ประเด็นคือ ข้อเสนอของคุณธนาธรที่ว่า “รัฐควรถอยตัวเองออกมาจากเรื่องศาสนา ไม่ควรอุปถัมภ์ศาสนาอะไรเลย” สอดคล้องกับหลักการแยกศาสนากับรัฐ (separation of church and state) ของรัฐโลกวิสัย คือแยกเรื่องของรัฐเป็นเรื่องสาธารณะ เรื่องศาสนา,ความเชื่อ,ความไม่เชื่อเป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือเรื่องส่วนตัว เมื่อแยกเช่นนี้รัฐจึงไม่แสดงความเชื่อทางศาสนา เช่นไม่ใช้หลักความเชื่อของศาสนาใดๆ มาเป็นหลักการหรืออุดมการณ์ในการปกครอง การบัญญัติกฎหมาย ไม่อ้างความเชื่อ หลักคำสอนของศาสนาใดๆ ในทางการเมืองการปกครอง ไม่สอนศาสนาหรือโปรโมทความเชื่อศาสนาในโรงเรียน ไม่ใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาในโรงเรียน สถานที่ราชการ ไม่เลือกรับหรือไม่รับคนเข้ารับราชการเพราะเหตุผลทางศาสนา กระทั่งไม่ระบุศาสนาในการกรอกเอกสารทางราชการ เป็นต้น
การแยกรัฐกับศาสนาดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดโลกวิสัย (secularism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำหลักการของเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมาปฏิบัติกับ (treat) ความหลากหลายทางศาสนา, ความเชื่อ และวัฒนธรรม บนพื้นฐานของการเคารพความเสมอภาค (equality) และความยุติธรรม (fairness) ต่อประชาชนทุกศาสนา ทุกความเชื่อ และคนที่ไม่เชื่อหรือไม่นับถือศาสนา โดยถือว่าเรื่องศาสนา เรื่องความเชื่อ ไม่เชื่อ เป็นเรื่องเสรีภาพทางความคิดเห็น (freedom of conscience) ของปัจเจกบุคคล ขณะเดียวแนวคิดโลกวิสัยก็ให้หลักประกันเสรีภาพทางศาสนา ควบคู่กับเสรีภาพในการพูดหรือเสรีภาพในการแสดงออกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐโลกวิสัยจึงต้องเป็นกลางทางศาสนา, ให้หลักประกันเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนา, ไม่อุปถัมภ์, ไม่ให้สิทธิพิเศษแก่ศาสนาใดๆ และไม่ต่อต้านศาสนาหรือความเชื่อ ความไม่เชื่อใดๆ
ปัญหาคือ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่จะเอาอย่างไร ถ้ายืนยันการแยกรัฐกับศาสนาหรือ secular state ก็ต้องยึดตามความเห็นคุณธนาธร คือรัฐต้องไม่อุปถัมภ์ศาสนาใดๆ แต่ถ้าเอาตามข้อเสนอของหะยีสุหรงเรื่องข้าราชการ 3 จังหวัดภาคใต้ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ มีกฎหมายทางศาสนา และศาลศาสนา นี่ย่อมเป็นการกระจายอำนาจที่ขัดกับหลักการของ secular state ที่ให้สิทธิพิเศษด้วยเหตุผลทางศาสนาแก่ใครหรือคนกลุ่มใดไม่ได้
ปัญหาที่ตามมาของการกระจายอำนาจบนฐานของการให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่มด้วยเหตุผลทางศาสนา ก็คือปัญหาแบบเดียวกันที่คุณบอกว่าคนพุทธไทยส่วนใหญ่มีสิทธิพิเศษมากกว่าชาวมุสลิม เพราะถ้าคุณบอกว่าชาวมุสลิม 3 จังหวัดภาคใต้คือประชากรชั้นสองเมื่อเทียบระดับประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ คนในพื้นที่ 3 จังหวัดที่เป็นพุทธ, คริสต์ และคนไม่นับถือศาสนาเขาก็อ้างได้เช่นกันว่าเขาคือประชากรชั้นสองในพื้นที่ตรงนั้น ดังนั้นการกระจายอำนาจบนฐานของการให้สิทธิพิเศษทางศาสนามันจึงทั้งขัดหลักการพื้นฐานของ secular state และทั้งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องประชากรชั้นสองได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น หากมีกฎหมายศาสนาและศาลศาสนา คนไม่นับถือศาสนาที่เปิดห้องเรียนเพศวิถีในปัตตานีจะกลายเป็น “ประชากรชั้นสอง” ที่ต้องขึ้นศาลศาสนาไหม มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของพวกเขาอย่างไร เพราะตามหลักการของ secular state คนนับถือศาสนาและคนไม่นับถือศาสนา หรือมีความเชื่อในปรัชญาอื่นๆ ต้องมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงออกซึ่ง “อัตลักษณ์” (identity) ของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
ยิ่งกว่านั้น การกระจายอำนาจด้วยเหตุผลเรื่องให้สิทธิพิเศษทางศาสนา ย่อมมีคำถามสำคัญว่า อำนาจที่ว่ากระจายออกไปนั้นจะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มใด ในกลุ่มทางศาสนา หรือกลุ่มผู้นำศาสนาเป็นหลักหรือเปล่า แต่โดยหลักการแล้วการกระจายอำนาจที่แท้จริง คนทุกศาสนา คนไม่นับถือศาสนาต้องมีสิทธิแบ่งปันอำนาจภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุผลทางศาสนาไม่ใช่หรือ
