สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
Ethanol ไทยแพงว่าตลาดโลกมีเหตุผลของมัน
1 รัฐต้องการให้ไทยพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนและสอาด
จึงพยายามเปลี่ยนการใช้นำ้มันมาเป็นการใช้แอลกอฮอล์
2 Ethanolที่ทำจากกากนำ้ตาล70% มันสัมปะหลัง24% นอกนั้นเป็นอ้อยและอื่นๆ
การใช้กากนำ้ตาลทำให้ลดการแอบแทของเสียลงในแม่นำ้(สมัยก่อนแม่นำ้แม่กลอง ราชบุรีเน่าเป็นประจำ)
3 การผลิต Ethanol ในไทยมีต้นทุนสูงเพราะ ผลิตไม่ถึงระดับ Economy of scale(ผลิตได้0.5พันล้านลิตรต่อปี)
สูงกว่าอเมริกาที่ใช้ข้าวโพด gmo แถมขายกากข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์(ผลิตได้60พันล้านลิตรต่อปี)
และบราซิล ใช้อ้อยซึ่งมีพันธุ์ที่ดี อากาศเหมาะสม ผลผลิตต่อไร่สูงมาก(ผลิตได้20พันล้านลิตรต่อปี)
4 ปัญหาอ้อย และมันสัมปะหลังล้นตลาดหมดไป(จะเห็นได้ว่าระยะหลังไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอ้อยกับมันสัมปะหลัง
ออกมาประท้วง
รัฐเลยต้องยอมให้โรงงานไทยเอากำไรลิตรละ7บาท(ไอ้กันกับบราซิลเอากำไรลิตรละ2บาท)
เพื่อชดเชยกับEthanolที่เหลือใช้ ที่ต้องส่งออกในราคาตลาดโลกที่15-16บาท
สรุปรัฐต้องการส่งเสริมให้เกิดการผลิตEthanol เพื่อทดแทนการนำเข้านำ้มันดิบ แต่ไม่อยากใช้ภาษีไปอุดหนุน
ให้ตั้งราคาขายในประเทศสูงโดยคนเติมนำ้มันรับผิดชอบไป. มิเช่นนั้นการผลิตEthanolในไทยจะไม่เกิด
เหมือนเช่นการผลิตไฟฟ้าจากลม ชีวมวล แสงแดด ที่ต้นทุนสูง แต่รัฐต้องอุดหนุนเพื่อพัฒนาพลังงานสอาด
และยั่งยืน
1 รัฐต้องการให้ไทยพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนและสอาด
จึงพยายามเปลี่ยนการใช้นำ้มันมาเป็นการใช้แอลกอฮอล์
2 Ethanolที่ทำจากกากนำ้ตาล70% มันสัมปะหลัง24% นอกนั้นเป็นอ้อยและอื่นๆ
การใช้กากนำ้ตาลทำให้ลดการแอบแทของเสียลงในแม่นำ้(สมัยก่อนแม่นำ้แม่กลอง ราชบุรีเน่าเป็นประจำ)
3 การผลิต Ethanol ในไทยมีต้นทุนสูงเพราะ ผลิตไม่ถึงระดับ Economy of scale(ผลิตได้0.5พันล้านลิตรต่อปี)
สูงกว่าอเมริกาที่ใช้ข้าวโพด gmo แถมขายกากข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์(ผลิตได้60พันล้านลิตรต่อปี)
และบราซิล ใช้อ้อยซึ่งมีพันธุ์ที่ดี อากาศเหมาะสม ผลผลิตต่อไร่สูงมาก(ผลิตได้20พันล้านลิตรต่อปี)
4 ปัญหาอ้อย และมันสัมปะหลังล้นตลาดหมดไป(จะเห็นได้ว่าระยะหลังไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอ้อยกับมันสัมปะหลัง
ออกมาประท้วง
รัฐเลยต้องยอมให้โรงงานไทยเอากำไรลิตรละ7บาท(ไอ้กันกับบราซิลเอากำไรลิตรละ2บาท)
เพื่อชดเชยกับEthanolที่เหลือใช้ ที่ต้องส่งออกในราคาตลาดโลกที่15-16บาท
สรุปรัฐต้องการส่งเสริมให้เกิดการผลิตEthanol เพื่อทดแทนการนำเข้านำ้มันดิบ แต่ไม่อยากใช้ภาษีไปอุดหนุน
ให้ตั้งราคาขายในประเทศสูงโดยคนเติมนำ้มันรับผิดชอบไป. มิเช่นนั้นการผลิตEthanolในไทยจะไม่เกิด
