บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด เน้นบริหารจัดการการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต ลดปริมาณการใช้น้ำต่อตันผลผลิต มุ่งมั่นสู่เป้าหมายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นายจารุบุตร เกิดอุดม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยได้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นหลักและแนวทางในการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัท ฯ ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำของทุกหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ด้วยเครื่องมือระดับสากล Global Water Tools ของ WBCSD รวมทั้งการประเมิน Water footprint ในระดับหน่วยงาน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำที่อาจกระทบต่อชุมชนโดยรอบและการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่กิจกรรมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการดำเนินงานมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือ CPF SHE&En Standard
นอกจากนี้ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ อาทิ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ด้วยการนำระบบลมเย็น (Air Chill) มาใช้แทนการใช้น้ำเย็น (Water Chill) เพื่อลดอุณหภูมิไก่ ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำลงประมาณ 15% เทียบกับกระบวนการผลิตเดิม และการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการลดการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยผลผลิต และเพิ่มสัดส่วนการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ในการเลี้ยงใหม่ นับเป็นส่วนสำคัญของการลดการนำน้ำมาใช้ของซีพีเอฟ ทำให้ในปี 2560 ซีพีเอฟสามารถลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อตันผลผลิตจาก 25.17
ลูกบาศก์เมตรต่อตันในปีที่ผ่านมา ลงเหลือ 20.71 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และมีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled water) สูงถึงประมาณ 13 % ของปริมาณน้ำที่ดึงมาใช้ทั้งหมด
นอกจากการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณะผ่านรายงานความยั่งยืนเป็นประจำทุกปีแล้ว ซีพีเอฟยังได้ร่วมเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการด้านน้ำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ผ่านหน่วยงานประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอิสระระดับสากล อาทิ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) และ Carbon Disclosure Project หรือ CDP ซึ่งในปี 2560 ทาง CDP พิจารณาให้ซีพีเอฟได้รับรางวัล CDP Hong Kong and South East Asia Awards 2017 สาขา Best performance across programs ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผลการดำเนินงานที่ดีด้านการบริหารจัดการน้ำ ก๊าซเรือนกระจก และป่าไม้
ทั้งนี้ซีพีเอฟร่วมสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) และได้กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นลดการใช้ทรัพยากรต่อตันผลผลิตลงเทียบกับปี 2558 ครอบคลุมการลดปริมาณการใช้พลังงาน 5 % ลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ 10 % ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 % และลดปริมาณของเสียฝังกลบ 30 % ซึ่งทุกหน่วยงานในซีพีเอฟต้องร่วมมือกำกับดูแล ควบคุมการดำเนินงาน รวมถึงดำเนินโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Operational Eco-efficiency) เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดภายในปี 2563
อนึ่งองค์การสหประชาชาติเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก”หรือ" World Day for Water"เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
CPF มุ่งมั่นร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ลดปริมาณการใช้และบริหารจัดการเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด เน้นบริหารจัดการการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต ลดปริมาณการใช้น้ำต่อตันผลผลิต มุ่งมั่นสู่เป้าหมายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นายจารุบุตร เกิดอุดม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยได้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นหลักและแนวทางในการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัท ฯ ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำของทุกหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ด้วยเครื่องมือระดับสากล Global Water Tools ของ WBCSD รวมทั้งการประเมิน Water footprint ในระดับหน่วยงาน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำที่อาจกระทบต่อชุมชนโดยรอบและการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่กิจกรรมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการดำเนินงานมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือ CPF SHE&En Standard
นอกจากนี้ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ อาทิ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ด้วยการนำระบบลมเย็น (Air Chill) มาใช้แทนการใช้น้ำเย็น (Water Chill) เพื่อลดอุณหภูมิไก่ ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำลงประมาณ 15% เทียบกับกระบวนการผลิตเดิม และการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการลดการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยผลผลิต และเพิ่มสัดส่วนการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ในการเลี้ยงใหม่ นับเป็นส่วนสำคัญของการลดการนำน้ำมาใช้ของซีพีเอฟ ทำให้ในปี 2560 ซีพีเอฟสามารถลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อตันผลผลิตจาก 25.17
ลูกบาศก์เมตรต่อตันในปีที่ผ่านมา ลงเหลือ 20.71 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และมีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled water) สูงถึงประมาณ 13 % ของปริมาณน้ำที่ดึงมาใช้ทั้งหมด
นอกจากการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณะผ่านรายงานความยั่งยืนเป็นประจำทุกปีแล้ว ซีพีเอฟยังได้ร่วมเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการด้านน้ำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ผ่านหน่วยงานประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอิสระระดับสากล อาทิ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) และ Carbon Disclosure Project หรือ CDP ซึ่งในปี 2560 ทาง CDP พิจารณาให้ซีพีเอฟได้รับรางวัล CDP Hong Kong and South East Asia Awards 2017 สาขา Best performance across programs ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผลการดำเนินงานที่ดีด้านการบริหารจัดการน้ำ ก๊าซเรือนกระจก และป่าไม้
ทั้งนี้ซีพีเอฟร่วมสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) และได้กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นลดการใช้ทรัพยากรต่อตันผลผลิตลงเทียบกับปี 2558 ครอบคลุมการลดปริมาณการใช้พลังงาน 5 % ลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ 10 % ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 % และลดปริมาณของเสียฝังกลบ 30 % ซึ่งทุกหน่วยงานในซีพีเอฟต้องร่วมมือกำกับดูแล ควบคุมการดำเนินงาน รวมถึงดำเนินโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Operational Eco-efficiency) เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดภายในปี 2563
อนึ่งองค์การสหประชาชาติเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก”หรือ" World Day for Water"เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