เพื่อชีวิตฮิตสนั่นเมือง
ในยุคนั้น แนวเพลงสะท้อนสังคม หรือ “เพลงเพื่อชีวิต” ถือเป็นแนวเพลงกระแสหลักอีกทางเลือกหนึ่ง ยิ่งเมื่อมีเหตุการณ์บ้านเมือง หรือกระแสการใส่ใจต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วมีการถ่ายทอดประเด็นเหล่านี้ผ่านบทเพลงจากมันสมองของศิลปินทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ประกอบกับจังหวะดนตรีที่คึกคักและเร้าใจ ก็ยิ่งมีคนฟังให้การติดตามและสนใจอยู่ไม่น้อย จนเรียกว่าเป็นยุคเงินยุคทองของเพลงเพื่อชีวิต ถึงแม้ว่าบทเพลงบางเพลงไม่สามารถเผยแพร่ผ่านทางสื่อที่อยู่ในการควบคุมของรัฐได้ก็ตาม
ถ้าหากกล่าวถึงวงดนตรีเพื่อชีวิตยอดนิยมของเมืองไทย คงไม่มีใครไม่ได้ยินชื่อวง “คาราบาว” ภายใต้การนำของ “แอ๊ด-ยืนยง โอภากุล” ซึ่งพวกเขาผ่านทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จขั้นสูงสุดมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังการออกอัลบั้ม “ทับหลัง” เมื่อปี 2532 ก็เกิดข่าวปัญหาความขัดแย้งภายในวง จนเกิดการแยกก๊กและได้ออกผลงาน “เดี่ยว” ของแต่ละคน โดย “อ.ธนิสร์-เทียรี่-จ่าเป้า” ได้ออกอัลบั้ม “ขอเดี่ยวด้วยคนนะ” ส่วน “แอ๊ด-เขียว-เล็ก-อ๊อด” ยังคงมีผลงานออกมาอีกในนามวงคาราบาวเช่นเดิม รวมทั้งอัลบั้มส่วนตัวควบคู่ไปด้วย จนในปี 2534 เหล่าสมาชิกทั้งสองก๊กได้รวมกลุ่มกลับมาแสดงคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่เอ็มบีเค ฮอลล์ ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ มีผู้ชมที่เป็นแฟนเพลงทั้งเก่าและใหม่ให้การต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มศิลปินหัวบุกเบิกอย่าง “คาราวาน” ภายใต้การนำของ “สุรชัย จันทิมาธร” มีผลงานเพลงออกมาหลายชุดด้วยกัน จนกระทั่งในช่วงปลายปี 2532 ทางวงได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตครบรอบ 15 ปี เป็นการสั่งลา ที่เดอะมอลล์ รามคำแหง ท่ามกลางความคิดถึงและเสียดายของคอเพลงเพื่อชีวิต เพราะภายหลังจากนั้นสมาชิกของคณะต่างแยกย้ายกันไปทำงานของแต่ละคน โดยเฉพาะหัวหอกอย่าง “น้าหงา” มีผลงานในรูปแบบเดี่ยวและร่วมกับเพื่อนอีกหลายชุด ขณะที่ “มงคล อุทก” ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวในชุด “คนไร้ราก” ที่ถือเป็นการเบิกมิติใหม่ด้วยการนำจังหวะดนตรีเร้กเก้มาประยุกต์ใช้ในเพลงไทย ส่วนนักเพลงชาวโคราชที่เคยร่วมงานกับคาราวานอยู่ระยะหนึ่งอย่าง “พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ” มาโด่งดังสุดในชุด “คนจนรุ่นใหม่” ที่พาเพลง “ตังเก” ออกสู่ความนิยม จนคนฟังเพลงรู้จักศิลปินเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับนักเพลงเพื่อชีวิตเลือดใหม่ชาวหนองคาย “ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ได้แนะนำผลงานเพลงชุดแรกชื่อ “ถึงเพื่อน” เมื่อปี 2530 ด้วยวัยเพียง 20 ปี ก็ไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด จึงเงียบหายไประยะหนึ่ง จนในปี 2534 ได้ออกอัลบั้ม “เสือตัวที่ 11” ทำให้เขากลายเป็นศิลปินเนื้อหอมและขายดีอย่างรวดเร็ว โดยยังมีผลงานตามมาอีก 2 ชุด คือ “บันทึกการเดินทาง” และ “มาตามสัญญา” มีเพลงที่โด่งดังอย่าง “ตลอดเวลา”, “คิดถึง”, “สุดใจ” อีกทั้งยังได้แต่งและร้องเพลงไตเติ้ลละครโทรทัศน์เรื่อง “ตะวันชิงพลบ” ก็ยิ่งมีแฟนเพลงทุกระดับหันมารู้จักและสนใจต่อศิลปินผู้นี้ ถือว่าเป็นศิลปินที่ทำเพลงเพื่อชีวิตแหวกไปจากเนื้อหาที่ฟังยาก โดยเฉพาะการสร้างบทเพลงที่มีเนื้อหาเบา ๆ เช่น “เพลงรัก” ในนิยามของเขาอีกด้วย
