ตรังจัดงานรําลึกถึง
โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ในนิทรรศการ
ทับเที่ยงรามา เขียนป้ายเล่าเรื่องเมืองวิกหนัง
ข่าวมติตรังออนไลน์
ย้อนรอยราชาโรงหนังคนเด่นใน 100 ปีเมืองทับเที่ยง มาเล่าเรื่องถึง บุคคลสำคัญที่สร้างตำนานประวัติศาสตร์ เปิดโรงหนังโรงแรกของจังหวัดตรังคือ คุณพ่อเว้ง และคุณแม่ยิ่ง จิตต์แจ้ง ในโอกาสวันเช็งเม็งและวันที่ 13 เมษายน 2559 เป็น วันสงกรานต์ถือเป็นวันสำคัญครอบครัวรวมญาติและเป็นปีใหม่ไทย
จึงขอรำลึก เจ้าของตำนาน ผู้สร้างโรงภาพยนตร์ในประวัติศาสตร์เมืองทับเที่ยงไว้ถึง2โรง มีทับเที่ยงภาพยนต์โรงแรกและ โรงหนังคิงส์ตรังเป็นโรงที่2 ใหญ่จุได้ 950ที่นั่งสร้างเพื่อชาวตรัง ก่อนหน้านี้ ท่านได้เปิดโรงหนังโรงแรกท่านตั้งชื่อชื่อว่า
ทับเที่ยงภาพยนตร์ก่อน ตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมาถือเป็นโรงหนังในตำนานที่เก่าแก่มากโรงหนึ่ง ยุคแรกๆของภาคใต้ ขณะที่คุณพ่อคนทับเที่ยงมีอายุเพียง26ปีคุณแม่ คนห้วยยอดอายุแค่21เท่านั้น ทั้งสองท่านเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่โรงแรกของจังหวัดตรังจุได้ถึง 700 คนและด้วยคุณเว้งท่านมีความรู้ดีด้านเทคนิคดีมาก โรงหนังนี้จึงติดตั้งอุปกรณ์เครื่องฉายทันสมัยในระบบสีแสงเสียงที่ได้มาตรฐานโลก ทั้ง2 โรง ฉายหนังดังของระดับโลกทั้งนั้นอาทิเช่นเรื่อง Gone with The wind - Casablanca -River of no Return – Samson and Delilah- Bridge on the River Kwai - Shane - Gunfight At The ok Corral – The Ten Commandments และยังมี
หนังไทยดังๆมาฉายที่ชาวตรังชอบเช่น เสือน้อย พันท้ายนรสิงห์ และเห่าดง และอินทรีแดงตอนจ้าวนักเลง แต่หนังคนดูมากที่สุดเป็นประวัติการณ์โรงหนังแทบพังคือเรื่องสุภาพบุรุษเสือไทย และเรื่องวิมานลอย หลังจากท่าน เพิ่งแต่งงานได้ไม่นานท่านได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถดำเนินกิจการ โรงภาพยนตร์ได้ประสพความสำเร็จ ใช้เวลาถึง สามทศวรรษหรือครึ่งชีวิตของท่าน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญสู่บ้านเกิดเมืองนอน เพื่อให้รอยยิ้มความสุขกับประชาชนชาวตรัง มนต์เสน่ห์ของโรงหนังแบบ Stand Alone ที่ชื่อว่า
ทับเที่ยงภาพยนตร์โรงหนังสร้างแบบไม้แท้สวยงามทั้งหลังเป็นศิลปะแบบโบราณช่างตรึงตาตรึงใจคนดูในยุคนั้นเรียกว่าสวรรค์ของคนใต้แท้ๆของจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียงเหมารถมาดูโรงนี้กันมาก สมัยนั้นมีโรงเดียวที่ครองใจชาวตรังรักและผูกพันมาดูทั้งครอบครัวทั้งพ่อแม่ลูกเล็กเด็กแดงและตายายยกมาดูกันหมดยุคนั้นภาพยนตร์เป็นสื่อที่ดีที่สุดให้ความรู้ดูแล้วเกิดปัญญาสอนให้
