หมายจับ (2)

กระทู้คำถาม
เห็นข่าว ทนายความของผู้ต้องหาจะฟ้องร้องพนักงานสอบสวน ฐานออกหมายโดยมิชอบ
มานั่งคิดดูว่า อำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนกำลังถูกสั่นคลอนหรือเปล่า
การกระทำตามกระบวนตามกฎหมาย ก็อาจถูกฟ้องฐานละเมิดได้

ความจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ที่จะมาถึงระดับพนักงานสอบสวนระดับต้นๆ คือ พนักงานสอบสวนชำนาญการ (สว.) นั้น
จะต้องผ่านการศึกษาด้านกฎหมายมาไม่น้อย
ยิ่งระดับที่สูงขึ้นมา คือ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (รอง ผกก.) ยิ่งต้องผ่านงานมามากพอสมควร
แต่ทำไปทำมา อาจจะมาตกม้าตายด้วยข้อพิจารณาเรื่อง "ความเหมาะสม" ไปเสียนี่

"ความเหมาะสม" ที่ว่า คืออะไร ก็ต้องพิจารณากันให้ลึกซึ้งถึงคดีเป็นสำคัญ

การใช้อํานาจออกหมายเรียกของพนักงานสอบสวนโดยปราศจากการกลั่นกรองถึงความจําเป็น
ทําให้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าทีควร
ทั้งยังต้องเดือดร้อนดําเนินการยื่นคําร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ
(อ.คณิต ณ นคร 2553)

การกลั่นกรองตามความหมายของอาจารย์คณิต คือ
การพิจารณาพยานหลักฐาน ที่สามารถยืนยันได้ว่า ผู้ที่จะออกหมายเรียกนั้น คือผู้ที่กระทำความผิดอาญา
ไม่ใช่เพียงเพิ่อเป็นเงื่อนไขให้ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อสวบสวนแก้ตัวในข้อกล่าวหา หรือเงื่อนไขเพื่อออกหมายจับเท่านั้น
ด้วย ป.วิ อาญา ม.66 (2) ได้กล่าวไว้ค่อนข้างกว้าง เกี่ยวกับเหตุที่เชื่อว่าน่าจะหลบหนี
ถ้าจะถือเอานิยามของมาตรานี้อย่างเดียวในการออกหมาย ก็คงต้องยอมรับผลที่อาจจะตามมาด้วยในอนาคต

จากคำถาม .....
พนักงานสอบสวนรู้อยู่ว่าผู้ถูกกล่าวหาออกสื่ออยู่กรุงเทพฯ ตลอด
แต่กลับส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนา แม้จะทำตามบทบัญญัติตามกฎหมายก็ตาม
เจตนารมณ์ของการออกหมาย คือการต้องการพบตัว ไม่ใช่การออกหมายที่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายเท่านั้น
หรือ   แจ้งผู้ถูกกล่าวหาผ่านสื่อได้ไหม?
กฎหมายไม่ได้จำกัดการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงการขอให้ไปพบพนักงานสอบสวน
หรืออีกทางหนึ่ง พนักงานสอบสวนสามารถออกไปสอบสวนยังสถานที่ของผู้ถูกกล่าวหาได้
ดังนั้น ตามความเห็นส่วนตัว
พนักงานสอบสวนน่าจะสื่อถึงผู้ถูกกล่าวหาผ่านช่องทางดังกล่าว ว่าพนักงานสอบสวนต้องการพบตัว
เช่นนี้ จึงจะปรากฎแน่ชัดตามพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่