“บ้านเชียง”
ไม่ใช่จุดหมายปลายทางหรือแม้แต่เส้นทางที่คิดจะไปเที่ยว
ส่วนหนึ่งยอมรับว่า “เพราะรู้จักมาตั้งแต่เป็นนักเรียน”
ท่องได้ว่า เป็นโบราณสถาน มีไหบ้านเชียงแล้วทุกอย่างก็ จบแค่คำว่า “ไหบ้านเชียง”
ดูไม่น่ามีอะไรนอกจากของเก่า ของโบราณกับป้ายอธิบาย
เพื่อนทุกคนพร้อมใจกันโหวตว่า “ไม่ไป” เมื่อวางแผนจะไปเที่ยวไหนในอุดรฯ บ้าง
แต่ด้วยความที่ตั้งใจจะไปตามรอยนาคีที่เกาะคำชะโนด ในช่วงใกล้สิ้นเดือน
และได้รับคำเตือนว่า ให้ไปเช้า ๆ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดกับคนที่มาเสี่ยงโชคที่คำชะโนด
จะนอนในตัวเมืองอุดรฯ ก็เกรงว่าจะต้องออกกันแต่เช้าตรู่
เพื่อนที่เป็นคนขับรถถึงกับโวยวายว่า จะหลับกลางทาง
ฉะนั้น ต้องหาที่พักค้างคืนใกล้คำชะโนด
จับผลัดจับผลูได้เห็นรูปจากงานวิ่งมรดำโลกที่บ้านเชียงในเพจวิ่งซักอัน
ทำให้รู้ว่า บ้านเชียงมีโฮมสเตย์ของชาวบ้านอยู่หลายหลังพอสมควร
และระยะทางจากบ้านเชียงไปคำชะโนดก็มีทางลัด ใช้เวลาเพียง 30 -40 นาที
ทุกคนเลยลงความเห็นว่า “ลองไปดูก่อนก็ได้”
คิดกันไว้ว่า ถ้าไม่ไหวจะนอน หรือไม่รอดจริง ๆ ก็คงขับกลับมาเมืองอุดรฯ หรือขับเลยไปหารีสอร์ทแถวคำชะโนดดูแทน
ด้วยความ slow life กว่าจะเคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองก็สาย ๆ
จนออกเดินทางถึงได้รู้ว่า
“บ้านเชียงเป็นตำบล”
ความลังเลเกิดขึ้นอีกครั้งว่า มันจะโอเคแน่เหรอ ตำบลเลยนะ เล็กขนาดนี้จะมีอะไรให้เที่ยวไหม สงสัยมีแค่พิพิธภัณฑ์ แล้วคงได้เข้าที่พักหรือไม่งั้นก็คงขับเลยไปคำชะโนดเลยแน่ ๆ
และทริปบ้านเชียงแบบ งง ๆ ก็ทำให้รู้ว่า “บ้านเชียงมีอะไรมากกว่าหม้อเขียนลายสีแดงที่เห็นในหนังสือแบบเรียน”
“พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง” คือหมุดใหญ่ที่สุดใน google
บริเวณโดยรอบค่อนข้างร่มรื่น แม้จะมาถึงตอนเที่ยงแล้วก็ตาม
ทั้ง ๆ ที่เป็นวันอาทิตย์ แต่นักท่องเที่ยวค่อนข้างบางตา
แปลกใจที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นชาวต่างชาติ
เข้ามาจากประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ก็เห็นสัญลักษณ์ "UNESCO" ชัดเจน

ตามทางเดินก็ประดับประดาด้วยเครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแดงแบบที่เราเคยเห็นและรู้จักกันว่า "เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง"

ด้านในของพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคาร 2 หลังเชื่อมต่อกัน เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน
และมีศาลเจ้าที่ ลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทยหลังย่อม ๆ อยู่ด้านหน้าอาคาร เรียกว่า "ศาลขุนเชียงสวัสดิ์"
ขุนเชียงสวัสดิ์ เป็นคนบ้านเชียงโดยกำเนิด มีชื่อจริงว่า “กำนันพรหมมา แก้ววิเชียร” เป็นกำนันคนแรกของชุมชนบ้านเชียงที่ดูแลชาวบ้านในชุมชนละแวกนี้ มีชื่อเสียงทางด้านการปราบโจรที่มาปล้นทรัพย์ชาวบ้าน เป็นที่เลื่องลือกันในเรื่องความกล้าหาญ
ชาวบ้านเชียงก็เลยตั้งศาลให้เป็นที่เคาระสักการะ ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ได้รับคำบอกเล่าว่า ใครที่เผลอหยิบโบราณวัตถุพวกลูกปัด หรือชิ้นส่วนไหจากบ้านเชียงไป มักจะอยู่ไม่ค่อยสบาย มีแต่เรื่อง และก็มักจะมีคนนำของเหล่านั้นมาคืนที่ศาลขุนเชียงสวัสดิ์อยู่บ่อยครั้ง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ก็จะนำมาจัดแสดงในห้องสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์นั่นเอง
ด้านในอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เป็นอาคาร 2 ชั้น ติดแอร์ เย็นสบาย เดินแล้วมีจุดให้นั้งพักเป็นระยะ
ก่อนจะเข้าก็ต้องชำระค่าตั๋วคนละ 30 บาท โดยตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์สามารถนำไปใช้เข้าชมหลุมขุดค้น วัดโพธิ์ศรีใน ได้
ฟรี !!!
