🏘🏚~มาลาริน~แหว่งเพราะใครล่ะ..ลากคอไอ้โม่ง!ทางลงสวยๆ“หมู่บ้านป่าแหว่ง”บังเอิญ“ชินวัตร”มีเอี่ยว สมัย“พี่แม้ว”มาถึง“หนูปู


ลากคอไอ้โม่ง!! ทางลงสวยๆ“หมู่บ้านป่าแหว่ง” สุดบังเอิญ“ตระกูลชินวัตร”มีเอี่ยว สมัย“พี่แม้ว”มาปิดจ๊อบที่“หนูปู





**ลากคอไอ้โม่ง!! ทางลงสวยๆ“หมู่บ้านป่าแหว่ง”กางไทม์ไลน์ตั้งแต่ริเริ่ม สบช่อง “ป่าเสื่อมโทรม”เข้าชำเราผืนป่าจนแหลกราญ ทั้งที่ภาพถ่ายดาวเทียมชี้ชัดเขียวชอุ่มมาตั้งแต่ปี 2540 สุดบังเอิญ “ตระกูลชินวัตร”มีเอี่ยวช่วงไคลแมกซ์ ตั้งแต่ปี 2547 สมัย“พี่แม้ว”มาปิดจ๊อบที่“หนูปู”


นายกฯตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสียงอ่อยๆ กับผล“หมู่บ้านป่าแหว่ง”ที่ถูกคัดค้านต่อต้านในวงกว้าง ทั้งที่ทาง“ศาล”ก็ออกตัว “พร้อมถอย”ให้แล้ว แต่ “บิ๊กตู่”กลับเงอะงะ ไม่คว้าเป็นโอกาสโชว์วิชั่นผู้นำ .. งึมงำๆไปว่า ทุบไม่ได้ ด้วยเสียงบฯไปเยอะแล้ว แต่กลับไม่กลัวว่าจะกลายเป็น “อนุสรณ์แห่งความเกลียดชัง”ประจานไปชั่วลูกชั่วหลาน ..

การปกป้องผลประโยชน์ชาติ ก็เรื่องหนึ่ง แต่การทวงถามถึง“ผู้รับผิดชอบ”ต่างหากที่จะได้ใจ “ภาคประชาสังคม”..ด้วยใครก็สงสัยใคร่รู้ว่า “ตัวการ-โม่ง”ของโครงการบ้านพักสุดหรู โลเกชั่น“ยิ้มตำตา”มันคือใครกันแน่ .. ก็ทั้งแนวผืนป่าเขียวขจีที่ต้องสูญเสียไป ยิ่งกว่านั้นงบประมาณ-ภาษีประชาชนกว่า “พันล้านบาทไทย”ยังทำท่าจะละลายแม่น้ำอีกด้วย .. หนีไม่พ้นผู้ที่เปิดหัวเอาไว้ ก็ “กองทัพบก”โดย มณฑลทหารบกที่ 33 สังกัด“กองทัพภาคที่ 3”ที่ขอ “กรมธนารักษ์”กันที่เพื่อใช้ประโยชน์กว่า 2.3 หมื่นไร่ เป็น“เขตทหาร”ตั้งแต่สมัยสงครามโลก เพิ่งมาตีตรารับรองกันปี 2500 นู่น





ย้อนไทม์ไลน์จะเห็นว่า จุดกำเนิด“หมู่บ้านป่าแหว่ง”แท้จริงอยู่ที่หลังปี 2540 เป็นต้นมา เมื่อสำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ที่วันนั้นยังอยู่ในสังกัด “กระทรวงยุติธรรม”ได้ทำเรื่องขอแบ่งใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับจุดปัจจุบัน ระบุว่า“เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพักผู้พิพากษา และข้าราชการศาลยุติธรรม”เดชะบุญครั้งนั้น “ทัพภาค 3”ปฏิเสธ .. ก่อนที่จะมีการทวงถามอีกครั้ง เมื่อปี 2547 ยุค “รัฐบาลแม้ว”ย้ายพิกัดเล็กน้อย มาที่“ผืนป่าพิพาท”ในปัจจุบัน คราวนี้ ทบ.ให้ผ่านไปเฉยๆ แล้วทำเรื่องส่งคืนพื้นที่ ที่“ศาล”ขอมา ให้กับ กรมธนารักษ์ ที่อนุญาตให้“สำนักงานศาลยุติธรรม”ใช้ที่ดิน เมื่อเดือน พ.ค.2549 .. ทั้งที่ภาพถ่ายดาวเทียม พ.ศ.แสดงให้เห็นว่า“เขียวชอุ่ม”ไปทุกหย่อมหญ้า ..

