ครั้งนี้ ฉันจะมาชวนคุยเรื่อง วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง หรือที่บาลีท่านว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
อ้างอิงพระสูตรนี้นะจ๊ะ ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ
โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่ามรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ
อรรถกถาในส่วนนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534&p=1#%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า
พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ในกาลแห่งวิปัสสนาอ่อนในจตุกะที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาล้วน.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้.
ท่านกล่าววิปัสสนาไม่กำหนดอารมณ์ ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก่อน กล่าวกำหนดอารมณ์ด้วยบทมีอาทิว่า รูปํ อนิจฺจโต ในภายหลัง.
บทว่า ตตฺถ ชาตานํ เกิดแล้วในวิปัสสนานั้น คือจิตเจตสิกธรรมเกิดแล้วในวิปัสสนานั้น.
การปล่อยในบทนี้ว่า โวสฺสคฺคารมฺมณตา ความที่จิตมีการปล่อยเป็นอารมณ์ คือนิพพาน
เพราะนิพพาน ท่านกล่าวว่า โวสฺสคฺโค เพราะปล่อยสังขตธรรม เพราะสละ.
วิปัสสนาและธรรมสัมปยุตด้วยวิปัสสนานั้น มีนิพพานเป็นที่ตั้ง มีนิพพานเป็นอารมณ์
เพราะน้อมไปสู่นิพพาน และเพราะตั้งอยู่ในนิพพานด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย.
แม้การตั้งไว้ก็ชื่อว่าอารมณ์ เพราะหน่วงเหนี่ยวไว้ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่าตั้งอยู่ในนิพพานนั่นเอง.
จริงอยู่ แม้ในบาลีในที่อื่น การตั้งไว้ท่านก็กล่าวว่า อารมฺมณํ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า
ดูก่อนอาวุโส เหมือนบุรุษเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟจุดเรือนมุงด้วยไม้อ้อ เรือนมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นโพรงค้างปี ทางทิศตะวันออก
ไฟพึงได้โอกาส พึงได้อารมณ์ เพราะฉะนั้น เพราะความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา กล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงว่าเป็นสมาธิ
คือมีความตั้งมั่นอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดให้สมาธิเกิดในภายหลัง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อิติ ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ ด้วยประการดังนี้ วิปัสนาก่อน สมถะภายหลัง.
**********************************************************************
เป็นพระสูตรที่ใช้อ้างอิงบ่อยมากในสมัยนี้ 555
น่าจะเคยอ่านกันทุกคนนะจ๊ะ สมถะก่อนวิปัสสนาหลัง วิปัสสนาก่อนสมถะหลัง แล้วก็มีอื่นๆอีกสองประการ
รวมเป็นมรรค ๔ ซึ่งไม่เกี่ยวกับอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นเรื่องของพระอานนท์คุยกับพระในสำนักของท่านเรื่องพยากรณ์อรหัตผลด้วยมรรค ๔
หรือการบรรลุธรรม ๔ แบบ
ฉันรู้สึกกับตรงนี้ของอรรถกถานะ
"ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า"
นั่นหมายถึงกำลังเจริญอานาปานสติ ซึ่งเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
ทีนี้ จังหวะบรรลุมรรคผลคือ จังหวะที่กำลังเจริญวิปัสสนาแน่นอน เพราะเป็นวิปัสสนาเกิดก่อนสมถะตามหลัง
คือพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นวิปัสสนา จนจิตสงบเป็นสมถะ
"ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา กล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงว่าเป็นสมาธิ "
ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะการพิจารณาใดๆจนจิตเป็นอุปจาระและอัปปนา นั้นสำคัญจริงๆ
ที่ฉันเคยทำก็คือการพิจารณาความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ นะ พอดีตอนนั้นไม่เคยมีใครสอนเรื่องความไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก
แต่รู้เรื่องพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า แต่สำหรับฉันแล้วรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน
พอจิตสงบฉันก็จับลมหายใจเข้าออก ดูแปลกๆดีเนอะ
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
อ้างอิงพระสูตรนี้นะจ๊ะ ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ
โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่ามรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ
อรรถกถาในส่วนนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า
พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ในกาลแห่งวิปัสสนาอ่อนในจตุกะที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาล้วน.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้.
