สธ.เพิ่มค่าปรับหมอหนีทุนเป็น5ล้านบาทเริ่มปี62
สธ.แจงตัวเลขผลิตแพทย์ 3,000 คนต่อปี ต่อเนื่อง 10 ปี รองรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมแก้ปัญหาการกระจายตัว งานล้นมือ เพิ่มค่าปรับหมอไม่ยอมใช้ทุนจาก 4 แสน เป็น5ล้านบาท หวังคงอยู่ในระบบ คาดเริ่มใช้ปี 62
พฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 16.04 น.
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ประชุมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2561-2562 มีมติยืนยันการผลิตแพทย์เพิ่มปีละ 3,000 คน ว่า ที่ผ่านมาการผลิตแพทย์ระบบปกติไม่เพียงพอ จึงต้องมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ทำให้ตอนนี้มีการผลิตแพทย์อยู่ 4 ส่วน คือ 1.การผลิตแพทย์ระบบปกติ 2.การผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท 3.การผลิตจากภาคเอกชน และ 4.นักเรียนไทยที่จบแพทย์จากต่างประเทศ โดยส่วนที่ผลิตเพิ่มนั้นภาครัฐสนับสนุนงบแล้วให้แพทย์ไปใช้ทุนในรพ.ภาครัฐแทน ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราส่วนแพทย์ดูแลประชาชนอยู่ที่ 1 ต่อ 5,000 ประชากร แต่อนาคตต้องการให้อยู่ที่ 1 ต่อ 1,200 ประชากร ล่าสุด นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ และนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข พิจารณาจากสัดส่วนแพทย์ต่อการดูแลประชากร และเพื่อรอบรับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แล้วจึงเสนอให้คงตัวเลขการผลิตแพทย์ที่ 3,000 คน ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี และมีระบบกระจายแพทย์ที่ดี เมื่อเพียงพอแล้วรัฐอาจพิจารณาลดทุนเรียนแพทย์ อนาคตคนที่เรียนแพทย์จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเอง
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขสัญญาเพิ่มค่าปรับแพทย์ที่ไม่ยอมใช้ทุนจาก 4 แสนบาท เป็น 5 ล้านบาท เพราะใช้มาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งในอดีต 4 แสนบาท ถือว่าเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้คงบุคลากรไว้ในระบบได้บ้าง แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หลายคนสามารถจ่ายได้ทันที แลกกับการไม่ต้องไปใช้ทุน บางคนมีผู้ออกเงินจ่ายให้ก่อนด้วยซ้ำ ขณะที่การลงทุนเรียนแพทย์ค่อนข้างสูง 3 แสนบาทต่อคนต่อปี ระยะเวลา 6 ปีก็ไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท และยังมีงบลงทุนอื่นๆ อีก รวมใช้งบลงทุนมากถึง 4 ล้านกว่าบาทต่อคน จึงมีการเสนอตัวเลขค่าปรับที่ 5 ล้านบาท แต่ไม่ต้องจ่ายเงินค้ำประกันก่อน ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มได้ในปีการศึกษา 2562 ยืนยันว่าการเพิ่มค่าปรับไม่ใช่เพราะอยากได้เงินค่าปรับมาก แต่อยากได้บุคลากรทำงาน ซึ่งหากทำงานใช้ทุนครบ 3 ปี ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ
เมื่อถามว่าการลาออกไม่ใช้ทุนเพราะงานหนัก ค่าตอบแทนน้อยหรือไม่ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของพื้นที่ บางพื้นที่ไม่มีคนอยากไปอยู่ และการจัดบริการที่เพิ่มขึ้น คนที่อยู่ก็ภาระงานล้นมือ แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องการบริหารจัดการที่ต้องแก้ไข ขณะนี้กระทรวงก็เดินหน้าคลินิกหมอครอบครัว เน้นเรื่องส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และดูแลโรคที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพื่อลดความแออัดและภาระงานของรพ. รวมถึงการอุดและเติมแพทย์ เช่น กรณีขาดแพทย์เฉพาะทาง ก็จะให้ทุนกับแพทย์ที่อยู่ระหว่างการใช้ทุนในรพ.อยู่แล้ว เพื่อไปเรียนต่อ โดยถือเป็นการลาเรียนและได้รับเงินเดือนปกติ นับเป็นความมั่นคงที่แพทย์ต้องการ ซึ่งเมื่อจบกลับมาก็ใช้ทุนต่อระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาเรียน แต่หากเป็นสาขายอดนิยมก็จะคิด 3 เท่า แต่ปัญหาเมื่อส่งไปเรียนต่อ ทำให้มีแพทย์จบใหม่ไม่เพียงพอ จึงพยายามให้โควตาพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีใครอยากไป หรือกรณีจบเฉพาะทางมาแล้วก็ไม่ยอมใช้ทุนทำให้รพ.เสียโอกาส
https://www.dailynews.co.th/politics/651896
สธ.เพิ่มค่าปรับหมอหนีทุนเป็น5ล้านบาทเริ่มปี62
สธ.แจงตัวเลขผลิตแพทย์ 3,000 คนต่อปี ต่อเนื่อง 10 ปี รองรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมแก้ปัญหาการกระจายตัว งานล้นมือ เพิ่มค่าปรับหมอไม่ยอมใช้ทุนจาก 4 แสน เป็น5ล้านบาท หวังคงอยู่ในระบบ คาดเริ่มใช้ปี 62
พฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 16.04 น.
