ตำแหน่งพระภรรยาจักรพรรดิในราชวงศ์ชิงนั้น แบ่งได้หลายช่วงชั้น ได้ 4 กลุ่มหลักๆ ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 พระภรรยาในจักรพรรดิรัชกาลก่อน ( อวุโสสูงสุดในวังหลวง )
ซึ่งหมายถึง พระอัยยิกา พระพันปีหลวงในองค์จักรพรรดิ และพระภรรยาจักรพรรดิรัชกาลก่อน ที่มีพระชนม์ชีพมาจนถึงรัชกาลถัดมา ไม่มีสิทธิ์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในวังหลังโดยตรงเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ตำแหน่งพระภรรยาในจักรพรรดิรัชกาลก่อน แบ่งได้ดังนี้
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
ตำแหน่งพระอัยยิกาในองค์จักรพรรดิ ( จักรพรรดินีในรัชกาลก่อนๆ ) ซึ่งอาจจะเป็นพระอัยยิกาแท้ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงก็ได้
- ยกตัวอย่างเช่น
เจาเฉิงไท่หวงไทโฮ่ว(เสี้ยวจวงเหวิน) 昭聖太皇太后 (孝莊文) สกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ 博爾濟吉特 (พระราชมารดาในจักรพรรดิชุ่นจื้อ พระอัยยิกาในจักรพรรดิคังซี)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
ตำแหน่งพระพันปีหลวง (พระราชมารดา) ในองค์จักรพรรดิ ( จักรพรรดินีในรัชกาลก่อน ) ซึ่งอาจจะเป็นพระพระราชมารดาแท้ หรือพระพระราชมารดาเลี้ยงก็ได้ บางรัชกาลอาจจะมีหวงไท่โฮ่ว ได้ 2 พระองค์ โดย ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง หวงโฮ่ว (เอกพระภรรยา) มาก่อนจะได้อวยยศขึ้นเป็นหวงไท่โฮ่ว องค์ที่ 1 และ พระราชมารดาแท้ๆของจักรพรรดิ เป็นหวงไท่โฮ่ว องค์ที่ 2 ในกรณีที่ จักรพรรดิไม่ได้เป็นพระราชโอรสของหวงโฮ่ว
• หวงไท่โฮ่ว ที่เป็นหวงโฮ่วมาก่อน เรียกว่า หมู่โฮ่วหวงไท่โฮ่ว (母后皇太后) (มีศักดิ์สูงกว่าเสมอ)
• หวงไท่โฮ่ว ที่ไม่ได้เป็นหวงโฮ่วมาก่อน เรียกว่า เซิ่งหมู่หวงไท่โฮ่ว (聖母皇太后)
- ยกตัวอย่างเช่น
ฉงชิ่งหวงไท่โฮ่ว 崇庆皇太后 สกุลหนิ่วฮู่ลู่ 钮祜禄 (พระราชมารดาในจักรพรรดิเฉียนหลง)
ไท่ (太) หวงข่าว (皇考)
ตำแหน่งที่มีคำนำหน้าตำแหน่งว่าไท่ เป็นตำแหน่งผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน หวงไท่โฮ่ว ในกรณีที่ไม่มีหวงไท่โฮ่ว แต่ถ้าหากมีหวงไท่โฮ่ว ก็จะม่มีตำแหน่ง ไท่ แต่จะมีตำแหน่ง หวงข่าว แทน ถ้ารัชกาลไหนไม่มี หวงไท่โฮ่ว จะมีการแต่งตั้ง พระภรรยาในจักรพรรดิองค์ก่อน ขึ้นเป็นไท่ และภรรยาคนอื่นๆจะเป็นหวงข่าว
อย่างเช่น ถ้าไม่มีหวงไท่โฮ่ว จะมีการแต่งตั้ง หวงไท่กุ้ยเฟย
ถ้าไม่มีหวงไท่กุ้ยเฟย จะมีการแต่งตั้ง ไท่กุ้ยเฟย 2 คน
ถ้าไม่มีกุ้ยไท่เฟย จะมีการแต่งตั้ง ไท่เฟย 4 คน
• หวงไท่กุ้ยเฟย (皇太貴妃) - หวงกุ้ยเฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่กุ้ยเฟย (太貴妃) - กุ้ยเฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่เฟย (太貴妃) - เฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่ผิน (太嬪) - ผิน ในรัชกาลก่อน