ตอนเจ้าหน้าที่บอกว่า "หลุมขุดค้น" ก็ไม่รู้คืออะไร แต่ว่าฟรี ก็แวะไปหน่อยละกัน
โชคดีที่ตอนไปถึงมีกลุ่มนักศึกษามาเยี่ยมชม
ก็เลยได้อาศัยใบบุญ ฟังบรรยายไปด้วย
ห้องแรกของนิทรรศการถาวรเป็นเรื่องของที่มาของการค้นพบ "โบราณสถานบ้านเชียง"
ด้วยความที่พื้นที่ของบ้านเชียง คือ ร่องรอยของอารยธรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์
ทำให้แต่เดิม การเจอเครื่องปั้นดินเผาหรือเศษลูกปัดบริเวณนี้ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะไม่ใช่เรื่องแปลก ทุกบ้านมีหมด
ว่ากันว่า ขุดพื้นดินลงไปเพื่อลงเสาปลูกบ้านหลังใดก็จะเจอซากโบราณวัตถุต่าง ๆ เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้เจอโครงกระดูก
ห้องนี้ก็เลยนำเสนอเรื่องราว ที่มาที่ไปให้เราได้รู้เกี่ยวกับว่า "จุดเรื่มต้นกว่าจะมาเป็นชุมชนที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO "
มาจากไหน มีใครเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
และเราก้ได้รู้ว่า ก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑ์
ในชุมชนเองก็มี บ้านเชียง Collection แล้วนะ
ซึ่งแปลว่า ก่อนที่ Mr. Stephen จะมาเยี่ยมชมชุมชนนี้ในช่วงที่กองทัพสหรัฐมาตั้งค่ายที่จังหวัดอุดรธานีและมาสะดุดรากไม้
คนในพื้นที่ก็มีการเก็บโบราณวัตถุกันแล้ว เพียงแต่องค์ความรู้ด้านโบราณคดีในเมืองไทยช่วงนั้นอาจจะไม่ได้กว้างขวางแบบสมัยนี้
และโดยไม่ได้คาดหมาย....
เราได้กลายเป็นนักเดินทางตามรอยเท้าของรัชกาลที่ 9
พระฉายาลักษณ์ของพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระราชีนีที่เป็นภาพขาวดำทั้งหมด
เป็นสิ่งย้ำเตือนใจว่า "ไม่มีตารางนิ้วใดในแผ่นดินนี้ที่พระองค์ไปไม่ถึง"
ความคิดถึงตีตื้นขึ้นมาจนน้ำตารื่น
ก่อนที่เสียงวิทยากรบอกว่า
"ท่านเคยเสด็จมาโดยไม่มีหมายกำหนดการในปี พ.ศ .2515 สมัยที่ยังเป็นช่วงที่กรมศิลป์กำลังเริ่มขุดค้นและเก็บข้อมูล รวมทั้งเคยเสด็จไปที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีด้วยองค์เองในวันที่มีแต่ฝุ่นกับหลุม และนักโบราณคดี"
เอาหล่ะ !