เหมือนเช่นการผลิตไฟฟ้าจากลม ชีวมวล แสงแดด ที่ต้นทุนสูง แต่รัฐต้องอุดหนุนเพื่อพัฒนาพลังงานสอาด
และยั่งยืน
แสดงความคิดเห็น
แฉความลับ ราคาเอทานอลไม่อ้างอิงตลาดโลก เหตุราคา ตปท.ต่ำกว่าไทยเท่าตัว
https://mgronline.com/politics/detail/9610000053681
แฉความลับ ราคาเอทานอลไม่อ้างอิงตลาดโลก เหตุราคา ตปท.ต่ำกว่าไทยเท่าตัว
เผยแพร่: 30 พ.ค. 2561 17:44: ปรับปรุง: 30 พ.ค. 2561 20:18: โดย: MGR Online
อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ เผยความลับ รัฐบาลไม่ตั้งราคาเอทานอล อ้างอิงราคาตลาดโลกเหมือนน้ำมันและก๊าซหุงต้ม เพราะเอทานอลในไทยแพงกว่าตลาดโลกถึงลิตรละ 12 - 14 บาท เมื่อเอาเอทานอลมาเติมในเบนซิน เพื่อทำแกสโซฮอล์ จึงต้องเอาเงินกองทุนมาชดเชย แถมบวกค่าการตลาดสูงเวอร์ จี้นายกฯ ทำราคาเอทานอลให้มีประสิทธิภาพ อย่าใช้เป็นเครื่องมือล้วงเงินจากกระเป๋าประชาชน
วันนี้ (30 พ.ค.) เมื่อเวลา 14.51 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล ในหัวข้อ “เหตุใด เอทานอลจึงไม่อ้างอิงราคาตลาดโลกเหมือนน้ำมันและก๊าซหุงต้ม !?!” ว่า น้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นในประเทศจนเหลือใช้ และสามารถส่งออกไปยังประเทศในอาเซียนเป็นสินค้าอันดับ 2 ของประเทศไทย แต่เวลาขายคนไทยก็ยังต้องอ้างอิงราคาของสิงคโปร์ บวกค่าขนส่งเทียม ราวกับว่าน้ำมันสำเร็จรูปทั้ง 100% กลั่นในสิงคโปร์ และนำเข้าจากสิงคโปร์
ก๊าซหุงต้มมาจากก๊าซดิบในอ่าวไทย100% นำมาแยกเป็นก๊าซหุงต้มรวมกับส่วนของโรงกลั่นได้เพียงพอใช้ในประเทศถึง99% ตามรายงานของกระทรวงพลังงานเมื่อเดือนมกราคม 2561 ระบุว่า ปริมาณการผลิตก๊าซหุงต้มในประเทศได้ 535,827 ตัน ส่วนความต้องการใช้ในประเทศ 541,215 ตัน ซึ่งขาดไปเพียง 5,387ตัน เท่ากับประเทศไทยมีกำลังผลิตก๊าซหุงต้มให้คนไทยใช้ได้ในปริมาณที่ต้องการถึง99% ขาดไปเพียง 1%
แต่เหตุใดราคาก๊าซที่ขายประชาชนจึงใช้ราคาอ้างอิงราคานำเข้าจากซาอุดิอาระเบียทั้ง 100% แถมบวกค่าขนส่งจากซาอุฯ แบบเดียวกับราคาน้ำมันที่อ้างราคาสิงคโปร์บวกค่าขนส่ง
แต่เหตุใดเอทานอลจึงไม่อ้างอิงราคาตลาดโลก!?!
ควมลับก็คือ ราคาเอทานอลในตลาดโลกมีราคาถูกกว่าราคาเอทานอลในประเทศไทยที่ตั้งราคาไว้ที่ ราคา 23.59 บาท/ลิตร (23 พ.ค. 2561) แต่ปัจจุบันราคาเอทานอลที่ชิคาโกอยู่ที่ ประมาณ 12.68 บาทต่อลิตร ($1.5/3.785 ลิตร) ราคาเอทานอลที่เซาเปาโล บราซิล อยู่ที่ 14.87 บาทต่อลิตร (14,867 บาท/1,000 ลิตร)
ในอดีตพี่ไทยเคยอ้างอิงเอทานอลจากบราซิลและบวกค่าขนส่ง 5 บาท ทั้งที่เอทานอลที่คนไทยใช้อยู่ในเวลานั้นผลิตในประเทศ 100% เช่นเดียวกับก๊าซหุงต้มและน้ำมัน
หลังจากที่เอทานอลในต่างประเทศมีราคาถูกลงมาก จึงมีการเปลี่ยนสูตรอ้างอิงราคาการนำเข้าจากบราซิล มาใช้ราคา “ที่แท้จริง” ในการผลิตเอทานอลภายในประเทศ ทำให้ราคาเอทานอลแพงกว่าน้ำมันเบนซินล้วนๆ ถึงลิตรละ 4.39 บาท (23 พ.ค. 2561) !!
