อวสานลูกทุ่ง?
ผู้คนที่เกิดและเติบโตในเมืองหลวงอาจไม่ค่อยให้ความสนใจต่อแนวเพลงนี้ได้มากเท่าใดนัก แต่คนต่างจังหวัดทั้งที่อาศัยตามภูมิลำเนาและที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวงคงได้ติดตามรับฟังเพลงลูกทุ่งอยู่ตลอดเวลา สังเกตจากตลาดเทปเพลงลูกทุ่งที่กระจายไปทุกหัวระแหง ทำให้ยอดขายเทปบางชุดอยู่ในระดับที่สายตาของผู้คนในเมืองหลวงคาดไม่ถึง และบทเพลงที่ออกมาส่วนใหญ่จะให้ “คุณค่า” ต่อคนฟังที่ไม่ด้อยกว่าเพลงแนวอื่นเลย ถึงจะมีบางคนบ่นว่านี่เป็นเฮือกสุดท้ายของเพลงลูกทุ่ง เนื่องจากแนวเพลง “สตริง” ยึดครองตลาดไว้มากที่สุด อีกทั้งแนวดนตรีที่เปลี่ยนไปเพื่อเอาใจตลาดก็ตาม
ในยุคนั้น นักร้องลูกทุ่งระดับแถวหน้า ไม่ว่าจะเป็น “สายัณห์ สัญญา”, “ยอดรัก สลักใจ” และ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ต่างมีผลงานเพลงออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากกว่านักร้องทั่วไป ทั้งเพลงที่แต่งใหม่และเพลงจากศิลปินท่านอื่น ๆ ซี่งก็ไม่ได้หยุดยั้งความแรงของมนต์เสียงเพลงลูกทุ่งได้เลย
โดยเฉพาะพุ่มพวง หรือ “แม่ผึ้ง” เจ้าของเสียงร้องเพลงดังแห่งยุค อย่าง “หนูไม่รู้”, “หนูไม่เอา”, “พี่ไปดู หนูไปด้วย”, “ขอให้รวย” ฯลฯ ก็สามารถยกระดับเพลงลูกทุ่งให้เป็นที่ชื่นชอบของคนทุกชนชั้นได้สำเร็จ จนภายหลังที่พุ่มพวงเสียชีวิตด้วยโรคภูมิแพ้ตัวเองในกลางปี 2535 ก็ไม่ทำให้ความนิยมเสื่อมคลาย เพราะเหล่าผลงานที่รวบรวมไว้จากก้าวแรกถึงก้าวสุดท้ายในชีวิตก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อีกทั้งมีการนำบทเพลงของพุ่มพวงไปขับกล่อมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย รวมถึงการประกวดร้องเพลงตราบถึงปัจจุบัน สมกับที่เธอเป็น “ราชินีลูกทุ่งยุคไฮเทค” อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังมี “สุนารี ราชสีมา”, “ศิรินทรา นิยากร”, “เอกพจน์ วงศ์นาค”, “เอกชัย ฉิมพะวงศ์” (เอกชัย ศรีวิชัย), “ยิ่งยง ยอดบัวงาม”, “สันติ ดวงสว่าง”, “จินตหรา พูนลาภ”, “ศิริพร อำไพพงษ์”, “ฮันนี่ ศรีอีสาน” และ “ยุ้ย ญาติเยอะ” ที่ถือเป็นตัวแทนนักร้องลูกทุ่งเลือดใหม่ซึ่งมีผลงานอันโดดเด่นและโด่งดังในยุคนั้นด้วยเช่นกัน
และอีกอย่างที่สำคัญกว่านั้น ในช่วงปี 2532-2534 เป็นปีที่ “เพลงลูกทุ่งไทย” ดำเนินมาเป็นเวลากึ่งศตวรรษ ก็ได้เกิดการจัดมหกรรมคอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ที่รวบรวมศิลปินลูกทุ่งชั้นนำไว้มากที่สุดในนาม “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากแนวความคิดของนักอนุรักษ์นิยมเพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่อย่าง “เจนภพ จบกระบวนวรรณ” และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ก็ประสบผลสำเร็จได้พอสมควร ทั้งยังสามารถชุบชีวิตของเพลงลูกทุ่งและศิลปินนักร้องให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง เช่นนักร้องรุ่นใหญ่อย่าง “ผ่องศรี วรนุช” ซึ่งห่างหายจากการบันทึกเสียงเพลงนับสิบปีก็ได้กลับมาออกอัลบั้มเพลงอีกครั้ง โดยนำเพลงที่ตัวเองร้องไว้จำนวนหนึ่งมาบรรเลงใหม่ เป็นต้น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เพลงเก่า-ดนตรีใหม่