"หลุมขุดค้น" คืออะไรไม่รู้
แต่มาถึงนี่แล้วก็ต้องไปดูให้ได้
ห้องต่อมาของพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนที่สนุกที่สุดและทุกคนชอบที่สุด
เราเรียกกันเองว่า "ห้อง BC"
"BC" คือ รหัสหรือโค้ดย่อบนถุงผ้าที่นักโบราณคดีใช้เก็บชิ้นส่วนจากสถานที่ค้นพบ ก่อนจะนำชิ้นส่วนแต่ละส่วนกลับมาทำการศึกษาและประกอบเป็นรูปแบบที่เราเห็นในตู้กระจก
ภายในห้องจัดแสดงวิธีการจำลอง "การประกอบร่างเครื่องปั้นดินเผา"
การต่อหม้อ ไห หรือโบราณวัตถุจะต้องทำบนกระบะทราย ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายน้ำ มีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายของโบราณวัตถุ
นักโบราณคดีจะหยิบชิ้นส่วนทีละชิ้นจากถุงผ้าที่เก็บมาจากสถานที่ที่พบแต่ละถุงแล้วประกอบขึ้น
บางชิ้นอาจใช้เวลาแค่ 6-8 ชั่วโมง ในขณะที่บางิ้นใช้เวลาประกอบเป็นเดือน ๆ

และส่วนที่สนุกที่สุดก็มาถึง...
พิพิธภัณฑ์จัดมุมลักษณะ Play and Learn โดยมีตัวต่อแบบ 3 มิติ ให้ลองประกอบร่าง ทำตัวเเสมือนเป็นนักโบราณคดี
ขนาดว่า ลายไม่ซับซ้อน กว่าจะประกอบได้ก็เป็นชั่วโมงเหมือนกัน

ด้านล่างของอาคารแรกเป็นส่วนจำลองพื้นที่ทำงานของนักโบราณคดี
บ้านเชียงมีการขุดค้นมาแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง ซึ่งก็เชื่อว่าหากทำการขุดครั้นครั้งที่ 8 ก็น่าจะยังเจอโบราณวัตถุอยู่
วัตถุที่ถูกค้นพบในบริเวณบ้านเชียง แบ่งได้เป็น 3 สมัย คือ สมัยต้น สมัยกลาง และสมัยปลาย
"สมัย" ต่างจาก "ยุค"
เพราะหากนับยุคกับวัตถุโบราณที่ค้นพบที่บ้านเชียงก็ต้องบอกว่า "ยุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหมด"
ด้วยโบราณสถานบ้านเชียงคือเรื่องเล่าของคนที่ตายไปนานแล้ว
นักโบราณคดีจึงจำแนก "สมัย" ผ่านลักษณะการฝั่งศพ วิธีการเขียนลายบนไห
การฝังศพในสมัยต้น จะเป็นลักษณะนอนหงาน มัดตราสังข์ หรือนั่งงอเข่า ส่วนศพเด็กจะฝังในไห
พอสมัยกลาง จะมีการ "จงใจ" ทุบหม้อหรือเครื่องปั้นดินเผาเพื่อใช้คลุมศพ
ส่วนสมัยปลาย เศษของหม้อและเครื่องปั้นดินเผาจะถูกใช้เพื่อรองใต้ศพแทน
ด้วยความต่างของการใช้เครื่องปั้นดินเผาและวิถีชีวิต
จึงสามารถจำแนก "สมัยของเครื่องปั้น" จาก "วิธีการเขียนลาย"
สมัยต้น : จะไม่มีการเขียนลายแต่ละเคลือบมันแทน (ดูไป ๆ มา ๆ คล้ายชามเซรามิกที่ใช้กันสมัยนี้เหมือนกัน)
สมัยกลาง : เขียนสีด้วยลายเพียงครึ่งใบ
สมัยปลาย : มีการเขียนสีเต็มทั้งใบลวดลายต่าง ๆ

นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้ว
วัตถุที่พบในบ้านเชียงได้อีกจะเป็นเครื่องประดับ ลุกลิ้งดินเผา และมีร่องรอยของเครื่องใช้สำริดที่ยังมีเม็ดข้าวติดด้วย
อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารที่มีห้องจัดแสดงเรื่องราวของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์
