ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI ทำให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่า
ประเทศชั้นนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป จีน หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน
นั้น “ลด” จำนวนโครงการและจำนวนเงิน จากตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการ
ลงทุนในรอบ 4 เดือน คือ มกราคม-เมษายน 2558 ที่ปรากฏ
โดย “ตัวเลข” โครงการและจำนวนเงินลงทุน ที่ “ลดต่ำลง” นั้นไม่เพียงแสดงให้เห็นว่า เป็นการ “ลดจำนวนลง”
ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ในช่วงที่ประเทศไทยประกาศใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ คือในช่วงปี 2555-2556 ปรากฏ “ตัวการการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ”
สูงมากกว่าหลังรัฐประหาร 2557 อย่ามาก และอาจจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ สูงที่สุดในรอบ 6 ปี (2552-2557)
ซึ่งทำให้พูดได้ว่า แท้จริงแล้ว การกำหนดอันตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศนั้น อาจจะ “ไม่ใช่สาเหตุ”
ที่ทำให้ “นักลงทุนต่างชาติ” ลดความสนใจการลงทุนในประเทศไทย
โดยล่าสุดพบว่า สถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556
และปี 2557” ของ BOI อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดพบว่า ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการ
ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 306 โครงการ จำนวนเงินลงทุนเพียง 48.25 พันล้านบาท ซึ่งถือว่า “ลดต่ำลง”
มากกว่าตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีจำนวนการขอรับการส่งเสริม
การลงทุนมากถึง 471 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนมากกว่า 297.92 พันล้านบาท
โดยมีบันทึกถึงต่างชาติรายใหญ่ เอาไวว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ญี่ปุ่น” ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่างชาติรายใหญ่
มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 5.12 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือน
มกราคม-พฤษภาคม 2557ที่มีมากถึง 155 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 71.62 พันล้านบาท
“ยุโรป” อีกหนึ่งกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ พบข้อมูลว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริม
การลงทุนเพียง 36 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.71 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มี
มากถึง 43 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 64.20 พันล้านบาท
รวมไปถึง “สหรัฐอเมริกา” ที่สถิติของ BOI บันทึกเอาไว้ว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการ
ส่งเสริมการลงทุนเพียง 7 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.11 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557
ที่มีมากถึง 11 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 26.39 พันล้านบาท
ที่สำคัญคือ เอกสารสถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557″
ดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขการขอรับการลงทุนในโครงการที่มีขนาดเงินลงทุน มากกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือน
มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่เคยมีทั้งสิ้น 19 โครงการ มูลค่า 203.98 พันล้านบาท นั้นปรากฏว่าในเดือนมกราคม-พฤษภาคม
2558 “ไม่มี” ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทเลย
โดยสถิติของ BOI ดังกล่าว แจ้งตัวเลขเป็น “0” โครงการ และจำนวนเงิน “0.00”พันล้านบาท
ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลข 0 โครงการ 0.00 พันล้านบาท เป็น “เดือนที่ 5 ติดต่อกัน” นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2558 ภายใต้การบริหารงานของ
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
https://www.hereandthere.today/?p=2224
บิ๊กโปรเจ็ค “0” ต่อเนื่อง 5เดือน! สถิติ BOI ฟ้อง 5 เดือนแรก 2558 ไร้เงาต่างชาติขอลงทุนโครงการเกิน “5พันล้าน” ในไทย
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI ทำให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่า
ประเทศชั้นนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป จีน หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน
นั้น “ลด” จำนวนโครงการและจำนวนเงิน จากตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการ
ลงทุนในรอบ 4 เดือน คือ มกราคม-เมษายน 2558 ที่ปรากฏ
โดย “ตัวเลข” โครงการและจำนวนเงินลงทุน ที่ “ลดต่ำลง” นั้นไม่เพียงแสดงให้เห็นว่า เป็นการ “ลดจำนวนลง”
ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ในช่วงที่ประเทศไทยประกาศใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ คือในช่วงปี 2555-2556 ปรากฏ “ตัวการการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ”
สูงมากกว่าหลังรัฐประหาร 2557 อย่ามาก และอาจจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ สูงที่สุดในรอบ 6 ปี (2552-2557)
ซึ่งทำให้พูดได้ว่า แท้จริงแล้ว การกำหนดอันตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศนั้น อาจจะ “ไม่ใช่สาเหตุ”
ที่ทำให้ “นักลงทุนต่างชาติ” ลดความสนใจการลงทุนในประเทศไทย
โดยล่าสุดพบว่า สถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556
และปี 2557” ของ BOI อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดพบว่า ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการ
ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 306 โครงการ จำนวนเงินลงทุนเพียง 48.25 พันล้านบาท ซึ่งถือว่า “ลดต่ำลง”
มากกว่าตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีจำนวนการขอรับการส่งเสริม
การลงทุนมากถึง 471 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนมากกว่า 297.92 พันล้านบาท
โดยมีบันทึกถึงต่างชาติรายใหญ่ เอาไวว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ญี่ปุ่น” ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่างชาติรายใหญ่
มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 5.12 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือน
มกราคม-พฤษภาคม 2557ที่มีมากถึง 155 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 71.62 พันล้านบาท
“ยุโรป” อีกหนึ่งกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ พบข้อมูลว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริม
การลงทุนเพียง 36 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.71 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มี
มากถึง 43 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 64.20 พันล้านบาท
รวมไปถึง “สหรัฐอเมริกา” ที่สถิติของ BOI บันทึกเอาไว้ว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการ
ส่งเสริมการลงทุนเพียง 7 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.11 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557
ที่มีมากถึง 11 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 26.39 พันล้านบาท
ที่สำคัญคือ เอกสารสถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557″
ดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขการขอรับการลงทุนในโครงการที่มีขนาดเงินลงทุน มากกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือน
มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่เคยมีทั้งสิ้น 19 โครงการ มูลค่า 203.98 พันล้านบาท นั้นปรากฏว่าในเดือนมกราคม-พฤษภาคม
2558 “ไม่มี” ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทเลย
โดยสถิติของ BOI ดังกล่าว แจ้งตัวเลขเป็น “0” โครงการ และจำนวนเงิน “0.00”พันล้านบาท
ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลข 0 โครงการ 0.00 พันล้านบาท เป็น “เดือนที่ 5 ติดต่อกัน” นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2558 ภายใต้การบริหารงานของ
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
https://www.hereandthere.today/?p=2224