ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
สุขสันต์วันแรงงานค่ะ วันนี้เพื่อนหลายคนอาจได้หยุด บางคนก็ไม่ได้หยุด บางคนอาจยิ่งต้องใช้แรงงานกว่าเดิม
ที่จริงแล้ววันแรงงานเป็นวันสำคัญที่มากไปกว่าวันหยุด อยากให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญผู้ใช้แรงงานให้มากๆ
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
แรกเริ่มนั้นประเทศแถวยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม
มีพิธีเฉลิมฉลองขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
บางแห่งจะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ในอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศได้ถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
ในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ก็มีปัญหาผู้ใช้แรงงานมากขึ้น
จนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน
ซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน
เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุมขึ้น
และกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ
และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ
และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน
ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย
แต่ พรบ. ฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพียงแค่ 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่
และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี
แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปร จึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปี
เพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม
แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร
จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี
โดยมีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
บ้านเรามีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วยนะ ใครยังไม่รู้จัก ตามมาเลยค่ะ
พิพิธภัณฑ์จะแบ่งเป็นห้องๆ ตาม
ยุคต่างๆ ของแรงงานไทย เช่น
ห้อง 1: แรงงานบังคับ ไพร่ – ทาส (Corvee and Slave Labour)
สังคมไทยโบราณปกครองในระบอบศักดินา มีแรงงาน ไพร่-ทาส ซึ่งเป็นแรงงานบังคับหรือแรงงานเกณฑ์
เป็นผู้ดำเนินการผลิตทุกด้านของสังคม ทั้งการเกษตร การก่อสร้าง ตลอดจนเป็นทหารป้องกันประเทศ
ถือว่าแรงงานเป็นรากฐานสำคัญของประเทศเรามาช้านาน
ห้อง 2: กุลีจีน (Chinese Coolies)
ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมศักดินาสู่ระบบทุนนิยม
ชาวสยามยังเป็นแรงงานบังคับในระบบไพร่ ไม่มีอิสระที่จะไปรับจ้าง จึงมีการใช้แรงงานจีน หรือ กุลีจีน
ซึ่งเป็นแรงงานต่างชาติ ถือว่าชาวจีนเป็นแรงงานรับจ้างรุ่นแรกๆ ของสังคมไทย
ห้อง 3: แรงงานกับการปฏิรูปประเทศ (Labour and The Reforms)
ในสมัยล้นเกล้า รัชการลที 5 ถือเป็นยุคแห่งการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายๆ ด้าน
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การปฏิรูประบบสาธารณูปการได้สร้างความสะดวกสบาย นำความกินดีอยู่ดีมาสู่ประชาชนสยาม
เช่น การขุดคูคลองเพื่อการคมนาคมขนส่งและการชลประทาน สร้างสะพาน ถนนหนทาง
เส้นทางรถไฟ การประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์
มีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมายทุ่มเททำงานและพลีชีพเพื่อความสำเร็จของโครงการปฏิรูป
เป็นการปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศในยุคต่อๆมา
ห้อง 4: แรงงานกับการเปลี่ยนแปลง 2475 (Labour and the 1932 Change in Government)
เป็นยุคที่สิทธิเสรีภาพของชนชั้นล่างได้รับการยอมรับมากขึ้น กรรมกรจึงเริ่มมีปากมีเสียง
สมาคมกรรมกรรถรางแห่งสยาม ที่นำโดย นายถวัติ ฤทธิเดช ได้รับการจดทะเบียนเป็นแห่งแรก
รัฐบาลคณะราษฎร เริ่มก้าวแรกของนโยบายเกี่ยวกับกรรมกร โดยออกกฎหมายการจัดหางานขึ้น
และมีนโยบายให้รัฐเข้าไปดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแทนที่ชาวต่างชาติที่เรียกว่าทุนนิยมโดยรัฐ