การทำให้เอทานอลแพงกว่าน้ำมันเบนซินจึงเป็นกลไกการล้วงกระเป๋าประชาชน ใช่หรือไม่ ? ด้วยข้ออ้างว่าต้องส่งเสริมพลังงานสะอาด ต้องส่งเสริมเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังให้ได้ราคาดี ทั้งที่เอทานอลในเวลานี้ผลิตจากกากน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่และกากน้ำตาลมีต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่ามันสำปะหลังมาก แต่ก็คิดราคาเท่ากับเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง
แม้แต่น้ำมัน และก๊าซหุงต้ม นายกฯ ลุงตู่ และ รองนายกฯ ลุงป้อม ก็บอกให้ประชาชนต้องยอมรับกลไกตลาด แต่เรื่องราคาเอทานอล ท่านจะว่ายังไงที่ตลาดต่างประเทศราคาปัจจุบันประมาณ 12 - 14 บาทเท่านั้น ต่ำกว่าราคาในบ้านเราที่สูงถึง 23.59 บาท/ลิตร ซึ่งแพงกว่าราคาในตลาดโลก 10 - 12 บาทเลยทีเดียว
ดังนั้น ยิ่งเติมเอทานอลในเบนซินมากเท่าไหร่ ราคาน้ำมันชนิดนั้นกลับยิ่งแพงขึ้น ทั้งที่เอทานอลมีค่าพลังงานต่ำกว่าเบนซินประมาณ 30%
ต้องเอากองทุนน้ำมันมาชดเชยอี 85 ลิตรละ 9.35 บาท และชดเชยอี 20 ลิตรละ 3 บาท ให้มีราคาถูกลง และไม่ได้ชดเชยแค่เอทานอลแต่รวมชดเชยค่าการตลาดที่สูงเว่อร์ ซึ่งคือการบวกกำไรของโรงกลั่นที่สูงเกินจริงเข้าไปด้วยตั้งแต่ 3 - 6 บาท เป็นการล้วงกระเป๋ากันแบบดื้อๆ โดยมีอำนาจรัฐคุ้มครองให้ ใช่หรือไม่
ถ้าราคาเอทานอลในประเทศราคาสัก 15 บาท/ลิตร ก็จะมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินที่มีราคาประมาณ 19 บาท/ลิตร การเติมเอทานอลในน้ำมันจึงจะทำให้น้ำมันผสมพลังงานทดแทนมีราคาถูกลง เป็นการช่วยประชาชนประหยัดเงินในกระเป๋า และมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมไปด้วย สมดังพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเคยมีพระราชดำรัสว่าให้เติมเอทานอลในเบนซินสัก 10% จะลดราคาได้ 50 สตางค์ต่อลิตร
ถ้า นายกฯ ลุงตู่ ที่มักอ้างว่าจะเดินตาม “ศาสตร์พระราชา” ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะทำให้คนรัก คนพอใจ เพราะราชาแปลว่าผู้ทำให้คนรัก คนพอใจ ท่านนายกฯ ก็ควรสั่งการให้มีการชำระสะสางราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม โดยเริ่มจากการเข้าไปจัดการราคาเอทานอลให้เป็นราคาที่มีประสิทธิภาพเสียก่อน ไม่ให้มีการใช้ราคาเอทานอลมาเป็นเครื่องมือล้วงกระเป๋าประชาชนอีกต่อไป ท่านจะทำได้หรือไม่ !?!
อยากทราบว่าราคาเอทานอลในบ้านเราแพงกว่าตลาดโลกเหมือนที่รสนาบอกจริงหรือไม่ครับ?
ถ้าจริงทำไมเราไม่อ้างอิงราคาเอทานอลตามราคาตลาดโลกเหมือนที่ทำกับน้ำมันล่ะครับ?