- ยกตัวอย่างเช่น
หว่านกุ้ยไท่เฟย 婉貴太妃 สกุลเฉิน 陳 (ทรงเป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทรงสวรรคต องค์ชายหย่งเหยี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง ขณะนั้นพระนางจึงได้อวยฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยไท่เฟย)
กลุ่มที่ 2 พระภรรยาเอกในองค์จักรพรรดิ 嫡妃 (จักรพรรดินี)
พระภรรยาเอกในองค์จักรพรรดิมีเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินี (พระอัครมเหสีเอก หรือพระภรรยาเอก) แต่งตั้งได้ครั้งละ 1 คนเท่านั้น
• ประมุขวังหลัง (อยู่ในฐานะสูงสุดในฝ่ายใน)
• เป็นผู้ดูแลกิจการในวังหลังทั้งหมด
• แต่ต้องให้ความเคารพบุคคลในกลุ่มที่ 1
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 10 คน
- ยกตัวอย่างเช่น
เสี้ยวเสียนชุนหวงโฮ่ว 孝賢純皇后 สกุลฟู่ฉา 富察 (ทรงเป็นจักรพรรดินีองค์ที่ 1 ในจักรพรรดิเฉียนหลง)
กลุ่มที่ 3 พระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิ 側妃 (พระมเหสี - พระราชชายา)
พระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิมีจำนวนการแต่งตั้งที่จำกัดจำนวนในแต่ละตำแหน่ง เหล่าพระมเหสี - พระราชชายา มีศักดิ์เป็นเชื้อพระวงศ์ถึงแม้จะมาจากสามัญชนก็ตามแต่เมื่อก้าวขึ้นมาถึง ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิขึ้นไป จะเปลี่ยนสถานะของตนจากสามัญชนเข้าสู่การเป็นเชื้อพระวงศ์ มีเครื่องประกอบฐานันดรศักดิ์ประจำตัว มีชุดทางการ ชุดลำลองกึ่งทางการ มีตราประทับทางการประจำตัว มีรถม้า ขบวนเสด็จขบวนธง มีเกี้ยวแบบทางการ
หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
ตำแหน่งพระมเหสี (พระภรรยารองอันดับที่1) มีศักดิ์ต่ำกว่าหวงโฮ่ว เพียงเล็กน้อย ตำแหน่งหวงกุ้ยเฟยสามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 1 คน
• ถ้ามีหวงโฮ่ว จะไม่มีหวงกุ้ยเฟย ( เนื่องจากตำแหน่งหวงโฮ่ว และหวงกุ้ยเฟยเกือบจะเทียบเท่าเสมอกัน ไม่ว่าการชุดทางการ พิธีการ เครื่องประกอบยศ ขบวนเสด็จ ต่างก็คล้ายกัน จนเกิดการชนกันระหว่าง 2 ตำแหน่ง )
• ตำแหน่งนี้มีไว้เพื่อทำหน้าที่แทนหวงโฮ่ว ในกรณีที่หวงโฮ่วไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือหวงโฮ่วสิ้นพระชนม์ โดยองค์จักรพรรดิจะแต่งตั้ง หวงกุ้ยเฟย 1 คน เป็นเวลา 3 ปี ในการไว้ทุกข์ หลังจากนั้นหวงกุ้ยเฟยอาจจะได้รับแต่งตั้งเป็น หวงโฮ่ว (ชาวแมนจู หรือมองโกล เท่านั้น) หรือ เป็น หวงกุ้ยเฟย ต่อไปก็ตามแต่พระประสงค์ขององค์จักรพรรดิ • สตรีชาวฮั่นขณะที่มีชีวิตอยู่ ตำแหน่งสูงสุดคือ หวงกุ้ยเฟย เท่านั้น
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 8 คน
- ยกตัวอย่างเช่น
หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย 令懿皇贵妃 สกุลเว่ยเจีย 魏佳 (แต่งตั้งฐานันดรศักดิ์เป็นหวงกุ้ยเฟยในคราวที่จักรพรรดิเฉียนหลงทรงปลด จี้หวงโฮ่ว(จักรพรรดินีองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิเฉียนหลง) ออกจากหน้าที่แต่ยังให้พระนางอยู่ในฐานะของหวงโฮ่ว ดังนั้นจักรพรรดิเฉียนหลงทรงแต่งตั้ง ลิ่งกุ้ยเฟยเป็นหลิงอี้หวงกุ้ยเฟย เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการวังหลังแทนจี้หวงโฮ่ว และทรงได้รับการสถาปนาหลังสิ้นพระชนม์เป็น เสี้ยวอี้ฉุนหวงโฮ่ว 孝儀純皇后 ในรัชกาลจักรพรรดิเจียชิ่ง
กุ้ยเฟย (貴妃)
ตำแหน่งพระราชเทวี (พระภรรยารองอันดับที่2) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 2 คน
• ถ้าหากหวงโฮ่วสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิจะทรงเลือกกุ้ยเฟย หนึ่งคนขึ้นไปเป็น หวงกุ้ยเฟย เพื่อทำหน้าที่แทนหวงโฮ่วเป็นเวลา 3 ปี ในการไว้ทุกข์
• บางรัชกาลก็ไม่มีการแต่งตั้ง หวงกุ้ยเฟย แต่จะยึดเอาตำแหน่งกุ้ยเฟยไว้สูงสุดทำหน้าที่ในการปกครองและดูแลงานต่างๆในวังหลังแทน หวงโฮ่ว
• ตำแหน่งกุ้ยเฟย ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 6 คน ( บางรัชกาล 8 คน )
- ยกตัวอย่างเช่น
อี้กุ้ยเฟย 懿貴妃 สกุลเย่เฮ่อน่าลา 葉赫那拉 (ทรงเป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเสียนเฟิง และได้รับการอวยฐานันดรศักดิ์เป็นฉือสี่(ซูสี)หวงไท่โฮ่ว慈禧皇太后 คู่กับ เสี้ยวเจินเสี่ยนหวงโฮ่ว(ฉืออัน) 孝贞显皇后(慈禧) เนื่องจากพระนางอี้กุ้ยเฟยเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิถงจื่อ พระนามย่อหลังสิ้นพระชนม์ของพระนางคือ เสี้ยวชินเสี่ยนหวงโฮ่ว 孝欽顯皇后
เฟย (妃)
ตำแหน่งพระอัครชายา (พระภรรยารองอันดับที่3) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 4 คน
• ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เปลี่ยนสถานะจากสามัญชนเป็นเชื้อพระวงศ์โดยเต็มตัว
• คำว่า เฟย ไม่ได้ใช้แค่ตำแหน่งพระภรรยาของจักรพรรดิ แต่ยังใช้กับพระชายาของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงด้วย เพื่อให้พระภรรยาของจักรพรรดิสูงกว่า จึงใช้คำว่า ฝูจิ้น แทนพระชายาของเชื้อพระวงศ์
• ตำแหน่งเฟย ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 5 คน
- ยกตัวอย่างเช่น
อิ่งเฟย 穎妃 สกุลปาหลิน 巴林 (ทรงเป็นเฟย และเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทรงสวรรคต องค์ชายหย่งเหยี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง ขณะนั้นพระนางจึงได้อวยฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยไท่เฟย)
ผิน (嬪) ( ตำแหน่งนี้อยู่ก้ำกึ่งระหว่างสามัญชนกับเชื้อพระวงศ์ )
ตำแหน่งพระราชชายา (พระภรรยารองชั้นล่างสุดอันดับที่ 4) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 6 คน
• ตำแหน่งผิน ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 4 คน
- ยกตัวอย่างเช่น
