ที่ผมใช้คำว่า "อีกกระทู้" เพราะเคยตั้งกระทู้ไปแล้วก่อนหน้านี้ และอยากจะขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
พระพุทธเจ้า ได้บัญญัติพระวินัยขึ้น เพื่อให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม โดยแยกเป็น "อาบัติหนัก" กับ "อาบัติเบา"
ซึ่งผู้ที่ตัดสินใจเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แน่นอนว่าปกคิควรจะต้องเป็นคนดี มีความคิดที่จะสละกิเลส ยอมละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่สนใจทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ
ดังนั้น แม้จะเป็นอาบัติเบา ความละอายไม่ต่างอะไรกับอาบัติหนัก จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำ
หากใครเคยดูการสัมมนาของพระภิกษุเกี่ยวกับพระวินัย จะเห็นว่าอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็ให้ความสำคัญ น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะเดียวกัน มีคนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเพื่อหาผลประโยชน์ พวกนี้ไม่ได้สนใจพระวินัยเลย สังเกตเวลาพวกนี้ทำผิดพระวินัยมักจะบอกว่า ไม่ได้ไปฆ่าคนตาย แค่อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติทุกกฏ กินเหล้า ดูหนังโป๊ ไปปลงอาบัติก็จบแล้ว
ผมจึงอยากยกตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นภาพว่า ในมุมมองของพระภิกษุ ท่านเห็นความสำคัญของอาบัติอย่างไร อาจจะเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมก็ตาม แต่ผมมั่นใจว่าท่านรู้สึกอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าแบ่งอาบัติเป็น 2 อย่าง คือ "อาบัติหนัก" และ "อาบัติเบา"
อาบัติหนัก เช่น การฆ่าพ่อแม่ การข่มชืนกระทำชำเราพ่อแม่ เป็นปาราชิก หรือสังฆาทิเสส
อาบัติเบา เช่น เอาไม้หน้าสามฟาดไปที่หัวพ่อแม่ แค่เดี้ยงหรือสลบแต่ไม่ถึงกับตาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์นะครับ สำหรับพระภิกษุเรียกว่า อาบัติเบา
ส่วนอาบัติทุกกฏ เช่น ถ่มน้ำลายใส่หน้าพ่อแม่ ตบหัวพ่อแม่ อาบัติถุลลัจจัย เช่น การด่าพ่อแม่ เป็นต้น นี่ก็เป็นอาบัติเบา
ทั้งหมดเห็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพเท่านั้น ให้เห็นว่าอะไรเรียกว่าอาบัติหนัก อะไรเรียกว่า อาบัติเบา
พวกอลัชชีเวลาที่ทำความผิด มักจะบอกว่า อาบัติเบา ไม่เป็นไร ไม่ต่างอะไรกับคนที่บอกว่า แค่เอาไม้หน้าสามหรือไม่คมแฝก ฟาดไปที่หัวพ่อแม่เท่านั้น ไม่เห็นเป็นอะไรเลย
หรือบอกว่า แค่ถ่มน้ำลายใส่พ่อแม่เท่านั้น เป็นพระก็แค่อาบัติทุกกฏ
ซึ่งพระที่ดีๆ ต่อให้เป็นอาบัติทุกกฏ แม้แต่คิดท่านก็ไม่คิดที่จะทำ ซึ่งความรู้สึกไม่ต่างกับที่ผมยกตัวอย่างนะครับ
ขอพูดถึงเรื่อง "อาบัติหนัก" กับ "อาบัติเบา" อีกกระทู้
พระพุทธเจ้า ได้บัญญัติพระวินัยขึ้น เพื่อให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม โดยแยกเป็น "อาบัติหนัก" กับ "อาบัติเบา"
ซึ่งผู้ที่ตัดสินใจเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แน่นอนว่าปกคิควรจะต้องเป็นคนดี มีความคิดที่จะสละกิเลส ยอมละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่สนใจทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ
ดังนั้น แม้จะเป็นอาบัติเบา ความละอายไม่ต่างอะไรกับอาบัติหนัก จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำ
หากใครเคยดูการสัมมนาของพระภิกษุเกี่ยวกับพระวินัย จะเห็นว่าอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็ให้ความสำคัญ น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะเดียวกัน มีคนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเพื่อหาผลประโยชน์ พวกนี้ไม่ได้สนใจพระวินัยเลย สังเกตเวลาพวกนี้ทำผิดพระวินัยมักจะบอกว่า ไม่ได้ไปฆ่าคนตาย แค่อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติทุกกฏ กินเหล้า ดูหนังโป๊ ไปปลงอาบัติก็จบแล้ว
ผมจึงอยากยกตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นภาพว่า ในมุมมองของพระภิกษุ ท่านเห็นความสำคัญของอาบัติอย่างไร อาจจะเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมก็ตาม แต่ผมมั่นใจว่าท่านรู้สึกอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าแบ่งอาบัติเป็น 2 อย่าง คือ "อาบัติหนัก" และ "อาบัติเบา"
อาบัติหนัก เช่น การฆ่าพ่อแม่ การข่มชืนกระทำชำเราพ่อแม่ เป็นปาราชิก หรือสังฆาทิเสส
อาบัติเบา เช่น เอาไม้หน้าสามฟาดไปที่หัวพ่อแม่ แค่เดี้ยงหรือสลบแต่ไม่ถึงกับตาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์นะครับ สำหรับพระภิกษุเรียกว่า อาบัติเบา
ส่วนอาบัติทุกกฏ เช่น ถ่มน้ำลายใส่หน้าพ่อแม่ ตบหัวพ่อแม่ อาบัติถุลลัจจัย เช่น การด่าพ่อแม่ เป็นต้น นี่ก็เป็นอาบัติเบา
ทั้งหมดเห็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพเท่านั้น ให้เห็นว่าอะไรเรียกว่าอาบัติหนัก อะไรเรียกว่า อาบัติเบา
พวกอลัชชีเวลาที่ทำความผิด มักจะบอกว่า อาบัติเบา ไม่เป็นไร ไม่ต่างอะไรกับคนที่บอกว่า แค่เอาไม้หน้าสามหรือไม่คมแฝก ฟาดไปที่หัวพ่อแม่เท่านั้น ไม่เห็นเป็นอะไรเลย
หรือบอกว่า แค่ถ่มน้ำลายใส่พ่อแม่เท่านั้น เป็นพระก็แค่อาบัติทุกกฏ
ซึ่งพระที่ดีๆ ต่อให้เป็นอาบัติทุกกฏ แม้แต่คิดท่านก็ไม่คิดที่จะทำ ซึ่งความรู้สึกไม่ต่างกับที่ผมยกตัวอย่างนะครับ