ท่ามกลางการเผยแพร่เพลงใหม่ที่กระจัดกระจายไปมาก ยังมีผลงานเพลงอีกพวกที่เป็นแนวรบทางการตลาดและการอนุรักษ์ นั่นคือการขุดของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ ซึ่งมีศิลปินนักร้องทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ได้หยิบบทเพลงเหล่านั้นมาเผยแพร่ออกสู่ตลาด ด้วยรูปแบบดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
เริ่มจากวง “เยื่อไม้” ซึ่งมีนักร้องนำคือ “วิระ บำรุงศรี” และ “อรวี สัจจานนท์” ในสังกัด “คีตา” มีผลงานออกจำหน่ายระหว่างปี 2531 - 2533 ทั้งหมด 13 ชุด โดยเป็นการนำบทเพลงของสุนทราภรณ์ และครูเพลงลูกกรุงอีกหลายท่านมาบรรเลงใหม่โดยใช้เครื่องดนตรีอคูสติกทั้งหมด ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และทำยอดขายเทปได้มากมายเป็นกอบเป็นกำ
ในปลายปี 2532 ทางคีตาอีกเช่นกันได้เปิดตัวคนดนตรีอีกกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย “ปิยะ โกศินานนท์” นักเปียโนตาบอด, “ชื่น เริงใจ” นักแซ็กโซโฟนชั้นครู และนักร้องหญิงเลือดใหม่นาม “นรีกระจ่าง คันธมาส” มารวมตัวกันเป็นวง “โคโค่ แจ๊ส” โดยเป็นการหยิบเพลงดังที่คอเพลงคุ้นเคยในหลากหลายสไตล์มาบรรเลงใหม่ในรูปแบบป๊อปแจ๊ส ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีอีกเช่นกัน
ในปีเดียวกัน บริษัท “นิธิทัศน์ โปรโมชั่น” ได้เชิญศิลปินนักร้องแนวลูกกรุงที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น “สุเทพ วงศ์กำแหง”, “ชรินทร์ นันทนาคร”, “สวลี ผกาพันธ์”, “รวงทอง ทองลั่นธม”, “ทูล ทองใจ”, “ดาวใจ ไพจิตร” ฯลฯ มาร้องเพลงบันทึกเสียงอีกครั้งในโปรเจ็กต์ “อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล”
ขณะที่ศิลปินนักร้องที่มีอยู่ในสังกัด อาทิ “ดอน สอนระเบียบ”, “แซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี”, “กุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์”, “กุ้ง-ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา”, “ก้อย-พรพิมล ธรรมสาร”, “อ๊อด-โอภาส ทศพร” , “นิค นิรนาม” ฯลฯ ก็ได้ออกอัลบั้มรวมเพลงเก่าในดนตรีใหม่ควบคู่กัน ด้วยชี่ออัลบั้มที่ต่างกันออกไป เช่น “ซูเปอร์ฮิต”, “ซูเปอร์บูม”, “เพลงหวานซูเปอร์คลาสสิก”, “หยิบสิบ” เป็นต้น ซึ่งในแต่ละชุดก็ทำยอดขายเทปได้อย่างมหาศาล สร้างชื่อให้ค่ายเพลงนิธิทัศน์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สังเกตจากการเผยแพร่ผลงานเพลงผ่านทางโทรทัศน์ตลอดทุกวัน แม้จะมีเสียงครหาด้วยความรู้สึกเบื่อกับการโปรโมท และการทำดนตรีใหม่ที่ไม่พิถีพิถันดีนัก หรือเน้นการจงใจผลิตที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพเท่าที่ควรเป็นก็ตาม