เจินผิน 珍嫔 สกุลทาทาลา 他他拉 (ทรงเป็นผิน และเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นเฟย ในจักรพรรดิกวางสู(กวังซวี่) และได้รับการสถาปนาเป็น เค่อซุ่นหวงกุ้ยเฟย (恪順皇貴妃)
กลุ่มที่ 4 พระอุนภรรยาในองค์จักรพรรดิ 庶妃 (พระสนมเอก-พระสนม)
พระอนุภรรยาในองค์จักรพรรดิไม่มีจำนวนการแต่งตั้งที่จำกัดจำนวนในแต่ละตำแหน่ง เหล่าพระสนม มีแค่ตำแหน่งไม่มีฐานันดรศักดิ์ ยังคงสถานะเป็นสามัญชนเช่นเดิม ไม่มีเครื่องประกอบฐานันดรศักดิ์ประจำตัว ไม่มีชุดทางการ ไม่มีตราประทับทางการประจำตัว ไม่มีขบวนเสด็จขบวนธง ไม่มีเกี้ยวแบบทางการ พระสนมขั้น กุ้ยเหริน ฉางไจ้ ตาอิ้ง ได้รับเพียงชุดคลุมฮัวกั้ว ซึ่งเป็นชุดลำลองกึ่งทางการเพียงชุดเดียว ซึ่งหากพวกนางจะต้องเข้าร่วมงานใด นี่จะเป็นชุดคลุมเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นของพระราชทานแด่พวกนาง เนื่องจากพระสนมไม่มีสิทธิ์ที่จะสวมใส่ชุดทางการราชวงศ์ได้ ซึ่งชุดที่เหล่าพระสนมใส่ได้จะเป็นลายดอกไม้ล้อมตัวอักษร (ห้ามใช้ลายมังกร หงส์ ไก่ฟ้า นกยูง)
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิ กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ ( บุคคลที่สูงกว่าคนทั่วไป ) สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• ตำแหน่งกุ้ยเหริน ก้ำกึ่งระหว่าง อู่ผิ่นเก๋อเกอ 五品格格 และ ลิ่วผิ่นเก๋อเกอ 六品格格 (พระธิดา-ธิดาเชื้อพระวงศ์)
• มีนางกำนัลประจำตัว 3 คน
- ยกตัวอย่างเช่น
อันกุ้ยเหริน 安貴人 (กุ้ยเหรินในจักรพรรดิยงเจิ้ง)
ซู่เฟย (庶妃) - ตำแหน่งพิเศษ
ตำแหน่งพระสนมที่เคยตั้งครรภ์กับจักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• ตำแหน่งนี้โดยปกติจะไม่นับรวมกับกลุ่มพระสนมโดยตรง ตำแหน่งนี้จะเป็นปรากฏอยู่ไม่มากนักจะพบเห็นโดยส่วนมากอยู่ที่ต้นราชวงศ์
ฉางจ้าย (常在)
ตำแหน่งพระสนมระดับ2 ในองค์จักรพรรดิ ฉางจ้าย หมายถึง คงอยู่ตลอดเวลา ให้ความหมายเทียบได้กับสนมอยู่งาน สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• มีนางกำนัลประจำตัว 2 คน
ตาอิ้ง (答應)
ตำแหน่งพระสนมระดับล่างสุดในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• มีนางกำนัลประจำตัว 1 คน
ข้อมูลเหล่านี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาศึกษามาเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม ซึ่งน้อยมากที่จะพบเป็นเอกสารที่แปลเป็นภาษาไทย และขอให้ผู้อ่านได้ทำการแยก ระหว่าง ประวัติศาสตร์กับละคร- ภาพยนตร์ ซึ่งละคร-ภาพยนตร์บางเรื่องได้ทำการเขียนขึ้นใหม่จึงทำให้เบี้ยงเบนประวัติศาสตร์ไปค่อนข้างมาก
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่านี้ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่กำลังศึกษา