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ประชุมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2561-2562 มีมติยืนยันการผลิตแพทย์เพิ่มปีละ 3,000 คน ว่า ที่ผ่านมาการผลิตแพทย์ระบบปกติไม่เพียงพอ จึงต้องมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ทำให้ตอนนี้มีการผลิตแพทย์อยู่ 4 ส่วน คือ 1.การผลิตแพทย์ระบบปกติ 2.การผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท 3.การผลิตจากภาคเอกชน และ 4.นักเรียนไทยที่จบแพทย์จากต่างประเทศ โดยส่วนที่ผลิตเพิ่มนั้นภาครัฐสนับสนุนงบแล้วให้แพทย์ไปใช้ทุนในรพ.ภาครัฐแทน ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราส่วนแพทย์ดูแลประชาชนอยู่ที่ 1 ต่อ 5,000 ประชากร แต่อนาคตต้องการให้อยู่ที่ 1 ต่อ 1,200 ประชากร ล่าสุด นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ และนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข พิจารณาจากสัดส่วนแพทย์ต่อการดูแลประชากร และเพื่อรอบรับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แล้วจึงเสนอให้คงตัวเลขการผลิตแพทย์ที่ 3,000 คน ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี และมีระบบกระจายแพทย์ที่ดี เมื่อเพียงพอแล้วรัฐอาจพิจารณาลดทุนเรียนแพทย์ อนาคตคนที่เรียนแพทย์จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเอง
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขสัญญาเพิ่มค่าปรับแพทย์ที่ไม่ยอมใช้ทุนจาก 4 แสนบาท เป็น 5 ล้านบาท เพราะใช้มาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งในอดีต 4 แสนบาท ถือว่าเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้คงบุคลากรไว้ในระบบได้บ้าง แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หลายคนสามารถจ่ายได้ทันที แลกกับการไม่ต้องไปใช้ทุน บางคนมีผู้ออกเงินจ่ายให้ก่อนด้วยซ้ำ ขณะที่การลงทุนเรียนแพทย์ค่อนข้างสูง 3 แสนบาทต่อคนต่อปี ระยะเวลา 6 ปีก็ไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท และยังมีงบลงทุนอื่นๆ อีก รวมใช้งบลงทุนมากถึง 4 ล้านกว่าบาทต่อคน จึงมีการเสนอตัวเลขค่าปรับที่ 5 ล้านบาท แต่ไม่ต้องจ่ายเงินค้ำประกันก่อน ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มได้ในปีการศึกษา 2562 ยืนยันว่าการเพิ่มค่าปรับไม่ใช่เพราะอยากได้เงินค่าปรับมาก แต่อยากได้บุคลากรทำงาน ซึ่งหากทำงานใช้ทุนครบ 3 ปี ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ
เมื่อถามว่าการลาออกไม่ใช้ทุนเพราะงานหนัก ค่าตอบแทนน้อยหรือไม่ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของพื้นที่ บางพื้นที่ไม่มีคนอยากไปอยู่ และการจัดบริการที่เพิ่มขึ้น คนที่อยู่ก็ภาระงานล้นมือ แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องการบริหารจัดการที่ต้องแก้ไข ขณะนี้กระทรวงก็เดินหน้าคลินิกหมอครอบครัว เน้นเรื่องส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และดูแลโรคที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพื่อลดความแออัดและภาระงานของรพ. รวมถึงการอุดและเติมแพทย์ เช่น กรณีขาดแพทย์เฉพาะทาง ก็จะให้ทุนกับแพทย์ที่อยู่ระหว่างการใช้ทุนในรพ.อยู่แล้ว เพื่อไปเรียนต่อ โดยถือเป็นการลาเรียนและได้รับเงินเดือนปกติ นับเป็นความมั่นคงที่แพทย์ต้องการ ซึ่งเมื่อจบกลับมาก็ใช้ทุนต่อระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาเรียน แต่หากเป็นสาขายอดนิยมก็จะคิด 3 เท่า แต่ปัญหาเมื่อส่งไปเรียนต่อ ทำให้มีแพทย์จบใหม่ไม่เพียงพอ จึงพยายามให้โควตาพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีใครอยากไป หรือกรณีจบเฉพาะทางมาแล้วก็ไม่ยอมใช้ทุนทำให้รพ.เสียโอกาส
https://www.dailynews.co.th/politics/651896