สิม มาจากคำว่าสีมาแปลว่า แดนหรือเขต
ในวัฒนธรรมไทย-ลาว หมายถึง โบสถ์หรือพระอุโบสถ
แบ่งเป็น
สิมบก ... อยู่บนบก
สิมน่ำ ... อบู่ในน้ำ
สิมป่า ... อยู่ในป่า ... ใช้แค่เป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ
หลาย ๆ วัดได้รับอิทธิพลสมัยใหม่ ประกอบกับชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น
ได้เปลี่ยนสิมดั้งเดิม เป็น สิมที่สวยงามอลังการณ์ดั่งที่พบเห็นได้ทั่วไป
การได้ไปเห็นสิมโบราณที่ได้ถูกบูรณะ เก็บไว้ให้คนรุ่นหลัง
จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ได้ไปพบ และจะนำมาถ่ายทอดต่อไป
สิมบกมี 3 ประเภทคือ
สิมไม้ เป็นที่นิยมในอีสานเพราะมีไม้เป็นทรัพยากรหลักที่มีอยู่มาก สอดแทรกวิธีการเข้าไม้ การแกะสลักไม้ ที่ทำเพื่อเป็นพุทธบูชา
สิมก่อ มีการก่อผนังทั้งสี่ด้าน
สิมโถง ... ไม่มีฝาผนัง คล้ายศาลา หรืออาจมีแค่ตรงพระประธาน
สิมมีขนาดเล็ก เพราะจะใช้ในพิธีการที่เกี่ยวกับพระสงฆ์เท่านั้น เช่นการบวช การกฐิน
ส่วนที่เกี่ยวกับฆราวาสมักทำพิธีกันที่ศาลาการเปรียญ ... จึงมีขนาดใหญ่
วัดแรกที่นำมาในวันนี้
เป็นวัดที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะรวบรวมสิมเก่าโคราช ที่ได้เคยไปสำรวจมา
* วัดยองแยง *
เป็นวัดที่ ตั้งใจไปเพราะอ่านพบว่ามีโบราณสถาน
เป็นวัดที นำมาซึ่งความรู้สึกยังมีกลิ่นอายของชีวิตจากรุ่นก่อนส่งต่อมาถึงรุ่นนี้ ... จากการที่วันนี้มีงานบวช !!!
สร้าง พ.ศ. 2271 ในรัชสมัยของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ... พระเจ้าเอกทัศน์
วัดได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2425
เมื่อคราวสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี รัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ในราวปี พ.ศ. 2458
จึงกำหนดอายุพระอุโบสถตามประวัติการตั้งวัด
กรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2553
ด้านหน้าทางทิศตะวันออก
มุมเหนือและใต้มีเจดีย์ในกำแพงแก้วสององค์
อุโบสถยกสูง ประตูเข้าสองทาง ... ประตูบานเล็กและเตี้ย
มองผ่านกู่ มุมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่องหน้าต่าง 3 ห้อง
เสมาหินทรายสีแดง
เสาบัวกำแพงแก้ว ที่ช่องประตู และมุมทั้งสี่
ด้านหลังสิม ประตูสำหรับพระสงฆ์ประตูเดียว
ประตูด้านหน้า เข้าไปในโบสถ์
ลวดลายบานประตู
เสาของสิมจะเอียงนิด ๆ สอบหาตรงกลางเพื่อรับน้ำหนัก
พื้นที่ตรงกลาง ยกสูงขึ้นสำหรับพระสงฆ์
ส่วนโดยรอบสำหรับฆราวาส
เสามีลวดลายกลีบบัวประดับ
พระประธานปางมารวิชัย
ด้านหลังจิตรกรรมฝาผนังที่เลือนไป เขียนภาพการรักษาโรคโดยพระสงฆ์
ฐานชุกชี ... ฐานบัว
โต๊ะไม้ข้างโอ่งน้ำมนต์คือ ... ?