เด็กมีแนวคิดและมีจินตนาการสมัยนั้นไม่มีสื่ออื่นๆเลยโทรทัศยังไม่มี โรงหนังเปรียบเหมือนบ้านหรือโรงเรียน ที่ให้ความรู้ความสุขอบอุ่นผ่อนคลายสนุกสนานเบิกบานในสมัยอดีตโรงหนังโรงแรกนี้ ผ่านร้อนผ่านหนาวหนังฉายหนังไม่เคยหยุดแม้กระทั้งตอนสงครามโลกครั้งที่2 เกิดขึ้น
พอหลังสงครามสงบ คนชาวทับเที่ยงทั้งจังหวัดตรังทุกอำเภอและยังมีจากสตูล กระบี่ พัทลุง ทุ่งสง จ.ที่ติดกันแห่มาดูหนังของ CHALIE CHAPLIN ดาราตลกก้องโลก เสียงเด็กและผู้ใหญ่เฮหัวเราะดังลั่นโรงหนังทั้งกระทืบเท้าปรบมือตามด้วย และหนังเรื่องอาลาดินกับตะเกียงวิเศษที่มียักษ์ตัวใหญ่เป็นที่ชื่นชอบมากสำหรับครอบครัวและเด็กๆ โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง ให้จังหวัดตรังมาตลอด คุณพ่อเกิดแรงบันดาลใจคิดทำโรงหนัง จากการไปเรียนที่ประเทศจีนตั้งแต่เล็ก และตอนเป็นวัยหนุ่มท่าน เคยเป็น
นักเรียนเก่าปีนัง ยุคแรกๆ ได้ไปเรียนวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์เครื่องฉายและฟิล์มและเรียนระบบสีแสงเสียงที่สามารถซ่อมวิทยุโทรทัศน์ เครื่องเสียงและเครื่องฉายหนังได้เป็นคนรุ่นแรกๆ ในประเทศไทยท่น ได้ลงทุน เปิดร้านวิทยุเครื่องเสียงร้านแรกในในทับเที่ยงเมืองตรังก่อนสงคราม ชื่อร้านไทยนำพานิช พร้อมทำการบริหารโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ควบคู่กันไปด้วย
คุณพ่อเว้ง จิตต์แจ้ง เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2454 ท่านจากโลกนี้ไปเมื่อ วันที่ 29กันยายน พศ. 2536 สิริอายุ 82 ปีท่านได้เปลี่ยนชื่อจากนายเว้งมาเป็นนายโกวิท จิตต์แจ้ง และเมื่อท่านเสียชีวิตได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 พระราชทานเพลิงศพนายโกวิท จิตต์แจ้งเป็นกรณีพิเศษ ณ. เมรุ วัดมกุฎกษัตริย์ ยาราม ตรงกับวันจันทร์ที่10 มกราคม 2537 โดยมีนายชวน หลีกภัย ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นมาเป็นประธานพระราชทานเพลิงศพ
หลังจากท่านได้เสียชีวิตไปนานถึง 22 ปีจน ถึง13 มีนาคม พ. ศ.2559 นี้ หอภาพยนตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม โดยคุณโดม สุขวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการหอภาพยนตร์( องค์การมหาชน)เล็งเห็นความสําคัญของท่าน ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเก็บบันทึกประวัตินายโกวิท จิตต์แจ้ง(คุณ เว้ง) ไว้ที่หอภาพยนตร์พร้อมภาพถ่ายตัวท่านและภาพโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์และโรงหนังคิงส์ตรังไว้ เพื่อเป็นอนุสรเป็นประวัติศาสตร์ของหอภาพยนตร์แล้ว ถือเป็นบุคคลที่มีความรู้สามารถเป็นที่ประจักษ์
