หน้ากากกันสารพิษ อ.อ๊อด : ช่วยเกษตรกรสวนยางพารา จริงหรือ ?
1morenews เจาะลึกประเด็น โครงการวิจัย “การพัฒนาหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหารเพื่อใช้ภายในประเทศ” โดยมี “อาจารย์อ๊อด” รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ที่กำลังฟ้องร้องระหว่างกองทัพ และ คณะผู้วิจัยกันอยู่นั้น เพราะ มีการระบุอย่างหนักแน่นว่าจะช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพารา แก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ มันเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร ?เราจึงไปเจาะลึกดูรายละเอียดจากงานวิจัยชิ้นนี้กันว่าสามารถจะช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง และ ช่วยให้กองทัพไทย สามารถประหยัดงบประมาณได้มากมายมหาศาล จริงหรือไม่?
เมื่ออ่านข้อมูลจากเล่มงานวิจัยแล้วน่าตะลึงพรึงเพริดไม่น้อย เพราะรายละเอียดของงานวิจัย ระบุว่า ข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหาร โดยพิจารณาจากเฉพาะค่าวัตถุดิบ และ ค่าจ้าง ที่ควรเป็น จำนวน 50,000 ชุด แสดงในตารางที่ 3 แสดงรายการเฉพาะราคาวัตถุดิบและค่าจ้างที่ควรเป็นโดยประมาณ (รายละเอียดตามรูปภาพ)
ดูแล้วจากตาราง จะเห็นได้ว่า
ลำดับ 1 ค่ายางแปรรูป STR ราคาต่อหน่วย 58.33 รวม 2,916,500 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การขึ้นแบบ ขึ้นรูปชิ้นงานส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต รวมแล้ว 145,960,000 บาท
นั่นหมายความว่าโครงการดังกล่าว หากมีการนำไปผลิตจริงภายใต้งบประมาณ 150 ล้านบาทจะมีการไปซื้อยางพารา จากเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพียงแค่ ไม่ถึง 3 ล้านบาท เท่านั้นเอง !!!...
ทั้งที่คณะนักวิจัย และ ทนายความคนดัง จะพูดย้ำต่อสาธารณะชนว่า โครงการนี้ต้องการช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพารา อาทิเช่น ในหน้าเฟสบุ๊คของ weerachai phutdhawongเขียนประกาศบอกกับสาธารณะชนว่า “สนองนโยบายรัฐ ช่วยเกษตรกรไทย ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ”
อีกประเด็นที่น่าติดตามจากข้อมูลของผู้วิจัยเอง มักจะบอกกับสาธารณะชน อีกว่า หน้ากากป้องกันสารพิษทางทหาร ของคณะผู้วิจัยนั้น หากประเทศไทยผลิตเองจะตกอยู่ที่อันละ 8,000 บาท ไปเทียบกับการไปซื้อหน้ากากจากต่างประเทศ ซึ่งอ้างว่า มีราคาสูง จะตกอยู่ที่ราคา เฉลี่ย 18,375 บาท
ในหน้าเพจ weerachai phutdhawongนั้นได้มีนำข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป มาแสดงต่อสาธารณะ ด้วยภาพอินโฟกราฟฟิก “โชว์ไทยทำ! หน้ากากป้องกันสารพิษ ผ่านมาตรฐานสากล ลดงบประมาณนำเข้าจากราคากลาง ต่างประเทศ 24,000-60,000 เหลือ 5,000 ในข่าวใหญ่ไทยแลนด์ 9 ม.ค.61”
จากข้อความที่เผยแพร่สู่สาธารณะ อันนี้ก็มีข้อสงสัยกับสังคม อีก 2 ประเด็น ว่า
* ราคาหน้ากากของ อ.อ๊อด อันละเท่าไหร่กันแน่ เพราะ ก่อนหน้านี้ในหน้าเพจเฟซบุ๊ค ระบุตัวเลขว่า 5,000บาท แต่มาบอกกับสาธารณะชน ในขณะนี้ว่า อันละ 8,000 บาท)
* ตามเอกสารนำเสนอ ...ข้อมูลจากบริษัทผู้จำหน่ายหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหารในประเทศไทย ระบุราคากลางที่เสนอต่อหน่วยงานรัฐ ดังแสดงตารางที่ 2 แสดงราคากลางหน้ากากรุ่นต่างๆ ที่จำหน่ายจากตัวแทนประเทศไทย (ที่มา : บ.ผลธัญญะ) ถูกระบุเอาไว้ 8 รุ่นหน้ากาก เฉลี่ยที่ 18,375 บาท โดยราคาต่ำสุดที่ 15,000 และสูงสุดที่ 20,000 บาท ไม่เห็นมีตรงไหนที่อ้างอิงว่า 60,000 บาท
เมี่อสาธารณะชนได้ยินได้ฟังก็ย่อมต้องหมายถึงว่าหน้ากากป้องกันสารพิษ ของคณะวิจัยโค-ตะ-ระ-ถูก.. แสนถู๊ก แสนถูก... กว่าของต่างประเทศ...ใช่-ไม่ใช่?