เป็นเหมือนหุ่นจำลอง ค่อนข้างทันสมัยและอ่านสนุกมาก

ของดีของเด็ดที่ไม่อยากให้พลาด คือ "คุณทองโบราณ"
โครงกระดูกสุนัขที่ชี้ให้เห็นว่า หมากับคนอยู่ร่วมกันมานานแล้ว
"คุณทองโบราณ" คือ มาสคอตประจำจังหวัดอุดรธานี
และชื่อ "ทองโบราณ" เป็นนามพระราชทานจากรัชกาลที่ 9

คือสภาพอาจจะดูยากซักหน่อยว่าเป็นโครงกระดูกสุนัข
พอมา google ดูก็พบว่า มีภาพก่อนหน้านี้ที่เป็นโครงร่างสุนัข
แต่เนื่องจากมีช่วงหนึ่งที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุโบราณชิ้นนี้ไปจัดแสดงที่พิธภัณฑ์อื่น
ด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ พอคุณทองโบราณคืนกลับมาบ้านอีกครั้ง
ก็เป็นแบบนี้แล้ว
ห้องสุดท้ายเป็นห้องที่จัดแสดงสารพันสิ่งที่ค้นพบภายใต้พื้นดินของตำบลบ้านเชียง
มากกว่า 80% ของห้องนี้ คือ ของที่ได้รับกลับมาจากผู้คนต่างถิ่น หรือการนำมาคืน
เนื่องจากในยุคแรก ๆ การเข้ามาของทหาร GI ในหมู่บ้าน ได้มีการลักลอบขุดและนำโบราณวัตถุไปขาย
บางส่วนได้กลับมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ในขณะที่บางชิ้น็เพิ่งได้คืนเร็ว ๆ นี้
----------------------------------------------------------------------------------------
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง อยู่ได้เพราะรายได้แรงสนับสนุนของการท่องเที่ยว
เครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ทุกใบถูกจัดแสดงที่นี่
นักเดินทางหลายคนจากทั่วโลกจึงเดินทางมาเพื่อให้ได้เห็น "ของจริง"
ความดีงามคือ ที่นี่อนุญาตให้ถ่ายรุปได้ แต่ขออย่าใช้ Flash เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โบราณวัตถุได้
เราใช้เวลาที่นี่ 2 ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่คิกว่า ไม่น่ามีอะไร
พิพิภัณฑ์ไม่ใหญ่ แต่จัดเรื่องได้น่าสนใจมาก
ระหว่างการเข้าชม
พบพฤติกรรมไม่ค่อยน่ารักของนักท่องเที่ยวบางคน คือ ของที่จัดแสดงไม่อนุญาตให้จับหรือลูบ
บางคนเดินไปเคาะ ๆๆ พอเจ้าหน้าที่เตือน ก็บอกว่า "แค่เคาะ ไม่ได้จับหรือลูบ"
เจ้าหน้าที่มีน้อย ช่วยกันรักษานะคะ...
จบการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ เราก็มานั่งละเลียดไอศกรีมอยู่บริเวณสนามหญ้า
วิทยากรที่นำคณะนักศึกษาไปชมพิพิธภัณฑ์ ใส่มาส์กและขี่มอเตอร์ไซต์ออกจากพิพิธภัณฑ์ไป
ก็ยังรู้สึก เฉย ๆ
ซักพักเริ่มมีพี่ ๆ ใส่มาส์กพร้อมหอบหิ้วอุปกณ์ทำความสะอาต ขี่รถตามกันออกไป
ด้วยความอยากรู้เลยถาม พี่ยามที่ป้อมว่า "เขาไปไหนกัน"
"Big Cleaning หลุมขุด "
เฮ้ย ! ลืมหลุมขุด
หลุมขุด ซึ่งคืออะไรไม่รู้
หลุมขุด ซึ่งหน้าตาอย่างไรไม่รู้
หลุดขุด ซึ่งน่าสนใจไหมไม่รู้
รู้แต่เขา Big cleaning 5555+
เด้งตัวขึ้นรถกันแทบไม่ทัน
ตามพี่ ๆ ที่แว๊นออกไป
ไปหลุมขุด.....
