สวัสดีค่ะ ห่างหายกันไปนานทีเดียว งานเยอะมากก เลยเขียนกระทู้ที่ตั้งใจไว้ไม่เสร็จซักทีค่ะ แต่ในที่สุด.... ก็ได้กระทู้นี้ออกมาแล้วค่ะ เย้ นั่นก็คือระดับขั้นนางในและเชื้อพระวงศ์สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกค่ะ หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า เอ๊ะ แล้วตำแหน่งมันต่างจากสมัยฮั่นตะวันตกยังไง ราชวงศ์ฮั่นเหมือนกันน่าจะไม่ต่างกันรึเปล่า ขอบอกว่าต่างกันมากทีเดียวค่ะ แต่จะแตกต่างกันมากขนาดไหน ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ สำหรับข้อมูลถ้ามีอะไรผิดพลาดตรงไหนสามารถแนะนำหรือชี้แจงได้นะคะ (กระทู้ยาวหน่อยนะคะ ^_^)
# ด้วยหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนเรื่อง สามก๊ก เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ดำเนินเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้นหากบุคคลใดที่ยกมาเป็นตัวอย่างในกระทู้นี้เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กด้วย จขกท.จะกำกับชื่อจากสามก๊กฉบับแปลไทยเอาไว้นะคะ เผื่อท่านใดสนใจค่ะ
ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจักรพรรดิถูกขุนนางซึ่งมีฐานะเป็นพระญาติฝ่ายนอกยึดกุมอำนาจการปกครอง ตั้งตนเป็นใหญ่ จนราชวงศ์ฮั่นตะวันตกล่มสลายลงในที่สุด ต่อมาราชนิกุลซึ่งเป็นลูกหลานจักรพรรดิฮั่นสกุลหลิวได้ต่อสู้ยึดอำนาจกลับมา ฟื้นฟูราชวงศ์ใหม่เป็นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ย้ายเมืองหลวงจากฉางอันไปอยู่ที่ลั่วหยาง ราชวงศ์ฮั่นของจีนจึงถูกแบ่งเป็นสองช่วงด้วยประการนี้ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกได้รวมจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง รื้อฟื้นภาคการเกษตรและชลประทาน การค้าขายเจริญรุ่งเรือง การประดิษฐ์กระดาษ การคำนวณและการแพทย์ต่างมีความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ปกครองอาณาจักรต้าฮั่นอย่างสงบสุขเป็นเวลากว่า 200 ปี
ระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกนั้น มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเป็นอย่างมาก โดยมีการปรับเปลี่ยนจำนวนตำแหน่งต่างๆ ให้น้อยลงกว่าเดิม โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
ตำแหน่งฝ่ายในของจักรพรรดิ
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น ซึ่งอาจเป็นพระมารดาแท้ๆ หรือพระมารดาเลี้ยงในจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ สำหรับจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือพระอัยยิกาในจักรพรรดิ จากที่ปรากฏในบันทึกสมัยฮั่นตะวันออกพบว่า ถึงแม้จะกำหนดให้มีตำแหน่งเป็นไท่หวงไท่โฮ่ว หรือไทฮองไทเฮา (太皇太后) แต่ถึงอย่างนั้นทุกพระองค์ก็ยังคงตำแหน่งไว้ที่ฮองไทเฮาเช่นเดิม พระชายาเอกในเชื้อพระวงศ์ชายซึ่งมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิก็สามารถมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้เช่นกัน แต่มีปรากฏน้อยมาก เช่น จักรพรรดินีเหอซี เติ้งซุย ทรงดำรงตำแหน่งฮองไทเฮาสองรัชสมัย คือในสมัยฮั่นซางตี้ และฮั่นอันตี้ (จากเรื่อง 