อย่างไรก็ตาม โฟกัสที่ไป อายุการใช้งานของยางพารา นั้น เป็นที่ทราบกันดีในวงการว่าจะใช้งานได้เพียง 5 ปี ก็จะเสื่อมสภาพ
แต่หากเทียบเคียงกับสินค้าในตารางโครงการวิจัย คือ รุ่นหน้ากากที่ชื่อว่า SanChcong : K10(ยางสังเคราะห์) ซึ่ง ราคาหน้ากาก ย้ำว่า บวกกับ ใส้กรอง แบบพร้อมใช้ มีราคา 15,000 บาท เมื่อศึกษาดูจะพบว่า มีอายุใช้งานถึง 15 ปี
ลอง บวก ลบ คูณ หาร กันดูแล้ว หากใครไม่ตกวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถม ก็จะเทียบได้ว่า อะไรที่ประหยัดมากกว่ากัน
แต่คนบางคนอาจจะอ่อน วิชาคณิตศาสตร์ ... เลยขออนุญาติคำนวนให้ว่าวิธีคิดคือ อายุการใช้งานสั้นกว่ารุ่น K 10 (ยางสังเคราะห์) 3เท่า นั่นคือ 15 ปี เราก็นำ ราคา 8,000 คูณด้วย 3 (เพราะต้องซื้อ 3 ครั้ง ให้เท่ากับ 15 ปี) มันก็จะเท่ากับ 24,000 บาท หากซื้อของจากต่างประเทศ 15,000 บาท ใช้งานได้ 15 ปี เทียบกับเราผลิตเอง มันก็แพงกว่ากันเกือบ 1 หมื่นบาทต่ออัน
หากต้องใช้ 50,000 อัน ก็เอา 9,000 คูณเข้าไป สรุปว่าแพงกว่า 450,000,000 บาทอุ๊...แม่เจ้า...!!!!โครงการนี้ ครม.ให้งบประมาณมาแค่ 150 ล้านบาท เองนะ ....
ผลผลิตยางพาราในประเทศไทย จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเขารายงานไว้ในเล่มที่ชื่อว่า สถิติการเกษตรของประเทศไทย ในปี 2559 พบว่า ประเทศไทยของเรามีพื้นที่กรีดยาง 19,551 ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 48.81 บาทต่อกิโลกรัม รวมมูลค่าผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ 214,178 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จ .. สะ ระ ตะ แล้ว การไปซื้อยาง 2.9 ล้านบาท จาก งบประมาณโครงการฯ 150 ล้านบาท มาทำหน้ากากป้องกันสารพิษ มันช่วยเหลือเกษตรกร ได้ กี่ไร่ กี่ครอบครัว และ กี่คน เขาเหล่านั้นถูกนำมาประโคมโหมบอกกล่าวกับชาวไทยทั่วประเทศ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ มันใช่หรือไม่นั่น ?!!?
ไม่รู้ว่าเป็นการช่วยเกษตรกรชาวสวนยางได้เท่ากับกี่ เปอรเซ็นต์ (%) พอดีเครื่องคิดเลขเสีย ถ้าใครคำนวน “จุดทศนิยม” ได้...ช่วยตอบที ...
ตอนต่อไปติดตาม วิจัยหน้ากากหนุมาน : ลิขสิทธิ์ – สิทธิบัตร ควรเป็นของใครกันแน่ ?
*****************
หมายเหตุ : เพจ weerachai phutdhawong ได้โพสต์ข้อความถึง 1morenews อยากจะให้นำเสนอข้อมูล 2 ด้าน ซึ่งทางทีมงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ได้นำเสนอข้อมูลครบทุกด้าน หากจะพิจารณาให้ดี ในตอน ..กระทะปลอม โคเรียคิง ถึง ปลอมใบรับรอง หน้ากากป้องกันสารพิษ (2) ก็มีข้อความการชี้แจงของคณะผู้วิจัยที่ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากทางคณะผู้ทำวิจัย ต้องการที่จะชี้แจงเพิ่มเติม สามารถ ทำได้ โดยผ่านช่องทางที่โพสต์ข้อความเข้ามา แล้วทีมงานจะพิจารณาดำเนินการในโอกาส ต่อไป...
