"วิวาทะ" ในที่นี้ หมายถึงการ โต้แย้ง ถกเถียง ในเรื่องราวต่างๆ
"วิวาท" ความหมายเช่นเดียวกับ "วิวาทะ" แต่ในที่นี้จะหมายถึง การทะเลาะเบาะแว้ง
"การดำเนินคดี" ในที่นี้ จะหมายถึงขั้นตอนหรือกระบวนการก่อนยื่นคำฟ้องต่อศาล
"การเมือง เป็นเรื่องให้ชวนวิวาท"
เราจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะที่ไหนมีการกล่าวถึงเรื่องการเมือง ที่นั่นมักจะมีการวิวาทเกิดขึ้นได้
แต่ ถ้าเราจะพิจารณากันด้วยเหตุและผล
เราควรจะ"วิวาทะ"กันในข้อการเมือง ดีกว่าการที่จะไป"วิวาท"กัน ด้วยเรื่องที่ไม่มีข้อยุติเช่นการเมืองนี้
วิวาทะทางการเมือง นำสู่การวิวาทกัน เป็นเรื่องปกติโดยทั่วไป
แต่การวิวาทกันนั้น มักจะนำเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เพราะถือว่า นั่นคือ"อาวุธ" ที่จะสามารถทำร้ายจิตใจฝ่ายตรงข้ามได้
เพราะ ไม่ว่าใคร ก็ย่อมมีความรู้สึกนึกคิดอ่อนไหวกันในเรื่องส่วนตัว หรือส่วนบุคคล กันทั้งนั้น
เรื่องเหล่านี้ จึงมักเป็นสาเหตุของ "การดำเนินคดี"
กรณีที่มักเกิดจากการวิวาทในโลกไซเบอร์
คือการหมิ่นประมาท และ/อาจ ดูหมิ่นซึ่งหน้า
ใครหมิ่นใตร ก็จะเห็นปรากฎได้ตามข้อความ ความคิดเห็นที่แสดงลงไป จะด้วยเจตนาหรือไม่ ก็ต้องไปพิสูจน์กัน
การกล่าวหา (ทั่วๆ ไป ที่มักจะมีการกล่าวหาสมาชิก)
ผู้ใดกล่าวหาผู้ใด ผู้กล่าวหาย่อมต้องแสดงหลักฐานมายืนยันในข้อที่ตนกล่าวหานั้น ว่าจริง
ผู้ถูกกล่าวหา ไม่จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานมาโต้แย้งข้อกล่าวหานั้น ตราบเท่าที่ฝ่ายกล่าวหายังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้
นี่คือหลักการดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิวาทะและนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
แต่หากผู้กล่าวหา ไม่สามารถยินยันหลักฐานในการกล่าวหาของตนได้ ก็จะถือว่าเป็นการ "ใส่ความ"
และหากเรื่องใดที่เข้าสู่กระบวนการแล้ว เรื่องนั้นแม้จะจริง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ กฎหมายห้ามพิสูจน์
ดังนั้น การจะกล่าวหาใคร ผู้กล่าวหาควรต้องมีพยานหลักฐานเสียก่อน
หรือหากจะบอกว่ามี แต่แสดงไม่ได้ ก็เข้าข่าย "ใส่ความ" เช่นเดียวกัน ถ้าเรื่องนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ดังนั้น ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะกล่าวหาผู้ใด
ว่าเรื่องนั้น เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ เพราะถ้าไม่เป็น ก็จะเข้าข่าย "ใส่ความ"ได้
ช่องว่างทางกฎหมาย เรื่อง "ดูหมิ่นซึ่งหน้า"
"ช่องว่างทางกฎหมาย" หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กฎหมายหมายครอบคลุมไปไม่ถึงการกระทำนั้น
และอาจให้การกระทำที่ผิดปกตินั้น เล็ดรอดช่องกฎหมายออกไปได้
ซึ่งต่างจาก "ช่องโหว่ของกฎหมาย"
อ. วิษณุ เครืองาม เคยกล่าวไว้ว่า
" เป็นความลื่นไหลของผู้ตีความกฎหมายเอง ที่อาจกระทำเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตัวหรืออย่างอื่นก็ดี"
"ดูหมิ่นซึ่งหน้า"
ป. อาญา ม.393 บัญญัติว่า
“ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
กฎหมายนี้มีช่องว่าง ซึ่งทำให้ผู้ที่ฉลาดในด้านกฎหมายนำไปเป็นช่องโหว่ในการทำร้ายผู้อื่นทางวาจาได้ด้วย
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุแน่ชัดในกฎหมาย
ว่าการดูหมิ่นทางสื่อโซเชียลเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
จากการตีความของ อัยการ และ พงส. มักจะตีความว่าเข้าข่าย "ซึ่งหน้า" เพราะคูกรณีสามารถมองเห็นได้
แต่ศาลฎีกาท่านได้ให้ข้อคิดที่ว่า
