ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
คำว่า “ขอม” ตามหลักฐานต่างๆ เป็นคำที่ชนชาติที่ใช้ภาษาไท-ลาวเรียกกลุ่มวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้รวมไปถึงเขมรซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธมหายาน และใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารอย่างรวมๆ ไม่พบการใช้คำว่า "ขอม" ในกลุ่มภาษาอื่น แต่หลังสมัยกรุงศรีอยุทธยาซึ่งได้รับอิทธิพลไท-ลาวเข้ามาผสมผสานมากแล้วพบว่าขอมถูกใช้เรียกเฉพาะชาวเขมรเท่านั้น
รัฐบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างละโว้หรืออโยธยาศรีรามเทพนครนั้น อาจถูกกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทเรียกเป็นชาวขอมมาแต่เดิม ด้วยความใกล้ชิดกับทางเขมร เมืองละโว้เองก็เคยเป็นเมืองที่โอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ปกครองมาก่อน
จึงเข้าใจว่ารัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความสัมพันธ์ในฐานะ “รัฐเครือญาติ” ของเมืองพระนคร การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม คติเทวราชาหรือการใช้ภาษาเขมรในราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และดูจะเป็นไปได้มากกว่าการย้ายถิ่นฐานของพระเจ้าอู่ทองที่มีสร้างอยุทธยาในเวลาสั้นๆ
ซึ่งพบหลักฐานของจีนว่าละโว้ได้กลายเป็นรัฐอิสระที่สามารถส่งบรรณาการให้จีนได้ด้วยตนเอง หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
เมื่อมีการย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคนที่พูดภาษาไท-ลาวทางเหนือลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งวิเคราะห์ว่าเป็นผลมาจากการค้าทางทะเลกับจีนที่มากขึ้น ทำให้มีการเคลื่อนย้ายผู้คนผ่านชุมทางการค้ามาเป็นระยะๆ ไม่ใช่อพยพคนหมู่มากมาในทีเดียว ทำให้วัฒนธรรมไท-ลาวทางจึงเริ่มเข้ามีอิทธิพลในบริเวณรัฐฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นสุพรรณภูมิ ราชบุรี แล้วเคลื่อนลงใต้ไปถึงเพชรบุรี หรือนครศรีธรรมราช
จากนั้นจึงได้เข้าไปมีอิทธิพลในรัฐทางฝั่งตะวันออกอย่างละโว้-อโยธยา ส่งผลให้ในเวลาต่อมาก็ได้กลายเป็นรัฐที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ผสมผสานกับวัฒนธรรมขอม-เขมร และพัฒนาเป็นกรุงศรีอยุทธยาขึ้น
การเข้ามาของภาษาไทในบริเวณนี้น่าจะมีมาก่อนกรุงศรีอยุทธยาแล้ว พิจารณาจากหลักฐานคือวรรณกรรมโองการแช่งน้ำที่ใช้คำไท-ลาวจำนวนมาก และได้รับอิทธิพลจากเขมรน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกฎหมายที่ตราในสมัยพระเจ้ารามาธิบดี
พระเจ้ารามาธิบดีนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่เป็นเจ้านายที่มีความใกล้ชิดกับขอมเขมรมาแต่เดิม ซึ่งก็พบในหลักฐานสมัยอยุทธยา ยุคสมเด็จพระนารายณ์ คือจดหมายเหตุลาลูแบร์กับคู่มือราชทูตระบุว่ากษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาสืบวงศ์มาจากพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ในตำนานของเขมร และได้สืบวงศ์ในเมืองพระนครมาหลายรุ่น
ต่อมาใน พ.ศ.๑๗๓๑ (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) หลักฐานนี้ก็มีความสอดคล้องกับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า มีกษัตริย์ชื่อ “พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราช” ได้พาราษฎรอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือแถบนครไทยหรือสุโขทัย
ส่วนพระองค์เอง “ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ”
หลังจากนั้นก็สืบวงศ์กษัตริย์ในเพชรบุรีอีก ๔ องค์ ถึงพระเจ้ารามาธิบดีก็ได้สถาปนากรุงศรีอยุทธยา