สำคัญที่มีผลงานเด่นชัด นอกจากนั้น ท่านผู้อำนวยการหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ท่านยังกรุณาให้ คุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้เจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์( องค์การมหาชน ) มาสัมภาษณ์ลูกชายของท่านคือ นายวิวัย จิตต์แจ้ง เพื่อนำเสนอทาง หนังสือจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ฉบับที่ 33 พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขอขอบคุณ คุณชลิดา เอื้อบำรุงจิต และ คุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี ทั้งสองท่านเป็นรองผู้อำนวยหอภาพยนตร์สำคัญขาดไม่ได้คือคนเขียนข่าวบทความของหอภาพยนตร์ที่ชื่อ คุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้ และทีมงานกองบรรณาธิการจดหมายข่าวหอภาพยนตร์และหัวหน้าข่าวทุกๆท่านด้วยความเคารพครับ
ยังมีผู้ใหญ่อีกท่านคืออาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯตรัง ที่เป็นคนค้นคว้าจุดประกายโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ขึ้นมา โดยตามหาหลักฐานอื่นๆและภาพถ่ายเก่า มาเก็บรวมรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุตรังได้ประมาณปี 2543 และเมื่อปี2548 อาจารย์สุนทรี ท่านได้นำภาพถ่ายโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์และภาพอื่นๆของเมืองตรังมาลงในหนังสือแลหลัง...เมืองตรังทำให้รู้เรื่องอดีดเมืองตรังมากขึ้น ขอขอบพระคุณอาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์เป็นอย่างสูง
คุณเว้ง จิตต์แจ้งท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีความคิดสร้างสรรค์ อยู่ตลอดเวลาในการบริหารร้านไทยนำพานิชและโรงภาพยนตร์ท่านเป็นคนคิดเอกลักษณ์สร้างความจำเช่นเป็นคนแรกที่ริเริ่มเปิดเพลงมาร์ช 4เหล่าทัพทหารไทย ตอนเวลา2ทุ่มตรงยอดโรงหนังใส่ลำโพงเสียงดังทั้งเมืองให้รู้ว่า
หนังจะฉายแล้วต้องรีบมาดูหนังให้ทัน และเป็นคนแรกอีกหน้าโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ยามค่ำคืนที่เปิดเพลงมาร์ชหน้าโรงหนังตอน1ทุ่มทุกคืนด้วย เลือก เพลงมาร์ช จากภาพยนตร์เรื่องสะพานข้ามแม่น้ำแควหรือฺ BRIDGE ON THE RIVER KWAI BOGEY สมัยนั้นแผ่นเสียงพ่อมาซื้อที่กรุงเทพ พ่อเริ่มคนแรกทั้ง2เพลงเปิดตั้งแต่ยุคแรกๆที่เปิดโรงหนังใหม่ๆ จนเป็นธรรมเนียมเปิดกันไปทั่วไปทั้งประเทศไทย ในเวลาต่อมาโรงหนังจังหวัดตรังเริ่มก่อนใคร เพลงนี้ต่อมาได้ถูกบรรจุเข้าเป็นเพลงมาร์ชของฐานทัพอเมริกันทีมีความไพเราะมาก เพลงเป็นตอนญี่ปุ่นขึ้นจับเชลยศึกของพันธมิตรไปสร้างสะพานแม่น้าแควที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟเข้าพม่าตอนสงครามโลกครั้งที่2
ข่าวดี ทีจังหวัดตรัง จัดงานนิทรรศการ ทับเที่ยงรามา เขียนป้ายเล่าเรื่องเมืองวิกหนัง เพื่อรำลึกถึงโรงหนังโรงแรก ในอดีต.ย่านเก่าเงาอดีตและจัดงานเสวนา วรรณกรรม วรรณศิลป์ บนถิ่นตรังเพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เนื่องในโอกาส ทรงพระเจริญพระชนมายุ 61พรรษา ในวันที่2เมษายน 2559งานจัดขึ้น 1-3 เมษายน 2559นี้ ณ.อาคารอเนกประสงค์