เกิดหน่วยงาน “รัฐพานิชย์” ซึ่งก็คือรัฐวิสาหกิจในยุคต่อๆมานั่นเอง
ห้อง 5: จากสงครามโลกสู่สงครามเย็น (From World War to the cold War)
แม้นโยบายของคณะราษฎรที่เปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะทำให้เกิดองค์กรแรงงานที่เข้มแข็ง
อย่างสมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
และต่อมาก็มี กรรมกร 16 หน่วย ที่ผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานฉบับแรก เมื่อ พ.ศ.2499
แต่อิทธิพลของรัฐบาลเผด็จการทหารในช่วงเวลาต่อมา ก็ทำให้สิทธิเสรีภาพของคนงานถูกริดรอนอย่างหนัก
ห้อง 6: ห้องศิลปวัฒนธรรมกรรมกร จิตร ภูมิศักดิ์ (Jit Phumisak Worker Cultural Room)
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้เสนอแนวคิด ศิลปะเพี่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชน และได้สร้างบทเพลงขึ้นมากมาย
เช่น มาร์ชชาวนาไทย, มาร์ชกรรมกร, ศักดิ์ศรีของแรงงาน, รำวงวันเมย์เดย์, ฯลฯ
จนถือเป็นต้นกำเนิด และมีอิทธิพลอย่างมากต่อเพลงเพื่อชีวิตในยุคต่อมาที่รับอิทธิพลเพลงประท้วงสงคราม
เพลงเพื่อเสรีภาพจากตะวันตกเข้ามาผสมผสานด้วย
ห้อง 7: จาก 14 ตุลาฯ ถึง วิกฤติเศรษฐกิจ (From October Up Rising to the Economic Crisis)
การขาดเอกภาพในขบวนการแรงงาน ทำให้ขบวนการแรงงานไทยขาดความเข้มแข็ง ขาดอำนาจต่อรอง
จึงทำให้กระทั่งถึงทุกวันนี้ ชีวิตของผู้ใช้แรงงานไทยส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในสภาพที่ขาดความมั่นคงในการทำงาน
ค่าจ้าง สวัสดิการต่ำ และทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย
ผู้ใช้แรงงานยังต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่ถูกสังคมลืมเลือนตลอดมา
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://hilight.kapook.com/view/23219
http://thailabourmuseum.org/
http://www.oknation.net/blog/paaru/2015/03/23/entry-1
....................................................................
ที่ผ่านมาแรงงานมักถูกมองเป็นเพียงผู้ทำงานแลกกับค่าจ้าง เป็นชนชั้นล่างของสังคมไทย
แต่ที่จริงแล้วผู้ใช้แรงงานล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
ปัจจุบันแทนที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น แต่พวกเขากลับถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนที่เห็นแก่ได้
มีปัญหาแรงงานเด็ก หรือหรือภาวะแวดล้อมกันทำงานที่มาตรฐานความปลอดภัยต่ำ ขาดสุขอนามัยที่ดี
ขาดสวัสดิการ ขาดแม้แต่เวลาพักผ่อนที่เพียงพอ
และเราก้าวผ่านยุคต่างๆ มาไกลแล้ว ขอให้มีแต่ก้าวไปข้างหน้า อย่าได้ย้อนกลับหลังไปอีก
ในหลายประเทศมีการเรียกร้องให้สร้างความเสมอภาคให้แก่แรงงาน
เขาควรได้ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และเวลาศึกษาหาความรู้อีก 8 ชั่วโมง
เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาฝีมือ ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญ ให้สิทธิที่เท่าเทียมแก่กำลังของชาติด้วยเช่นกัน
ทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศ
สิ่งสำคัญไม่ใช่ตำแหน่ง อำนาจ บารมี หัวโขน หรือความเก่งกาจแต่ไร้น้ำใจ
แต่คือจิตสำนึกรับผิดชอบในงานของตน และสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้สังคม
สยามพาเหรด - พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร
https://www.youtube.com/watch?v=Ud49oOQMTJw
อยากจะเป็นกำลังสำคัญ ทุกคืนวันเติบโตช้าช้า
ต้องไม่หวั่นบุกบั่นและฟันฝ่า ตอบแทนแดนดินเมืองไทย
กำเนิดเราลืมตาขึ้นมา ไม่เคยลืมค่าความเป็นไทย
ขอพิสูจน์บทหนึ่ง ของความในใจของเรา
อาจจะเป็นเพียงคนร้องเพลง ฉันบรรเลงด้วยความจริงใจ
ขอเป็นส่วนประกอบสังคมไทย ใส่ใจสร้างความดีงาม
กลั่นจากใจกลายเป็นสำเนียง เปล่งเป็นเสียงร้อง
ร้องและร้องตาม บุญคุณเมืองสยามถึงตายไม่ลืม
ฉันไม่มีระบ่งระเบิด ไม่ทำลายแผ่นดินที่เกิด
แต่มีวิญญาณจะร้องเพลง ร้องเพลงเพื่อคนไทย
โลกจะเอาเราเป็นพยาน สร้างตำนานให้มันยิ่งใหญ่
ให้เราภาคภูมิในหัวใจ ว่าฉันคนไทย เมืองยิ้ม