***************
อ่านมาจาก เพจ 1morenews
ติดตามเรื่องหน้ากากป้องกันสารพิษ อ.อ๊อด แล้วก็รู้สึกว่ามันทะ:)ๆยังไงไม่รู้
1morenews เจาะลึกประเด็น โครงการวิจัย “การพัฒนาหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหารเพื่อใช้ภายในประเทศ” โดยมี “อาจารย์อ๊อด” รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ที่กำลังฟ้องร้องระหว่างกองทัพ และ คณะผู้วิจัยกันอยู่นั้น เพราะ มีการระบุอย่างหนักแน่นว่าจะช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพารา แก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ มันเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร ?เราจึงไปเจาะลึกดูรายละเอียดจากงานวิจัยชิ้นนี้กันว่าสามารถจะช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง และ ช่วยให้กองทัพไทย สามารถประหยัดงบประมาณได้มากมายมหาศาล จริงหรือไม่?
เมื่ออ่านข้อมูลจากเล่มงานวิจัยแล้วน่าตะลึงพรึงเพริดไม่น้อย เพราะรายละเอียดของงานวิจัย ระบุว่า ข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหาร โดยพิจารณาจากเฉพาะค่าวัตถุดิบ และ ค่าจ้าง ที่ควรเป็น จำนวน 50,000 ชุด แสดงในตารางที่ 3 แสดงรายการเฉพาะราคาวัตถุดิบและค่าจ้างที่ควรเป็นโดยประมาณ (รายละเอียดตามรูปภาพ)
ดูแล้วจากตาราง จะเห็นได้ว่า
ลำดับ 1 ค่ายางแปรรูป STR ราคาต่อหน่วย 58.33 รวม 2,916,500 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การขึ้นแบบ ขึ้นรูปชิ้นงานส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต รวมแล้ว 145,960,000 บาท
นั่นหมายความว่าโครงการดังกล่าว หากมีการนำไปผลิตจริงภายใต้งบประมาณ 150 ล้านบาทจะมีการไปซื้อยางพารา จากเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพียงแค่ ไม่ถึง 3 ล้านบาท เท่านั้นเอง !!!...
ทั้งที่คณะนักวิจัย และ ทนายความคนดัง จะพูดย้ำต่อสาธารณะชนว่า โครงการนี้ต้องการช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพารา อาทิเช่น ในหน้าเฟสบุ๊คของ weerachai phutdhawongเขียนประกาศบอกกับสาธารณะชนว่า “สนองนโยบายรัฐ ช่วยเกษตรกรไทย ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ”
อีกประเด็นที่น่าติดตามจากข้อมูลของผู้วิจัยเอง มักจะบอกกับสาธารณะชน อีกว่า หน้ากากป้องกันสารพิษทางทหาร ของคณะผู้วิจัยนั้น หากประเทศไทยผลิตเองจะตกอยู่ที่อันละ 8,000 บาท ไปเทียบกับการไปซื้อหน้ากากจากต่างประเทศ ซึ่งอ้างว่า มีราคาสูง จะตกอยู่ที่ราคา เฉลี่ย 18,375 บาท
ในหน้าเพจ weerachai phutdhawongนั้นได้มีนำข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป มาแสดงต่อสาธารณะ ด้วยภาพอินโฟกราฟฟิก “โชว์ไทยทำ! หน้ากากป้องกันสารพิษ ผ่านมาตรฐานสากล ลดงบประมาณนำเข้าจากราคากลาง ต่างประเทศ 24,000-60,000 เหลือ 5,000 ในข่าวใหญ่ไทยแลนด์ 9 ม.ค.61”
จากข้อความที่เผยแพร่สู่สาธารณะ อันนี้ก็มีข้อสงสัยกับสังคม อีก 2 ประเด็น ว่า
* ราคาหน้ากากของ อ.อ๊อด อันละเท่าไหร่กันแน่ เพราะ ก่อนหน้านี้ในหน้าเพจเฟซบุ๊ค ระบุตัวเลขว่า 5,000บาท แต่มาบอกกับสาธารณะชน ในขณะนี้ว่า อันละ 8,000 บาท)
* ตามเอกสารนำเสนอ ...ข้อมูลจากบริษัทผู้จำหน่ายหน้ากากป้องกันสารพิษทางทหารในประเทศไทย ระบุราคากลางที่เสนอต่อหน่วยงานรัฐ ดังแสดงตารางที่ 2 แสดงราคากลางหน้ากากรุ่นต่างๆ ที่จำหน่ายจากตัวแทนประเทศไทย (ที่มา : บ.ผลธัญญะ) ถูกระบุเอาไว้ 8 รุ่นหน้ากาก เฉลี่ยที่ 18,375 บาท โดยราคาต่ำสุดที่ 15,000 และสูงสุดที่ 20,000 บาท ไม่เห็นมีตรงไหนที่อ้างอิงว่า 60,000 บาท
เมี่อสาธารณะชนได้ยินได้ฟังก็ย่อมต้องหมายถึงว่าหน้ากากป้องกันสารพิษ ของคณะวิจัยโค-ตะ-ระ-ถูก.. แสนถู๊ก แสนถูก... กว่าของต่างประเทศ...ใช่-ไม่ใช่?
