ข่าวเตือนนักธุรกิจไทย กรณีเคนย่าลักลอบขายเม็ดมะม่วงหิมพานต์และทองคำแบบไม่ถูกกฏหมายให้คนไทยในต่างประเทศค่ะ จริงๆประเทศเราผลิตมะม่วงหิมพานต์ได้เยอะมากเลยนะคะ ข่าวนี้อาจจะเป็นช่องทางโอกาสให้ใครที่ทำสวนมะม่วงหิมพานต์ได้มองหาลู่ทางการส่งออกให้ผู้ประกอบการไทยในเคนย่าหรือต่างประเทศได้ค่ะ
เคนยาเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก โดยสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญของเคนยา ได้แก่ กาแฟ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าจำพวกแร่ธาตุบางประเภท และผลิตผลการเกษตรจำพวกถั่ว เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการสนใจเข้าไปติดต่อการค้าเพื่อซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้นสำหรับนำไปเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศของตน
อย่างไรก็ดี รัฐบาลเคนยามีนโยบายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเสริมสร้างธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป จึงอาจเป็นช่องทางให้เกิดธุรกิจบังหน้าบางรายที่ลักลอบขายสินค้าดังกล่าว โดยไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการเคนยา
ในการนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรระมัดระวังในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อวัตถุดิบจากเคนยา โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทท้องถิ่น เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงและฉ้อโกง เช่น เอกสารการจดทะเบียนบริษัทที่มีวัตถุประสงค์และประเภทการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน เป็นต้น และหากเป็นไปได้ ควรตรวจสอบข้อมูลจากทางการของเคนยาก่อน
ในรอบปีที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฯ พบกรณีการซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์และการซื้อทองของผู้ประกอบการไทยในเคนยา จึงขอแจ้งกฎระเบียบการค้าสินค้าดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาของเอกชนไทย ดังนี้
1. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nuts) – พระราชบัญญัติการเกษตร ประมง และอาหาร ปี
ค.ศ. 2013 ข้อ 43 กำหนดห้ามการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบและสินค้าที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไว้ดังนี้ “A person shall not export raw cashew nuts, raw pyrethrum, raw bixa or raw macadamia except with written authority of the Cabinet Secretary issued with the approval of the National Assembly.”
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง
http://www.nation.co.ke/business/Low-prices-and-export-ban-rule-drive-macadamia-farmers-nuts/996-4300044-k301p5/index.html)
2. ทองคำ (Gold) – เมื่อปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่ของเคนยา แจ้งว่าเคนยาได้อนุญาตเอกชนดำเนินธุรกิจค้าขายทองคำให้แก่บริษัท Aurical Kenya เพียงรายเดียว โดยมีบริษัท Modogashe Agencies และบริษัท Match Electricals ได้รับอนุญาตให้ค้าขายสินแร่ประเภทอื่นนอกเหนือจากทองคำ แม้ภาครัฐของเคนยาจะเร่งปราบปรามการค้าทองคำที่ผิดกฎหมายแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิผล มีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อหลายรายทั้งชาวเคนยาและชาวต่างชาติ ปัจจุบัน เคนยายังไม่ใช่ผู้ผลิตทองรายใหญ่ มีเพียงเหมืองทองคำไม่กี่แห่งและส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ดังนั้น ทองส่วนใหญ่ที่ค้าขายในตลาดเคนยามักพบว่าเป็นทองเหลือง ในขณะที่มีการลักลอบนำทองคำจากเหมือนทองในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DR Congo) มาขายในตลาดเคนยาเป็นระยะ
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง
http://www.standardmedia.co.ke/business/article/2001254084/only-one-gold-
dealer-licensed-says-mining-cs)
ดังนั้น จึงขอแจ้งเตือนเอกชนไทยที่ต้องการจะเข้าไปติดต่อทางธุรกิจในเคนยาควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัด โดยอาจให้ตั้งข้อสงสัยและไม่เชื่อในสิ่งที่โฆษณาไว้ก่อน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ จนกว่าจะตรวจสอบการมีอยู่จริงและความถูกต้องของบริษัทหรือนิติบุคคลที่กำลังติดต่อก่อนตกลงทางธุรกิจในขั้นต่อไป