---------------------------------------------------------------------------------------
Take A Break Udon Thani คือ 1 ใน 20 เมืองรองภายใต้โครงการ Take A Break Thailand ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ที่อยากจะให้ "คนทำงาน" และ "มนุษย์ออฟฟิศสุดเครียด" ออกไปใช้วันลาพักผ่อน
เปิดประสบการณ์ใหม่ และไปเที่ยวในที่ที่ไม่เคยไป มุมที่ไม่เคยเห็น
โดยนำเสนอแต่ละจังหวัดของเมืองรองผ่านมุมมองของคนจาก 20 อาชีพ
ทีมนักกฎหมาย ได้รับเลือกให้ไป "อุดรธานี"
และนี่คือที่มาของ Take A Break Udon Thani
เห็น อุดรฯ ในแบบที่คุณไม่เคยเห็น
ใกล้ อุดรฯ ให้ชิดกว่าที่เคยเป็น
เข้าใจ อุดรฯ ให้ลึกกว่าที่เคยรู้
และ รัก อุดรฯ ในแบบที่อุดรฯ เป็นไปกับเรา
ที่ www.facebook.com/TakeaBreakThailand
หรือ #TakeaBreakUdonThani
Take A Break Udon Thani : บ้านเชียง ไม่ใช่แค่ “ทางผ่าน”
ไม่ใช่จุดหมายปลายทางหรือแม้แต่เส้นทางที่คิดจะไปเที่ยว
ส่วนหนึ่งยอมรับว่า “เพราะรู้จักมาตั้งแต่เป็นนักเรียน”
ท่องได้ว่า เป็นโบราณสถาน มีไหบ้านเชียงแล้วทุกอย่างก็ จบแค่คำว่า “ไหบ้านเชียง”
ดูไม่น่ามีอะไรนอกจากของเก่า ของโบราณกับป้ายอธิบาย
เพื่อนทุกคนพร้อมใจกันโหวตว่า “ไม่ไป” เมื่อวางแผนจะไปเที่ยวไหนในอุดรฯ บ้าง
แต่ด้วยความที่ตั้งใจจะไปตามรอยนาคีที่เกาะคำชะโนด ในช่วงใกล้สิ้นเดือน
และได้รับคำเตือนว่า ให้ไปเช้า ๆ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดกับคนที่มาเสี่ยงโชคที่คำชะโนด
จะนอนในตัวเมืองอุดรฯ ก็เกรงว่าจะต้องออกกันแต่เช้าตรู่
เพื่อนที่เป็นคนขับรถถึงกับโวยวายว่า จะหลับกลางทาง
ฉะนั้น ต้องหาที่พักค้างคืนใกล้คำชะโนด
จับผลัดจับผลูได้เห็นรูปจากงานวิ่งมรดำโลกที่บ้านเชียงในเพจวิ่งซักอัน
ทำให้รู้ว่า บ้านเชียงมีโฮมสเตย์ของชาวบ้านอยู่หลายหลังพอสมควร
และระยะทางจากบ้านเชียงไปคำชะโนดก็มีทางลัด ใช้เวลาเพียง 30 -40 นาที
ทุกคนเลยลงความเห็นว่า “ลองไปดูก่อนก็ได้”
คิดกันไว้ว่า ถ้าไม่ไหวจะนอน หรือไม่รอดจริง ๆ ก็คงขับกลับมาเมืองอุดรฯ หรือขับเลยไปหารีสอร์ทแถวคำชะโนดดูแทน
ด้วยความ slow life กว่าจะเคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองก็สาย ๆ
จนออกเดินทางถึงได้รู้ว่า “บ้านเชียงเป็นตำบล”
ความลังเลเกิดขึ้นอีกครั้งว่า มันจะโอเคแน่เหรอ ตำบลเลยนะ เล็กขนาดนี้จะมีอะไรให้เที่ยวไหม สงสัยมีแค่พิพิธภัณฑ์ แล้วคงได้เข้าที่พักหรือไม่งั้นก็คงขับเลยไปคำชะโนดเลยแน่ ๆ
และทริปบ้านเชียงแบบ งง ๆ ก็ทำให้รู้ว่า “บ้านเชียงมีอะไรมากกว่าหม้อเขียนลายสีแดงที่เห็นในหนังสือแบบเรียน”
“พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง” คือหมุดใหญ่ที่สุดใน google
บริเวณโดยรอบค่อนข้างร่มรื่น แม้จะมาถึงตอนเที่ยงแล้วก็ตาม
ทั้ง ๆ ที่เป็นวันอาทิตย์ แต่นักท่องเที่ยวค่อนข้างบางตา
แปลกใจที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นชาวต่างชาติ
เข้ามาจากประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ก็เห็นสัญลักษณ์ "UNESCO" ชัดเจน
ตามทางเดินก็ประดับประดาด้วยเครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแดงแบบที่เราเคยเห็นและรู้จักกันว่า "เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง"
ด้านในของพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคาร 2 หลังเชื่อมต่อกัน เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน
และมีศาลเจ้าที่ ลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทยหลังย่อม ๆ อยู่ด้านหน้าอาคาร เรียกว่า "ศาลขุนเชียงสวัสดิ์"
ขุนเชียงสวัสดิ์ เป็นคนบ้านเชียงโดยกำเนิด มีชื่อจริงว่า “กำนันพรหมมา แก้ววิเชียร” เป็นกำนันคนแรกของชุมชนบ้านเชียงที่ดูแลชาวบ้านในชุมชนละแวกนี้ มีชื่อเสียงทางด้านการปราบโจรที่มาปล้นทรัพย์ชาวบ้าน เป็นที่เลื่องลือกันในเรื่องความกล้าหาญ
ชาวบ้านเชียงก็เลยตั้งศาลให้เป็นที่เคาระสักการะ ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ได้รับคำบอกเล่าว่า ใครที่เผลอหยิบโบราณวัตถุพวกลูกปัด หรือชิ้นส่วนไหจากบ้านเชียงไป มักจะอยู่ไม่ค่อยสบาย มีแต่เรื่อง และก็มักจะมีคนนำของเหล่านั้นมาคืนที่ศาลขุนเชียงสวัสดิ์อยู่บ่อยครั้ง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ก็จะนำมาจัดแสดงในห้องสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์นั่นเอง
ด้านในอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เป็นอาคาร 2 ชั้น ติดแอร์ เย็นสบาย เดินแล้วมีจุดให้นั้งพักเป็นระยะ
ก่อนจะเข้าก็ต้องชำระค่าตั๋วคนละ 30 บาท โดยตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์สามารถนำไปใช้เข้าชมหลุมขุดค้น วัดโพธิ์ศรีใน ได้ ฟรี !!!