อย่างไรก็ตาม โฟกัสที่ไป อายุการใช้งานของยางพารา นั้น เป็นที่ทราบกันดีในวงการว่าจะใช้งานได้เพียง 5 ปี ก็จะเสื่อมสภาพ
แต่หากเทียบเคียงกับสินค้าในตารางโครงการวิจัย คือ รุ่นหน้ากากที่ชื่อว่า SanChcong : K10(ยางสังเคราะห์) ซึ่ง ราคาหน้ากาก ย้ำว่า บวกกับ ใส้กรอง แบบพร้อมใช้ มีราคา 15,000 บาท เมื่อศึกษาดูจะพบว่า มีอายุใช้งานถึง 15 ปี
ลอง บวก ลบ คูณ หาร กันดูแล้ว หากใครไม่ตกวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถม ก็จะเทียบได้ว่า อะไรที่ประหยัดมากกว่ากัน
แต่คนบางคนอาจจะอ่อน วิชาคณิตศาสตร์ ... เลยขออนุญาติคำนวนให้ว่าวิธีคิดคือ อายุการใช้งานสั้นกว่ารุ่น K 10 (ยางสังเคราะห์) 3เท่า นั่นคือ 15 ปี เราก็นำ ราคา 8,000 คูณด้วย 3 (เพราะต้องซื้อ 3 ครั้ง ให้เท่ากับ 15 ปี) มันก็จะเท่ากับ 24,000 บาท หากซื้อของจากต่างประเทศ 15,000 บาท ใช้งานได้ 15 ปี เทียบกับเราผลิตเอง มันก็แพงกว่ากันเกือบ 1 หมื่นบาทต่ออัน
หากต้องใช้ 50,000 อัน ก็เอา 9,000 คูณเข้าไป สรุปว่าแพงกว่า 450,000,000 บาทอุ๊...แม่เจ้า...!!!!โครงการนี้ ครม.ให้งบประมาณมาแค่ 150 ล้านบาท เองนะ ....
ผลผลิตยางพาราในประเทศไทย จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเขารายงานไว้ในเล่มที่ชื่อว่า สถิติการเกษตรของประเทศไทย ในปี 2559 พบว่า ประเทศไทยของเรามีพื้นที่กรีดยาง 19,551 ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 48.81 บาทต่อกิโลกรัม รวมมูลค่าผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ 214,178 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จ .. สะ ระ ตะ แล้ว การไปซื้อยาง 2.9 ล้านบาท จาก งบประมาณโครงการฯ 150 ล้านบาท มาทำหน้ากากป้องกันสารพิษ มันช่วยเหลือเกษตรกร ได้ กี่ไร่ กี่ครอบครัว และ กี่คน เขาเหล่านั้นถูกนำมาประโคมโหมบอกกล่าวกับชาวไทยทั่วประเทศ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ มันใช่หรือไม่นั่น ?!!?
ไม่รู้ว่าเป็นการช่วยเกษตรกรชาวสวนยางได้เท่ากับกี่ เปอรเซ็นต์ (%) พอดีเครื่องคิดเลขเสีย ถ้าใครคำนวน “จุดทศนิยม” ได้...ช่วยตอบที ...
ตอนต่อไปติดตาม วิจัยหน้ากากหนุมาน : ลิขสิทธิ์ – สิทธิบัตร ควรเป็นของใครกันแน่ ?
*****************
หมายเหตุ : เพจ weerachai phutdhawong ได้โพสต์ข้อความถึง 1morenews อยากจะให้นำเสนอข้อมูล 2 ด้าน ซึ่งทางทีมงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ได้นำเสนอข้อมูลครบทุกด้าน หากจะพิจารณาให้ดี ในตอน ..กระทะปลอม โคเรียคิง ถึง ปลอมใบรับรอง หน้ากากป้องกันสารพิษ (2) ก็มีข้อความการชี้แจงของคณะผู้วิจัยที่ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากทางคณะผู้ทำวิจัย ต้องการที่จะชี้แจงเพิ่มเติม สามารถ ทำได้ โดยผ่านช่องทางที่โพสต์ข้อความเข้ามา แล้วทีมงานจะพิจารณาดำเนินการในโอกาส ต่อไป...
***************
อ่านมาจาก เพจ 1morenews