เทศบาลนครตรังและย่านถนนเก่าราชดำเนินซอย 5 เมื่อตำนาน ออกตามหาเงาอดีตโรงหนังทับเที่ยง อาจารย์วาดภาพมี อ.เต็ก คุณโฆษิต ยังมี อ.เปีย และ
อ.สุวรรณเคยเป็นครูวาดภาพโรงหนังยุคเก่าโรงหนังตรังในอดีตโดยมี คุณวงศ์ชยุตม์ สุโขวัฒนะกิจหรือ อาจารย์ยาโปสเตอร์ มาร่วมทำกิจกรรมพิเศษ วาดภาพคัทเอ้าท์ใหญ่สีน้ำมันในงานนี้ นิทรรศทับเที่ยง ย่านเก่าเงาอดีตด้วย อาจารย์ยาบอกว่าจะมีภาพโปสเตอร์สวยๆไปแจกในงานด้วย อ.ยาโปสเตอร์ เกิดแรงบันดาลใจตั้งใจจะวาดสีโปสเตอร์รูปโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์โรงหนังใน
ตำนานโรงแรกของเมืองตรังไว้อยู่ระหว่างดำเนินการเขียน 1 ภาพด้วยขนาดใหญ่ 20/30 นิ้วเพื่อรำลึกถึง คุณเว้ง จิตต์แจ้ง ผู้สร้างตำนานโรงหนังโรงแรกของเมืองตรังด้วย งานนี้มี มีคุณจำนง ศรีนคร อาจารย์ พิษณุ ธีระกนก 2คนหนุ่มไฟแรงเป็นแม่งานร่วมกับกรรมการจัดขึ้น มีเทศบาลนครตรังสนับสนุนทุกคืนเวลา 19-21น. จะมีหนังกลางแปลงมาฉายหนังเฉลิมพระเกียรติและ หนังหลายเรื่องได้รับความสนับสนุนจากหอภาพยนตร์ องค์การมหาชน ส่งมาช่วยเพื่อให้งานนี้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบย้อนหา อดีตกับ โรงหนังทับเที่ยงใน 100 ปี เมืองตรัง
ตรังจัดงานรําลึกถึง ในนิทรรศการ ทับเที่ยงรามา
โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ในนิทรรศการ
ทับเที่ยงรามา เขียนป้ายเล่าเรื่องเมืองวิกหนัง
ข่าวมติตรังออนไลน์
ย้อนรอยราชาโรงหนังคนเด่นใน 100 ปีเมืองทับเที่ยง มาเล่าเรื่องถึง บุคคลสำคัญที่สร้างตำนานประวัติศาสตร์ เปิดโรงหนังโรงแรกของจังหวัดตรังคือ คุณพ่อเว้ง และคุณแม่ยิ่ง จิตต์แจ้ง ในโอกาสวันเช็งเม็งและวันที่ 13 เมษายน 2559 เป็น วันสงกรานต์ถือเป็นวันสำคัญครอบครัวรวมญาติและเป็นปีใหม่ไทย
จึงขอรำลึก เจ้าของตำนาน ผู้สร้างโรงภาพยนตร์ในประวัติศาสตร์เมืองทับเที่ยงไว้ถึง2โรง มีทับเที่ยงภาพยนต์โรงแรกและ โรงหนังคิงส์ตรังเป็นโรงที่2 ใหญ่จุได้ 950ที่นั่งสร้างเพื่อชาวตรัง ก่อนหน้านี้ ท่านได้เปิดโรงหนังโรงแรกท่านตั้งชื่อชื่อว่า
ทับเที่ยงภาพยนตร์ก่อน ตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมาถือเป็นโรงหนังในตำนานที่เก่าแก่มากโรงหนึ่ง ยุคแรกๆของภาคใต้ ขณะที่คุณพ่อคนทับเที่ยงมีอายุเพียง26ปีคุณแม่ คนห้วยยอดอายุแค่21เท่านั้น ทั้งสองท่านเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่โรงแรกของจังหวัดตรังจุได้ถึง 700 คนและด้วยคุณเว้งท่านมีความรู้ดีด้านเทคนิคดีมาก โรงหนังนี้จึงติดตั้งอุปกรณ์เครื่องฉายทันสมัยในระบบสีแสงเสียงที่ได้มาตรฐานโลก ทั้ง2 โรง ฉายหนังดังของระดับโลกทั้งนั้นอาทิเช่นเรื่อง Gone with The wind - Casablanca -River of no Return – Samson and Delilah- Bridge on the River Kwai - Shane - Gunfight At The ok Corral – The Ten Commandments และยังมี
