ทำทานน้อยแต่ได้ผลมาก เขาทำกันอย่างไร ?

กระทู้สนทนา
ในสมัยพุทธกาล
มีพราหมณ์ท่านหนึ่งชื่อว่า
"กูฏทันตะ"
พราหมณ์ท่านนี้
คิดจะกระทำการบูชายัญ
แต่อยากรู้ว่าหลักการบูชายัญที่ถูก
ควรจะทำอย่างไร
เพื่อให้ได้รับผลจากบูชายัญนั้นมากที่สุด
พอทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นสัพพัญญู
และกำลังเสด็จมายังเมืองที่ตนอยู่
จึงรีบเข้ามาถามปัญหา
--
พระพุทธองค์ได้บอกหลักการบูชายัญ ๓ ประการ
และส่วนประกอบในการบูชายัญอีก ๑๖  อย่าง
ซึ่งเมื่อพราหมณ์คนนี้ได้ฟังแล้ว
ก็ถึงกับนั่งนิ่ง
พร้อมกับเกิดความคิดในใจว่า
การบูชายัญมันยุ่งยากแท้
จากนั้นพราหมณ์ได้ถามว่า
มีไหมที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่า
มีการตระเตรียมน้อยกว่า
แต่มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบว่า "มี"
ทานที่ถวายเจาะจงบรรพชิตผู้มีศีล
นี้เป็นยัญซึ่งใช้ทุนทรัพย์
และมีการตระเตรียมน้อยกว่า    
แต่มีผลานิสงส์มากกว่า
พราหมณ์ถามอีกว่า
แล้วยังมีอย่างอื่นอีกไหม
ที่ใช้ทุนทรัพย์และมีการตระเตรียมน้อยกว่า    
แต่มีผลานิสงส์มากกว่า
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า มีอีก
กล่าวโดยย่อคือ
- สร้างวิหารอุทิศแก่ภิกษุสงฆ์ผู้จรมาจาก ๔ ทิศ  
- เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ  
- เป็นผู้สมทานรักษาศีล
- เป็นผู้ประพฤติธรรมให้ได้ ฌาน จนหมดกิเลส

#สรุปหลักสำคัญคือ
ยัญสมบัติ ๓ ประการ  มีองค์ประกอบ  ๑๖ นี้
มีหลักสำคัญ ๓ ประการ
ที่จะทำให้ทำน้อยแล้วได้ผลมากคือ
เมื่อบูชามหายัญอยู่
๑.ไม่ควรคิดว่ากองโภคสมบัติใหญ่ของเราจักหมดเปลือง
๒.ไม่ควรคิดว่ากองโภคสมบัติใหญ่ของเรากำลังหมดเปลืองไป
๓.ไม่ควรคิดว่ากองโภคสมบัติใหญ่ของเราหมดเปลืองไปแล้ว  
ส่วนว่าองค์ประกอบ ๑๖ นั้น
เป็นเรื่องของคุณสมบัติผู้ให้ทาน  ๘ ข้อ
ของผู้รับทานอีก ๔ ข้อ
และผู้อนุมัติยินดีในทานอีก ๔ กลุ่ม  
การตัดตระหนี่ออกจากใจไม่เสียดาย ตั้งแต่ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ  
คือ ทำน้อยได้บุญมาก ต้องไม่เสียดาย  
นอกจากนี้พระองค์ยังให้วิธีการที่ทำน้อย  เตรียมน้อย  แต่ได้ผลมากอีกอื่นๆ อีก
เช่นว่า ถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล สร้างวิหารอุทิศแก่ภิกษุสงฆ์ผู้จรมาจาก ๔ ทิศ
เป็นต้นเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นทางมาแห่งบุญกุศล เพื่อใช้เป็นเสบียงในการเดินทางไกล
ในสังสารวัฏอันยาวนานนี้ทั้งสิ้น
--
อ้างอิงจากพระไตรปิฎก มจร.
เล่ม ๙ หน้า ๑๒๕
"กูฏทันตสูตร"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่