สวัสดีชาวพันทิปทุกท่านครับ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีข่าวสารทางด้านเคมีชีวภาพที่น่าสนใจก็เลยนำมาฝากกันครับ นั่นก็คือการค้นพบกระบวนการ
สังเคราะห์พอลิเมอร์ โดยอาศัย
ธาตุเหล็กใน Heme group เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงของเรานั่นเอง
ทุกคนย่อมต้องเคยได้ยินอยู่แล้วว่าในเลือดของเรานั้น มีองค์ประกอบสำคัญคือ
ธาตุเหล็กรวมอยู่ด้วย ซึ่งธาตุเหล็กหรือว่า Iron (Fe) นั้น จัดเป็นหนึ่งใน
โลหะทรานซิชั่น ซึ่งคุณสมบัติของโลหะชนิดนี้คือ มีเลขออกซิเดชั่นได้หลายค่า ทำให้โลหะทรานซิชั่นนั้นถูกนำใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่ค่อนข้างหลากหลาย จนนับไม่ถ้วนกันเลยทีเดียวครับ
ด้วยความที่มองกรรไกร เห็นความเป็นไปได้ในการใช้กระบวนการทางชีวภาพในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ ทำให้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น นำโดย
ศาสตราจารย์ เกรก จี. เฉ่า (
Greg G. Qiao) ทำการทดลองโดยใช้เม็ดเลือดแดงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สังเคราะห์
Polyacrylates และ
Polyacrylamides โดยผ่านกรรมวิธีที่มีชื่อเรียกอย่างเก๋ไก๋ว่า
Reversible Addition-Fragmentation Chain Transfer หรือ
RAFT ซึ่งกรรมวิธีนี้อาศัย "
น้ำ" เป็นตัวทำละลายครับ ซึ่งเหมาะมากเพราะ
ร่างกายเราเกินกว่าครึ่งนั้นประกอบไปด้วยน้ำ
ในตอนเริ่มต้นทำปฏิกิริยานั้น พวกเขาจะใส่เอนไซม์ที่มีชื่อว่า
Glucose oxidase ลงไปเพื่อให้มันผลิต Hydrogen peroxide (H
2O
2) ออกมา และเจ้า H
2O
2 นี่แหละ ที่จะไปทำให้ธาตุเหล็กหลุดลอยออกมาจาก Heme group และยังได้ผลพลอยได้เป็นอนุมูลของ Hydroxyl (・OH) ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นในการสังเคราะห์สายโซ่ของพอลิเมอร์อีกด้วย
แล้วการสังเคราะห์พอลิเมอร์โดยใช้เลือดได้นี่มันสำคัญยังไงกันล่ะ? ...ถึงแม้งานวิจัยนี้ดูจะยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมชัดเจนเท่าภูมิคุ้มกันบำบัดก็ตาม แต่งานวิจัยนี้ก็ได้เปิดใบเบิกทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ภายในร่างกายโดยตรง ซึ่งอาจจะใช้ในด้านการบำบัดรักษาโรคได้ในอนาคตครับ
อนึ่ง งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
Angewandte Chemie International Edition ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารชั้นนำทางด้านเคมี หากใครสนใจสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่
DOI: 10.1002/anie.201802544 (เสียตังนะจ๊ะ)
ขอบคุณแหล่งที่มาจากข่าว
Red blood cells catalyze polymerization | Chemical & Engineering News
"เม็ดเลือดแดง" อาจเป็นตัวแปรสำคัญในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในร่างกาย
สวัสดีชาวพันทิปทุกท่านครับ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีข่าวสารทางด้านเคมีชีวภาพที่น่าสนใจก็เลยนำมาฝากกันครับ นั่นก็คือการค้นพบกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ โดยอาศัยธาตุเหล็กใน Heme group เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงของเรานั่นเอง
ทุกคนย่อมต้องเคยได้ยินอยู่แล้วว่าในเลือดของเรานั้น มีองค์ประกอบสำคัญคือธาตุเหล็กรวมอยู่ด้วย ซึ่งธาตุเหล็กหรือว่า Iron (Fe) นั้น จัดเป็นหนึ่งในโลหะทรานซิชั่น ซึ่งคุณสมบัติของโลหะชนิดนี้คือ มีเลขออกซิเดชั่นได้หลายค่า ทำให้โลหะทรานซิชั่นนั้นถูกนำใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่ค่อนข้างหลากหลาย จนนับไม่ถ้วนกันเลยทีเดียวครับ
ด้วยความที่มองกรรไกร เห็นความเป็นไปได้ในการใช้กระบวนการทางชีวภาพในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ ทำให้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น นำโดยศาสตราจารย์ เกรก จี. เฉ่า (Greg G. Qiao) ทำการทดลองโดยใช้เม็ดเลือดแดงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สังเคราะห์ Polyacrylates และ Polyacrylamides โดยผ่านกรรมวิธีที่มีชื่อเรียกอย่างเก๋ไก๋ว่า Reversible Addition-Fragmentation Chain Transfer หรือ RAFT ซึ่งกรรมวิธีนี้อาศัย "น้ำ" เป็นตัวทำละลายครับ ซึ่งเหมาะมากเพราะร่างกายเราเกินกว่าครึ่งนั้นประกอบไปด้วยน้ำ
ในตอนเริ่มต้นทำปฏิกิริยานั้น พวกเขาจะใส่เอนไซม์ที่มีชื่อว่า Glucose oxidase ลงไปเพื่อให้มันผลิต Hydrogen peroxide (H2O2) ออกมา และเจ้า H2O2 นี่แหละ ที่จะไปทำให้ธาตุเหล็กหลุดลอยออกมาจาก Heme group และยังได้ผลพลอยได้เป็นอนุมูลของ Hydroxyl (・OH) ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นในการสังเคราะห์สายโซ่ของพอลิเมอร์อีกด้วย
แล้วการสังเคราะห์พอลิเมอร์โดยใช้เลือดได้นี่มันสำคัญยังไงกันล่ะ? ...ถึงแม้งานวิจัยนี้ดูจะยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมชัดเจนเท่าภูมิคุ้มกันบำบัดก็ตาม แต่งานวิจัยนี้ก็ได้เปิดใบเบิกทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ภายในร่างกายโดยตรง ซึ่งอาจจะใช้ในด้านการบำบัดรักษาโรคได้ในอนาคตครับ
อนึ่ง งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Angewandte Chemie International Edition ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารชั้นนำทางด้านเคมี หากใครสนใจสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ DOI: 10.1002/anie.201802544 (เสียตังนะจ๊ะ)
ขอบคุณแหล่งที่มาจากข่าว Red blood cells catalyze polymerization | Chemical & Engineering News