ฐานันดรศักดิ์และตำแหน่งพระภรรยาในองค์จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ซึ่งหมายถึง พระอัยยิกา พระพันปีหลวงในองค์จักรพรรดิ และพระภรรยาจักรพรรดิรัชกาลก่อน ที่มีพระชนม์ชีพมาจนถึงรัชกาลถัดมา ไม่มีสิทธิ์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในวังหลังโดยตรงเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ตำแหน่งพระภรรยาในจักรพรรดิรัชกาลก่อน แบ่งได้ดังนี้
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
ตำแหน่งพระอัยยิกาในองค์จักรพรรดิ ( จักรพรรดินีในรัชกาลก่อนๆ ) ซึ่งอาจจะเป็นพระอัยยิกาแท้ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงก็ได้
- ยกตัวอย่างเช่น เจาเฉิงไท่หวงไทโฮ่ว(เสี้ยวจวงเหวิน) 昭聖太皇太后 (孝莊文) สกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ 博爾濟吉特 (พระราชมารดาในจักรพรรดิชุ่นจื้อ พระอัยยิกาในจักรพรรดิคังซี)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
ตำแหน่งพระพันปีหลวง (พระราชมารดา) ในองค์จักรพรรดิ ( จักรพรรดินีในรัชกาลก่อน ) ซึ่งอาจจะเป็นพระพระราชมารดาแท้ หรือพระพระราชมารดาเลี้ยงก็ได้ บางรัชกาลอาจจะมีหวงไท่โฮ่ว ได้ 2 พระองค์ โดย ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง หวงโฮ่ว (เอกพระภรรยา) มาก่อนจะได้อวยยศขึ้นเป็นหวงไท่โฮ่ว องค์ที่ 1 และ พระราชมารดาแท้ๆของจักรพรรดิ เป็นหวงไท่โฮ่ว องค์ที่ 2 ในกรณีที่ จักรพรรดิไม่ได้เป็นพระราชโอรสของหวงโฮ่ว
• หวงไท่โฮ่ว ที่เป็นหวงโฮ่วมาก่อน เรียกว่า หมู่โฮ่วหวงไท่โฮ่ว (母后皇太后) (มีศักดิ์สูงกว่าเสมอ)
• หวงไท่โฮ่ว ที่ไม่ได้เป็นหวงโฮ่วมาก่อน เรียกว่า เซิ่งหมู่หวงไท่โฮ่ว (聖母皇太后)
- ยกตัวอย่างเช่น ฉงชิ่งหวงไท่โฮ่ว 崇庆皇太后 สกุลหนิ่วฮู่ลู่ 钮祜禄 (พระราชมารดาในจักรพรรดิเฉียนหลง)
ไท่ (太) หวงข่าว (皇考)
ตำแหน่งที่มีคำนำหน้าตำแหน่งว่าไท่ เป็นตำแหน่งผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน หวงไท่โฮ่ว ในกรณีที่ไม่มีหวงไท่โฮ่ว แต่ถ้าหากมีหวงไท่โฮ่ว ก็จะม่มีตำแหน่ง ไท่ แต่จะมีตำแหน่ง หวงข่าว แทน ถ้ารัชกาลไหนไม่มี หวงไท่โฮ่ว จะมีการแต่งตั้ง พระภรรยาในจักรพรรดิองค์ก่อน ขึ้นเป็นไท่ และภรรยาคนอื่นๆจะเป็นหวงข่าว
อย่างเช่น ถ้าไม่มีหวงไท่โฮ่ว จะมีการแต่งตั้ง หวงไท่กุ้ยเฟย
ถ้าไม่มีหวงไท่กุ้ยเฟย จะมีการแต่งตั้ง ไท่กุ้ยเฟย 2 คน
ถ้าไม่มีกุ้ยไท่เฟย จะมีการแต่งตั้ง ไท่เฟย 4 คน
• หวงไท่กุ้ยเฟย (皇太貴妃) - หวงกุ้ยเฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่กุ้ยเฟย (太貴妃) - กุ้ยเฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่เฟย (太貴妃) - เฟย ในรัชกาลก่อน
• ไท่ผิน (太嬪) - ผิน ในรัชกาลก่อน
- ยกตัวอย่างเช่น หว่านกุ้ยไท่เฟย 婉貴太妃 สกุลเฉิน 陳 (ทรงเป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทรงสวรรคต องค์ชายหย่งเหยี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง ขณะนั้นพระนางจึงได้อวยฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยไท่เฟย)