班淑傳奇)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ สำหรับพระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์อาจได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาได้ แต่มีปรากฏไม่มาก เช่น กวงเลี่ยฮองเฮา ยินลี่ฮว๋า ฮองเฮาคนที่สองในฮั่นกวงอู่ต้าตี้ (จากเรื่อง 秀麗江山之長歌行)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้นตำแหน่งพระภรรยานั้นมีมากถึง 14 ขั้น 19 ตำแหน่ง แต่เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแล้วก็มีการปรับเปลี่ยนลดลงจนเหลือเพียง 4 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งตรงจุดนี้จะขออธิบายและเทียบตำแหน่งตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ตำแหน่งสตรีฝ่ายในองค์จักรพรรดิสมัยฮั่นตะวันออก มีรายละเอียดดังนี้
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระภรรยาชั้นสูงในจักรพรรดิ ศักดิ์รองจากฮองเฮา กุ้ยเหริน แปลว่า ผู้ทรงเกียรติ ในบรรดาตำแหน่งพระชายาพระสนมทั้งหมด กุ้ยเหรินเป็นเพียงตำแหน่งเดียวที่มีบรรดาศักดิ์นับเป็นสมาชิกในราชวงศ์ฮั่น มีกำหนดชัดเจนถึงตราประทับ ชุดสำหรับพระราชพิธี รูปแบบขบวนเกี้ยวหาม เงินทองและเครื่องยศประจำตำแหน่ง กุ้ยเหรินจึงถือเป็นตำแหน่งที่สูงศักดิ์ ในสมัยฮั่นตะวันออก ฮองเฮาจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินก่อนขึ้นเป็นจักรพรรดินีทุกพระองค์ เช่น ต่งกุ้ยเหริน [ตังกุยหุย: น้องสาวตังสิน] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ (จากเรื่อง 大軍師司馬懿), ฝูฮองเฮา ฝูโซ่ว [ฮกเฮา: บุตรีฮกอ้วน] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นกุ้ยเหริน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา (จากเรื่อง 三國機密之潛龍在淵)
สำหรับกุ้ยเหรินหรือพระสนมขั้นต่ำกว่านั้น แม้จะมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ไม่สามารถแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ แต่จะได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่ง เยวี๋ยนกุ้ยเหริน (園貴人) แทน และอาจได้รับสถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮาได้เมื่อสิ้นพระชนม์ เยวี๋ยนกุ้ยเหรินถือว่ามีศักดิ์เหนือกว่ากุ้ยเหรินทั่วไป แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีฐานะต่ำกว่าฮองเฮา และมีหน้าที่เฝ้าพระสุสานหลวงอันเป็นที่ฝังพระศพองค์จักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี พระชายาเอกหรืออนุชายาในเชื้อพระวงศ์ชายหากมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิก็มักจะได้รับตำแหน่งเป็นเยวี๋ยนกุ้ยเหรินด้วยเช่นเดียวกัน
เช่น พระสนมยวี๋ ในสมัยฮั่นซุ่นตี้ เดิมมีตำแหน่งเป็นเหม่ยเหริน ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นชงตี้ ภายหลังจึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเซี่ยนเยวี๋ยนกุ้ยเหริน (จากเรื่อง 八歲龍爺鬧東京)
รองจากตำแหน่งกุ้ยเหรินลงไป ถือเป็นพระสนมชั้นล่างทั้งหมด ฐานะค่อนข้างต่ำต้อย ไม่มีบรรดาศักดิ์ ไม่มีตราประทับหรือชุดสำหรับพระราชพิธี ไม่มีเงินทองและเครื่องยศประจำตำแหน่ง มีเพียงได้รับเบี้ยหวัดเป็นรายปีเท่านั้น ตำแหน่งพระสนมทั้งหมดเหล่านี้ได้แก่