ส่วนวงดนตรีอีกกลุ่มที่ยังคงเก็บเกี่ยวชื่อเสียงอีกเช่นกัน นั่นก็คือวง “กะท้อน” จากเคยที่ทำให้บทเพลง “สาวรำวง” เป็นที่ได้ยินไปทั่วบ้านทั่วเมือง เมื่อออกอัลบั้มชุดต่อ ๆ มาก็เกิดเพลงที่มีเนื้อหาว่าด้วยการ “แข่งเรือ” ซึ่งกลายเป็นซีรีส์เพลงระดับตำนานไปแล้ว จนกระทั่งในปี 2532 “ระพินทร์ พุฒิชาติ” หรือ “น้าซู” หัวหน้าวงกะท้อน ได้ขอแยกตัวจากวงแล้วไปก่อตั้งวงดนตรีเพื่อชีวิตรุ่นใหม่ในชื่อ “ซูซู” ร่วมกับ “อู๊ด ยานนาวา”, “ทอม ดันดี” เป็นต้น ไม่น่าเชื่อเลยว่าบทเพลง “บ่อสร้างกางจ้อง” จะกลายเป็นเพลงที่โด่งดังที่สุดในอัลบั้มชุดแรกของซูซู ขณะที่วงดั้งเดิมอย่างกะท้อนนั้น ภายหลังการแยกวงกลับไม่ค่อยมีเพลงที่ฮิตติดหูมากนัก ยิ่งมีการเปลี่ยนตัวสมาชิกของวง ความดังก็ยิ่งค่อยเลือนลางลง แล้วยุบวงในที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีศิลปินอีกจำพวกที่ทำเพลงนอกกระแสในแบบโฟล์กซอง ซึ่งก็มีการถ่ายทอดเนื้อหาสะท้อนสังคมได้อย่างน่าขบขันไม่แพ้กัน อาจถูกจัดให้เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตอีกด้วย เช่น “ศุ บุญเลี้ยง”, “ฤทธิพร อินสว่าง”, “อารักษ์ อาภากาศ” หรือราชาโฟล์กซองคำเมืองอย่าง “จรัล มโนเพ็ชร” เป็นต้น
- - - - - - - - - - โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดี. - - - - - - - - - -
บทความย้อนหลัง
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ป๊อปไอดอลแห่งยุค
https://ppantip.com/topic/37469809
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ร็อกยังครองเมือง
https://ppantip.com/topic/37472389
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน จับดารามาคว้าไมค์ใส่ตลับ
https://ppantip.com/topic/37476018
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน เพื่อชีวิตฮิตสนั่นเมือง
ในยุคนั้น แนวเพลงสะท้อนสังคม หรือ “เพลงเพื่อชีวิต” ถือเป็นแนวเพลงกระแสหลักอีกทางเลือกหนึ่ง ยิ่งเมื่อมีเหตุการณ์บ้านเมือง หรือกระแสการใส่ใจต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วมีการถ่ายทอดประเด็นเหล่านี้ผ่านบทเพลงจากมันสมองของศิลปินทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ประกอบกับจังหวะดนตรีที่คึกคักและเร้าใจ ก็ยิ่งมีคนฟังให้การติดตามและสนใจอยู่ไม่น้อย จนเรียกว่าเป็นยุคเงินยุคทองของเพลงเพื่อชีวิต ถึงแม้ว่าบทเพลงบางเพลงไม่สามารถเผยแพร่ผ่านทางสื่อที่อยู่ในการควบคุมของรัฐได้ก็ตาม
ถ้าหากกล่าวถึงวงดนตรีเพื่อชีวิตยอดนิยมของเมืองไทย คงไม่มีใครไม่ได้ยินชื่อวง “คาราบาว” ภายใต้การนำของ “แอ๊ด-ยืนยง โอภากุล” ซึ่งพวกเขาผ่านทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จขั้นสูงสุดมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังการออกอัลบั้ม “ทับหลัง” เมื่อปี 2532 ก็เกิดข่าวปัญหาความขัดแย้งภายในวง จนเกิดการแยกก๊กและได้ออกผลงาน “เดี่ยว” ของแต่ละคน โดย “อ.ธนิสร์-เทียรี่-จ่าเป้า” ได้ออกอัลบั้ม “ขอเดี่ยวด้วยคนนะ” ส่วน “แอ๊ด-เขียว-เล็ก-อ๊อด” ยังคงมีผลงานออกมาอีกในนามวงคาราบาวเช่นเดิม รวมทั้งอัลบั้มส่วนตัวควบคู่ไปด้วย จนในปี 2534 เหล่าสมาชิกทั้งสองก๊กได้รวมกลุ่มกลับมาแสดงคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่เอ็มบีเค ฮอลล์ ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ มีผู้ชมที่เป็นแฟนเพลงทั้งเก่าและใหม่ให้การต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มศิลปินหัวบุกเบิกอย่าง “คาราวาน” ภายใต้การนำของ “สุรชัย จันทิมาธร” มีผลงานเพลงออกมาหลายชุดด้วยกัน จนกระทั่งในช่วงปลายปี 2532 ทางวงได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตครบรอบ 15 ปี เป็นการสั่งลา ที่เดอะมอลล์ รามคำแหง ท่ามกลางความคิดถึงและเสียดายของคอเพลงเพื่อชีวิต เพราะภายหลังจากนั้นสมาชิกของคณะต่างแยกย้ายกันไปทำงานของแต่ละคน โดยเฉพาะหัวหอกอย่าง “น้าหงา” มีผลงานในรูปแบบเดี่ยวและร่วมกับเพื่อนอีกหลายชุด ขณะที่ “มงคล อุทก” ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวในชุด “คนไร้ราก” ที่ถือเป็นการเบิกมิติใหม่ด้วยการนำจังหวะดนตรีเร้กเก้มาประยุกต์ใช้ในเพลงไทย ส่วนนักเพลงชาวโคราชที่เคยร่วมงานกับคาราวานอยู่ระยะหนึ่งอย่าง “พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ” มาโด่งดังสุดในชุด “คนจนรุ่นใหม่” ที่พาเพลง “ตังเก” ออกสู่ความนิยม จนคนฟังเพลงรู้จักศิลปินเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับนักเพลงเพื่อชีวิตเลือดใหม่ชาวหนองคาย “ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ได้แนะนำผลงานเพลงชุดแรกชื่อ “ถึงเพื่อน” เมื่อปี 2530 ด้วยวัยเพียง 20 ปี ก็ไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด จึงเงียบหายไประยะหนึ่ง จนในปี 2534 ได้ออกอัลบั้ม “เสือตัวที่ 11” ทำให้เขากลายเป็นศิลปินเนื้อหอมและขายดีอย่างรวดเร็ว โดยยังมีผลงานตามมาอีก 2 ชุด คือ “บันทึกการเดินทาง” และ “มาตามสัญญา” มีเพลงที่โด่งดังอย่าง “ตลอดเวลา”, “คิดถึง”, “สุดใจ” อีกทั้งยังได้แต่งและร้องเพลงไตเติ้ลละครโทรทัศน์เรื่อง “ตะวันชิงพลบ” ก็ยิ่งมีแฟนเพลงทุกระดับหันมารู้จักและสนใจต่อศิลปินผู้นี้ ถือว่าเป็นศิลปินที่ทำเพลงเพื่อชีวิตแหวกไปจากเนื้อหาที่ฟังยาก โดยเฉพาะการสร้างบทเพลงที่มีเนื้อหาเบา ๆ เช่น “เพลงรัก” ในนิยามของเขาอีกด้วย
ส่วนวงดนตรีอีกกลุ่มที่ยังคงเก็บเกี่ยวชื่อเสียงอีกเช่นกัน นั่นก็คือวง “กะท้อน” จากเคยที่ทำให้บทเพลง “สาวรำวง” เป็นที่ได้ยินไปทั่วบ้านทั่วเมือง เมื่อออกอัลบั้มชุดต่อ ๆ มาก็เกิดเพลงที่มีเนื้อหาว่าด้วยการ “แข่งเรือ” ซึ่งกลายเป็นซีรีส์เพลงระดับตำนานไปแล้ว จนกระทั่งในปี 2532 “ระพินทร์ พุฒิชาติ” หรือ “น้าซู” หัวหน้าวงกะท้อน ได้ขอแยกตัวจากวงแล้วไปก่อตั้งวงดนตรีเพื่อชีวิตรุ่นใหม่ในชื่อ “ซูซู” ร่วมกับ “อู๊ด ยานนาวา”, “ทอม ดันดี” เป็นต้น ไม่น่าเชื่อเลยว่าบทเพลง “บ่อสร้างกางจ้อง” จะกลายเป็นเพลงที่โด่งดังที่สุดในอัลบั้มชุดแรกของซูซู ขณะที่วงดั้งเดิมอย่างกะท้อนนั้น ภายหลังการแยกวงกลับไม่ค่อยมีเพลงที่ฮิตติดหูมากนัก ยิ่งมีการเปลี่ยนตัวสมาชิกของวง ความดังก็ยิ่งค่อยเลือนลางลง แล้วยุบวงในที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีศิลปินอีกจำพวกที่ทำเพลงนอกกระแสในแบบโฟล์กซอง ซึ่งก็มีการถ่ายทอดเนื้อหาสะท้อนสังคมได้อย่างน่าขบขันไม่แพ้กัน อาจถูกจัดให้เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตอีกด้วย เช่น “ศุ บุญเลี้ยง”, “ฤทธิพร อินสว่าง”, “อารักษ์ อาภากาศ” หรือราชาโฟล์กซองคำเมืองอย่าง “จรัล มโนเพ็ชร” เป็นต้น
บทความย้อนหลัง
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ป๊อปไอดอลแห่งยุค
https://ppantip.com/topic/37469809
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน ร็อกยังครองเมือง
https://ppantip.com/topic/37472389
[หมายเหตุเพลงไทย 2531-2535] ตอน จับดารามาคว้าไมค์ใส่ตลับ
https://ppantip.com/topic/37476018