.. อุดมการณ์ในการแยกการปกครองของรัฐออกจากศาสนานั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่ถูกยกย่องในฝรั่งเศส หรือรูปแบบที่มีการเข้มงวดตาม
รัฐธรรมนูญตุรกี ซึ่งเป็นสาธารณรัฐ ที่มีการแยกศาสนาและรัฐออกจากกัน อย่างเด็ดขาด หรือแม้กระทั่งแบบที่ใช้อยู่ในอเมริกาก็ไม่ได้เป็น
แบบอย่างที่เหมาะสมต่อหลักการของศาสนาอิสลาม
..ศาสนาอิสลามเป็นสถาบันที่มีระบบการปกครองอยู่ในตัวเอง มุสลิมทุกๆคนมีเสรีภาพอยู่ภายใต้วินัยของศาสนา ซึ่งมีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน
ศาสนาอิสลามถือว่า ถ้าเป็นมุสลิมแล้วไม่ปฏิบัติตามวินัยที่บัญญัติหลักปฏิบัติไว้ ก็ไม่ใช่มุสลิม แต่อย่างไรก็ตาม อิสลามให้เสรีภาพต่อบุคคล
ที่จะเลือกถือ ศาสนาใดๆก็ได้ การออกหรือเลิกนับถือศาสนาอิสลามไม่มีข้อบังคับ หรือการลงโทษผู้ที่เลือกศรัทธา ก็ไม่เรียกว่ามุสลิมอีกต่อไป
ประเทศไทยเรา เท่าที่สังเกตุเห็น ไม่มีการแยกรัฐออกจากศาสนาอย่างเด็ดขาด แต่ไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประะชาชนชาวไทยทุกๆคนอย่าง
เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ศาสนาอิสลามจึงสามารที่จะอ้างหลักการทางศาสนา มามีส่วนในการเปลี่ยนระเบียบ วินัยบางอย่างในบางส่วนของรัฐ
โดยที่ รัฐไม่มีทางรู้ได้ ว่าเป็นหลักการของศาสนาอิสลามที่แท้จริงหรือไม่ แต่รัฐจำเป็นต้องให้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญไทยเราให้สิทธิเสรีภาพใน
การถือศาสนาและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของประชาชนชาวไทยอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้เกิดทัศนคติของประชาชนที่นับถือศาสนา
อื่นๆ ในประเทศไทยเห็นว่า รัฐไม่ให้ความยุติธรรมที่เท่าเทียม กันกับผู่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ก็คือเรื่องการสวมฮิญาบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีงามสำหรับสตรีที่จะปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดก็ตาม
แต่ฮิญาบไม่ใช่หลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม หรือถึงแม้นักวิชาการทางศาสนาจะอ้างว่าเป็นหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามก็ตาม แต่เป็น
เรื่องที่ทำให้รัฐจะต้อง เปลี่ยนวินัยและระเบียบการแต่งตัวหรือเครื่องแบบข้าราชการหญิง ให้เป็นไปตามคำเรียกร้องชองชาวไทยมุสลิม เลย
กลายเป็นว่า ชาวไทยเราไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง, เช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องขยายเสียง ที่มีเสียงดังในการอาซานเชิญชวนให้มาทำ
ละหมาด, เป็นเรื่องที่สังคมยอมให้ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่ให้เสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ทั้งๆที่ศาสนาอิสลามตามหลัก
ศรัทธาบัญญํติไว้ว่า เวลาทำการละหมาดห้ามส่งเสียงดังเกินควร หรือเบาจนเกินควร ให้ใช้เสียงตามปกติปานกลาง)