จนกระทั่งในปี 2535 ทางค่ายเพลงอาร์เอสได้จัดทำโปรเจ็กต์ “สานฝัน ซิตี้ คอรัส” ซึ่งเป็นการนำบทเพลงที่เคยได้รับความนิยมทั้งในสังกัดและนอกสังกัดมาทำการเรียบเรียงให้เป็นเพลงแนวการร้องประสานเสียง โดยได้เหล่านักร้องผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อัลบั้มสานฝันมีทั้งหมด 4 ชุด ทำยอดขายเทปได้มากมายอีกเช่นกัน ทำให้เกิดการปลุกกระแสเพลงประสานเสียง มีค่ายเพลงรายอื่นแห่แหนกันทำอัลบั้มในลักษณะเดียวกันอีกหลายชุด
นอกจากนี้ยังมีอัลบั้มที่นำเพลงเก่ามาทำใหม่ออกมาอีกมากมาย จากหลากหลายค่าย อย่างเช่น “แม่ไม้เพลงไทย” ของค่ายแกรมมี่ กับการเปิดตัวศิลปินหน้าใหม่นาม “ก๊อต-จักรพรรณ์ อาบครบุรี” (จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ), อัลบั้ม “ลูกทุ่งกรุงเทพฯ 1-2” ของนักร้องเสียงนุ่มอย่าง “ต้น-สุชาติ ชวางกูร”, อัลบั้มเพลงดังอมตะของ “หยาด นภาลัย” ที่มี สมมาตร ไพรหิรัญ เป็นพระเอกมิวสิกวิดีโอขาประจำ รวมไปถึงอัลบั้มรวมเพลงฮิตของเหล่าศิลปินในสังกัด และรวมเพลงดีแต่ไม่ฮิตของศิลปินบางราย
- - - - - - - - - - โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดี. - - - - - - - - - -
บทความย้อนหลัง
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ป๊อปไอดอลแห่งยุค
https://ppantip.com/topic/37469809
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ร็อกยังครองเมือง
https://ppantip.com/topic/37472389
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน จับดารามาคว้าไมค์ใส่ตลับ
https://ppantip.com/topic/37476018
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน เพื่อชีวิตฮิตสนั่นเมือง
https://ppantip.com/topic/37476107
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน อวสานลูกทุ่ง? และ เพลงเก่า-ดนตรีใหม่
ผู้คนที่เกิดและเติบโตในเมืองหลวงอาจไม่ค่อยให้ความสนใจต่อแนวเพลงนี้ได้มากเท่าใดนัก แต่คนต่างจังหวัดทั้งที่อาศัยตามภูมิลำเนาและที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวงคงได้ติดตามรับฟังเพลงลูกทุ่งอยู่ตลอดเวลา สังเกตจากตลาดเทปเพลงลูกทุ่งที่กระจายไปทุกหัวระแหง ทำให้ยอดขายเทปบางชุดอยู่ในระดับที่สายตาของผู้คนในเมืองหลวงคาดไม่ถึง และบทเพลงที่ออกมาส่วนใหญ่จะให้ “คุณค่า” ต่อคนฟังที่ไม่ด้อยกว่าเพลงแนวอื่นเลย ถึงจะมีบางคนบ่นว่านี่เป็นเฮือกสุดท้ายของเพลงลูกทุ่ง เนื่องจากแนวเพลง “สตริง” ยึดครองตลาดไว้มากที่สุด อีกทั้งแนวดนตรีที่เปลี่ยนไปเพื่อเอาใจตลาดก็ตาม
ในยุคนั้น นักร้องลูกทุ่งระดับแถวหน้า ไม่ว่าจะเป็น “สายัณห์ สัญญา”, “ยอดรัก สลักใจ” และ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ต่างมีผลงานเพลงออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากกว่านักร้องทั่วไป ทั้งเพลงที่แต่งใหม่และเพลงจากศิลปินท่านอื่น ๆ ซี่งก็ไม่ได้หยุดยั้งความแรงของมนต์เสียงเพลงลูกทุ่งได้เลย
