื้นที่จังหวัดตรัง 388 ล้านบาท จากโครงการชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จังหวัดสงขลา 2,382 ล้านบาท จากการลงทุนด้านน้ำยางข้น-ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จังหวัดปัตตานี 170 ล้านบาท จากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ในขณะที่จังหวัดพัทลุง-ยะลา-นราธิวาส-สตูลยังไม่มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
“ศูนย์ BOI ภาคที่ 5 คาดว่าปัญหาการขอรับส่งเสริมการลงทุนที่ลดน้อยลง เป็นเพราะนักลงทุนรายใหม่ยังมีความกังวลต่อปัญหาในพื้นที่โดยเฉพาะความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค โดยโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนที่ยื่นเข้ามาส่วนใหญ่ เป็นโครงการของนักลงทุนในพื้นที่ที่มีความเข้าใจปัญหาความไม่สงบในระดับหนึ่งแล้ว แต่คาดการณ์ว่าช่วง 6 เดือนหลังการลงทุนในภาคใต้จะดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีสัญญาณการลงทุนด้านโรงแรมในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีนักลงทุนชาวมาเลเซียเข้ามายื่นขอ BOI เป็นโรงแรมขนาด 100 ห้องขึ้นไป โดยนักลงทุนรายดังกล่าวเคยดำเนินธุรกิจในอำเภอเบตงมาก่อนหน้านี้แล้ว” นายภนธรกล่าว
นอกจากนี้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมายังมีนักลงทุนให้ความสนใจด้านการแปรรูปการเกษตรและโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นหลัก เนื่องจากมีวัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศษไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าชีวมวล ส่วนโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ แบ่งเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจำนวน 2 โครงการ เงินลงทุนรวม 2,142 ล้านบาท (น้ำยางข้น-ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด), อุตสาหกรรมเบาที่ได้รับอนุมัติเป็นโครงการชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ 1 โครงการ เงินลงทุน 200 ล้านบาท, ส่วนกิจการบริการและสาธารณูปโภคได้รับการอนุมัติการให้การส่งเสริมมี 3 โครงการ เงินลงทุน 598 ล้านบาท (ไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 โครงการ-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 2 โครงการ)
ล่าสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ศูนย์ BOI ภาคที่ 5 ได้นำนักลงทุนและผู้ประกอบการในพื้นที่เดินทางไปโรงน้ำตาลที่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์-อุบลราชธานี โดยโรงงานเหล่านี้ มีการใช้กากน้ำตาลในการทำโรงไฟฟ้าหมุนเวียน เพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคใต้เห็นแนวทางต่อยอดการทำผลิตภัณฑ์ของตนผ่านการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากนักลงทุนและผู้ประกอบการในเขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งยาง น้ำยางข้น เป็นผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยาง อุตสาหกรรมแปรรูป สมุนไพรไทย และการผลิตชา มีการเชื่อมโยงให้นักลงทุนจากจังหวัดพิษณุโลกมาเยี่ยมชมด่านศุลกากรสะเดา และเข้าชมบริษัทถุงมือยางทางการแพทย์เพื่อสร้างแนวทางให้ผู้ประกอบการในการลงทุนเพิ่ม
สำหรับภาวะการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค. 2561) ปรากฏมีโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน 15 โครงการ หรือลดลง -21.05% เงินลงทุน 9,889 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 66.98% ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านกิจการบริการและสาธารณูปโภค 9 โครงการ เงินลงทุน 7,437 ล้านบาท กับโครงการด้านเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร 4 โครงการ เงินลงทุน 2,249 ล้านบาท ที่สำคัญ ยังมีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนด้านไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวลเข้ามาอีกหลายโครงการด้วย
JJNY : เชื่อมั่นดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ลงทุน 7 จังหวัดใต้วูบหนัก ขอบีโอไอ 5 เดือนแรกลดลง 58%