“ไคลแมกซ์” ของเรื่องจึงอยู่ที่ ช่วงปี 2547-2549 บังเอิญเหลือเกินว่า “ปลัดกระทรวงยุติธรรม”ช่วงปี 2542-2548 ก็เป็นอดีตผู้พิพากษาที่เคยประจำ จ.เชียงใหม่ ที่ชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีศักดิ์เป็น “เขยตระกูลชินวัตร”ที่ถือเป็น “เขยเชียงใหม่”ด้วย .. ก่อนที่“ลิ่วล้อตระกูลชินฯ”จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จะมารับช่วงปลัด ยุติธรรม ต่อ ในปี 2548-2549 นั่นถือเป็นความบังเอิญ “เด้งแรก” ..บังเอิญ “เด้งสอง”ที่ ผบ.ทบ. ช่วงปี 2547 ผู้อนุมัติให้สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ใช้พื้นที่ ก็เป็นช่วงคาบเกี่ยวที่ “บิ๊กตุ้ย”พล.อ.ชัยสิทธิ์ นามสกุล “ชินวัตร”คุมกองทัพบก .. แล้วมา“เด้งสาม”ฉายภาพ “ขบวนการรุกป่า”ให้ชัดขึ้น เมื่อการอนุมัติโครงการ-งบประมาณก่อสร้างเกิดขึ้นเมื่อปี 2556 ในยุครัฐบาล “หนูปู”ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เป็น“น้องเมีย”ของ“อดีตปลัดฯสมชาย” และน้องสาวร่วมตระกูลของ “บิ๊กตุ้ย”..ยิ่งไปกว่านั้นยังดูเหมือน“โครงการเร่งด่วน”ถึงขนาดต้องใช้“งบกลาง”ในอำนาจของ“นายกฯ”เป็นทุนประเดิมกว่า 343 ล้านบาทอีกต่างหาก ..

ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ ที่มีชื่อ“คนตระกูลชินฯ”มีเอี่ยวกันแทบจะทั้งตระกูล .. ผ่านตั้งหลายขั้นตอน หลายหน่วยงาน แต่ไม่เคยมีใครคิดจะอัพเดตสภาพป่า ว่า เสื่อมโทรม สมบูรณ์ หรือประการใด .. พวกนี้แหละ“ไอ้โม่ง”ที่ควรลากมาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ค่าก่อสร้างพันล้าน ต้องให้รับผิดชอบฝืนป่าที่ประเมินค่าไม่ได้ด้วย .. ลุยไปแนวนี้ เอาให้เหมือนเต็มที่กับการกอบกู้ “ค่าโง่เหมืองอัครา” เชื่อสิว่ากระแสต้านแรงแค่ไหน ก็ต้องหันมาเชียร์

https://mgronline.com/politics/detail/9610000036407


“ป่าแหว่ง”...เหตุเพราะใครล่ะ?