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 1/5/2018 (แรงงานไทย-ฟันเฟืองสำคัญที่มักถูกลืม)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
สุขสันต์วันแรงงานค่ะ วันนี้เพื่อนหลายคนอาจได้หยุด บางคนก็ไม่ได้หยุด บางคนอาจยิ่งต้องใช้แรงงานกว่าเดิม
ที่จริงแล้ววันแรงงานเป็นวันสำคัญที่มากไปกว่าวันหยุด อยากให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญผู้ใช้แรงงานให้มากๆ
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
แรกเริ่มนั้นประเทศแถวยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม
มีพิธีเฉลิมฉลองขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
บางแห่งจะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ในอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศได้ถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
ในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ก็มีปัญหาผู้ใช้แรงงานมากขึ้น
จนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน
ซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน
เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุมขึ้น
และกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ
และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ
และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน
ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย
แต่ พรบ. ฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพียงแค่ 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่
และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี
แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปร จึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปี
เพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม
แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร
จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี
โดยมีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
บ้านเรามีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วยนะ ใครยังไม่รู้จัก ตามมาเลยค่ะ
พิพิธภัณฑ์จะแบ่งเป็นห้องๆ ตามยุคต่างๆ ของแรงงานไทย เช่น
ห้อง 1: แรงงานบังคับ ไพร่ – ทาส (Corvee and Slave Labour)
สังคมไทยโบราณปกครองในระบอบศักดินา มีแรงงาน ไพร่-ทาส ซึ่งเป็นแรงงานบังคับหรือแรงงานเกณฑ์
เป็นผู้ดำเนินการผลิตทุกด้านของสังคม ทั้งการเกษตร การก่อสร้าง ตลอดจนเป็นทหารป้องกันประเทศ
ถือว่าแรงงานเป็นรากฐานสำคัญของประเทศเรามาช้านาน
ห้อง 2: กุลีจีน (Chinese Coolies)
ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมศักดินาสู่ระบบทุนนิยม
ชาวสยามยังเป็นแรงงานบังคับในระบบไพร่ ไม่มีอิสระที่จะไปรับจ้าง จึงมีการใช้แรงงานจีน หรือ กุลีจีน
ซึ่งเป็นแรงงานต่างชาติ ถือว่าชาวจีนเป็นแรงงานรับจ้างรุ่นแรกๆ ของสังคมไทย
ห้อง 3: แรงงานกับการปฏิรูปประเทศ (Labour and The Reforms)
ในสมัยล้นเกล้า รัชการลที 5 ถือเป็นยุคแห่งการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายๆ ด้าน
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การปฏิรูประบบสาธารณูปการได้สร้างความสะดวกสบาย นำความกินดีอยู่ดีมาสู่ประชาชนสยาม
เช่น การขุดคูคลองเพื่อการคมนาคมขนส่งและการชลประทาน สร้างสะพาน ถนนหนทาง
เส้นทางรถไฟ การประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์
มีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมายทุ่มเททำงานและพลีชีพเพื่อความสำเร็จของโครงการปฏิรูป
เป็นการปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศในยุคต่อๆมา
ห้อง 4: แรงงานกับการเปลี่ยนแปลง 2475 (Labour and the 1932 Change in Government)
เป็นยุคที่สิทธิเสรีภาพของชนชั้นล่างได้รับการยอมรับมากขึ้น กรรมกรจึงเริ่มมีปากมีเสียง
สมาคมกรรมกรรถรางแห่งสยาม ที่นำโดย นายถวัติ ฤทธิเดช ได้รับการจดทะเบียนเป็นแห่งแรก
รัฐบาลคณะราษฎร เริ่มก้าวแรกของนโยบายเกี่ยวกับกรรมกร โดยออกกฎหมายการจัดหางานขึ้น