พระพนมทะเลศรีฯ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจ้านายจากขอมเมืองพระนครหรือแถบรัฐละโว้-อโยธยา ได้แบ่งครัวไปอยู่ทางเหนือ สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแถบสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยบางแห่งที่ร่วมสมัยกับยุคเมืองพระนคร เช่น วัดพระพายหลวง และสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่ารัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีส่วนให้ก่อกำเนิดรัฐตอนบนอย่างสุโขทัย (ซึ่งก็พบอิทธิพลของภาษาเขมรในจารึกสุโขทัยบางหลักด้วย ไม่ใช่ว่าภาษาเขมรในไทยมาจากพระเจ้าอู่ทององค์เดียว)
พระพนมทะเลศรีฯ แบ่งครัวอีกส่วนมาสร้างเพชรบุรีเป็นรัฐเครือญาติกับรัฐที่ 'พระเจ้าปู่พระเจ้าย่า' อยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นละโว้-อโยธยา หรือไม่ก็เมืองพระนคร
อิงตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมทะเลศรีฯ ยังได้ฟื้นฟูเมืองนครศรีธรรมราชที่ร้างไป และยังส่งพระพี่เลี้ยงไปครองเมืองแพรก ซึ่งก็จัดเป็นหัวเมืองสำคัญของรัฐอโยธยา แล้วอาจจะมีการผลัดเปลี่ยนวงศ์จากแต่ละรัฐเครือญาติมาปกครอง ซึ่งพระเจ้ารามาธิบดีจากเพชรบุรีได้ขึ้นไปครองรัฐอโยธยาแล้วทรงสถาปนาเป็นกรุงศรีอยุทธยาในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ก็ยังสอดคล้องกับเอกสารประเภทตำนานอย่างพงศาวดารเหนือ ที่กล่าวถึงการแบ่งครัวเพื่อก่อกำเนิดรัฐต่างๆ และรัฐส่วนใหญ่ล้วนมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบเครือญาติครับ
ส่วนทฤษฎีที่ว่าขอมเป็นชนชั้นปกครองที่โดนทาสเขมรปฏิวัติจนต้องหนีมาสร้างอยุทธยาอย่างที่บางคนอ้าง ผมเห็นว่ามีน้ำหนักน้อยครับ
รัฐบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างละโว้หรืออโยธยาศรีรามเทพนครนั้น อาจถูกกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทเรียกเป็นชาวขอมมาแต่เดิม ด้วยความใกล้ชิดกับทางเขมร เมืองละโว้เองก็เคยเป็นเมืองที่โอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ปกครองมาก่อน
จึงเข้าใจว่ารัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความสัมพันธ์ในฐานะ “รัฐเครือญาติ” ของเมืองพระนคร การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม คติเทวราชาหรือการใช้ภาษาเขมรในราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และดูจะเป็นไปได้มากกว่าการย้ายถิ่นฐานของพระเจ้าอู่ทองที่มีสร้างอยุทธยาในเวลาสั้นๆ
ซึ่งพบหลักฐานของจีนว่าละโว้ได้กลายเป็นรัฐอิสระที่สามารถส่งบรรณาการให้จีนได้ด้วยตนเอง หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
เมื่อมีการย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคนที่พูดภาษาไท-ลาวทางเหนือลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งวิเคราะห์ว่าเป็นผลมาจากการค้าทางทะเลกับจีนที่มากขึ้น ทำให้มีการเคลื่อนย้ายผู้คนผ่านชุมทางการค้ามาเป็นระยะๆ ไม่ใช่อพยพคนหมู่มากมาในทีเดียว ทำให้วัฒนธรรมไท-ลาวทางจึงเริ่มเข้ามีอิทธิพลในบริเวณรัฐฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นสุพรรณภูมิ ราชบุรี แล้วเคลื่อนลงใต้ไปถึงเพชรบุรี หรือนครศรีธรรมราช
จากนั้นจึงได้เข้าไปมีอิทธิพลในรัฐทางฝั่งตะวันออกอย่างละโว้-อโยธยา ส่งผลให้ในเวลาต่อมาก็ได้กลายเป็นรัฐที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ผสมผสานกับวัฒนธรรมขอม-เขมร และพัฒนาเป็นกรุงศรีอยุทธยาขึ้น
การเข้ามาของภาษาไทในบริเวณนี้น่าจะมีมาก่อนกรุงศรีอยุทธยาแล้ว พิจารณาจากหลักฐานคือวรรณกรรมโองการแช่งน้ำที่ใช้คำไท-ลาวจำนวนมาก และได้รับอิทธิพลจากเขมรน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกฎหมายที่ตราในสมัยพระเจ้ารามาธิบดี