ตอนเจ้าหน้าที่บอกว่า "หลุมขุดค้น" ก็ไม่รู้คืออะไร แต่ว่าฟรี ก็แวะไปหน่อยละกัน
โชคดีที่ตอนไปถึงมีกลุ่มนักศึกษามาเยี่ยมชม
ก็เลยได้อาศัยใบบุญ ฟังบรรยายไปด้วย
ห้องแรกของนิทรรศการถาวรเป็นเรื่องของที่มาของการค้นพบ "โบราณสถานบ้านเชียง"
ด้วยความที่พื้นที่ของบ้านเชียง คือ ร่องรอยของอารยธรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์
ทำให้แต่เดิม การเจอเครื่องปั้นดินเผาหรือเศษลูกปัดบริเวณนี้ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะไม่ใช่เรื่องแปลก ทุกบ้านมีหมด
ว่ากันว่า ขุดพื้นดินลงไปเพื่อลงเสาปลูกบ้านหลังใดก็จะเจอซากโบราณวัตถุต่าง ๆ เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้เจอโครงกระดูก
ห้องนี้ก็เลยนำเสนอเรื่องราว ที่มาที่ไปให้เราได้รู้เกี่ยวกับว่า "จุดเรื่มต้นกว่าจะมาเป็นชุมชนที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO "
มาจากไหน มีใครเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
และเราก้ได้รู้ว่า ก่อนที่จะมีพิพิธภัณฑ์
ในชุมชนเองก็มี บ้านเชียง Collection แล้วนะ
ซึ่งแปลว่า ก่อนที่ Mr. Stephen จะมาเยี่ยมชมชุมชนนี้ในช่วงที่กองทัพสหรัฐมาตั้งค่ายที่จังหวัดอุดรธานีและมาสะดุดรากไม้
คนในพื้นที่ก็มีการเก็บโบราณวัตถุกันแล้ว เพียงแต่องค์ความรู้ด้านโบราณคดีในเมืองไทยช่วงนั้นอาจจะไม่ได้กว้างขวางแบบสมัยนี้
และโดยไม่ได้คาดหมาย....
เราได้กลายเป็นนักเดินทางตามรอยเท้าของรัชกาลที่ 9
พระฉายาลักษณ์ของพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระราชีนีที่เป็นภาพขาวดำทั้งหมด
เป็นสิ่งย้ำเตือนใจว่า "ไม่มีตารางนิ้วใดในแผ่นดินนี้ที่พระองค์ไปไม่ถึง"
ความคิดถึงตีตื้นขึ้นมาจนน้ำตารื่น
ก่อนที่เสียงวิทยากรบอกว่า
"ท่านเคยเสด็จมาโดยไม่มีหมายกำหนดการในปี พ.ศ .2515 สมัยที่ยังเป็นช่วงที่กรมศิลป์กำลังเริ่มขุดค้นและเก็บข้อมูล รวมทั้งเคยเสด็จไปที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีด้วยองค์เองในวันที่มีแต่ฝุ่นกับหลุม และนักโบราณคดี"
เอาหล่ะ !