กฎหมายนี้ ตราขึ้นเพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจจะเกิดขึ้นในทันทีที่เกิดการดูหมิ่นกัน
ดังนั้น การโพสข้อความหยาบคายใส่กันในสื่อโซเชียล จะไม่ถือว่าเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า (3711/2557)
นี่คือช่อง ที่ผู้ใช้สื่อโซเชียล นำมาใช้ในการทำร้ายกันด้วยวาจา
แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นซึ่งหน้า ก็เป็นความผิดที่ พงส. มีอำนาจลงโทษด้วยการปรับได้
และถ้า ต่างคนต่างดูหมิ่น ก็จะถือว่าเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาท ปรับทั้งคู่ ฐานสร้างความวุ่นวายในสังคม ไม่ใช่ฐานดูหมิ่น เพราะไม่มีเจ้าทุกข์
พยานหลักฐาน
การหมิ่นประมาททางสื่อโซเชียล จะปรากฎหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่โพสต์ลงสื่ออย่างแน่ชัด
และ/หรือ อาจจะมีการขอเอกสารต้นฉบับจากผู้ให้บริการสื่อหรือเว็บบอร์ดนั้นอีกก็ได้
เพื่อยืนยันว่า เอกสารที่ผู้เสียหายนำไปร้องทุกข์ ไม่มีการแต่งขึ้นเพื่อกล่าวหาผู้อื่น
ส่วนการจะขอบุคคลเข้าสู่บัญชีพยาน อาจทำได้เฉพาะบางกรณี ที่ไม่มีหลักฐานเป็นเอกสาร
แต่การจะนำบุคคลไปเป็นพยาน
ยืนยันความรู้สึกในความคิดเห็น มักไม่มีใครทำกัน
เพราะหากพยานที่ขอให้ไปยืนยันความคิดเห็น ส่วนใหญ่บอกว่า ไม่รู้สึกว่าข้อความนั้นทำให้รู้สึกเสื่อมเสียชื่อเสียง
พยานหลักฐานของผู้เสียหาย จะเบาลงในทันที
ปล.
บทความนี้ ไม่มีเจตนายั่วยุหรือส่งเสริมให้ใครทำผิดหรือใช้ช่องกฎหมายในการทำความผิด
และไม่มีเจตนาขัดขวางการดำเนินการตามสมควรต่อผู้ใด ในการที่จะรักษาสิทธิที่ตนพึงมี
แต่เพียงเพื่อให้ข้อคิดในการตัดสินใจลงเล่นสื่อโซเชียล
ว่าควรทำอย่างไรเมื่อต้องตกอยู่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่นที่กล่าวมา
จาก "วิวาทะ" สู่ "การดำเนินคดี"
"วิวาท" ความหมายเช่นเดียวกับ "วิวาทะ" แต่ในที่นี้จะหมายถึง การทะเลาะเบาะแว้ง
"การดำเนินคดี" ในที่นี้ จะหมายถึงขั้นตอนหรือกระบวนการก่อนยื่นคำฟ้องต่อศาล
"การเมือง เป็นเรื่องให้ชวนวิวาท"
เราจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะที่ไหนมีการกล่าวถึงเรื่องการเมือง ที่นั่นมักจะมีการวิวาทเกิดขึ้นได้
แต่ ถ้าเราจะพิจารณากันด้วยเหตุและผล
เราควรจะ"วิวาทะ"กันในข้อการเมือง ดีกว่าการที่จะไป"วิวาท"กัน ด้วยเรื่องที่ไม่มีข้อยุติเช่นการเมืองนี้
วิวาทะทางการเมือง นำสู่การวิวาทกัน เป็นเรื่องปกติโดยทั่วไป
แต่การวิวาทกันนั้น มักจะนำเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เพราะถือว่า นั่นคือ"อาวุธ" ที่จะสามารถทำร้ายจิตใจฝ่ายตรงข้ามได้
เพราะ ไม่ว่าใคร ก็ย่อมมีความรู้สึกนึกคิดอ่อนไหวกันในเรื่องส่วนตัว หรือส่วนบุคคล กันทั้งนั้น
เรื่องเหล่านี้ จึงมักเป็นสาเหตุของ "การดำเนินคดี"
กรณีที่มักเกิดจากการวิวาทในโลกไซเบอร์
คือการหมิ่นประมาท และ/อาจ ดูหมิ่นซึ่งหน้า
ใครหมิ่นใตร ก็จะเห็นปรากฎได้ตามข้อความ ความคิดเห็นที่แสดงลงไป จะด้วยเจตนาหรือไม่ ก็ต้องไปพิสูจน์กัน
การกล่าวหา (ทั่วๆ ไป ที่มักจะมีการกล่าวหาสมาชิก)
ผู้ใดกล่าวหาผู้ใด ผู้กล่าวหาย่อมต้องแสดงหลักฐานมายืนยันในข้อที่ตนกล่าวหานั้น ว่าจริง
ผู้ถูกกล่าวหา ไม่จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานมาโต้แย้งข้อกล่าวหานั้น ตราบเท่าที่ฝ่ายกล่าวหายังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้
นี่คือหลักการดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิวาทะและนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