หนังไทยดังๆมาฉายที่ชาวตรังชอบเช่น เสือน้อย พันท้ายนรสิงห์ และเห่าดง และอินทรีแดงตอนจ้าวนักเลง แต่หนังคนดูมากที่สุดเป็นประวัติการณ์โรงหนังแทบพังคือเรื่องสุภาพบุรุษเสือไทย และเรื่องวิมานลอย หลังจากท่าน เพิ่งแต่งงานได้ไม่นานท่านได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถดำเนินกิจการ โรงภาพยนตร์ได้ประสพความสำเร็จ ใช้เวลาถึง สามทศวรรษหรือครึ่งชีวิตของท่าน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญสู่บ้านเกิดเมืองนอน เพื่อให้รอยยิ้มความสุขกับประชาชนชาวตรัง มนต์เสน่ห์ของโรงหนังแบบ Stand Alone ที่ชื่อว่า
ทับเที่ยงภาพยนตร์โรงหนังสร้างแบบไม้แท้สวยงามทั้งหลังเป็นศิลปะแบบโบราณช่างตรึงตาตรึงใจคนดูในยุคนั้นเรียกว่าสวรรค์ของคนใต้แท้ๆของจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียงเหมารถมาดูโรงนี้กันมาก สมัยนั้นมีโรงเดียวที่ครองใจชาวตรังรักและผูกพันมาดูทั้งครอบครัวทั้งพ่อแม่ลูกเล็กเด็กแดงและตายายยกมาดูกันหมดยุคนั้นภาพยนตร์เป็นสื่อที่ดีที่สุดให้ความรู้ดูแล้วเกิดปัญญาสอนให้
เด็กมีแนวคิดและมีจินตนาการสมัยนั้นไม่มีสื่ออื่นๆเลยโทรทัศยังไม่มี โรงหนังเปรียบเหมือนบ้านหรือโรงเรียน ที่ให้ความรู้ความสุขอบอุ่นผ่อนคลายสนุกสนานเบิกบานในสมัยอดีตโรงหนังโรงแรกนี้ ผ่านร้อนผ่านหนาวหนังฉายหนังไม่เคยหยุดแม้กระทั้งตอนสงครามโลกครั้งที่2 เกิดขึ้น
พอหลังสงครามสงบ คนชาวทับเที่ยงทั้งจังหวัดตรังทุกอำเภอและยังมีจากสตูล กระบี่ พัทลุง ทุ่งสง จ.ที่ติดกันแห่มาดูหนังของ CHALIE CHAPLIN ดาราตลกก้องโลก เสียงเด็กและผู้ใหญ่เฮหัวเราะดังลั่นโรงหนังทั้งกระทืบเท้าปรบมือตามด้วย และหนังเรื่องอาลาดินกับตะเกียงวิเศษที่มียักษ์ตัวใหญ่เป็นที่ชื่นชอบมากสำหรับครอบครัวและเด็กๆ โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง ให้จังหวัดตรังมาตลอด คุณพ่อเกิดแรงบันดาลใจคิดทำโรงหนัง จากการไปเรียนที่ประเทศจีนตั้งแต่เล็ก และตอนเป็นวัยหนุ่มท่าน เคยเป็น
นักเรียนเก่าปีนัง ยุคแรกๆ ได้ไปเรียนวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์เครื่องฉายและฟิล์มและเรียนระบบสีแสงเสียงที่สามารถซ่อมวิทยุโทรทัศน์ เครื่องเสียงและเครื่องฉายหนังได้เป็นคนรุ่นแรกๆ ในประเทศไทยท่น ได้ลงทุน เปิดร้านวิทยุเครื่องเสียงร้านแรกในในทับเที่ยงเมืองตรังก่อนสงคราม ชื่อร้านไทยนำพานิช พร้อมทำการบริหารโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ควบคู่กันไปด้วย