และมีนโยบายให้รัฐเข้าไปดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแทนที่ชาวต่างชาติที่เรียกว่าทุนนิยมโดยรัฐ
เกิดหน่วยงาน “รัฐพานิชย์” ซึ่งก็คือรัฐวิสาหกิจในยุคต่อๆมานั่นเอง
ห้อง 5: จากสงครามโลกสู่สงครามเย็น (From World War to the cold War)
แม้นโยบายของคณะราษฎรที่เปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะทำให้เกิดองค์กรแรงงานที่เข้มแข็ง
อย่างสมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
และต่อมาก็มี กรรมกร 16 หน่วย ที่ผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานฉบับแรก เมื่อ พ.ศ.2499
แต่อิทธิพลของรัฐบาลเผด็จการทหารในช่วงเวลาต่อมา ก็ทำให้สิทธิเสรีภาพของคนงานถูกริดรอนอย่างหนัก
ห้อง 6: ห้องศิลปวัฒนธรรมกรรมกร จิตร ภูมิศักดิ์ (Jit Phumisak Worker Cultural Room)
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้เสนอแนวคิด ศิลปะเพี่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชน และได้สร้างบทเพลงขึ้นมากมาย
เช่น มาร์ชชาวนาไทย, มาร์ชกรรมกร, ศักดิ์ศรีของแรงงาน, รำวงวันเมย์เดย์, ฯลฯ
จนถือเป็นต้นกำเนิด และมีอิทธิพลอย่างมากต่อเพลงเพื่อชีวิตในยุคต่อมาที่รับอิทธิพลเพลงประท้วงสงคราม
เพลงเพื่อเสรีภาพจากตะวันตกเข้ามาผสมผสานด้วย
ห้อง 7: จาก 14 ตุลาฯ ถึง วิกฤติเศรษฐกิจ (From October Up Rising to the Economic Crisis)
การขาดเอกภาพในขบวนการแรงงาน ทำให้ขบวนการแรงงานไทยขาดความเข้มแข็ง ขาดอำนาจต่อรอง
จึงทำให้กระทั่งถึงทุกวันนี้ ชีวิตของผู้ใช้แรงงานไทยส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในสภาพที่ขาดความมั่นคงในการทำงาน
ค่าจ้าง สวัสดิการต่ำ และทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย
ผู้ใช้แรงงานยังต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่ถูกสังคมลืมเลือนตลอดมา
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://hilight.kapook.com/view/23219
http://thailabourmuseum.org/
http://www.oknation.net/blog/paaru/2015/03/23/entry-1
....................................................................
ที่ผ่านมาแรงงานมักถูกมองเป็นเพียงผู้ทำงานแลกกับค่าจ้าง เป็นชนชั้นล่างของสังคมไทย
แต่ที่จริงแล้วผู้ใช้แรงงานล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
ปัจจุบันแทนที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น แต่พวกเขากลับถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนที่เห็นแก่ได้
มีปัญหาแรงงานเด็ก หรือหรือภาวะแวดล้อมกันทำงานที่มาตรฐานความปลอดภัยต่ำ ขาดสุขอนามัยที่ดี
ขาดสวัสดิการ ขาดแม้แต่เวลาพักผ่อนที่เพียงพอ
และเราก้าวผ่านยุคต่างๆ มาไกลแล้ว ขอให้มีแต่ก้าวไปข้างหน้า อย่าได้ย้อนกลับหลังไปอีก
ในหลายประเทศมีการเรียกร้องให้สร้างความเสมอภาคให้แก่แรงงาน
เขาควรได้ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และเวลาศึกษาหาความรู้อีก 8 ชั่วโมง
เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาฝีมือ ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญ ให้สิทธิที่เท่าเทียมแก่กำลังของชาติด้วยเช่นกัน
ทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศ
สิ่งสำคัญไม่ใช่ตำแหน่ง อำนาจ บารมี หัวโขน หรือความเก่งกาจแต่ไร้น้ำใจ
แต่คือจิตสำนึกรับผิดชอบในงานของตน และสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้สังคม
สยามพาเหรด - พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร
https://www.youtube.com/watch?v=Ud49oOQMTJw
อยากจะเป็นกำลังสำคัญ ทุกคืนวันเติบโตช้าช้า
ต้องไม่หวั่นบุกบั่นและฟันฝ่า ตอบแทนแดนดินเมืองไทย
กำเนิดเราลืมตาขึ้นมา ไม่เคยลืมค่าความเป็นไทย
ขอพิสูจน์บทหนึ่ง ของความในใจของเรา
อาจจะเป็นเพียงคนร้องเพลง ฉันบรรเลงด้วยความจริงใจ
ขอเป็นส่วนประกอบสังคมไทย ใส่ใจสร้างความดีงาม
กลั่นจากใจกลายเป็นสำเนียง เปล่งเป็นเสียงร้อง
ร้องและร้องตาม บุญคุณเมืองสยามถึงตายไม่ลืม
ฉันไม่มีระบ่งระเบิด ไม่ทำลายแผ่นดินที่เกิด
แต่มีวิญญาณจะร้องเพลง ร้องเพลงเพื่อคนไทย
โลกจะเอาเราเป็นพยาน สร้างตำนานให้มันยิ่งใหญ่
ให้เราภาคภูมิในหัวใจ ว่าฉันคนไทย เมืองยิ้ม