เราต่างรู้กันดีว่าสิ่งที่คอยจัดเก็บความทรงจำของเราไว้คือ ‘สมอง’ โดยเฉพาะเซลล์สมอง
แต่จริงๆ แล้วอาจมีเซลล์จากส่วนอื่นๆ ในร่างกายทำหน้าที่จัดเก็บความทรงจำด้วยเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเซลล์จากส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็ทำหน้าที่จัดเก็บความทรงจำเช่นกัน
ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ใหม่จากที่เราเคยเข้าใจการทำงานของความทรงจำ
อีกทั้งยังช่วยให้เรียนรู้และรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับความทรงจำอีกด้วย
นักวิจัยที่ค้นพบบอกว่า โดยทั่วไปแล้วความทรงจำเกี่ยวข้องกับสมองและเซลล์สมองเท่านั้น
แต่การค้นพบของเราแสดงให้เห็นว่าเซลล์อื่นๆ ในร่างกายสามารถเรียนรู้และจัดเก็บความทรงจำได้เหมือนกัน
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications โดยตั้งใจที่จะศึกษาว่าเซลล์อื่นๆ
ในร่างกายสามารถจัดเก็บความทรงจำไว้ได้หรือไม่ โดยศึกษาจากเซลล์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เซลล์สมองเช่น เนื้อเยื่อประสาท และเนื้อเยื่อจากไต
นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสื่อสารด้วยเคมีที่ต่างกันในตัวอย่างเนื้อเยื่อ และพบว่าเซลล์เหล่านี้ได้เปิด ‘ยีนความจำ’
เหมือนกับเซลล์สมอง โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เซลล์เหล่านี้สามารถเลียนแบบการหลั่งสารในสมอง แบบเดียวกับที่สมองทำ
นักวิจัยกล่าวว่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความทรงจำไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเซลล์สมอง แต่ในความจริงแล้วอาจเกิดจากเซลล์อื่นๆ
ในร่างกาย ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการค้นพบครั้งใหม่อย่างเดียวเท่านั้น
แต่อาจมีประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของเราด้วย
“การค้นพบนี้เป็นเหมือนการเปิดประตูบานใหม่ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของความทรงจำ
และอาจนำไปสู่วิธีการปรับปรุงการเรียนรู้และรักษาปัญหาด้านความทรงจำที่ดีขึ้น”
นักวิจัยกล่าวและบอกว่า ในอนาคตเราต้องปฏิบัติต่อร่างกายของเราให้เหมือนกับสมองมากขึ้น
เช่น พิจารณาว่าตับจะจำอะไรได้บ้างในมื้ออาหารที่ผ่านมาของเรา
เพื่อรักษาสมดุลน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
หรือแม้กระทั่งเซลล์มะเร็งจำรูปแบบของเคมีบำบัดแบบไหนได้บ้าง
ที่มา
https://thematter.co/brief/234339/234339
นักวิทยาศาสตร์เผย ‘ความทรงจำ’ ไม่ได้อยู่แค่ในสมอง แต่อยู่ในเซลล์อื่นๆ ในร่างกายด้วย
เราต่างรู้กันดีว่าสิ่งที่คอยจัดเก็บความทรงจำของเราไว้คือ ‘สมอง’ โดยเฉพาะเซลล์สมอง
แต่จริงๆ แล้วอาจมีเซลล์จากส่วนอื่นๆ ในร่างกายทำหน้าที่จัดเก็บความทรงจำด้วยเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเซลล์จากส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็ทำหน้าที่จัดเก็บความทรงจำเช่นกัน
ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ใหม่จากที่เราเคยเข้าใจการทำงานของความทรงจำ
อีกทั้งยังช่วยให้เรียนรู้และรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับความทรงจำอีกด้วย
นักวิจัยที่ค้นพบบอกว่า โดยทั่วไปแล้วความทรงจำเกี่ยวข้องกับสมองและเซลล์สมองเท่านั้น
แต่การค้นพบของเราแสดงให้เห็นว่าเซลล์อื่นๆ ในร่างกายสามารถเรียนรู้และจัดเก็บความทรงจำได้เหมือนกัน
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications โดยตั้งใจที่จะศึกษาว่าเซลล์อื่นๆ
ในร่างกายสามารถจัดเก็บความทรงจำไว้ได้หรือไม่ โดยศึกษาจากเซลล์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เซลล์สมองเช่น เนื้อเยื่อประสาท และเนื้อเยื่อจากไต
นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสื่อสารด้วยเคมีที่ต่างกันในตัวอย่างเนื้อเยื่อ และพบว่าเซลล์เหล่านี้ได้เปิด ‘ยีนความจำ’
เหมือนกับเซลล์สมอง โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เซลล์เหล่านี้สามารถเลียนแบบการหลั่งสารในสมอง แบบเดียวกับที่สมองทำ
นักวิจัยกล่าวว่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความทรงจำไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเซลล์สมอง แต่ในความจริงแล้วอาจเกิดจากเซลล์อื่นๆ
ในร่างกาย ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการค้นพบครั้งใหม่อย่างเดียวเท่านั้น
แต่อาจมีประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของเราด้วย
“การค้นพบนี้เป็นเหมือนการเปิดประตูบานใหม่ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของความทรงจำ
และอาจนำไปสู่วิธีการปรับปรุงการเรียนรู้และรักษาปัญหาด้านความทรงจำที่ดีขึ้น”
นักวิจัยกล่าวและบอกว่า ในอนาคตเราต้องปฏิบัติต่อร่างกายของเราให้เหมือนกับสมองมากขึ้น
เช่น พิจารณาว่าตับจะจำอะไรได้บ้างในมื้ออาหารที่ผ่านมาของเรา
เพื่อรักษาสมดุลน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
หรือแม้กระทั่งเซลล์มะเร็งจำรูปแบบของเคมีบำบัดแบบไหนได้บ้าง
ที่มา https://thematter.co/brief/234339/234339