คุณพ่อเว้ง จิตต์แจ้ง เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2454 ท่านจากโลกนี้ไปเมื่อ วันที่ 29กันยายน พศ. 2536 สิริอายุ 82 ปีท่านได้เปลี่ยนชื่อจากนายเว้งมาเป็นนายโกวิท จิตต์แจ้ง และเมื่อท่านเสียชีวิตได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 พระราชทานเพลิงศพนายโกวิท จิตต์แจ้งเป็นกรณีพิเศษ ณ. เมรุ วัดมกุฎกษัตริย์ ยาราม ตรงกับวันจันทร์ที่10 มกราคม 2537 โดยมีนายชวน หลีกภัย ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นมาเป็นประธานพระราชทานเพลิงศพ
หลังจากท่านได้เสียชีวิตไปนานถึง 22 ปีจน ถึง13 มีนาคม พ. ศ.2559 นี้ หอภาพยนตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม โดยคุณโดม สุขวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการหอภาพยนตร์( องค์การมหาชน)เล็งเห็นความสําคัญของท่าน ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเก็บบันทึกประวัตินายโกวิท จิตต์แจ้ง(คุณ เว้ง) ไว้ที่หอภาพยนตร์พร้อมภาพถ่ายตัวท่านและภาพโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์และโรงหนังคิงส์ตรังไว้ เพื่อเป็นอนุสรเป็นประวัติศาสตร์ของหอภาพยนตร์แล้ว ถือเป็นบุคคลที่มีความรู้สามารถเป็นที่ประจักษ์
สำคัญที่มีผลงานเด่นชัด นอกจากนั้น ท่านผู้อำนวยการหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ท่านยังกรุณาให้ คุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้เจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์( องค์การมหาชน ) มาสัมภาษณ์ลูกชายของท่านคือ นายวิวัย จิตต์แจ้ง เพื่อนำเสนอทาง หนังสือจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ฉบับที่ 33 พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขอขอบคุณ คุณชลิดา เอื้อบำรุงจิต และ คุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี ทั้งสองท่านเป็นรองผู้อำนวยหอภาพยนตร์สำคัญขาดไม่ได้คือคนเขียนข่าวบทความของหอภาพยนตร์ที่ชื่อ คุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้ และทีมงานกองบรรณาธิการจดหมายข่าวหอภาพยนตร์และหัวหน้าข่าวทุกๆท่านด้วยความเคารพครับ
ยังมีผู้ใหญ่อีกท่านคืออาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯตรัง ที่เป็นคนค้นคว้าจุดประกายโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ขึ้นมา โดยตามหาหลักฐานอื่นๆและภาพถ่ายเก่า มาเก็บรวมรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุตรังได้ประมาณปี 2543 และเมื่อปี2548 อาจารย์สุนทรี ท่านได้นำภาพถ่ายโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์และภาพอื่นๆของเมืองตรังมาลงในหนังสือแลหลัง...เมืองตรังทำให้รู้เรื่องอดีดเมืองตรังมากขึ้น ขอขอบพระคุณอาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์เป็นอย่างสูง
