credit : bangkokbiznews.com
------
สธ.ดันเมกะโปรเจคงบ 1-2 แสนล้านพัฒนาระบบสาธารณสุขทั้งประเทศ ตั้งศูนย์เฉพาะทางระดับพื้นที่-แพทย์ประจำทุกรพ.สต.-ผลิตแพทย์เพิ่ม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวในการเป็นประธานประชุม“การพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงสาธารณสุข 12 เขตบริการสุขภาพ” โดยมีสภาวิชาชีพต่างๆเข้าร่วม อาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัชศาสตร์ ทันตแพทย์ เป็นต้น และผู้แทนคณะพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสาธารณสุขรวมทั้งประเทศ โดยจัดทำแผนเมกะโปรเจค เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1-2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 10 ปีเริ่มในปี 2558 โดย สธ. แบ่งการดำเนินการออกเป็นพื้นที่ 12 เขตบริการสุขภาพ มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นผู้ดูแลแต่ละเขต ได้มอบหมายให้มีการจัดทำแผนสร้างมาตรฐานสำหรับเขตบริการสุขภาพทั้งหมดให้เป็นมาตรฐานเดียว เช่น ทุกเขตจะต้องมีศูนย์รักษาโรคหัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์มะเร็ง เนื่องจากเป็นโรคและภัยที่เกิดขึ้นมากที่สุดของคนไทย โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เป็นผู้จัดทำแผนดังกล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เมื่อแผนการพัฒนาให้ได้มาตรฐานกลางแล้วเสร็จ จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ต้องมีแพทย์ประจำทุกแห่ง การผลิตแพทย์จะใช้เวลา 6 ปี ตั้งเป้า 3 ปีแรกจะผลิตแพทย์ให้ได้ 1 ต่อประชากร 7,000 คน ส่วน 3 ปีหลังอาจเป็น 1 ต่อประชากร 6,000 คน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการเมกะโปรเจคต์จะต้องค่อยๆดำเนินการ ในปี 2556 ได้วางรากฐานด้วยการจัดเขตบริการสุขภาพ จากนั้นจะเริ่มดำเนินการต่างๆ ขณะนี้มอบให้ปลัด สธ.จัดทำแผนที่การแบ่งบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน เช่น พื้นที่เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพสร้างศูนย์โรคหัวใจส่วนโรงพยาบาลจังหวัดของสธ.ก็ไม่ต้องสร้าง โดยรัฐบาลจะนำเงินไปสนับสนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แทน ทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขเป็นองค์รวม คาดว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะชัดเจนในปี 2558
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า สธ.จะแบ่งโรงพยาบาลออกแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับตติยภูมิ หรือโรงพยาบาลระดับใหญ่ มีโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) 116 แห่ง ระดับทุติยภูมิ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 774 แห่ง และระดับปฐมภูมิ เป็นโรงพยาบาลระดับเล็กทั้ง รพ.สต. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.) และสถานบริการสาธารณสุขชุมชน(สสช.)รวม 10,174 แห่ง โดยเป้าหมายโรงพยาบาลทุกระดับจะต้องลดอัตราป่วย ลดอัตราตาย ลดค่าใช้จ่าย พัฒนามาตรฐานการบริการ และให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ อีกทั้งมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆในเขตบริการสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ เบื้องต้นมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ สธ.แต่ละเขตไปหารือกับโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำแผนงานกำหนดบทบาทหน้าที่ ความต้องการของแต่ละเขตบริการสุขภาพว่า ควรจะมีศูนย์เฉพาะทางด้านใดบ้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
อนึ่ง สธ.จัดทำแผนการลงทุนเพื่อเสนอรัฐบาลในโครงการเมกะโปรเจคนี้ จะมีการลงทุนพื้นฐานในสถานบริการหรือโรงพยาบาล 33,000 ล้านบาท ลงทุนในแผนบริการสุขภาพ (Service plan) 21,000 ล้านบาท และลงทุนในเมดิคัลฮับอีก 46,000 ล้านบาท รวมประมาณ 100,000 ล้านบาท