แต่หากผู้กล่าวหา ไม่สามารถยินยันหลักฐานในการกล่าวหาของตนได้ ก็จะถือว่าเป็นการ "ใส่ความ"
และหากเรื่องใดที่เข้าสู่กระบวนการแล้ว เรื่องนั้นแม้จะจริง แต่ไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ กฎหมายห้ามพิสูจน์
ดังนั้น การจะกล่าวหาใคร ผู้กล่าวหาควรต้องมีพยานหลักฐานเสียก่อน
หรือหากจะบอกว่ามี แต่แสดงไม่ได้ ก็เข้าข่าย "ใส่ความ" เช่นเดียวกัน ถ้าเรื่องนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ดังนั้น ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะกล่าวหาผู้ใด
ว่าเรื่องนั้น เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ เพราะถ้าไม่เป็น ก็จะเข้าข่าย "ใส่ความ"ได้
ช่องว่างทางกฎหมาย เรื่อง "ดูหมิ่นซึ่งหน้า"
"ช่องว่างทางกฎหมาย" หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กฎหมายหมายครอบคลุมไปไม่ถึงการกระทำนั้น
และอาจให้การกระทำที่ผิดปกตินั้น เล็ดรอดช่องกฎหมายออกไปได้
ซึ่งต่างจาก "ช่องโหว่ของกฎหมาย"
อ. วิษณุ เครืองาม เคยกล่าวไว้ว่า
" เป็นความลื่นไหลของผู้ตีความกฎหมายเอง ที่อาจกระทำเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตัวหรืออย่างอื่นก็ดี"
"ดูหมิ่นซึ่งหน้า"
ป. อาญา ม.393 บัญญัติว่า
“ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
กฎหมายนี้มีช่องว่าง ซึ่งทำให้ผู้ที่ฉลาดในด้านกฎหมายนำไปเป็นช่องโหว่ในการทำร้ายผู้อื่นทางวาจาได้ด้วย
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุแน่ชัดในกฎหมาย
ว่าการดูหมิ่นทางสื่อโซเชียลเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า
จากการตีความของ อัยการ และ พงส. มักจะตีความว่าเข้าข่าย "ซึ่งหน้า" เพราะคูกรณีสามารถมองเห็นได้
แต่ศาลฎีกาท่านได้ให้ข้อคิดที่ว่า
กฎหมายนี้ ตราขึ้นเพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจจะเกิดขึ้นในทันทีที่เกิดการดูหมิ่นกัน
ดังนั้น การโพสข้อความหยาบคายใส่กันในสื่อโซเชียล จะไม่ถือว่าเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า (3711/2557)
นี่คือช่อง ที่ผู้ใช้สื่อโซเชียล นำมาใช้ในการทำร้ายกันด้วยวาจา
แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นซึ่งหน้า ก็เป็นความผิดที่ พงส. มีอำนาจลงโทษด้วยการปรับได้
และถ้า ต่างคนต่างดูหมิ่น ก็จะถือว่าเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาท ปรับทั้งคู่ ฐานสร้างความวุ่นวายในสังคม ไม่ใช่ฐานดูหมิ่น เพราะไม่มีเจ้าทุกข์
พยานหลักฐาน
การหมิ่นประมาททางสื่อโซเชียล จะปรากฎหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่โพสต์ลงสื่ออย่างแน่ชัด
และ/หรือ อาจจะมีการขอเอกสารต้นฉบับจากผู้ให้บริการสื่อหรือเว็บบอร์ดนั้นอีกก็ได้
เพื่อยืนยันว่า เอกสารที่ผู้เสียหายนำไปร้องทุกข์ ไม่มีการแต่งขึ้นเพื่อกล่าวหาผู้อื่น
ส่วนการจะขอบุคคลเข้าสู่บัญชีพยาน อาจทำได้เฉพาะบางกรณี ที่ไม่มีหลักฐานเป็นเอกสาร
แต่การจะนำบุคคลไปเป็นพยานยืนยันความรู้สึกในความคิดเห็น มักไม่มีใครทำกัน
เพราะหากพยานที่ขอให้ไปยืนยันความคิดเห็น ส่วนใหญ่บอกว่า ไม่รู้สึกว่าข้อความนั้นทำให้รู้สึกเสื่อมเสียชื่อเสียง
พยานหลักฐานของผู้เสียหาย จะเบาลงในทันที
ปล.
บทความนี้ ไม่มีเจตนายั่วยุหรือส่งเสริมให้ใครทำผิดหรือใช้ช่องกฎหมายในการทำความผิด
และไม่มีเจตนาขัดขวางการดำเนินการตามสมควรต่อผู้ใด ในการที่จะรักษาสิทธิที่ตนพึงมี
แต่เพียงเพื่อให้ข้อคิดในการตัดสินใจลงเล่นสื่อโซเชียล
ว่าควรทำอย่างไรเมื่อต้องตกอยู่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่นที่กล่าวมา