คุณเว้ง จิตต์แจ้งท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีความคิดสร้างสรรค์ อยู่ตลอดเวลาในการบริหารร้านไทยนำพานิชและโรงภาพยนตร์ท่านเป็นคนคิดเอกลักษณ์สร้างความจำเช่นเป็นคนแรกที่ริเริ่มเปิดเพลงมาร์ช 4เหล่าทัพทหารไทย ตอนเวลา2ทุ่มตรงยอดโรงหนังใส่ลำโพงเสียงดังทั้งเมืองให้รู้ว่า
หนังจะฉายแล้วต้องรีบมาดูหนังให้ทัน และเป็นคนแรกอีกหน้าโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ยามค่ำคืนที่เปิดเพลงมาร์ชหน้าโรงหนังตอน1ทุ่มทุกคืนด้วย เลือก เพลงมาร์ช จากภาพยนตร์เรื่องสะพานข้ามแม่น้ำแควหรือฺ BRIDGE ON THE RIVER KWAI BOGEY สมัยนั้นแผ่นเสียงพ่อมาซื้อที่กรุงเทพ พ่อเริ่มคนแรกทั้ง2เพลงเปิดตั้งแต่ยุคแรกๆที่เปิดโรงหนังใหม่ๆ จนเป็นธรรมเนียมเปิดกันไปทั่วไปทั้งประเทศไทย ในเวลาต่อมาโรงหนังจังหวัดตรังเริ่มก่อนใคร เพลงนี้ต่อมาได้ถูกบรรจุเข้าเป็นเพลงมาร์ชของฐานทัพอเมริกันทีมีความไพเราะมาก เพลงเป็นตอนญี่ปุ่นขึ้นจับเชลยศึกของพันธมิตรไปสร้างสะพานแม่น้าแควที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟเข้าพม่าตอนสงครามโลกครั้งที่2
ข่าวดี ทีจังหวัดตรัง จัดงานนิทรรศการ ทับเที่ยงรามา เขียนป้ายเล่าเรื่องเมืองวิกหนัง เพื่อรำลึกถึงโรงหนังโรงแรก ในอดีต.ย่านเก่าเงาอดีตและจัดงานเสวนา วรรณกรรม วรรณศิลป์ บนถิ่นตรังเพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เนื่องในโอกาส ทรงพระเจริญพระชนมายุ 61พรรษา ในวันที่2เมษายน 2559งานจัดขึ้น 1-3 เมษายน 2559นี้ ณ.อาคารอเนกประสงค์
เทศบาลนครตรังและย่านถนนเก่าราชดำเนินซอย 5 เมื่อตำนาน ออกตามหาเงาอดีตโรงหนังทับเที่ยง อาจารย์วาดภาพมี อ.เต็ก คุณโฆษิต ยังมี อ.เปีย และ
อ.สุวรรณเคยเป็นครูวาดภาพโรงหนังยุคเก่าโรงหนังตรังในอดีตโดยมี คุณวงศ์ชยุตม์ สุโขวัฒนะกิจหรือ อาจารย์ยาโปสเตอร์ มาร่วมทำกิจกรรมพิเศษ วาดภาพคัทเอ้าท์ใหญ่สีน้ำมันในงานนี้ นิทรรศทับเที่ยง ย่านเก่าเงาอดีตด้วย อาจารย์ยาบอกว่าจะมีภาพโปสเตอร์สวยๆไปแจกในงานด้วย อ.ยาโปสเตอร์ เกิดแรงบันดาลใจตั้งใจจะวาดสีโปสเตอร์รูปโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์โรงหนังใน
ตำนานโรงแรกของเมืองตรังไว้อยู่ระหว่างดำเนินการเขียน 1 ภาพด้วยขนาดใหญ่ 20/30 นิ้วเพื่อรำลึกถึง คุณเว้ง จิตต์แจ้ง ผู้สร้างตำนานโรงหนังโรงแรกของเมืองตรังด้วย งานนี้มี มีคุณจำนง ศรีนคร อาจารย์ พิษณุ ธีระกนก 2คนหนุ่มไฟแรงเป็นแม่งานร่วมกับกรรมการจัดขึ้น มีเทศบาลนครตรังสนับสนุนทุกคืนเวลา 19-21น. จะมีหนังกลางแปลงมาฉายหนังเฉลิมพระเกียรติและ หนังหลายเรื่องได้รับความสนับสนุนจากหอภาพยนตร์ องค์การมหาชน ส่งมาช่วยเพื่อให้งานนี้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบย้อนหา อดีตกับ โรงหนังทับเที่ยงใน 100 ปี เมืองตรัง