โดยเฉพาะพุ่มพวง หรือ “แม่ผึ้ง” เจ้าของเสียงร้องเพลงดังแห่งยุค อย่าง “หนูไม่รู้”, “หนูไม่เอา”, “พี่ไปดู หนูไปด้วย”, “ขอให้รวย” ฯลฯ ก็สามารถยกระดับเพลงลูกทุ่งให้เป็นที่ชื่นชอบของคนทุกชนชั้นได้สำเร็จ จนภายหลังที่พุ่มพวงเสียชีวิตด้วยโรคภูมิแพ้ตัวเองในกลางปี 2535 ก็ไม่ทำให้ความนิยมเสื่อมคลาย เพราะเหล่าผลงานที่รวบรวมไว้จากก้าวแรกถึงก้าวสุดท้ายในชีวิตก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อีกทั้งมีการนำบทเพลงของพุ่มพวงไปขับกล่อมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย รวมถึงการประกวดร้องเพลงตราบถึงปัจจุบัน สมกับที่เธอเป็น “ราชินีลูกทุ่งยุคไฮเทค” อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังมี “สุนารี ราชสีมา”, “ศิรินทรา นิยากร”, “เอกพจน์ วงศ์นาค”, “เอกชัย ฉิมพะวงศ์” (เอกชัย ศรีวิชัย), “ยิ่งยง ยอดบัวงาม”, “สันติ ดวงสว่าง”, “จินตหรา พูนลาภ”, “ศิริพร อำไพพงษ์”, “ฮันนี่ ศรีอีสาน” และ “ยุ้ย ญาติเยอะ” ที่ถือเป็นตัวแทนนักร้องลูกทุ่งเลือดใหม่ซึ่งมีผลงานอันโดดเด่นและโด่งดังในยุคนั้นด้วยเช่นกัน
และอีกอย่างที่สำคัญกว่านั้น ในช่วงปี 2532-2534 เป็นปีที่ “เพลงลูกทุ่งไทย” ดำเนินมาเป็นเวลากึ่งศตวรรษ ก็ได้เกิดการจัดมหกรรมคอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ที่รวบรวมศิลปินลูกทุ่งชั้นนำไว้มากที่สุดในนาม “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากแนวความคิดของนักอนุรักษ์นิยมเพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่อย่าง “เจนภพ จบกระบวนวรรณ” และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ก็ประสบผลสำเร็จได้พอสมควร ทั้งยังสามารถชุบชีวิตของเพลงลูกทุ่งและศิลปินนักร้องให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง เช่นนักร้องรุ่นใหญ่อย่าง “ผ่องศรี วรนุช” ซึ่งห่างหายจากการบันทึกเสียงเพลงนับสิบปีก็ได้กลับมาออกอัลบั้มเพลงอีกครั้ง โดยนำเพลงที่ตัวเองร้องไว้จำนวนหนึ่งมาบรรเลงใหม่ เป็นต้น
เพลงเก่า-ดนตรีใหม่
ท่ามกลางการเผยแพร่เพลงใหม่ที่กระจัดกระจายไปมาก ยังมีผลงานเพลงอีกพวกที่เป็นแนวรบทางการตลาดและการอนุรักษ์ นั่นคือการขุดของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ ซึ่งมีศิลปินนักร้องทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ได้หยิบบทเพลงเหล่านั้นมาเผยแพร่ออกสู่ตลาด ด้วยรูปแบบดนตรีที่แตกต่างกันออกไป
เริ่มจากวง “เยื่อไม้” ซึ่งมีนักร้องนำคือ “วิระ บำรุงศรี” และ “อรวี สัจจานนท์” ในสังกัด “คีตา” มีผลงานออกจำหน่ายระหว่างปี 2531 - 2533 ทั้งหมด 13 ชุด โดยเป็นการนำบทเพลงของสุนทราภรณ์ และครูเพลงลูกกรุงอีกหลายท่านมาบรรเลงใหม่โดยใช้เครื่องดนตรีอคูสติกทั้งหมด ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และทำยอดขายเทปได้มากมายเป็นกอบเป็นกำ
ในปลายปี 2532 ทางคีตาอีกเช่นกันได้เปิดตัวคนดนตรีอีกกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย “ปิยะ โกศินานนท์” นักเปียโนตาบอด, “ชื่น เริงใจ” นักแซ็กโซโฟนชั้นครู และนักร้องหญิงเลือดใหม่นาม “นรีกระจ่าง คันธมาส” มารวมตัวกันเป็นวง “โคโค่ แจ๊ส” โดยเป็นการหยิบเพลงดังที่คอเพลงคุ้นเคยในหลากหลายสไตล์มาบรรเลงใหม่ในรูปแบบป๊อปแจ๊ส ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีอีกเช่นกัน