พระเจ้ารามาธิบดีนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่เป็นเจ้านายที่มีความใกล้ชิดกับขอมเขมรมาแต่เดิม ซึ่งก็พบในหลักฐานสมัยอยุทธยา ยุคสมเด็จพระนารายณ์ คือจดหมายเหตุลาลูแบร์กับคู่มือราชทูตระบุว่ากษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาสืบวงศ์มาจากพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ในตำนานของเขมร และได้สืบวงศ์ในเมืองพระนครมาหลายรุ่น
ต่อมาใน พ.ศ.๑๗๓๑ (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) หลักฐานนี้ก็มีความสอดคล้องกับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า มีกษัตริย์ชื่อ “พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราช” ได้พาราษฎรอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือแถบนครไทยหรือสุโขทัย
ส่วนพระองค์เอง “ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ”
หลังจากนั้นก็สืบวงศ์กษัตริย์ในเพชรบุรีอีก ๔ องค์ ถึงพระเจ้ารามาธิบดีก็ได้สถาปนากรุงศรีอยุทธยา
พระพนมทะเลศรีฯ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจ้านายจากขอมเมืองพระนครหรือแถบรัฐละโว้-อโยธยา ได้แบ่งครัวไปอยู่ทางเหนือ สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแถบสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยบางแห่งที่ร่วมสมัยกับยุคเมืองพระนคร เช่น วัดพระพายหลวง และสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่ารัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีส่วนให้ก่อกำเนิดรัฐตอนบนอย่างสุโขทัย (ซึ่งก็พบอิทธิพลของภาษาเขมรในจารึกสุโขทัยบางหลักด้วย ไม่ใช่ว่าภาษาเขมรในไทยมาจากพระเจ้าอู่ทององค์เดียว)
พระพนมทะเลศรีฯ แบ่งครัวอีกส่วนมาสร้างเพชรบุรีเป็นรัฐเครือญาติกับรัฐที่ 'พระเจ้าปู่พระเจ้าย่า' อยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นละโว้-อโยธยา หรือไม่ก็เมืองพระนคร
อิงตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมทะเลศรีฯ ยังได้ฟื้นฟูเมืองนครศรีธรรมราชที่ร้างไป และยังส่งพระพี่เลี้ยงไปครองเมืองแพรก ซึ่งก็จัดเป็นหัวเมืองสำคัญของรัฐอโยธยา แล้วอาจจะมีการผลัดเปลี่ยนวงศ์จากแต่ละรัฐเครือญาติมาปกครอง ซึ่งพระเจ้ารามาธิบดีจากเพชรบุรีได้ขึ้นไปครองรัฐอโยธยาแล้วทรงสถาปนาเป็นกรุงศรีอยุทธยาในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ก็ยังสอดคล้องกับเอกสารประเภทตำนานอย่างพงศาวดารเหนือ ที่กล่าวถึงการแบ่งครัวเพื่อก่อกำเนิดรัฐต่างๆ และรัฐส่วนใหญ่ล้วนมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบเครือญาติครับ
ส่วนทฤษฎีที่ว่าขอมเป็นชนชั้นปกครองที่โดนทาสเขมรปฏิวัติจนต้องหนีมาสร้างอยุทธยาอย่างที่บางคนอ้าง ผมเห็นว่ามีน้ำหนักน้อยครับ
แสดงความคิดเห็น
กลุ่มคนที่สร้าง อยุธยา ใช่ขอมมั้ยครับ
.....แล้วทำไม คนแคมโบที่อ้างว่าตัวเองเป็นขอมผู้สร้างนครวัดที่ยิ่งใหญ่ ทำไมหลังจากนั้นไม่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่อีก ......หรือว่า จะเป็นไปตามข้อสัญนิษฐานที่ ขอม คนที่เขาสร้างนครวัด เขาโดนปฏิวัติโดยกลุ่มคนใต้การปกครอง แล้วหนีมาสร้างเมืองอยุทธยารึป่าว แล้วพวกที่ยึดนครวัดได้ ก็เจอภัยแล้ง แล้วหนีลงใต้ ตัวเองไม่มีความรู้ ยึดเมืองมาได้ก็ดันมาเจอภัยพิบัติ ทิ้งเมืองไว้จนเป็นป่า ย้ายมาที่ใหม่ก็เลยสร้างได้แค่เมืองเล็กๆ ....จนฝรั่งมาเจอนครวัดถูกทิ้งร้างไว้ในป่า คนที่นั่นถึงรู้ว่ามีนครวัด ....ฝรั่งที่เจอเขาก็งงว่า คนที่นี่ปล่อยทิ้งเมืองให้อยู่กลางป่าแบบนี้ได้ไง
จริงๆแล้ว กลุ่มคนที่สร้าง อยุธยา ใช่ขอมมั้ยครับ หรือว่ายังไง