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี
http://globthailand.com/kenya_0016/
ข้อควรระวังสำหรับเอกชนไทยในเคนยา กรณีการค้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์และทองคำ
เคนยาเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก โดยสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญของเคนยา ได้แก่ กาแฟ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าจำพวกแร่ธาตุบางประเภท และผลิตผลการเกษตรจำพวกถั่ว เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการสนใจเข้าไปติดต่อการค้าเพื่อซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้นสำหรับนำไปเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศของตน
อย่างไรก็ดี รัฐบาลเคนยามีนโยบายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเสริมสร้างธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป จึงอาจเป็นช่องทางให้เกิดธุรกิจบังหน้าบางรายที่ลักลอบขายสินค้าดังกล่าว โดยไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการเคนยา
ในการนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรระมัดระวังในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อวัตถุดิบจากเคนยา โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทท้องถิ่น เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงและฉ้อโกง เช่น เอกสารการจดทะเบียนบริษัทที่มีวัตถุประสงค์และประเภทการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน เป็นต้น และหากเป็นไปได้ ควรตรวจสอบข้อมูลจากทางการของเคนยาก่อน
ในรอบปีที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฯ พบกรณีการซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์และการซื้อทองของผู้ประกอบการไทยในเคนยา จึงขอแจ้งกฎระเบียบการค้าสินค้าดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาของเอกชนไทย ดังนี้
1. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nuts) – พระราชบัญญัติการเกษตร ประมง และอาหาร ปี
ค.ศ. 2013 ข้อ 43 กำหนดห้ามการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบและสินค้าที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไว้ดังนี้ “A person shall not export raw cashew nuts, raw pyrethrum, raw bixa or raw macadamia except with written authority of the Cabinet Secretary issued with the approval of the National Assembly.”
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง http://www.nation.co.ke/business/Low-prices-and-export-ban-rule-drive-macadamia-farmers-nuts/996-4300044-k301p5/index.html)
2. ทองคำ (Gold) – เมื่อปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่ของเคนยา แจ้งว่าเคนยาได้อนุญาตเอกชนดำเนินธุรกิจค้าขายทองคำให้แก่บริษัท Aurical Kenya เพียงรายเดียว โดยมีบริษัท Modogashe Agencies และบริษัท Match Electricals ได้รับอนุญาตให้ค้าขายสินแร่ประเภทอื่นนอกเหนือจากทองคำ แม้ภาครัฐของเคนยาจะเร่งปราบปรามการค้าทองคำที่ผิดกฎหมายแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิผล มีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อหลายรายทั้งชาวเคนยาและชาวต่างชาติ ปัจจุบัน เคนยายังไม่ใช่ผู้ผลิตทองรายใหญ่ มีเพียงเหมืองทองคำไม่กี่แห่งและส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ดังนั้น ทองส่วนใหญ่ที่ค้าขายในตลาดเคนยามักพบว่าเป็นทองเหลือง ในขณะที่มีการลักลอบนำทองคำจากเหมือนทองในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DR Congo) มาขายในตลาดเคนยาเป็นระยะ
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง http://www.standardmedia.co.ke/business/article/2001254084/only-one-gold-
dealer-licensed-says-mining-cs)
ดังนั้น จึงขอแจ้งเตือนเอกชนไทยที่ต้องการจะเข้าไปติดต่อทางธุรกิจในเคนยาควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัด โดยอาจให้ตั้งข้อสงสัยและไม่เชื่อในสิ่งที่โฆษณาไว้ก่อน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ จนกว่าจะตรวจสอบการมีอยู่จริงและความถูกต้องของบริษัทหรือนิติบุคคลที่กำลังติดต่อก่อนตกลงทางธุรกิจในขั้นต่อไป
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี
http://globthailand.com/kenya_0016/