#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้#
ตอนที่ ๔ รับเงินและทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒
หลังจากพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนและและบัญญัติสิกขาบทว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละทองเงินนั้นเสีย"
จึงทรงแสดวงวิธีสละเงินและทองนั่นคือ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับเงินทองไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเงินทองนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัดหรืออุบาสก เดินผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงนำเงินนี้ไป”
ถ้าเขาถามว่าจะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปเปลี่ยนเป็นสิ่งใด ก็อย่าบอกให้เปลี่ยนเป็นสิ่งของใด ควรบอกแต่ของที่เป็นของบริโภคที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำเงินทองนั้นไปแลกของที่เป็นของบริโภคมาถวาย ภิกษุทุกรูปรับของบริโภคนั้นได้ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ต้องอาบัติรับเงินนั้น
ถ้าเขาไม่นำไปแลกเป็นของบริโภคให้ พึงบอกเขาว่า “โปรดช่วยทิ้งเงินนี้เสีย” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี
ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะนั่นคือ
๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว
๕ รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้งเงิน
แต่นั้นจึงตกลงแก่หมู่สงฆ์ว่าสงฆ์ผู้ใดคือผู้เหมาะควร ครั้นแล้วพึงประกาศให้สงฆ์ทราบดังนี้
“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ”
“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งเงินทอง ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งเงินทอง หากสงฆ์ท่านใดไม่เห็นด้วยพึงบอกกล่าว หากเห็นด้วยพึงนิ่งเสีย”
เมื่อแต่งตั้งภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองเสร็จสิ้นแล้ว ภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองนั้นพึงทิ้งเงินทองนั้นโดยไม่เจาะจงสถานที่ หากเจาะจงสถานที่ภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองต้อง ‘อาบัติทุกกฏ’
ภิกษุรับเงินด้วยเข้าใจว่าเป็นเงิน ต้องอาบัตินิสัคคียปาจิตตีย์
ภิกษุรับเงินทั้งที่ไม่แน่ใจว่าสิ่งนั้นใช่เงินหรือไม่ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
ภิกษุรับเงินด้วยเข้าใจว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เงินแต่รับไว้ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
สิ่งนั้นไม่ใช่เงินแต่ภิกษุรับไว้ด้วยเข้าใจว่าเป็นเงิน ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งนั้นไม่ใช่เงิน แต่ภิกษุมีความสงสัยว่าใช่เงินหรือไม่แต่กลับรับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งนั้นไม่ใช่เงิน และภิกษุรับไว้ด้วยรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เงิน ไม่ต้องอาบัติ
(อาบัตินิสสัคคียปาจิตีย์ นั้นหมายถึงการต้องอาบัติที่มีสิ่งของจำต้องสละคืนไม่อาจครอบครองไว้ได้ ดังเช่น เงิน ทอง
ดังนั้นแม้ภิกษุจะไม่รู้ว่านั่นคือเงินทองแต่รับไว้ มารู้ภายหลังก็ต้องสละเงินทองนั้นเสีย จึงเรียกว่าแม้ไม่รู้แต่รับเงินไว้ก็ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งตามพระวินัยไม่อาจถือครองต่อไปได้)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=2567&Z=2684
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่
http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**********************************
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ ท่านอ.พันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ
#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้# ตอนที่ ๔ รับเงินและทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒ (พระไตรปิฎก)
#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้#
ตอนที่ ๔ รับเงินและทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๒
หลังจากพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนและและบัญญัติสิกขาบทว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละทองเงินนั้นเสีย"
จึงทรงแสดวงวิธีสละเงินและทองนั่นคือ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับเงินทองไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเงินทองนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัดหรืออุบาสก เดินผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงนำเงินนี้ไป”
ถ้าเขาถามว่าจะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปเปลี่ยนเป็นสิ่งใด ก็อย่าบอกให้เปลี่ยนเป็นสิ่งของใด ควรบอกแต่ของที่เป็นของบริโภคที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำเงินทองนั้นไปแลกของที่เป็นของบริโภคมาถวาย ภิกษุทุกรูปรับของบริโภคนั้นได้ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ต้องอาบัติรับเงินนั้น
ถ้าเขาไม่นำไปแลกเป็นของบริโภคให้ พึงบอกเขาว่า “โปรดช่วยทิ้งเงินนี้เสีย” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี
ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะนั่นคือ
๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว
๕ รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้งเงิน
แต่นั้นจึงตกลงแก่หมู่สงฆ์ว่าสงฆ์ผู้ใดคือผู้เหมาะควร ครั้นแล้วพึงประกาศให้สงฆ์ทราบดังนี้
“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ”
“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งเงินทอง ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งเงินทอง หากสงฆ์ท่านใดไม่เห็นด้วยพึงบอกกล่าว หากเห็นด้วยพึงนิ่งเสีย”
เมื่อแต่งตั้งภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองเสร็จสิ้นแล้ว ภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองนั้นพึงทิ้งเงินทองนั้นโดยไม่เจาะจงสถานที่ หากเจาะจงสถานที่ภิกษุผู้ทำหน้าที่ทิ้งเงินทองต้อง ‘อาบัติทุกกฏ’
ภิกษุรับเงินด้วยเข้าใจว่าเป็นเงิน ต้องอาบัตินิสัคคียปาจิตตีย์
ภิกษุรับเงินทั้งที่ไม่แน่ใจว่าสิ่งนั้นใช่เงินหรือไม่ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
ภิกษุรับเงินด้วยเข้าใจว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เงินแต่รับไว้ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
สิ่งนั้นไม่ใช่เงินแต่ภิกษุรับไว้ด้วยเข้าใจว่าเป็นเงิน ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งนั้นไม่ใช่เงิน แต่ภิกษุมีความสงสัยว่าใช่เงินหรือไม่แต่กลับรับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งนั้นไม่ใช่เงิน และภิกษุรับไว้ด้วยรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เงิน ไม่ต้องอาบัติ
(อาบัตินิสสัคคียปาจิตีย์ นั้นหมายถึงการต้องอาบัติที่มีสิ่งของจำต้องสละคืนไม่อาจครอบครองไว้ได้ ดังเช่น เงิน ทอง
ดังนั้นแม้ภิกษุจะไม่รู้ว่านั่นคือเงินทองแต่รับไว้ มารู้ภายหลังก็ต้องสละเงินทองนั้นเสีย จึงเรียกว่าแม้ไม่รู้แต่รับเงินไว้ก็ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งตามพระวินัยไม่อาจถือครองต่อไปได้)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=2567&Z=2684
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่ http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**********************************
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ ท่านอ.พันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