กลุ่มที่ 2 พระภรรยาเอกในองค์จักรพรรดิ 嫡妃 (จักรพรรดินี)
พระภรรยาเอกในองค์จักรพรรดิมีเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินี (พระอัครมเหสีเอก หรือพระภรรยาเอก) แต่งตั้งได้ครั้งละ 1 คนเท่านั้น
• ประมุขวังหลัง (อยู่ในฐานะสูงสุดในฝ่ายใน)
• เป็นผู้ดูแลกิจการในวังหลังทั้งหมด
• แต่ต้องให้ความเคารพบุคคลในกลุ่มที่ 1
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 10 คน
- ยกตัวอย่างเช่น เสี้ยวเสียนชุนหวงโฮ่ว 孝賢純皇后 สกุลฟู่ฉา 富察 (ทรงเป็นจักรพรรดินีองค์ที่ 1 ในจักรพรรดิเฉียนหลง)
กลุ่มที่ 3 พระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิ 側妃 (พระมเหสี - พระราชชายา)
พระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิมีจำนวนการแต่งตั้งที่จำกัดจำนวนในแต่ละตำแหน่ง เหล่าพระมเหสี - พระราชชายา มีศักดิ์เป็นเชื้อพระวงศ์ถึงแม้จะมาจากสามัญชนก็ตามแต่เมื่อก้าวขึ้นมาถึง ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาชั้นรองในองค์จักรพรรดิขึ้นไป จะเปลี่ยนสถานะของตนจากสามัญชนเข้าสู่การเป็นเชื้อพระวงศ์ มีเครื่องประกอบฐานันดรศักดิ์ประจำตัว มีชุดทางการ ชุดลำลองกึ่งทางการ มีตราประทับทางการประจำตัว มีรถม้า ขบวนเสด็จขบวนธง มีเกี้ยวแบบทางการ
หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
ตำแหน่งพระมเหสี (พระภรรยารองอันดับที่1) มีศักดิ์ต่ำกว่าหวงโฮ่ว เพียงเล็กน้อย ตำแหน่งหวงกุ้ยเฟยสามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 1 คน
• ถ้ามีหวงโฮ่ว จะไม่มีหวงกุ้ยเฟย ( เนื่องจากตำแหน่งหวงโฮ่ว และหวงกุ้ยเฟยเกือบจะเทียบเท่าเสมอกัน ไม่ว่าการชุดทางการ พิธีการ เครื่องประกอบยศ ขบวนเสด็จ ต่างก็คล้ายกัน จนเกิดการชนกันระหว่าง 2 ตำแหน่ง )
• ตำแหน่งนี้มีไว้เพื่อทำหน้าที่แทนหวงโฮ่ว ในกรณีที่หวงโฮ่วไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือหวงโฮ่วสิ้นพระชนม์ โดยองค์จักรพรรดิจะแต่งตั้ง หวงกุ้ยเฟย 1 คน เป็นเวลา 3 ปี ในการไว้ทุกข์ หลังจากนั้นหวงกุ้ยเฟยอาจจะได้รับแต่งตั้งเป็น หวงโฮ่ว (ชาวแมนจู หรือมองโกล เท่านั้น) หรือ เป็น หวงกุ้ยเฟย ต่อไปก็ตามแต่พระประสงค์ขององค์จักรพรรดิ • สตรีชาวฮั่นขณะที่มีชีวิตอยู่ ตำแหน่งสูงสุดคือ หวงกุ้ยเฟย เท่านั้น
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 8 คน
- ยกตัวอย่างเช่น หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย 令懿皇贵妃 สกุลเว่ยเจีย 魏佳 (แต่งตั้งฐานันดรศักดิ์เป็นหวงกุ้ยเฟยในคราวที่จักรพรรดิเฉียนหลงทรงปลด จี้หวงโฮ่ว(จักรพรรดินีองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิเฉียนหลง) ออกจากหน้าที่แต่ยังให้พระนางอยู่ในฐานะของหวงโฮ่ว ดังนั้นจักรพรรดิเฉียนหลงทรงแต่งตั้ง ลิ่งกุ้ยเฟยเป็นหลิงอี้หวงกุ้ยเฟย เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการวังหลังแทนจี้หวงโฮ่ว และทรงได้รับการสถาปนาหลังสิ้นพระชนม์เป็น เสี้ยวอี้ฉุนหวงโฮ่ว 孝儀純皇后 ในรัชกาลจักรพรรดิเจียชิ่ง