เหม่ยเหริน (美人) ตำแหน่งพระสนมชั้นล่างในองค์จักรพรรดิ เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม
กงเหริน (宮人) ตำแหน่งสนมกึ่งนางกำนัลในองค์จักรพรรดิ กงเหริน หมายถึง ผู้ทำงานรับใช้ในวังหลวง
ไฉหนี่ว์ (採女) ตำแหน่งสนมกึ่งนางกำนัลในองค์จักรพรรดิ ไฉหนี่ว์ แปลว่า สตรีผู้ได้รับคัดเลือกจากครอบครัวขุนนางสามัญชน
เช่น สวี่เหม่ยเหริน ในสมัยฮั่นกวงอู่ต้าตี้ (จากเรื่อง 秀麗江山之長歌行), หลิงซือฮองเฮา สกุลเหอ [โฮเฮา: น้องสาวโฮจิ๋น] ในสมัยฮั่นหลิงตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นไฉหนี่ว์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นกุ้ยเหริน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮาในภายหลัง (三國機密之潛龍在淵)
นอกจากตำแหน่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปรากฏตำแหน่ง ฟูเหริน (夫人) ใช้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ฟูเหริน แปลว่า ผู้เป็นของสามี ซึ่งหมายถึงภรรยา ระดับขั้นไม่แน่ชัด แต่มีศักดิ์ต่ำกว่ากุ้ยเหริน เช่น เซี่ยนมู่ฮองเฮา เฉาเจี๋ย [โจเฮาหรือโจเจีย: บุตรีโจโฉ] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นฟูเหริน ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นกุ้ยเหริน และภายหลังได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา (三國機密之潛龍在淵)
การคัดเลือกสตรีเข้าวัง ข้าราชสำนักสตรี และนางกำนัลรับใช้ในวัง
ภายในวังหลังนอกจากจักรพรรดินี พระชายา หรือพระสนมแล้ว ยังมีสตรีที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาในวังหลวง รวมถึงข้าราชสำนักสตรี และนางกำนัลรับใช้ที่ทำงานต่างๆ รับใช้เจ้านายฝ่ายในภายในวังหลวง โดยลำดับแรกขอกล่าวถึงการคัดเลือกสตรีในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่มีการคัดเลือกพระภรรยาในจักรพรรดิโดยเฉพาะ มีการกำหนดกฎเกณฑ์ เวลา และสถานที่คัดเลือกชัดเจน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบการคัดเลือกพระภรรยาในจักรพรรดิ (后妃選納制度)
การคัดเลือกพระภรรยาในสมัยฮั่นตะวันออกจะจัดขึ้นในต้นเดือนแปดของทุกปีที่นครลั่วหยางซึ่งเป็นเมืองหลวง โดยจะคัดเลือกเด็กสาวอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี และจะต้องเป็นธิดาจากครอบครัวที่สุจริตไร้มลทิน เรียกว่า เหลียงเจียจื่อ (良家子) คือไม่ได้เป็นธิดาจากครอบครัวที่มีความผิดหรือหนีโทษ ไม่ได้เป็นธิดาจากครอบครัวที่ทำอาชีพหมอ คนทรง ค้าขาย หรือลูกจ้างงานช่างฝีมือต่างๆ โดยจำกัดว่าจะต้องเป็นสตรีมีชาติตระกูล เป็นธิดาข้าราชสำนัก ธิดาขุนนางปัญญาชน หรือธิดาครอบครัวคหบดีชั้นสูงเท่านั้น จากนั้นจึงทำการคัดเลือกโดยพิจารณาดูในแต่ละด้าน สตรีคนใดมีหน้าตางดงาม ใบหน้ามีราศีเหมาะสม บุคลิกท่าทางสง่าผ่าเผย อุปนิสัยสุขุมและมีศีลธรรมจรรยา ก็มักจะได้รับการคัดเลือกให้เข้าวังเป็นพระชายาพระสนม เมื่อได้รับคัดเลือกแล้วส่วนหนึ่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน และในบรรดากุ้ยเหรินนั้นจะมีเพียงคนเดียวที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา ส่วนสตรีที่เหลือทั้งหมดจะมีตำแหน่งเป็นไฉหนี่ว์ เป็นสนมกึ่งนางกำนัลคอยรับใช้องค์จักรพรรดิ ซึ่งหากเป็นที่พึงพอพระทัย ก็อาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงกว่านี้ได้