นายภนธร วงศ์พรหม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน หรือ BOI ภาคที่ 5 (ศูนย์สงขลา) ซึ่งดูแลพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา, ตรัง, พัทลุง, สตูล, ยะลา, ปัตตานี และนราธิวาส เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตัวเลขอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม-พฤษภาคม) อยู่ที่ 2,940 ล้านบาทหรือลดลงไป -58.43% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ที่ 7,073 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 4,133 ล้านบาท โดยมีจำนวนโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนแค่ 6 โครงการ จาก 17 โครงการในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2560 ส่งผลให้อัตราการจ้างงานของแรงงานไทยลดลงกว่า 84.35% หรือจาก 1,067 คน มาปีนี้มีการจ้างงานแค่ 167 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้จังหวัดตรังมีการลงทุนในพื้นที่จังหวัดตรัง 388 ล้านบาท จากโครงการชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จังหวัดสงขลา 2,382 ล้านบาท จากการลงทุนด้านน้ำยางข้น-ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จังหวัดปัตตานี 170 ล้านบาท จากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ในขณะที่จังหวัดพัทลุง-ยะลา-นราธิวาส-สตูลยังไม่มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
“ศูนย์ BOI ภาคที่ 5 คาดว่าปัญหาการขอรับส่งเสริมการลงทุนที่ลดน้อยลง เป็นเพราะนักลงทุนรายใหม่ยังมีความกังวลต่อปัญหาในพื้นที่โดยเฉพาะความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค โดยโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนที่ยื่นเข้ามาส่วนใหญ่ เป็นโครงการของนักลงทุนในพื้นที่ที่มีความเข้าใจปัญหาความไม่สงบในระดับหนึ่งแล้ว แต่คาดการณ์ว่าช่วง 6 เดือนหลังการลงทุนในภาคใต้จะดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีสัญญาณการลงทุนด้านโรงแรมในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีนักลงทุนชาวมาเลเซียเข้ามายื่นขอ BOI เป็นโรงแรมขนาด 100 ห้องขึ้นไป โดยนักลงทุนรายดังกล่าวเคยดำเนินธุรกิจในอำเภอเบตงมาก่อนหน้านี้แล้ว” นายภนธรกล่าว
นอกจากนี้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมายังมีนักลงทุนให้ความสนใจด้านการแปรรูปการเกษตรและโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นหลัก เนื่องจากมีวัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศษไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าชีวมวล ส่วนโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ แบ่งเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจำนวน 2 โครงการ เงินลงทุนรวม 2,142 ล้านบาท (น้ำยางข้น-ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด), อุตสาหกรรมเบาที่ได้รับอนุมัติเป็นโครงการชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ 1 โครงการ เงินลงทุน 200 ล้านบาท, ส่วนกิจการบริการและสาธารณูปโภคได้รับการอนุมัติการให้การส่งเสริมมี 3 โครงการ เงินลงทุน 598 ล้านบาท (ไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 โครงการ-พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 2 โครงการ)
ล่าสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ศูนย์ BOI ภาคที่ 5 ได้นำนักลงทุนและผู้ประกอบการในพื้นที่เดินทางไปโรงน้ำตาลที่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์-อุบลราชธานี โดยโรงงานเหล่านี้ มีการใช้กากน้ำตาลในการทำโรงไฟฟ้าหมุนเวียน เพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคใต้เห็นแนวทางต่อยอดการทำผลิตภัณฑ์ของตนผ่านการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากนักลงทุนและผู้ประกอบการในเขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งยาง น้ำยางข้น เป็นผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยาง อุตสาหกรรมแปรรูป สมุนไพรไทย และการผลิตชา มีการเชื่อมโยงให้นักลงทุนจากจังหวัดพิษณุโลกมาเยี่ยมชมด่านศุลกากรสะเดา และเข้าชมบริษัทถุงมือยางทางการแพทย์เพื่อสร้างแนวทางให้ผู้ประกอบการในการลงทุนเพิ่ม
สำหรับภาวะการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค. 2561) ปรากฏมีโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน 15 โครงการ หรือลดลง -21.05% เงินลงทุน 9,889 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 66.98% ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านกิจการบริการและสาธารณูปโภค 9 โครงการ เงินลงทุน 7,437 ล้านบาท กับโครงการด้านเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร 4 โครงการ เงินลงทุน 2,249 ล้านบาท ที่สำคัญ ยังมีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนด้านไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวลเข้ามาอีกหลายโครงการด้วย