"หลุมขุดค้น" คืออะไรไม่รู้
แต่มาถึงนี่แล้วก็ต้องไปดูให้ได้
ห้องต่อมาของพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนที่สนุกที่สุดและทุกคนชอบที่สุด
เราเรียกกันเองว่า "ห้อง BC"
"BC" คือ รหัสหรือโค้ดย่อบนถุงผ้าที่นักโบราณคดีใช้เก็บชิ้นส่วนจากสถานที่ค้นพบ ก่อนจะนำชิ้นส่วนแต่ละส่วนกลับมาทำการศึกษาและประกอบเป็นรูปแบบที่เราเห็นในตู้กระจก
ภายในห้องจัดแสดงวิธีการจำลอง "การประกอบร่างเครื่องปั้นดินเผา"
การต่อหม้อ ไห หรือโบราณวัตถุจะต้องทำบนกระบะทราย ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายน้ำ มีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายของโบราณวัตถุ
นักโบราณคดีจะหยิบชิ้นส่วนทีละชิ้นจากถุงผ้าที่เก็บมาจากสถานที่ที่พบแต่ละถุงแล้วประกอบขึ้น
บางชิ้นอาจใช้เวลาแค่ 6-8 ชั่วโมง ในขณะที่บางิ้นใช้เวลาประกอบเป็นเดือน ๆ
และส่วนที่สนุกที่สุดก็มาถึง...
พิพิธภัณฑ์จัดมุมลักษณะ Play and Learn โดยมีตัวต่อแบบ 3 มิติ ให้ลองประกอบร่าง ทำตัวเเสมือนเป็นนักโบราณคดี
ขนาดว่า ลายไม่ซับซ้อน กว่าจะประกอบได้ก็เป็นชั่วโมงเหมือนกัน
ด้านล่างของอาคารแรกเป็นส่วนจำลองพื้นที่ทำงานของนักโบราณคดี
บ้านเชียงมีการขุดค้นมาแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง ซึ่งก็เชื่อว่าหากทำการขุดครั้นครั้งที่ 8 ก็น่าจะยังเจอโบราณวัตถุอยู่
วัตถุที่ถูกค้นพบในบริเวณบ้านเชียง แบ่งได้เป็น 3 สมัย คือ สมัยต้น สมัยกลาง และสมัยปลาย
"สมัย" ต่างจาก "ยุค"
เพราะหากนับยุคกับวัตถุโบราณที่ค้นพบที่บ้านเชียงก็ต้องบอกว่า "ยุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหมด"
ด้วยโบราณสถานบ้านเชียงคือเรื่องเล่าของคนที่ตายไปนานแล้ว
นักโบราณคดีจึงจำแนก "สมัย" ผ่านลักษณะการฝั่งศพ วิธีการเขียนลายบนไห
การฝังศพในสมัยต้น จะเป็นลักษณะนอนหงาน มัดตราสังข์ หรือนั่งงอเข่า ส่วนศพเด็กจะฝังในไห
พอสมัยกลาง จะมีการ "จงใจ" ทุบหม้อหรือเครื่องปั้นดินเผาเพื่อใช้คลุมศพ
ส่วนสมัยปลาย เศษของหม้อและเครื่องปั้นดินเผาจะถูกใช้เพื่อรองใต้ศพแทน
ด้วยความต่างของการใช้เครื่องปั้นดินเผาและวิถีชีวิต
จึงสามารถจำแนก "สมัยของเครื่องปั้น" จาก "วิธีการเขียนลาย"
สมัยต้น : จะไม่มีการเขียนลายแต่ละเคลือบมันแทน (ดูไป ๆ มา ๆ คล้ายชามเซรามิกที่ใช้กันสมัยนี้เหมือนกัน)
สมัยกลาง : เขียนสีด้วยลายเพียงครึ่งใบ
สมัยปลาย : มีการเขียนสีเต็มทั้งใบลวดลายต่าง ๆ
นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้ว
วัตถุที่พบในบ้านเชียงได้อีกจะเป็นเครื่องประดับ ลุกลิ้งดินเผา และมีร่องรอยของเครื่องใช้สำริดที่ยังมีเม็ดข้าวติดด้วย
อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารที่มีห้องจัดแสดงเรื่องราวของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์
เป็นเหมือนหุ่นจำลอง ค่อนข้างทันสมัยและอ่านสนุกมาก
ของดีของเด็ดที่ไม่อยากให้พลาด คือ "คุณทองโบราณ"
โครงกระดูกสุนัขที่ชี้ให้เห็นว่า หมากับคนอยู่ร่วมกันมานานแล้ว
"คุณทองโบราณ" คือ มาสคอตประจำจังหวัดอุดรธานี
และชื่อ "ทองโบราณ" เป็นนามพระราชทานจากรัชกาลที่ 9
คือสภาพอาจจะดูยากซักหน่อยว่าเป็นโครงกระดูกสุนัข