กุ้ยเฟย (貴妃)
ตำแหน่งพระราชเทวี (พระภรรยารองอันดับที่2) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 2 คน
• ถ้าหากหวงโฮ่วสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิจะทรงเลือกกุ้ยเฟย หนึ่งคนขึ้นไปเป็น หวงกุ้ยเฟย เพื่อทำหน้าที่แทนหวงโฮ่วเป็นเวลา 3 ปี ในการไว้ทุกข์
• บางรัชกาลก็ไม่มีการแต่งตั้ง หวงกุ้ยเฟย แต่จะยึดเอาตำแหน่งกุ้ยเฟยไว้สูงสุดทำหน้าที่ในการปกครองและดูแลงานต่างๆในวังหลังแทน หวงโฮ่ว
• ตำแหน่งกุ้ยเฟย ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 6 คน ( บางรัชกาล 8 คน )
- ยกตัวอย่างเช่น อี้กุ้ยเฟย 懿貴妃 สกุลเย่เฮ่อน่าลา 葉赫那拉 (ทรงเป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเสียนเฟิง และได้รับการอวยฐานันดรศักดิ์เป็นฉือสี่(ซูสี)หวงไท่โฮ่ว慈禧皇太后 คู่กับ เสี้ยวเจินเสี่ยนหวงโฮ่ว(ฉืออัน) 孝贞显皇后(慈禧) เนื่องจากพระนางอี้กุ้ยเฟยเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิถงจื่อ พระนามย่อหลังสิ้นพระชนม์ของพระนางคือ เสี้ยวชินเสี่ยนหวงโฮ่ว 孝欽顯皇后
เฟย (妃)
ตำแหน่งพระอัครชายา (พระภรรยารองอันดับที่3) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 4 คน
• ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เปลี่ยนสถานะจากสามัญชนเป็นเชื้อพระวงศ์โดยเต็มตัว
• คำว่า เฟย ไม่ได้ใช้แค่ตำแหน่งพระภรรยาของจักรพรรดิ แต่ยังใช้กับพระชายาของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงด้วย เพื่อให้พระภรรยาของจักรพรรดิสูงกว่า จึงใช้คำว่า ฝูจิ้น แทนพระชายาของเชื้อพระวงศ์
• ตำแหน่งเฟย ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 5 คน
- ยกตัวอย่างเช่น อิ่งเฟย 穎妃 สกุลปาหลิน 巴林 (ทรงเป็นเฟย และเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยเฟยในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทรงสวรรคต องค์ชายหย่งเหยี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง ขณะนั้นพระนางจึงได้อวยฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยไท่เฟย)
ผิน (嬪) ( ตำแหน่งนี้อยู่ก้ำกึ่งระหว่างสามัญชนกับเชื้อพระวงศ์ )
ตำแหน่งพระราชชายา (พระภรรยารองชั้นล่างสุดอันดับที่ 4) สามารถแต่งตั้งได้ครั้งละ 6 คน
• ตำแหน่งผิน ก้ำกึ่งระหว่าง กู้หลุนกงจวู่ 固倫公主 - กู้ซานเก๋อเกอ 固山格格 (พระราชธิดาจักรพรรดิ - พระธิดาเชื้อพระวงศ์) ตี๋ฝูจิ้น 嫡福晉 (พระชายาเอกใน เหอซั่วชินหวัง ชินหวังซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง)
