22 มีนาคม วันน้ำโลก (World Water Day) เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการใช้น้ำมีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้น้ำสะอาดสำหรับผลิตอาหารและเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำสะอาดทั้งหมดของโลก
แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำสะอาดที่มีอยู่ต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในหลายส่วนของโลก ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบปฏิบัติ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาคธุรกิจ ภาครัฐ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ
เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้สำหรับการผลิต ฉลากสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาการผลิตสินค้าไปในทิศทางที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเป็นการแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ฉลากสิ่งแวดล้อมเป็นที่รู้จัก เช่น ฉลากคาร์บอน (Carbon Footprint)
“Water Footprint” เป็นตัวชี้วัดปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค (Supply Chain) สินค้าที่มี Water Footprint น้อยหมายถึงมีการใช้น้ำและทำให้น้ำสกปรกน้อยกว่า จึงควรได้รับความสนใจมากกว่าสินค้าที่มี Water Footprint มาก
การมีข้อมูล Water Footprint ที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมมากขึ้น
สำหรับผู้ผลิตหรือภาคอุตสาหกรรม Water Footprint อาจเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทาย เพราะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การผลิตสินค้ามีการใช้น้ำและมีน้ำเสียลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทรัพยากรน้ำของโลก แต่การนำกลยุทธ์ลด Water Footprint มาใช้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างจุดแข็งให้กับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ เพราะแสดงว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ในด้านผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปในสู่ทางเลือกของสินค้าที่มี Water Footprint ต่ำ จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำของโลก และนำไปสู่แนวทางการบริโภคที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งการระบุข้อมูล Water Footprint บนฉลากสินค้า จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด โดยผู้บริโภคอาจหันไปเลือกซื้อสินค้าที่มี Water Footprint น้อย แทนสินค้าที่มี Water Footprint มาก หรือผู้บริโภคอาจเลือกสินค้าแบบเดิม แต่เลือกจากแหล่งผลิตหรือวิธีการผลิตที่มี Water Footprint ต่ำกว่าแทน
Water Footprint จะเข้ามามีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายการค้าในอนาคต เพื่อตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์น้ำและการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเห็นการนำฉลาก Water Footprint มาแสดงบนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการใช้น้ำในการผลิตสินค้ามากขึ้นด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บริษัทโคคาโคล่า จำกัด ในกลุ่มประเทศยุโรปให้ความสำคัญกับการจัดทำค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้กำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในกระบวนการผลิต
สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 2 โรงงานแปรรูปของบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) คือ โรงงานอาหารแปรรูปซีพีเอฟ มีนบุรี 2 และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟสระบุรี ให้เป็น 2 โรงงานนำร่องในการดำเนินโครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ Water Footprint
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์ติดฉลาก WATER FOOTPRINT http://fic.nfi.or.th/waterfootprint/index.php/label-wf
มาทำความรู้จักวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ – Water Footprint https://www.g-able.com/digital-review/water-footprint/
รูปภาพหาจาก Google
น้ำกับการบริโภคสินค้า
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการใช้น้ำมีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้น้ำสะอาดสำหรับผลิตอาหารและเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำสะอาดทั้งหมดของโลก
แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำสะอาดที่มีอยู่ต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในหลายส่วนของโลก ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบปฏิบัติ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาคธุรกิจ ภาครัฐ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ
เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้สำหรับการผลิต ฉลากสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาการผลิตสินค้าไปในทิศทางที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเป็นการแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ฉลากสิ่งแวดล้อมเป็นที่รู้จัก เช่น ฉลากคาร์บอน (Carbon Footprint)
“Water Footprint” เป็นตัวชี้วัดปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค (Supply Chain) สินค้าที่มี Water Footprint น้อยหมายถึงมีการใช้น้ำและทำให้น้ำสกปรกน้อยกว่า จึงควรได้รับความสนใจมากกว่าสินค้าที่มี Water Footprint มาก
การมีข้อมูล Water Footprint ที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมมากขึ้น
สำหรับผู้ผลิตหรือภาคอุตสาหกรรม Water Footprint อาจเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทาย เพราะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การผลิตสินค้ามีการใช้น้ำและมีน้ำเสียลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทรัพยากรน้ำของโลก แต่การนำกลยุทธ์ลด Water Footprint มาใช้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างจุดแข็งให้กับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ เพราะแสดงว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ในด้านผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปในสู่ทางเลือกของสินค้าที่มี Water Footprint ต่ำ จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำของโลก และนำไปสู่แนวทางการบริโภคที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งการระบุข้อมูล Water Footprint บนฉลากสินค้า จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด โดยผู้บริโภคอาจหันไปเลือกซื้อสินค้าที่มี Water Footprint น้อย แทนสินค้าที่มี Water Footprint มาก หรือผู้บริโภคอาจเลือกสินค้าแบบเดิม แต่เลือกจากแหล่งผลิตหรือวิธีการผลิตที่มี Water Footprint ต่ำกว่าแทน
Water Footprint จะเข้ามามีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายการค้าในอนาคต เพื่อตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์น้ำและการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเห็นการนำฉลาก Water Footprint มาแสดงบนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการใช้น้ำในการผลิตสินค้ามากขึ้นด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้