พอมา google ดูก็พบว่า มีภาพก่อนหน้านี้ที่เป็นโครงร่างสุนัข
แต่เนื่องจากมีช่วงหนึ่งที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุโบราณชิ้นนี้ไปจัดแสดงที่พิธภัณฑ์อื่น
ด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ พอคุณทองโบราณคืนกลับมาบ้านอีกครั้ง
ก็เป็นแบบนี้แล้ว
ห้องสุดท้ายเป็นห้องที่จัดแสดงสารพันสิ่งที่ค้นพบภายใต้พื้นดินของตำบลบ้านเชียง
มากกว่า 80% ของห้องนี้ คือ ของที่ได้รับกลับมาจากผู้คนต่างถิ่น หรือการนำมาคืน
เนื่องจากในยุคแรก ๆ การเข้ามาของทหาร GI ในหมู่บ้าน ได้มีการลักลอบขุดและนำโบราณวัตถุไปขาย
บางส่วนได้กลับมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ในขณะที่บางชิ้น็เพิ่งได้คืนเร็ว ๆ นี้
----------------------------------------------------------------------------------------
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง อยู่ได้เพราะรายได้แรงสนับสนุนของการท่องเที่ยว
เครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ทุกใบถูกจัดแสดงที่นี่
นักเดินทางหลายคนจากทั่วโลกจึงเดินทางมาเพื่อให้ได้เห็น "ของจริง"
ความดีงามคือ ที่นี่อนุญาตให้ถ่ายรุปได้ แต่ขออย่าใช้ Flash เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โบราณวัตถุได้
เราใช้เวลาที่นี่ 2 ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่คิกว่า ไม่น่ามีอะไร
พิพิภัณฑ์ไม่ใหญ่ แต่จัดเรื่องได้น่าสนใจมาก
ระหว่างการเข้าชม
พบพฤติกรรมไม่ค่อยน่ารักของนักท่องเที่ยวบางคน คือ ของที่จัดแสดงไม่อนุญาตให้จับหรือลูบ
บางคนเดินไปเคาะ ๆๆ พอเจ้าหน้าที่เตือน ก็บอกว่า "แค่เคาะ ไม่ได้จับหรือลูบ"
เจ้าหน้าที่มีน้อย ช่วยกันรักษานะคะ...
จบการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ เราก็มานั่งละเลียดไอศกรีมอยู่บริเวณสนามหญ้า
วิทยากรที่นำคณะนักศึกษาไปชมพิพิธภัณฑ์ ใส่มาส์กและขี่มอเตอร์ไซต์ออกจากพิพิธภัณฑ์ไป
ก็ยังรู้สึก เฉย ๆ
ซักพักเริ่มมีพี่ ๆ ใส่มาส์กพร้อมหอบหิ้วอุปกณ์ทำความสะอาต ขี่รถตามกันออกไป
ด้วยความอยากรู้เลยถาม พี่ยามที่ป้อมว่า "เขาไปไหนกัน"
เฮ้ย ! ลืมหลุมขุด
หลุมขุด ซึ่งคืออะไรไม่รู้
หลุมขุด ซึ่งหน้าตาอย่างไรไม่รู้
หลุดขุด ซึ่งน่าสนใจไหมไม่รู้
รู้แต่เขา Big cleaning 5555+
เด้งตัวขึ้นรถกันแทบไม่ทัน
ตามพี่ ๆ ที่แว๊นออกไป
ไปหลุมขุด.....
---------------------------------------------------------------------------------------
Take A Break Udon Thani คือ 1 ใน 20 เมืองรองภายใต้โครงการ Take A Break Thailand ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ที่อยากจะให้ "คนทำงาน" และ "มนุษย์ออฟฟิศสุดเครียด" ออกไปใช้วันลาพักผ่อน
เปิดประสบการณ์ใหม่ และไปเที่ยวในที่ที่ไม่เคยไป มุมที่ไม่เคยเห็น
โดยนำเสนอแต่ละจังหวัดของเมืองรองผ่านมุมมองของคนจาก 20 อาชีพ
ทีมนักกฎหมาย ได้รับเลือกให้ไป "อุดรธานี"
และนี่คือที่มาของ Take A Break Udon Thani
เห็น อุดรฯ ในแบบที่คุณไม่เคยเห็น
ใกล้ อุดรฯ ให้ชิดกว่าที่เคยเป็น
เข้าใจ อุดรฯ ให้ลึกกว่าที่เคยรู้
และ รัก อุดรฯ ในแบบที่อุดรฯ เป็นไปกับเรา
ที่ www.facebook.com/TakeaBreakThailand
หรือ #TakeaBreakUdonThani