ถ้าจะให้พูดถึงการเพาะเชื้อ สิ่งแรกที่ผมนึกถึงก็คงจะเป็น
กลิ่นเหม็นๆ ของอาหารเลี้ยงเชื้อ โคโลนีของเชื้อราที่ไม่ค่อยจะน่าดูซักเท่าไหร่ ซึ่งเชื้อราเนี่ย ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเห็น เวลาเผลอวางผลไม้หรือขนมปังทิ้งไว้นานๆ มันก็จะมีราขึ้น ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่าดูเลยใช่มั้ยล่ะครับ? แต่บรรดานักชีววิทยาก็สามารถทำให้บรรดาเชื้อราหรือแบคทีเรียเหล่านี้ดู
สวยงามขึ้นมาได้ ศิลปะนี่เป็นศาสตร์ที่จรรโลงใจจริงๆ
Alexander Fleming
จริงๆ แล้วศิลปะจานเพาะเชื้อเนี่ย ผู้ริเริ่มคนแรกก็คงต้องยกให้กับ
Alexander Fleming แพทย์ นักชีววิทยา นักเภสัชวิทยา และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ผู้ค้นพบยา Benzylpenicillin หรือที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า
เพนนิซิลิน (มีหลายประเภทครับ แต่ Benzylpenicillin จะมีชื่อเรียกว่า Penicillin G) ที่ได้จากเชื้อรา
Pennicilium notatum ชื่อดังนั่นเองครับ
ที่บอกว่า Fleming เป็นผู้ริเริ่ม ก็เพราะเขาทำศิลปะจานเพาะเชื้อด้วยครับ ซึ่งเชื้อราและแบคทีเรียชนิดต่างๆ นั้น ให้สีและรูปร่างที่แตกต่างกันมาก เปลี่ยนไปตามสปีชี่ส์ ซึ่งผลงานของเขานั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้เหล่านักชีววิทยารุ่นต่อๆ มา สร้างสรรผลงานที่สวยงามกันมาเรื่อยๆ และนี่ก็เป็น
ตัวอย่างผลงานของ Fleming ครับ
ตัวอย่างผลงานของ Fleming
และในส่วนของการประกวดศิลปะจานเพาะเชื้อในปี 2018 นั้น ผู้ชนะก็คือ Ana Tsitsishvili นักศึกษาสาขาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จอร์เจีย ซึ่งมาในคอนเซ็ปต์
The battle of winter and spring
The battle of winter and spring
ซึ่งถ้าดูจากภาพก็จะเห็นว่าเป็นการต่อสู้ของจุลินทรีย์ 2 ฝั่งด้วยกัน โดยที่ฝั่งซ้ายนั้นคือแบคทีเรียสกุล Staphylococcus และ Bacillus ก็คือด้านที่เป็นฤดูหนาว ซึ่งจะขยายพันธุ์และเติบโตกินอาณาบริเวณอื่นๆ แต่พอมาเจอกับ
Serratia marcescens ซึ่งเป็นแบคทีเรียอีกสายพันธุ์นึงที่สามารถผลิต Antibiotic ได้ด้วยตัวมันเอง ก็ทำให้แบคทีเรียฝั่งซ้ายไม่สามารถเจริญเติบโตมาทางฝั่งขวา ซึ่งเป็นฝั่งฤดูใบไม้ผลิได้ เป็นการบ่งบอกว่า
เมื่อความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิมาถึง หิมะก็จะละลายหายไป (น่อววววววว)
ส่วนแบคทีเรียอื่นๆ ที่อยู่ในสกุล Micrococcus และ Rhodotorula นั้นสามารถต้านทาน Antibiotic ได้ ก็จะเจริญเติบโตเป็นรูปดอกไม้ เพื่อบ่งบอกความเป็นธรรมชาติที่กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหลังฤดูหนาวผ่านพ้นไป (น่อวววววววววววววววว รอบสอง)
ส่วนอันดับ 2 นั้นมาในชื่อคอนเซ็ปต์ว่า
My yellow vision! ผลงานจาก Bornali Bhattacharjee จากสถาบันแห่งชาติด้านระบบชีวการแพทย์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นภาพที่
ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรเอก Vincent Van Gogh โดยใช้ธีมสีเหลืองสดใสจากเชื้อ
Staphylococccus aureus นั่นเองครับ ซึ่งภาพดั้งเดิมของ Van Gogh นั้นเป็นภาพที่มีชื่อว่า
Vase with Fifteen Sunflowers ครับผม
My yellow vision!
และอันดับที่ 3 นั้นเป็นผลงานร่วมของ Mehmet Berkmen และ Maria Peñil Cobo โดยให้ชื่อภาพว่า
Sustenance ซึ่งเป็นการรังสรรค์ผลงานจากจานเลี้ยงเชื้อ (เรียกกันสั้นๆ ว่าเพลต) 2 ชิ้น เสมือนความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกในท้องโดยเชื่อมกันด้วยสายสีแดงครับ ซึ่งเพลตบนนั้นเป็นภาพหน้าอกของแม่ และภาพล่างคือทารกในครรภ์นั่นเอง
Sustenance
ผมทึ่งมากจริงๆ นะ คนที่ทำอะไรแบบนี้ได้คือมือต้องลงเชื้อได้อย่าง
แม่นยำมาก ไม่มีผิดพลาด และต้อง
ไม่ปนเปื้อนเชื้ออื่นๆ แถมยังต้องรู้อัตราการเจริญเติบโต (Growth rate) ของเชื้อแต่ละตัวด้วย เพื่อที่จะได้ควบคุมว่าเชื้อตัวไหนควรจะโตประมาณไหน ถึงจะได้ภาพออกมาอย่างที่ต้องการ แหม...นอกจากหัวศิลป์แล้ว ก็ยังเก่งอีกด้วย ครบเครื่องจริงๆ
หากใครสนใจก็สามารถเข้าไปดูผลงานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
ASM AGAR ART CONTEST WINNERS ได้เลยครับ มีผลงานเจ๋งๆ อีกเพียบ!!