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น การจัดห้องละหมาดตามสถานที่ราชการ, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบัน
ของ ราชการ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรแยกออกจากองค์การของรัฐที่ใช้เงินภาษีของชาวไทยเป็นส่วนรวม (ถ้าสิ่งที่กล่าวมานี้ต้องใช้เงินภาษีจากส่วนรวม)
โดยเฉพาะศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไม่เกี่ยวกับสถาบันการศึกษาเพื่อส่วนรวม แต่เป็นการตรวจสอบทางห้องวิจัย
เพื่อการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งศาสนาอิสลามไม่มีบัญญํติให้ต้องวิจัยอาหารทุกๆอย่าง ก่อนบริโภค เพียงแต่ห้ามบริโภคเนื้อสุกรเท่านั้น
(โดยมีเงื่อนไขว่า มุสลิมจะกินได้เมื่อขาดอาหารอย่างอื่นก็สามารถกินได้) แต่ไม่มีข้อบังคับให้วิจัยอนุภาคของอาหารก่อนบริโภค ว่าปราศจาก
โมเลกุลของสารที่อาจจะเกี่ยวพันกับสุกร ซึ่งการวิจัยไม่มีหลักประกันได้ 100% ว่าจะบริสุทธิ์จากการสัมผัสผลิตผลจากสุกร การวิจัยเช่นนี้ ไม่
จำเป็นจะต้องมีห้องปฏิบัติการอยู่ในมหาวิทยาลัย ควรจะเป็นการลงทุนของอุตสาหกรรมเอกชนที่ต้องการจำหน่ายสิ่งบริโภคชนิดนั้นๆ
ถ้าประเทศไทยเราใช้การปกครองโดยการแยกศาสนาออกจากรัฐอย่างเด็ดขาด อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ ทัศนะคติของ
ชาวไทยที่ไม่ใช่ไทยมุสลิม มองสังคมมุสลิมไทยดีขึ้น และไม่เห็นว่ามุสลิม อันที่จริงแล้วไม่ใช่เป็นผู้เเห็นแก่ตัว แต่เป็นเพียงผู้ใช้สิทธิตามข้อบังคับ
ของรัฐธรรมนูญไทย ที่รัฐจะต้องสนับสนุนความศรัทธาของประชาชนชาวไทยในทุกๆศาสนา
ผลของเสรีภาพในการนับถือศาสนา
รัฐธรรมนูญตุรกี ซึ่งเป็นสาธารณรัฐ ที่มีการแยกศาสนาและรัฐออกจากกัน อย่างเด็ดขาด หรือแม้กระทั่งแบบที่ใช้อยู่ในอเมริกาก็ไม่ได้เป็น
แบบอย่างที่เหมาะสมต่อหลักการของศาสนาอิสลาม
..ศาสนาอิสลามเป็นสถาบันที่มีระบบการปกครองอยู่ในตัวเอง มุสลิมทุกๆคนมีเสรีภาพอยู่ภายใต้วินัยของศาสนา ซึ่งมีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน
ศาสนาอิสลามถือว่า ถ้าเป็นมุสลิมแล้วไม่ปฏิบัติตามวินัยที่บัญญัติหลักปฏิบัติไว้ ก็ไม่ใช่มุสลิม แต่อย่างไรก็ตาม อิสลามให้เสรีภาพต่อบุคคล
ที่จะเลือกถือ ศาสนาใดๆก็ได้ การออกหรือเลิกนับถือศาสนาอิสลามไม่มีข้อบังคับ หรือการลงโทษผู้ที่เลือกศรัทธา ก็ไม่เรียกว่ามุสลิมอีกต่อไป
ประเทศไทยเรา เท่าที่สังเกตุเห็น ไม่มีการแยกรัฐออกจากศาสนาอย่างเด็ดขาด แต่ไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประะชาชนชาวไทยทุกๆคนอย่าง
เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ศาสนาอิสลามจึงสามารที่จะอ้างหลักการทางศาสนา มามีส่วนในการเปลี่ยนระเบียบ วินัยบางอย่างในบางส่วนของรัฐ
โดยที่ รัฐไม่มีทางรู้ได้ ว่าเป็นหลักการของศาสนาอิสลามที่แท้จริงหรือไม่ แต่รัฐจำเป็นต้องให้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญไทยเราให้สิทธิเสรีภาพใน
การถือศาสนาและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของประชาชนชาวไทยอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้เกิดทัศนคติของประชาชนที่นับถือศาสนา
อื่นๆ ในประเทศไทยเห็นว่า รัฐไม่ให้ความยุติธรรมที่เท่าเทียม กันกับผู่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ก็คือเรื่องการสวมฮิญาบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีงามสำหรับสตรีที่จะปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดก็ตาม
แต่ฮิญาบไม่ใช่หลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม หรือถึงแม้นักวิชาการทางศาสนาจะอ้างว่าเป็นหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามก็ตาม แต่เป็น
เรื่องที่ทำให้รัฐจะต้อง เปลี่ยนวินัยและระเบียบการแต่งตัวหรือเครื่องแบบข้าราชการหญิง ให้เป็นไปตามคำเรียกร้องชองชาวไทยมุสลิม เลย
กลายเป็นว่า ชาวไทยเราไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง, เช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องขยายเสียง ที่มีเสียงดังในการอาซานเชิญชวนให้มาทำ
ละหมาด, เป็นเรื่องที่สังคมยอมให้ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่ให้เสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ทั้งๆที่ศาสนาอิสลามตามหลัก
ศรัทธาบัญญํติไว้ว่า เวลาทำการละหมาดห้ามส่งเสียงดังเกินควร หรือเบาจนเกินควร ให้ใช้เสียงตามปกติปานกลาง)
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น การจัดห้องละหมาดตามสถานที่ราชการ, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบัน
ของ ราชการ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรแยกออกจากองค์การของรัฐที่ใช้เงินภาษีของชาวไทยเป็นส่วนรวม (ถ้าสิ่งที่กล่าวมานี้ต้องใช้เงินภาษีจากส่วนรวม)
โดยเฉพาะศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไม่เกี่ยวกับสถาบันการศึกษาเพื่อส่วนรวม แต่เป็นการตรวจสอบทางห้องวิจัย
เพื่อการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งศาสนาอิสลามไม่มีบัญญํติให้ต้องวิจัยอาหารทุกๆอย่าง ก่อนบริโภค เพียงแต่ห้ามบริโภคเนื้อสุกรเท่านั้น
(โดยมีเงื่อนไขว่า มุสลิมจะกินได้เมื่อขาดอาหารอย่างอื่นก็สามารถกินได้) แต่ไม่มีข้อบังคับให้วิจัยอนุภาคของอาหารก่อนบริโภค ว่าปราศจาก
โมเลกุลของสารที่อาจจะเกี่ยวพันกับสุกร ซึ่งการวิจัยไม่มีหลักประกันได้ 100% ว่าจะบริสุทธิ์จากการสัมผัสผลิตผลจากสุกร การวิจัยเช่นนี้ ไม่
จำเป็นจะต้องมีห้องปฏิบัติการอยู่ในมหาวิทยาลัย ควรจะเป็นการลงทุนของอุตสาหกรรมเอกชนที่ต้องการจำหน่ายสิ่งบริโภคชนิดนั้นๆ
ถ้าประเทศไทยเราใช้การปกครองโดยการแยกศาสนาออกจากรัฐอย่างเด็ดขาด อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ ทัศนะคติของ
ชาวไทยที่ไม่ใช่ไทยมุสลิม มองสังคมมุสลิมไทยดีขึ้น และไม่เห็นว่ามุสลิม อันที่จริงแล้วไม่ใช่เป็นผู้เเห็นแก่ตัว แต่เป็นเพียงผู้ใช้สิทธิตามข้อบังคับ
ของรัฐธรรมนูญไทย ที่รัฐจะต้องสนับสนุนความศรัทธาของประชาชนชาวไทยในทุกๆศาสนา