ตอบ ... ที่วางคัมภีร์ใบลาน
เหนือพระประธานเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับแดนหิมพานต์ ซึงมักพบภาพที่คล้ายกันในสิมที่โคราชหลาย ๆ แห่ง
ด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพพระพุทธประวัติตอนเสด็จปรินิพพาน
เป็นการเขียนลงบนผ้าแล้วติดบนไม้
เราอ่านว่า ... น่าจะเป็นตอนที่มีคนไปแจ้งข่างพระมหากัสสปะ และพระสาวกอีก 500 รูป
ทรงเสด็จปรินิพพาน และการประชุมเพลิง
นอกจากนี้ยังมีที่น่าสนใจอีกคือ
หอระฆังใหม่ ... เหมือนเสาชิงช้า
หอระฆังเก่า
ศาลาการเปรียญ ... หลังใหญ่
@สิมคือเขตแดนแห่งธรรมล้ำประโยชน์
ใช้เรียกโบส์อุโบสถปรากฏเห็น
บอกตำแหน่งแห่งพุทธประดุจเป็น
ชี้ให้เห็นแดนธรรมค้ำโลกา
@เป็นถิ่นบุญศูนย์รวมร่วมประจักษ์
ควรปกปักษ์กอบกู้รู้รักษา
อยู่รายรอบขอบขัณฑสีมา
ปรากฏชัดวัดวาอารามไทย
@มีสิมบกสิมน้ำและสิมป่า
วิสุงคามสีมาก็หาไม่
เกิดสิมโถงสิมก่อต่อจิตใจ
และสิมไม้คือสิมบกปกตำนาน
เครดิต ... หมอตุ้ม 9-6-61
สิมเก่าเมืองโคราชบ้านเอ๋ง ... วัดยองแยง
ในวัฒนธรรมไทย-ลาว หมายถึง โบสถ์หรือพระอุโบสถ
แบ่งเป็น
สิมบก ... อยู่บนบก
สิมน่ำ ... อบู่ในน้ำ
สิมป่า ... อยู่ในป่า ... ใช้แค่เป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ
หลาย ๆ วัดได้รับอิทธิพลสมัยใหม่ ประกอบกับชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น
ได้เปลี่ยนสิมดั้งเดิม เป็น สิมที่สวยงามอลังการณ์ดั่งที่พบเห็นได้ทั่วไป
การได้ไปเห็นสิมโบราณที่ได้ถูกบูรณะ เก็บไว้ให้คนรุ่นหลัง
จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ได้ไปพบ และจะนำมาถ่ายทอดต่อไป
สิมบกมี 3 ประเภทคือ
สิมไม้ เป็นที่นิยมในอีสานเพราะมีไม้เป็นทรัพยากรหลักที่มีอยู่มาก สอดแทรกวิธีการเข้าไม้ การแกะสลักไม้ ที่ทำเพื่อเป็นพุทธบูชา
สิมก่อ มีการก่อผนังทั้งสี่ด้าน
สิมโถง ... ไม่มีฝาผนัง คล้ายศาลา หรืออาจมีแค่ตรงพระประธาน
สิมมีขนาดเล็ก เพราะจะใช้ในพิธีการที่เกี่ยวกับพระสงฆ์เท่านั้น เช่นการบวช การกฐิน
ส่วนที่เกี่ยวกับฆราวาสมักทำพิธีกันที่ศาลาการเปรียญ ... จึงมีขนาดใหญ่
วัดแรกที่นำมาในวันนี้
เป็นวัดที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะรวบรวมสิมเก่าโคราช ที่ได้เคยไปสำรวจมา
เป็นวัดที่ ตั้งใจไปเพราะอ่านพบว่ามีโบราณสถาน
เป็นวัดที นำมาซึ่งความรู้สึกยังมีกลิ่นอายของชีวิตจากรุ่นก่อนส่งต่อมาถึงรุ่นนี้ ... จากการที่วันนี้มีงานบวช !!!
สร้าง พ.ศ. 2271 ในรัชสมัยของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ... พระเจ้าเอกทัศน์
วัดได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2425
เมื่อคราวสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี รัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ในราวปี พ.ศ. 2458
จึงกำหนดอายุพระอุโบสถตามประวัติการตั้งวัด
กรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2553
ด้านหน้าทางทิศตะวันออก
มุมเหนือและใต้มีเจดีย์ในกำแพงแก้วสององค์
อุโบสถยกสูง ประตูเข้าสองทาง ... ประตูบานเล็กและเตี้ย
มองผ่านกู่ มุมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่องหน้าต่าง 3 ห้อง
เสมาหินทรายสีแดง
เสาบัวกำแพงแก้ว ที่ช่องประตู และมุมทั้งสี่
ด้านหลังสิม ประตูสำหรับพระสงฆ์ประตูเดียว
ประตูด้านหน้า เข้าไปในโบสถ์
ลวดลายบานประตู
เสาของสิมจะเอียงนิด ๆ สอบหาตรงกลางเพื่อรับน้ำหนัก
พื้นที่ตรงกลาง ยกสูงขึ้นสำหรับพระสงฆ์
ส่วนโดยรอบสำหรับฆราวาส
เสามีลวดลายกลีบบัวประดับ
พระประธานปางมารวิชัย
ด้านหลังจิตรกรรมฝาผนังที่เลือนไป เขียนภาพการรักษาโรคโดยพระสงฆ์
ฐานชุกชี ... ฐานบัว
โต๊ะไม้ข้างโอ่งน้ำมนต์คือ ... ?
ตอบ ... ที่วางคัมภีร์ใบลาน
เหนือพระประธานเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับแดนหิมพานต์ ซึงมักพบภาพที่คล้ายกันในสิมที่โคราชหลาย ๆ แห่ง
ด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพพระพุทธประวัติตอนเสด็จปรินิพพาน
เป็นการเขียนลงบนผ้าแล้วติดบนไม้
เราอ่านว่า ... น่าจะเป็นตอนที่มีคนไปแจ้งข่างพระมหากัสสปะ และพระสาวกอีก 500 รูป
ทรงเสด็จปรินิพพาน และการประชุมเพลิง
นอกจากนี้ยังมีที่น่าสนใจอีกคือ
หอระฆังใหม่ ... เหมือนเสาชิงช้า
หอระฆังเก่า
ศาลาการเปรียญ ... หลังใหญ่
ใช้เรียกโบส์อุโบสถปรากฏเห็น
บอกตำแหน่งแห่งพุทธประดุจเป็น
ชี้ให้เห็นแดนธรรมค้ำโลกา
@เป็นถิ่นบุญศูนย์รวมร่วมประจักษ์
ควรปกปักษ์กอบกู้รู้รักษา
อยู่รายรอบขอบขัณฑสีมา
ปรากฏชัดวัดวาอารามไทย
@มีสิมบกสิมน้ำและสิมป่า
วิสุงคามสีมาก็หาไม่
เกิดสิมโถงสิมก่อต่อจิตใจ
และสิมไม้คือสิมบกปกตำนาน
เครดิต ... หมอตุ้ม 9-6-61