อันที่จริงเรื่องนี้หากย้อนรอยกลับไปว่าทำไมจึงเกิด “ป่าแหว่ง” ขึ้นก็เพราะเดิมที่ดินผืนดังกล่าวเป็นราชพัสดุ แต่ทางกองทัพบกโดยกองทัพภาคที่ 3 ขอใช้พื้นที่

เมื่อปี 2540 ทางศาลขอใช้พื้นที่ แต่แรกๆทหารไม่ยอมให้

จนกระทั่งมาถึงปี 2547 จึงยินยอมและเริ่มก่อสร้างในปี 2547

มณฑลทหารบกที่ 33 แจ้งว่าไม่ขัดข้องที่จะให้ศาลยุติธรรมใช้ที่ดินรวม 147-3-41 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพักฝ่ายตุลาการ

ถามว่าทำไมจึงอนุญาตให้ใช้พื้นที่จนเป็นปัญหาตามมาอย่างนี้

ดูจากวันเวลาก็ได้ข้อเท็จจริงว่าในสมัยรัฐบาล “ทักษิณ”

ไล่เรียงต่อมาก็ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็น ผบ.ทบ.

ถัดมาอีกชั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นรัฐมนตรียุติธรรม

ต่อเนื่องมาถึงนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ

และผู้รับเหมาก่อสร้างก็เป็นของนักการเมืองท้องถิ่นเครือข่ายเดียวกัน

นี่คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิด “ป่าแหว่ง” จนสร้างความไม่พอใจแก่ชาวเชียงใหม่เป็นอย่างมาก

และเป็นเรื่องที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ จะต้องแก้ไขให้ดีที่สุด

นี่เป็นอีกบทเรียนหนึ่งสำหรับประชาชนโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ที่จะต้องดูแลรักษาทรัพยากรในท้องถิ่นเอาไว้ให้ดี ที่สำคัญก็คือการเลือกตัวแทนเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองจะต้องพิจารณาบุคคลให้ถ่องแท้ว่าพวกเขามีประวัติ ความเป็นมาอย่างไรและรักษาประโยชน์ของชาติและประชาชนแค่ไหน มิใช่หลงกระแสด้วยความเชื่อแล้วมานั่งเจ็บใจอย่างนี้

“สายล่อฟ้า”

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1253607

แกะไทม์ไลน์โครงการบ้านพักตุลาการ..บ้านหรูทำป่าดอยสุเทพแหว่ง แทงใจคนทั้งแผ่นดิน




เมื่อตรวจสอบที่มาที่ไปของโครงการนี้พบว่า ล้วนเดินหน้าได้อย่างราบรื่นในห้วงที่สายสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างกระทรวงยุติธรรม-กองทัพบก-รัฐบาล อยู่ในวงศ์วานเดียวกันทั้งสิ้น

โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน” ระบุว่า เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นของกรมป่าไม้ แต่เนื่องจากสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม กองทัพภาคที่ 3 จึงขอใช้สถานที่เพื่อเป็นที่ฝึกกำลังพลกันตั้งแต่ยุคสงครามโลก ต่อมาปี 2500 กรมที่ดินได้ออกเอกสารหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หรือ นสล.เลขที่ 394/2500 จำนวน 23,787-ไร่ เพื่อให้ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหม กองทัพภาคที่ 3 จึงไปขึ้นทะเบียนการใช้ประโยชน์ต่อกรมธนารักษ์

กระทั่ง 25 ก.ค. 2540 กระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ขอใช้พื้นที่ในราชการทหารบริเวณด้านหลังของหน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 เนื้อที่ประมาณ 106 ไร่ เพื่อก่อสร้างบ้านพัก และอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม...แต่เรื่องเงียบ

วันที่ 12 เม.ย. 2542 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ได้มีหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ให้ยืนยันการขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างบ้านพักและอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ได้มีหนังสือยืนยันขอใช้ที่ดิน เมื่อ 21 เมษายน 2542

และเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2546 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ก็มีหนังสือถึงผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ขอใช้ที่ดินบริเวณด้านหลังของหน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 เนื้อที่ประมาณ 106 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการของศาลยุติธรรมและบ้านพัก อีกครั้งตามนโยบายฝ่ายบริหาร