การประกวดศิลปะจานเพาะเชื้อ ASM Agar Art ประจำปี 2018
จริงๆ แล้วศิลปะจานเพาะเชื้อเนี่ย ผู้ริเริ่มคนแรกก็คงต้องยกให้กับ Alexander Fleming แพทย์ นักชีววิทยา นักเภสัชวิทยา และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ผู้ค้นพบยา Benzylpenicillin หรือที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่าเพนนิซิลิน (มีหลายประเภทครับ แต่ Benzylpenicillin จะมีชื่อเรียกว่า Penicillin G) ที่ได้จากเชื้อรา Pennicilium notatum ชื่อดังนั่นเองครับ
ที่บอกว่า Fleming เป็นผู้ริเริ่ม ก็เพราะเขาทำศิลปะจานเพาะเชื้อด้วยครับ ซึ่งเชื้อราและแบคทีเรียชนิดต่างๆ นั้น ให้สีและรูปร่างที่แตกต่างกันมาก เปลี่ยนไปตามสปีชี่ส์ ซึ่งผลงานของเขานั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้เหล่านักชีววิทยารุ่นต่อๆ มา สร้างสรรผลงานที่สวยงามกันมาเรื่อยๆ และนี่ก็เป็นตัวอย่างผลงานของ Fleming ครับ
และในส่วนของการประกวดศิลปะจานเพาะเชื้อในปี 2018 นั้น ผู้ชนะก็คือ Ana Tsitsishvili นักศึกษาสาขาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จอร์เจีย ซึ่งมาในคอนเซ็ปต์ The battle of winter and spring
ซึ่งถ้าดูจากภาพก็จะเห็นว่าเป็นการต่อสู้ของจุลินทรีย์ 2 ฝั่งด้วยกัน โดยที่ฝั่งซ้ายนั้นคือแบคทีเรียสกุล Staphylococcus และ Bacillus ก็คือด้านที่เป็นฤดูหนาว ซึ่งจะขยายพันธุ์และเติบโตกินอาณาบริเวณอื่นๆ แต่พอมาเจอกับ Serratia marcescens ซึ่งเป็นแบคทีเรียอีกสายพันธุ์นึงที่สามารถผลิต Antibiotic ได้ด้วยตัวมันเอง ก็ทำให้แบคทีเรียฝั่งซ้ายไม่สามารถเจริญเติบโตมาทางฝั่งขวา ซึ่งเป็นฝั่งฤดูใบไม้ผลิได้ เป็นการบ่งบอกว่าเมื่อความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิมาถึง หิมะก็จะละลายหายไป (น่อววววววว)
ส่วนแบคทีเรียอื่นๆ ที่อยู่ในสกุล Micrococcus และ Rhodotorula นั้นสามารถต้านทาน Antibiotic ได้ ก็จะเจริญเติบโตเป็นรูปดอกไม้ เพื่อบ่งบอกความเป็นธรรมชาติที่กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหลังฤดูหนาวผ่านพ้นไป (น่อวววววววววววววววว รอบสอง)
ส่วนอันดับ 2 นั้นมาในชื่อคอนเซ็ปต์ว่า My yellow vision! ผลงานจาก Bornali Bhattacharjee จากสถาบันแห่งชาติด้านระบบชีวการแพทย์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรเอก Vincent Van Gogh โดยใช้ธีมสีเหลืองสดใสจากเชื้อ Staphylococccus aureus นั่นเองครับ ซึ่งภาพดั้งเดิมของ Van Gogh นั้นเป็นภาพที่มีชื่อว่า Vase with Fifteen Sunflowers ครับผม
และอันดับที่ 3 นั้นเป็นผลงานร่วมของ Mehmet Berkmen และ Maria Peñil Cobo โดยให้ชื่อภาพว่า Sustenance ซึ่งเป็นการรังสรรค์ผลงานจากจานเลี้ยงเชื้อ (เรียกกันสั้นๆ ว่าเพลต) 2 ชิ้น เสมือนความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกในท้องโดยเชื่อมกันด้วยสายสีแดงครับ ซึ่งเพลตบนนั้นเป็นภาพหน้าอกของแม่ และภาพล่างคือทารกในครรภ์นั่นเอง
ผมทึ่งมากจริงๆ นะ คนที่ทำอะไรแบบนี้ได้คือมือต้องลงเชื้อได้อย่างแม่นยำมาก ไม่มีผิดพลาด และต้องไม่ปนเปื้อนเชื้ออื่นๆ แถมยังต้องรู้อัตราการเจริญเติบโต (Growth rate) ของเชื้อแต่ละตัวด้วย เพื่อที่จะได้ควบคุมว่าเชื้อตัวไหนควรจะโตประมาณไหน ถึงจะได้ภาพออกมาอย่างที่ต้องการ แหม...นอกจากหัวศิลป์แล้ว ก็ยังเก่งอีกด้วย ครบเครื่องจริงๆ
หากใครสนใจก็สามารถเข้าไปดูผลงานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ ASM AGAR ART CONTEST WINNERS ได้เลยครับ มีผลงานเจ๋งๆ อีกเพียบ!!