ระดับขั้นตำแหน่งนางในและตำแหน่งเชื้อพระวงศ์แบบละเอียดของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแห่งจีนค่ะ
# ด้วยหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนเรื่อง สามก๊ก เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ดำเนินเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้นหากบุคคลใดที่ยกมาเป็นตัวอย่างในกระทู้นี้เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กด้วย จขกท.จะกำกับชื่อจากสามก๊กฉบับแปลไทยเอาไว้นะคะ เผื่อท่านใดสนใจค่ะ
ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจักรพรรดิถูกขุนนางซึ่งมีฐานะเป็นพระญาติฝ่ายนอกยึดกุมอำนาจการปกครอง ตั้งตนเป็นใหญ่ จนราชวงศ์ฮั่นตะวันตกล่มสลายลงในที่สุด ต่อมาราชนิกุลซึ่งเป็นลูกหลานจักรพรรดิฮั่นสกุลหลิวได้ต่อสู้ยึดอำนาจกลับมา ฟื้นฟูราชวงศ์ใหม่เป็นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ย้ายเมืองหลวงจากฉางอันไปอยู่ที่ลั่วหยาง ราชวงศ์ฮั่นของจีนจึงถูกแบ่งเป็นสองช่วงด้วยประการนี้ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกได้รวมจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง รื้อฟื้นภาคการเกษตรและชลประทาน การค้าขายเจริญรุ่งเรือง การประดิษฐ์กระดาษ การคำนวณและการแพทย์ต่างมีความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ปกครองอาณาจักรต้าฮั่นอย่างสงบสุขเป็นเวลากว่า 200 ปี
ระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกนั้น มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเป็นอย่างมาก โดยมีการปรับเปลี่ยนจำนวนตำแหน่งต่างๆ ให้น้อยลงกว่าเดิม โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้
ตำแหน่งฝ่ายในของจักรพรรดิ
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น ซึ่งอาจเป็นพระมารดาแท้ๆ หรือพระมารดาเลี้ยงในจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ สำหรับจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือพระอัยยิกาในจักรพรรดิ จากที่ปรากฏในบันทึกสมัยฮั่นตะวันออกพบว่า ถึงแม้จะกำหนดให้มีตำแหน่งเป็นไท่หวงไท่โฮ่ว หรือไทฮองไทเฮา (太皇太后) แต่ถึงอย่างนั้นทุกพระองค์ก็ยังคงตำแหน่งไว้ที่ฮองไทเฮาเช่นเดิม พระชายาเอกในเชื้อพระวงศ์ชายซึ่งมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิก็สามารถมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาได้เช่นกัน แต่มีปรากฏน้อยมาก เช่น จักรพรรดินีเหอซี เติ้งซุย ทรงดำรงตำแหน่งฮองไทเฮาสองรัชสมัย คือในสมัยฮั่นซางตี้ และฮั่นอันตี้ (จากเรื่อง 班淑傳奇)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมลำดับขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ สำหรับพระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์อาจได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาได้ แต่มีปรากฏไม่มาก เช่น กวงเลี่ยฮองเฮา ยินลี่ฮว๋า ฮองเฮาคนที่สองในฮั่นกวงอู่ต้าตี้ (จากเรื่อง 秀麗江山之長歌行)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกนั้นตำแหน่งพระภรรยานั้นมีมากถึง 14 ขั้น 19 ตำแหน่ง แต่เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแล้วก็มีการปรับเปลี่ยนลดลงจนเหลือเพียง 4 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งตรงจุดนี้จะขออธิบายและเทียบตำแหน่งตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ตำแหน่งสตรีฝ่ายในองค์จักรพรรดิสมัยฮั่นตะวันออก มีรายละเอียดดังนี้
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระภรรยาชั้นสูงในจักรพรรดิ ศักดิ์รองจากฮองเฮา กุ้ยเหริน แปลว่า ผู้ทรงเกียรติ ในบรรดาตำแหน่งพระชายาพระสนมทั้งหมด กุ้ยเหรินเป็นเพียงตำแหน่งเดียวที่มีบรรดาศักดิ์นับเป็นสมาชิกในราชวงศ์ฮั่น มีกำหนดชัดเจนถึงตราประทับ ชุดสำหรับพระราชพิธี รูปแบบขบวนเกี้ยวหาม เงินทองและเครื่องยศประจำตำแหน่ง กุ้ยเหรินจึงถือเป็นตำแหน่งที่สูงศักดิ์ ในสมัยฮั่นตะวันออก ฮองเฮาจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินก่อนขึ้นเป็นจักรพรรดินีทุกพระองค์ เช่น ต่งกุ้ยเหริน [ตังกุยหุย: น้องสาวตังสิน] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ (จากเรื่อง 大軍師司馬懿), ฝูฮองเฮา ฝูโซ่ว [ฮกเฮา: บุตรีฮกอ้วน] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นกุ้ยเหริน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา (จากเรื่อง 三國機密之潛龍在淵)
สำหรับกุ้ยเหรินหรือพระสนมขั้นต่ำกว่านั้น แม้จะมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ไม่สามารถแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ แต่จะได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่ง เยวี๋ยนกุ้ยเหริน (園貴人) แทน และอาจได้รับสถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮาได้เมื่อสิ้นพระชนม์ เยวี๋ยนกุ้ยเหรินถือว่ามีศักดิ์เหนือกว่ากุ้ยเหรินทั่วไป แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีฐานะต่ำกว่าฮองเฮา และมีหน้าที่เฝ้าพระสุสานหลวงอันเป็นที่ฝังพระศพองค์จักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี พระชายาเอกหรืออนุชายาในเชื้อพระวงศ์ชายหากมีฐานะเป็นพระมารดาของจักรพรรดิก็มักจะได้รับตำแหน่งเป็นเยวี๋ยนกุ้ยเหรินด้วยเช่นเดียวกัน
เช่น พระสนมยวี๋ ในสมัยฮั่นซุ่นตี้ เดิมมีตำแหน่งเป็นเหม่ยเหริน ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นชงตี้ ภายหลังจึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเซี่ยนเยวี๋ยนกุ้ยเหริน (จากเรื่อง 八歲龍爺鬧東京)
รองจากตำแหน่งกุ้ยเหรินลงไป ถือเป็นพระสนมชั้นล่างทั้งหมด ฐานะค่อนข้างต่ำต้อย ไม่มีบรรดาศักดิ์ ไม่มีตราประทับหรือชุดสำหรับพระราชพิธี ไม่มีเงินทองและเครื่องยศประจำตำแหน่ง มีเพียงได้รับเบี้ยหวัดเป็นรายปีเท่านั้น ตำแหน่งพระสนมทั้งหมดเหล่านี้ได้แก่
เหม่ยเหริน (美人) ตำแหน่งพระสนมชั้นล่างในองค์จักรพรรดิ เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม
กงเหริน (宮人) ตำแหน่งสนมกึ่งนางกำนัลในองค์จักรพรรดิ กงเหริน หมายถึง ผู้ทำงานรับใช้ในวังหลวง
ไฉหนี่ว์ (採女) ตำแหน่งสนมกึ่งนางกำนัลในองค์จักรพรรดิ ไฉหนี่ว์ แปลว่า สตรีผู้ได้รับคัดเลือกจากครอบครัวขุนนางสามัญชน
เช่น สวี่เหม่ยเหริน ในสมัยฮั่นกวงอู่ต้าตี้ (จากเรื่อง 秀麗江山之長歌行), หลิงซือฮองเฮา สกุลเหอ [โฮเฮา: น้องสาวโฮจิ๋น] ในสมัยฮั่นหลิงตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นไฉหนี่ว์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นกุ้ยเหริน ก่อนได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮาในภายหลัง (三國機密之潛龍在淵)
นอกจากตำแหน่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปรากฏตำแหน่ง ฟูเหริน (夫人) ใช้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ฟูเหริน แปลว่า ผู้เป็นของสามี ซึ่งหมายถึงภรรยา ระดับขั้นไม่แน่ชัด แต่มีศักดิ์ต่ำกว่ากุ้ยเหริน เช่น เซี่ยนมู่ฮองเฮา เฉาเจี๋ย [โจเฮาหรือโจเจีย: บุตรีโจโฉ] ในสมัยฮั่นเซี่ยนตี้ เมื่อแรกเข้าวังมีตำแหน่งเป็นฟูเหริน ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นกุ้ยเหริน และภายหลังได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา (三國機密之潛龍在淵)
การคัดเลือกสตรีเข้าวัง ข้าราชสำนักสตรี และนางกำนัลรับใช้ในวัง
ภายในวังหลังนอกจากจักรพรรดินี พระชายา หรือพระสนมแล้ว ยังมีสตรีที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาในวังหลวง รวมถึงข้าราชสำนักสตรี และนางกำนัลรับใช้ที่ทำงานต่างๆ รับใช้เจ้านายฝ่ายในภายในวังหลวง โดยลำดับแรกขอกล่าวถึงการคัดเลือกสตรีในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่มีการคัดเลือกพระภรรยาในจักรพรรดิโดยเฉพาะ มีการกำหนดกฎเกณฑ์ เวลา และสถานที่คัดเลือกชัดเจน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบการคัดเลือกพระภรรยาในจักรพรรดิ (后妃選納制度)
การคัดเลือกพระภรรยาในสมัยฮั่นตะวันออกจะจัดขึ้นในต้นเดือนแปดของทุกปีที่นครลั่วหยางซึ่งเป็นเมืองหลวง โดยจะคัดเลือกเด็กสาวอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี และจะต้องเป็นธิดาจากครอบครัวที่สุจริตไร้มลทิน เรียกว่า เหลียงเจียจื่อ (良家子) คือไม่ได้เป็นธิดาจากครอบครัวที่มีความผิดหรือหนีโทษ ไม่ได้เป็นธิดาจากครอบครัวที่ทำอาชีพหมอ คนทรง ค้าขาย หรือลูกจ้างงานช่างฝีมือต่างๆ โดยจำกัดว่าจะต้องเป็นสตรีมีชาติตระกูล เป็นธิดาข้าราชสำนัก ธิดาขุนนางปัญญาชน หรือธิดาครอบครัวคหบดีชั้นสูงเท่านั้น จากนั้นจึงทำการคัดเลือกโดยพิจารณาดูในแต่ละด้าน สตรีคนใดมีหน้าตางดงาม ใบหน้ามีราศีเหมาะสม บุคลิกท่าทางสง่าผ่าเผย อุปนิสัยสุขุมและมีศีลธรรมจรรยา ก็มักจะได้รับการคัดเลือกให้เข้าวังเป็นพระชายาพระสนม เมื่อได้รับคัดเลือกแล้วส่วนหนึ่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน และในบรรดากุ้ยเหรินนั้นจะมีเพียงคนเดียวที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นฮองเฮา ส่วนสตรีที่เหลือทั้งหมดจะมีตำแหน่งเป็นไฉหนี่ว์ เป็นสนมกึ่งนางกำนัลคอยรับใช้องค์จักรพรรดิ ซึ่งหากเป็นที่พึงพอพระทัย ก็อาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงกว่านี้ได้