สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ออกกฎห้ามใช้ใส่ในอาหารไปเลยได้แล้ว ทีกฎหมายเพื่อประชาชนนี่ชักช้าออกยากออกเย็น
สมาชิกหมายเลข 1331578 ถูกใจ, pinkun ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2196200 ถูกใจ, จอมสับขาระดับโลก ถูกใจ, สามีผมไม่กลับบ้าน ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1292957 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 806651 หลงรัก, สมาชิกหมายเลข 2851153 ถูกใจ, เสียงจากบ้านนา ถูกใจ, Je Viens De La Lune ถูกใจรวมถึงอีก 7 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
(( ข่าวTPBSทีวีไทย )) โดนัท 8 ยี่ห้อดัง ไขมันทรานส์สูง เสี่ยงโรคหัวใจ-ความดัน
11:05 | 11 พฤษภาคม 2561
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลการสุ่มตรวจโดนัทช็อกโกแลต 13 ยี่ห้อดัง พบมีเพียง 5 ยี่ห้อมีปริมาณไขมันทรานส์ตามเกณฑ์กำหนด ขณะที่อีก 8 ยี่ห้อสูงเกิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและความดัน
เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.2561) น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เผยผลทดสอบไขมันทรานส์และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลตจากทั้งหมด 13 ตัวอย่างในยี่ห้อดัง พบว่ามี 8 ยี่ห้อ มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยยี่ห้อที่พบไขมันทรานส์สูงสุด คือซับไลม์โดนัท อยู่ที่ 4.5913 กรัมต่อชิ้น, รองลงมา ฟู้ดส์แลนด์ อยู่ที่ 3.0484 กรัมต่อชิ้น, ดังกิ้นโดนัท พบปริมาณ 2.7553 กรัมต่อชิ้น, เทสโก้ โลตัส พบ 1.7449 กรัมต่อชิ้น, บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณ 0.9560 กรัมต่อชิ้น, มิสเตอร์โดนัท พบ 0.8690 กรัมต่อชิ้น, เอ็น.เค.โดนัท พบ 0.8626 กรัมต่อชิ้น และยามาซากิ พบ 0.7542 กรัมต่อชิ้น ขณะที่อีก 5 ยี่ห้อ พบปริมาณไขมันชนิดนี้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดน้อยที่สุด คือยี่ห้อแด๊ดดี้ โด พบเพียง 0.0729 กรัมต่อชิ้น, เฟลเวอร์ ฟิลด์, แซง-เอ-ตัวล, เบรดทอล์ค และคริปปี้ครีม ตามลำดับ
นอกจากนี้ โดนัทส่วนใหญ่ยังให้พลังงานสูงด้วยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี สำหรับไขมันทรานส์ เป็นไขมันที่มนุษย์สร้างขึ้นมา หากรับประทานเป็นประจำเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และลดระดับไขมันดี เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต ซึ่งสารชนิดนี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ แม้จะออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการนิยมเติมไขมันดังกล่าวในอาหารประเภทเบเกอรี่ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการเติมไขมันชนิดนี้ในอาหาร ดังนั้น จึงเรียกร้องสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร และเรียกร้องผู้ประกอบการปรับสูตรอาหาร โดยไม่ต้องผสมไขมันดังกล่าว
http://news.thaipbs.or.th/content/272150