4 มี.ค.47 มทบ.33 ได้มีหนังสือแจ้งว่า ไม่ขัดข้อง ที่จะให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้ที่ดินเนื้อที่รวม 147 - 3 - 41 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการ โดยขอให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดูแล บำรุงรักษาที่ราชพัสดุ

ประกอบกับก่อนหน้านั้น (10 มิ.ย. 2546) มณฑลทหารบกที่ 33 มีหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ระบุว่า ในการขอใช้ที่ดินของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มณฑลทหารบกที่ 33 ได้ตรวจสอบแล้ว บริเวณพื้นที่ที่ขอใช้ไม่คาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ สุเทพ-ปุย, ป.พัน.7 และหน่วยในพื้นที่แต่อย่างใด ประกอบกับสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มีความจำเป็นเร่งด่วนในการขอใช้ที่ดิน จึงเห็นควรสนับสนุน

จากนั้นสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีหนังสือ ลงวันที่ 19 ก.ย. 2548 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ขอใช้ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 147 - 3 - 41 ไร่ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีหนังสืออนุญาตลงวันที่ 14 พ.ย. 2549 ขณะที่กรมธนารักษ์ ก็มีหนังสือ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 แจ้งอนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้ที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม. 1723 (บางส่วน) เนื้อที่ 147 - 3 - 30 ไร่ ตามที่ขอใช้

จากนั้น สำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้ดำเนินการด้านงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีบริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์ จำกัด ที่มีคนในตระกูลเดียวกับอดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นผู้รับจ้าง โดยมีบริษัท เอ็นจิเนียริ่งดีไซน์ คอนซัลแตนส์ จำกัด เป็นผู้คุมงาน วงเงินรวม 3 โครงการ จำนวน 955,064,056.28 บาท

โครงการที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ตามสัญญาเลขที่ 87/2557 ลงวันที่ 8 ก.ย. 2557 และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง รวมเป็นเงิน 290,495,056.28 บาท กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 28 ส.ค. 2559 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 242 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 27 เม.ย. 2560 ขณะนี้โครงการเสร็จสมบูรณ์และได้เข้าใช้งานแล้ว

โครงการที่ 2 ก่อสร้างบ้านพักผู้พิพากษา จำนวน 38 หน่วย อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ จำนวน 16 หน่วย บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หน่วย และอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการศาลยุติธรรม จำนวน 36 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ตามสัญญาเลขที่ 31/2557 ลงวันที่ 25 ก.พ. 2557 และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง เป็นเงิน 321,670,000 บาท กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 4 ส.ค. 2558 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก จำนวน 1,048 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย.61 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างตามสัญญา จนถึงเดือน เม.ย. 2561 การก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 86.08

ส่วนโครงการที่ 3 เป็นการก่อสร้างบ้านพัก รวมจำนวน 9 หน่วย และอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ จำนวน 64 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ศาลยุติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ตามสัญญาเลขที่ 55/2556 ลงวันที่ 19 ก.ค. 2556 และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง เป็นเงิน 342,900,000 บาท กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 9 ก.ค. 2558 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาทำการก่อสร้างออกไปอีก 1,066 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 9 มิ.ย. 2561 งานก่อสร้างถึงเดือนเมษายน 2561 คืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 84.52


https://mgronline.com/local/detail/9610000036124


นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมด้วย นายสุริยันห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม แถลงข่าวกรณีบ้านพักตุลาการ ในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม โดยชี้แจงว่า บ้านพักดังกล่าวเป็นที่ดินของราชพัสดุ ที่ทางศาลขออนุญาตถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่ปี 2543 ในสมัยที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ที่เลือกพื้นที่ให้ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างตามขั้นตอนจนมาถึงปัจจุบัน

http://news.ch7.com/detail/279970



จะพบเวลาไทม์ไลน์แต่ละขั้นตอนมีบุคคลที่เกี่ยวข้องตรงกันทั้งหมด

สงสัยตั้งแต่การจัดหาพื้นที่จนถึงก่อสร้าง ไม่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน หรืออย่างไร..?

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่