สธ.ดันงบ1-2 แสนล้านพัฒนาสาธารณสุขทั่วประเทศ
------
สธ.ดันเมกะโปรเจคงบ 1-2 แสนล้านพัฒนาระบบสาธารณสุขทั้งประเทศ ตั้งศูนย์เฉพาะทางระดับพื้นที่-แพทย์ประจำทุกรพ.สต.-ผลิตแพทย์เพิ่ม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) กล่าวในการเป็นประธานประชุม“การพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงสาธารณสุข 12 เขตบริการสุขภาพ” โดยมีสภาวิชาชีพต่างๆเข้าร่วม อาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัชศาสตร์ ทันตแพทย์ เป็นต้น และผู้แทนคณะพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสาธารณสุขรวมทั้งประเทศ โดยจัดทำแผนเมกะโปรเจค เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1-2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 10 ปีเริ่มในปี 2558 โดย สธ. แบ่งการดำเนินการออกเป็นพื้นที่ 12 เขตบริการสุขภาพ มีผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นผู้ดูแลแต่ละเขต ได้มอบหมายให้มีการจัดทำแผนสร้างมาตรฐานสำหรับเขตบริการสุขภาพทั้งหมดให้เป็นมาตรฐานเดียว เช่น ทุกเขตจะต้องมีศูนย์รักษาโรคหัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์มะเร็ง เนื่องจากเป็นโรคและภัยที่เกิดขึ้นมากที่สุดของคนไทย โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เป็นผู้จัดทำแผนดังกล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เมื่อแผนการพัฒนาให้ได้มาตรฐานกลางแล้วเสร็จ จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ต้องมีแพทย์ประจำทุกแห่ง การผลิตแพทย์จะใช้เวลา 6 ปี ตั้งเป้า 3 ปีแรกจะผลิตแพทย์ให้ได้ 1 ต่อประชากร 7,000 คน ส่วน 3 ปีหลังอาจเป็น 1 ต่อประชากร 6,000 คน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการเมกะโปรเจคต์จะต้องค่อยๆดำเนินการ ในปี 2556 ได้วางรากฐานด้วยการจัดเขตบริการสุขภาพ จากนั้นจะเริ่มดำเนินการต่างๆ ขณะนี้มอบให้ปลัด สธ.จัดทำแผนที่การแบ่งบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน เช่น พื้นที่เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพสร้างศูนย์โรคหัวใจส่วนโรงพยาบาลจังหวัดของสธ.ก็ไม่ต้องสร้าง โดยรัฐบาลจะนำเงินไปสนับสนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แทน ทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขเป็นองค์รวม คาดว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะชัดเจนในปี 2558
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า สธ.จะแบ่งโรงพยาบาลออกแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับตติยภูมิ หรือโรงพยาบาลระดับใหญ่ มีโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) 116 แห่ง ระดับทุติยภูมิ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 774 แห่ง และระดับปฐมภูมิ เป็นโรงพยาบาลระดับเล็กทั้ง รพ.สต. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.) และสถานบริการสาธารณสุขชุมชน(สสช.)รวม 10,174 แห่ง โดยเป้าหมายโรงพยาบาลทุกระดับจะต้องลดอัตราป่วย ลดอัตราตาย ลดค่าใช้จ่าย พัฒนามาตรฐานการบริการ และให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ อีกทั้งมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆในเขตบริการสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ เบื้องต้นมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ สธ.แต่ละเขตไปหารือกับโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำแผนงานกำหนดบทบาทหน้าที่ ความต้องการของแต่ละเขตบริการสุขภาพว่า ควรจะมีศูนย์เฉพาะทางด้านใดบ้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
อนึ่ง สธ.จัดทำแผนการลงทุนเพื่อเสนอรัฐบาลในโครงการเมกะโปรเจคนี้ จะมีการลงทุนพื้นฐานในสถานบริการหรือโรงพยาบาล 33,000 ล้านบาท ลงทุนในแผนบริการสุขภาพ (Service plan) 21,000 ล้านบาท และลงทุนในเมดิคัลฮับอีก 46,000 ล้านบาท รวมประมาณ 100,000 ล้านบาท