ภพ แปลว่า โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์
ภพ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
ภพ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรมที่แสดงการดำเนินและเป็นไปของกระบวนจิตให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถดับทุกข์ลงไปได้โดยตรงๆ
กล่าวคือ เมื่อกระบวนจิตดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทจนถึง ตัณหาความอยากแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทาน อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นเพื่อให้เป็นไปตามตัณหา ก็เพื่อสนองตอบให้บรรลุผลหรือเป้าหมายเป็นไปความต้องการของตัวตนหรือตัณหาความอยากนั้น คือ เกิดความยึดมั่นถือมั่นที่จะให้เป็นไปหรือเกิดขึ้นเพื่อสนองความพึงพอใจของตัวของตนนั่นเอง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภพของจิตขึ้น กล่าวคือ จิตตกลงใจในภาวะชีวิตหรือจิตของตนในเรื่องนั้นๆ ที่จะให้ดำเนินและเป็นไป แต่ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นอันคืออุปาทาน
อันกล่าวได้ดังนี้ว่า คือ มีความต้องการหรือความอยาก(ตัณหา)แล้ว ย่อมเกิดการยึดถือ(อุปาทาน)ให้เป็นไปเพื่อสนองความตามความต้องการนั้นให้เกิดเป็นตัวตนขึ้นจริงๆ หรือสัมฤทธิ์ผล แล้วจึงเกิดการตัดสินใจ หรือตกลงใจ(ภพ)ที่จะให้เกิดขึ้นและเป็นไปเช่นนั้นเป็นที่สุด
หรือพอจะกล่าวสั้นๆในกระบวนธรรมของ ตัณหา >> อุปาทาน >> ภพ ได้ดังนี้ เมื่อเกิดความอยาก, จึงยึดสนองตอบความอยากนั้น, แล้วตกลงใจในที่สุด
ภพ ในปฏิจจสมุปบาท
ภพ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
ภพ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรมที่แสดงการดำเนินและเป็นไปของกระบวนจิตให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถดับทุกข์ลงไปได้โดยตรงๆ
กล่าวคือ เมื่อกระบวนจิตดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทจนถึง ตัณหาความอยากแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทาน อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นเพื่อให้เป็นไปตามตัณหา ก็เพื่อสนองตอบให้บรรลุผลหรือเป้าหมายเป็นไปความต้องการของตัวตนหรือตัณหาความอยากนั้น คือ เกิดความยึดมั่นถือมั่นที่จะให้เป็นไปหรือเกิดขึ้นเพื่อสนองความพึงพอใจของตัวของตนนั่นเอง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภพของจิตขึ้น กล่าวคือ จิตตกลงใจในภาวะชีวิตหรือจิตของตนในเรื่องนั้นๆ ที่จะให้ดำเนินและเป็นไป แต่ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นอันคืออุปาทาน
อันกล่าวได้ดังนี้ว่า คือ มีความต้องการหรือความอยาก(ตัณหา)แล้ว ย่อมเกิดการยึดถือ(อุปาทาน)ให้เป็นไปเพื่อสนองความตามความต้องการนั้นให้เกิดเป็นตัวตนขึ้นจริงๆ หรือสัมฤทธิ์ผล แล้วจึงเกิดการตัดสินใจ หรือตกลงใจ(ภพ)ที่จะให้เกิดขึ้นและเป็นไปเช่นนั้นเป็นที่สุด
หรือพอจะกล่าวสั้นๆในกระบวนธรรมของ ตัณหา >> อุปาทาน >> ภพ ได้ดังนี้ เมื่อเกิดความอยาก, จึงยึดสนองตอบความอยากนั้น, แล้วตกลงใจในที่สุด