จุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมตั้งกระทู้นี้ เนื่องมาจากมีพระรูปหนึ่งได้เขียน
บทความเพื่อจะบอกว่าพระรับเงินทองได้ และบอกด้วยว่าประโยคที่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันได้มีรับสั่งว่า "อย่าเอาเงินมาถวายพระ พระรับเงินรับทองเป็นอาบัติที่รุนแรงมาก" ไม่ใช่คำตรัสของพระสังฆราช การรับเงินไม่ใช่อาบัติที่รุนแรง เป็นอาบัติอย่างเบา
รวมถึงมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเช่นกันที่เข้าใจอย่างนั้น
คำว่า อาบัติเบา ไม่ได้หมายถึงอาบัติ
อย่างเบา แต่หมายถึง อาบัติ
ที่มีการลงโทษสถานเบา นั่นคือ สามารถปลงอาบัติได้
ส่วนคำว่า อาบัติหนัก หมายถึง อาบัติ
ที่มีการลงโทษสถานหนัก นั่นคือ ถ้าเป็นปาราชิกก็ขาดจากความเป็นพระทันที หรือถ้าเป็นสังฆาทิเสส ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม
พระที่ประพฤติชั่วแม้ว่าจะรุนแรง เช่น รับเงินทอง กินเหล้า ดูหนังโป๊ เล่นการพนัน ฯลฯ ยังไม่ถือว่าขาดจากความเป็นพระ หากไม่มีเจตนาก็ยังสามารถปลงอาบัติเพื่อแสดงความสำนึกและสัญญาว่าจะไม่ทำผิดอีกได้ (ถ้าเป็นทางโลกก็เรียกว่า เป็นลหุโทษ ปรับเงินหรือจำคุกไม่มาก)
ผมใช้คำว่า "หากไม่มีเจตนา" เพราะถ้ามีเจตนาทำผิด หรือทำผิดบ่อยๆ ผิดเป็นอาจิณ ตามกฏหมายสามารถจับสึกได้
ก็ขอฝากไว้นะครับ ต่อไปพวกอลัชชีที่ชอบอ้างว่า พระขอเงิน พระกินเหล้าไม่ใช่อาบัติรุนแรง เป็นแค่อาบัติอย่างเบา จะได้เลิกเข้าใจผิด
มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกับคำว่า "อาบัติหนัก" กับ "อาบัติเบา"
รวมถึงมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเช่นกันที่เข้าใจอย่างนั้น
คำว่า อาบัติเบา ไม่ได้หมายถึงอาบัติอย่างเบา แต่หมายถึง อาบัติที่มีการลงโทษสถานเบา นั่นคือ สามารถปลงอาบัติได้
ส่วนคำว่า อาบัติหนัก หมายถึง อาบัติที่มีการลงโทษสถานหนัก นั่นคือ ถ้าเป็นปาราชิกก็ขาดจากความเป็นพระทันที หรือถ้าเป็นสังฆาทิเสส ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม
พระที่ประพฤติชั่วแม้ว่าจะรุนแรง เช่น รับเงินทอง กินเหล้า ดูหนังโป๊ เล่นการพนัน ฯลฯ ยังไม่ถือว่าขาดจากความเป็นพระ หากไม่มีเจตนาก็ยังสามารถปลงอาบัติเพื่อแสดงความสำนึกและสัญญาว่าจะไม่ทำผิดอีกได้ (ถ้าเป็นทางโลกก็เรียกว่า เป็นลหุโทษ ปรับเงินหรือจำคุกไม่มาก)
ผมใช้คำว่า "หากไม่มีเจตนา" เพราะถ้ามีเจตนาทำผิด หรือทำผิดบ่อยๆ ผิดเป็นอาจิณ ตามกฏหมายสามารถจับสึกได้
ก็ขอฝากไว้นะครับ ต่อไปพวกอลัชชีที่ชอบอ้างว่า พระขอเงิน พระกินเหล้าไม่ใช่อาบัติรุนแรง เป็นแค่อาบัติอย่างเบา จะได้เลิกเข้าใจผิด