ทั้งหมดนี้ ผมเพียงต้องการแลกเปลี่ยนกับความเห็นของผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งผมสนับสนุนในเรื่องอุดมการณ์ “สร้างประชาธิปไตยและการกระจายอำนาจ” รวมทั้งสนับสนุนแนวคิดเรื่องแยกศาสนากับรัฐด้วย โดยผมตระหนักดีว่าความเห็นคุณธนาธรและคุณเปรมปพัทธเป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล ยังไม่ใช่นโยบายพรรค แต่คิดว่าเป็นความเห็นสำคัญที่เราควรร่วมกันถกเถียงแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของทุกคน
ฉบับเต็ม
https://prachatai.com/journal/2018/03/75937
พวกคุณคิดว่ายังไง
คิดยังไงกับคุณธราธรพรรคอนาคตใหม่ กับเรื่องศาสนา
การแยกรัฐกับศาสนาดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดโลกวิสัย (secularism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำหลักการของเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมาปฏิบัติกับ (treat) ความหลากหลายทางศาสนา, ความเชื่อ และวัฒนธรรม บนพื้นฐานของการเคารพความเสมอภาค (equality) และความยุติธรรม (fairness) ต่อประชาชนทุกศาสนา ทุกความเชื่อ และคนที่ไม่เชื่อหรือไม่นับถือศาสนา โดยถือว่าเรื่องศาสนา เรื่องความเชื่อ ไม่เชื่อ เป็นเรื่องเสรีภาพทางความคิดเห็น (freedom of conscience) ของปัจเจกบุคคล ขณะเดียวแนวคิดโลกวิสัยก็ให้หลักประกันเสรีภาพทางศาสนา ควบคู่กับเสรีภาพในการพูดหรือเสรีภาพในการแสดงออกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐโลกวิสัยจึงต้องเป็นกลางทางศาสนา, ให้หลักประกันเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนา, ไม่อุปถัมภ์, ไม่ให้สิทธิพิเศษแก่ศาสนาใดๆ และไม่ต่อต้านศาสนาหรือความเชื่อ ความไม่เชื่อใดๆ
ปัญหาคือ ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่จะเอาอย่างไร ถ้ายืนยันการแยกรัฐกับศาสนาหรือ secular state ก็ต้องยึดตามความเห็นคุณธนาธร คือรัฐต้องไม่อุปถัมภ์ศาสนาใดๆ แต่ถ้าเอาตามข้อเสนอของหะยีสุหรงเรื่องข้าราชการ 3 จังหวัดภาคใต้ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ มีกฎหมายทางศาสนา และศาลศาสนา นี่ย่อมเป็นการกระจายอำนาจที่ขัดกับหลักการของ secular state ที่ให้สิทธิพิเศษด้วยเหตุผลทางศาสนาแก่ใครหรือคนกลุ่มใดไม่ได้
ปัญหาที่ตามมาของการกระจายอำนาจบนฐานของการให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่มด้วยเหตุผลทางศาสนา ก็คือปัญหาแบบเดียวกันที่คุณบอกว่าคนพุทธไทยส่วนใหญ่มีสิทธิพิเศษมากกว่าชาวมุสลิม เพราะถ้าคุณบอกว่าชาวมุสลิม 3 จังหวัดภาคใต้คือประชากรชั้นสองเมื่อเทียบระดับประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ คนในพื้นที่ 3 จังหวัดที่เป็นพุทธ, คริสต์ และคนไม่นับถือศาสนาเขาก็อ้างได้เช่นกันว่าเขาคือประชากรชั้นสองในพื้นที่ตรงนั้น ดังนั้นการกระจายอำนาจบนฐานของการให้สิทธิพิเศษทางศาสนามันจึงทั้งขัดหลักการพื้นฐานของ secular state และทั้งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องประชากรชั้นสองได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น หากมีกฎหมายศาสนาและศาลศาสนา คนไม่นับถือศาสนาที่เปิดห้องเรียนเพศวิถีในปัตตานีจะกลายเป็น “ประชากรชั้นสอง” ที่ต้องขึ้นศาลศาสนาไหม มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของพวกเขาอย่างไร เพราะตามหลักการของ secular state คนนับถือศาสนาและคนไม่นับถือศาสนา หรือมีความเชื่อในปรัชญาอื่นๆ ต้องมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงออกซึ่ง “อัตลักษณ์” (identity) ของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
ยิ่งกว่านั้น การกระจายอำนาจด้วยเหตุผลเรื่องให้สิทธิพิเศษทางศาสนา ย่อมมีคำถามสำคัญว่า อำนาจที่ว่ากระจายออกไปนั้นจะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มใด ในกลุ่มทางศาสนา หรือกลุ่มผู้นำศาสนาเป็นหลักหรือเปล่า แต่โดยหลักการแล้วการกระจายอำนาจที่แท้จริง คนทุกศาสนา คนไม่นับถือศาสนาต้องมีสิทธิแบ่งปันอำนาจภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุผลทางศาสนาไม่ใช่หรือ
ทั้งหมดนี้ ผมเพียงต้องการแลกเปลี่ยนกับความเห็นของผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งผมสนับสนุนในเรื่องอุดมการณ์ “สร้างประชาธิปไตยและการกระจายอำนาจ” รวมทั้งสนับสนุนแนวคิดเรื่องแยกศาสนากับรัฐด้วย โดยผมตระหนักดีว่าความเห็นคุณธนาธรและคุณเปรมปพัทธเป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล ยังไม่ใช่นโยบายพรรค แต่คิดว่าเป็นความเห็นสำคัญที่เราควรร่วมกันถกเถียงแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของทุกคน
ฉบับเต็ม https://prachatai.com/journal/2018/03/75937
พวกคุณคิดว่ายังไง