• มีนางกำนัลประจำพระองค์ 4 คน
- ยกตัวอย่างเช่น เจินผิน 珍嫔 สกุลทาทาลา 他他拉 (ทรงเป็นผิน และเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นเฟย ในจักรพรรดิกวางสู(กวังซวี่) และได้รับการสถาปนาเป็น เค่อซุ่นหวงกุ้ยเฟย (恪順皇貴妃)
กลุ่มที่ 4 พระอุนภรรยาในองค์จักรพรรดิ 庶妃 (พระสนมเอก-พระสนม)
พระอนุภรรยาในองค์จักรพรรดิไม่มีจำนวนการแต่งตั้งที่จำกัดจำนวนในแต่ละตำแหน่ง เหล่าพระสนม มีแค่ตำแหน่งไม่มีฐานันดรศักดิ์ ยังคงสถานะเป็นสามัญชนเช่นเดิม ไม่มีเครื่องประกอบฐานันดรศักดิ์ประจำตัว ไม่มีชุดทางการ ไม่มีตราประทับทางการประจำตัว ไม่มีขบวนเสด็จขบวนธง ไม่มีเกี้ยวแบบทางการ พระสนมขั้น กุ้ยเหริน ฉางไจ้ ตาอิ้ง ได้รับเพียงชุดคลุมฮัวกั้ว ซึ่งเป็นชุดลำลองกึ่งทางการเพียงชุดเดียว ซึ่งหากพวกนางจะต้องเข้าร่วมงานใด นี่จะเป็นชุดคลุมเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นของพระราชทานแด่พวกนาง เนื่องจากพระสนมไม่มีสิทธิ์ที่จะสวมใส่ชุดทางการราชวงศ์ได้ ซึ่งชุดที่เหล่าพระสนมใส่ได้จะเป็นลายดอกไม้ล้อมตัวอักษร (ห้ามใช้ลายมังกร หงส์ ไก่ฟ้า นกยูง)
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิ กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ ( บุคคลที่สูงกว่าคนทั่วไป ) สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• ตำแหน่งกุ้ยเหริน ก้ำกึ่งระหว่าง อู่ผิ่นเก๋อเกอ 五品格格 และ ลิ่วผิ่นเก๋อเกอ 六品格格 (พระธิดา-ธิดาเชื้อพระวงศ์)
• มีนางกำนัลประจำตัว 3 คน
- ยกตัวอย่างเช่น อันกุ้ยเหริน 安貴人 (กุ้ยเหรินในจักรพรรดิยงเจิ้ง)
ซู่เฟย (庶妃) - ตำแหน่งพิเศษ
ตำแหน่งพระสนมที่เคยตั้งครรภ์กับจักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• ตำแหน่งนี้โดยปกติจะไม่นับรวมกับกลุ่มพระสนมโดยตรง ตำแหน่งนี้จะเป็นปรากฏอยู่ไม่มากนักจะพบเห็นโดยส่วนมากอยู่ที่ต้นราชวงศ์
ฉางจ้าย (常在)
ตำแหน่งพระสนมระดับ2 ในองค์จักรพรรดิ ฉางจ้าย หมายถึง คงอยู่ตลอดเวลา ให้ความหมายเทียบได้กับสนมอยู่งาน สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• มีนางกำนัลประจำตัว 2 คน
ตาอิ้ง (答應)
ตำแหน่งพระสนมระดับล่างสุดในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้โดยไม่จำกัดจำนวน
• มีนางกำนัลประจำตัว 1 คน
ข้อมูลเหล่านี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาศึกษามาเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม ซึ่งน้อยมากที่จะพบเป็นเอกสารที่แปลเป็นภาษาไทย และขอให้ผู้อ่านได้ทำการแยก ระหว่าง ประวัติศาสตร์กับละคร- ภาพยนตร์ ซึ่งละคร-ภาพยนตร์บางเรื่องได้ทำการเขียนขึ้นใหม่จึงทำให้เบี้ยงเบนประวัติศาสตร์ไปค่อนข้างมาก
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่านี้ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่กำลังศึกษา