ท่านกล่าววิปัสสนาไม่กำหนดอารมณ์ ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก่อน กล่าวกำหนดอารมณ์ด้วยบทมีอาทิว่า รูปํ อนิจฺจโต ในภายหลัง.
บทว่า ตตฺถ ชาตานํ เกิดแล้วในวิปัสสนานั้น คือจิตเจตสิกธรรมเกิดแล้วในวิปัสสนานั้น.
การปล่อยในบทนี้ว่า โวสฺสคฺคารมฺมณตา ความที่จิตมีการปล่อยเป็นอารมณ์ คือนิพพาน
เพราะนิพพาน ท่านกล่าวว่า โวสฺสคฺโค เพราะปล่อยสังขตธรรม เพราะสละ.
วิปัสสนาและธรรมสัมปยุตด้วยวิปัสสนานั้น มีนิพพานเป็นที่ตั้ง มีนิพพานเป็นอารมณ์
เพราะน้อมไปสู่นิพพาน และเพราะตั้งอยู่ในนิพพานด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย.
แม้การตั้งไว้ก็ชื่อว่าอารมณ์ เพราะหน่วงเหนี่ยวไว้ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่าตั้งอยู่ในนิพพานนั่นเอง.
จริงอยู่ แม้ในบาลีในที่อื่น การตั้งไว้ท่านก็กล่าวว่า อารมฺมณํ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า
ดูก่อนอาวุโส เหมือนบุรุษเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟจุดเรือนมุงด้วยไม้อ้อ เรือนมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นโพรงค้างปี ทางทิศตะวันออก
ไฟพึงได้โอกาส พึงได้อารมณ์ เพราะฉะนั้น เพราะความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา กล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงว่าเป็นสมาธิ
คือมีความตั้งมั่นอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดให้สมาธิเกิดในภายหลัง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อิติ ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ ด้วยประการดังนี้ วิปัสนาก่อน สมถะภายหลัง.
**********************************************************************
เป็นพระสูตรที่ใช้อ้างอิงบ่อยมากในสมัยนี้ 555
น่าจะเคยอ่านกันทุกคนนะจ๊ะ สมถะก่อนวิปัสสนาหลัง วิปัสสนาก่อนสมถะหลัง แล้วก็มีอื่นๆอีกสองประการ
รวมเป็นมรรค ๔ ซึ่งไม่เกี่ยวกับอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นเรื่องของพระอานนท์คุยกับพระในสำนักของท่านเรื่องพยากรณ์อรหัตผลด้วยมรรค ๔
หรือการบรรลุธรรม ๔ แบบ
ฉันรู้สึกกับตรงนี้ของอรรถกถานะ
"ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า"
นั่นหมายถึงกำลังเจริญอานาปานสติ ซึ่งเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
ทีนี้ จังหวะบรรลุมรรคผลคือ จังหวะที่กำลังเจริญวิปัสสนาแน่นอน เพราะเป็นวิปัสสนาเกิดก่อนสมถะตามหลัง
คือพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นวิปัสสนา จนจิตสงบเป็นสมถะ
"ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา กล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงว่าเป็นสมาธิ "
ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะการพิจารณาใดๆจนจิตเป็นอุปจาระและอัปปนา นั้นสำคัญจริงๆ
ที่ฉันเคยทำก็คือการพิจารณาความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ นะ พอดีตอนนั้นไม่เคยมีใครสอนเรื่องความไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก
แต่รู้เรื่องพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า แต่สำหรับฉันแล้วรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน
พอจิตสงบฉันก็จับลมหายใจเข้าออก ดูแปลกๆดีเนอะ