ในปีเดียวกัน บริษัท “นิธิทัศน์ โปรโมชั่น” ได้เชิญศิลปินนักร้องแนวลูกกรุงที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น “สุเทพ วงศ์กำแหง”, “ชรินทร์ นันทนาคร”, “สวลี ผกาพันธ์”, “รวงทอง ทองลั่นธม”, “ทูล ทองใจ”, “ดาวใจ ไพจิตร” ฯลฯ มาร้องเพลงบันทึกเสียงอีกครั้งในโปรเจ็กต์ “อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล”
ขณะที่ศิลปินนักร้องที่มีอยู่ในสังกัด อาทิ “ดอน สอนระเบียบ”, “แซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี”, “กุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์”, “กุ้ง-ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา”, “ก้อย-พรพิมล ธรรมสาร”, “อ๊อด-โอภาส ทศพร” , “นิค นิรนาม” ฯลฯ ก็ได้ออกอัลบั้มรวมเพลงเก่าในดนตรีใหม่ควบคู่กัน ด้วยชี่ออัลบั้มที่ต่างกันออกไป เช่น “ซูเปอร์ฮิต”, “ซูเปอร์บูม”, “เพลงหวานซูเปอร์คลาสสิก”, “หยิบสิบ” เป็นต้น ซึ่งในแต่ละชุดก็ทำยอดขายเทปได้อย่างมหาศาล สร้างชื่อให้ค่ายเพลงนิธิทัศน์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สังเกตจากการเผยแพร่ผลงานเพลงผ่านทางโทรทัศน์ตลอดทุกวัน แม้จะมีเสียงครหาด้วยความรู้สึกเบื่อกับการโปรโมท และการทำดนตรีใหม่ที่ไม่พิถีพิถันดีนัก หรือเน้นการจงใจผลิตที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพเท่าที่ควรเป็นก็ตาม
จนกระทั่งในปี 2535 ทางค่ายเพลงอาร์เอสได้จัดทำโปรเจ็กต์ “สานฝัน ซิตี้ คอรัส” ซึ่งเป็นการนำบทเพลงที่เคยได้รับความนิยมทั้งในสังกัดและนอกสังกัดมาทำการเรียบเรียงให้เป็นเพลงแนวการร้องประสานเสียง โดยได้เหล่านักร้องผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อัลบั้มสานฝันมีทั้งหมด 4 ชุด ทำยอดขายเทปได้มากมายอีกเช่นกัน ทำให้เกิดการปลุกกระแสเพลงประสานเสียง มีค่ายเพลงรายอื่นแห่แหนกันทำอัลบั้มในลักษณะเดียวกันอีกหลายชุด
นอกจากนี้ยังมีอัลบั้มที่นำเพลงเก่ามาทำใหม่ออกมาอีกมากมาย จากหลากหลายค่าย อย่างเช่น “แม่ไม้เพลงไทย” ของค่ายแกรมมี่ กับการเปิดตัวศิลปินหน้าใหม่นาม “ก๊อต-จักรพรรณ์ อาบครบุรี” (จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ), อัลบั้ม “ลูกทุ่งกรุงเทพฯ 1-2” ของนักร้องเสียงนุ่มอย่าง “ต้น-สุชาติ ชวางกูร”, อัลบั้มเพลงดังอมตะของ “หยาด นภาลัย” ที่มี สมมาตร ไพรหิรัญ เป็นพระเอกมิวสิกวิดีโอขาประจำ รวมไปถึงอัลบั้มรวมเพลงฮิตของเหล่าศิลปินในสังกัด และรวมเพลงดีแต่ไม่ฮิตของศิลปินบางราย
บทความย้อนหลัง
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ป๊อปไอดอลแห่งยุค
https://ppantip.com/topic/37469809
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ร็อกยังครองเมือง
https://ppantip.com/topic/37472389
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน จับดารามาคว้าไมค์ใส่ตลับ
https://ppantip.com/topic/37476018
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน เพื่อชีวิตฮิตสนั่นเมือง
https://ppantip.com/topic/37476107