เปลวสีเงิน
http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93
ระบบกฎหมาย-ระบอบทักษิณ'
Thursday, April 28, 2016 - 00:00
ก็สงสัยกัน ถ้า ๑๖ พฤษภา "ธัมมชโย" ยังไม่ยอมไปพบ DSI ตามหมายเรียกอีก แล้วจะยังไงต่อ?
จะเรียกไปเรื่อยๆ หรือ ถึงขั้นต้องรวบ?
กฎหมาย จะ เยส, โน, โอเค ตายตัวไม่ได้ ทางที่ดี วันนี้ มาเรียนให้รู้กติกา "เฉียดคุก" กันซักตั้งดีกว่า
เพราะผมฟังที่ทนายธัมมชโย "นายสัมพันธ์ เสริมชีพ" พูดเมื่อวาน (๒๗ เม.ย.๕๙) เกรงว่า อาจมีคนหลงเชื่อตาม และนั่น อาจเกิดภาวะ "ขี้หมูไหล"
คือนายสัมพันธ์บอกนักข่าวว่า "ทราบจากสื่อ DSI ออกหมายเรียกเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว"
และตั้ง "ประเด็นข้องใจ" ให้นักข่าวเอาไปกระจายต่อว่า........
"เพราะเหตุใด คดีนี้จึงมีการเร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษ และขอยืนยันว่า DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ?"
ตรงนี้แหละที่ผมเห็นว่า คนเป็นทนาย ไม่น่าพูดแบบ "ตะแคงกฎหมายพูด" เช่นนี้
-เร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษ
-เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ
และที่บอก "ขอยืนยันว่า DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวนหรือสอบปากคำธัมมชโย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย" นั้น
นายสัมพันธ์ เป็นทนาย รู้กฎหมายดี โดยเฉพาะ "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"
แล้วเอาขั้นตอนกฎหมายมาพูดครึ่งๆ กลางๆ ด้วยประสงค์ใด?
แจงซิว่า DSI เร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษตรงไหน และเป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ อย่างไร?
ชี้ให้ชัดนะว่า ตรงขั้นตอนไหนที่ DSI เร่งรัด ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่ ป.วิ.อาญา บัญญัติไว้
และตรงไหน ท่านทนายหนวดช่วยบอกเป็นวิทยาทานทีซิว่า......ที่ DSI ทำคดีนี้......"เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ"?
ผมไม่ได้อยู่ในฐานะนักกฎหมาย........
แต่อยู่ในฐานะผู้ต้องหาและจำเลยภายใต้กฎหมายมาหลายสิบคดี เลยค่อนข้างเจนจบขั้นตอนการเข้าพบเจ้าพนักงานสอบสวน
ฉะนั้น วันนี้ ขอเป็น "กฤษณากลั่นสอนน้อง" ซักหน่อย เพราะเกิดก่อน ๑๐ วัน เผื่อธัมมชโยจะเชื่อผมมากกว่าเชื่อทะแนะ
จะเลื่อนพบ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ได้ทั้งนั้น นิมนต์ตามที่สมีชอบเถอะ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนด
แต่เจ้าพนักงาน ในที่นี้ คือ DSI มีสิทธิ์ใช้ดุลยพินิจได้ว่า จะอนุญาตให้เลื่อนได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับ "หลักฐาน-เหตุผล-เจตนา" ตามจริง!
และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเช่นกันว่า จะต้องเลื่อนกี่ครั้ง จึงจะออกหมายจับได้ บางกรณี ออกหมายจับตั้งแต่ครั้งแรกเลยก็ได้
เอ้าดูตามมาตรา ๖๖ เหตุที่จะออกหมายจับ........
(๑) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า บุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(๒) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า บุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
ตามข้อ ๒ ศาลท่านเชื่อว่า "จะไม่หลบหนี" ก็ยัง ชิตัง เม อื๊ดๆ ได้อีกพัก
แต่ถ้า ๑๖ พฤษภา ยังลีลาวดี และพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้ป่วยใกล้ตัด-ใกล้ตาย ตามภาพชวนสยองขวัญวันฮัลโลวีนละก็
ต้องระวัง ถ้า DSI มีดุลยพินิจว่า.......
"เข้าข่าย ไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"
"ชิตัง เม โป้ง...คุก" ละทีนี้!
ถึงเกณฑ์สาวกมากางมุ้งเฝ้า ก็ช่วยได้ประเดี๋ยว-ประด๋าว ในทางยาวลองหมายจับออกมาแล้ว ชื่อเข้าทะเบียนประวัติอาชญากร "หราทั่วโลก"
เจอที่ไหน จับได้ทันที และกับผู้ต้องหาหนีหมายจับ ได้ตัวปุ๊บ ต้องส่งเข้าตะรางก่อนเลย และ...ยากประกัน!
เนี่ย...เห็นพร่ำว่าบริสุทธิ์ หัวมังกุ แต่ตีนเน่า แล้วจะต้องไปหลบ-ไปเลี่ยงทำไม ไปพบ DSI ตามนัด เขาจับเข้าตะรางไม่ได้หรอก
สอบเสร็จ เขาให้ประกันออกไปชิตัง เม อื๊ดๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่จริงและไม่ใช่ อย่างที่ทนายพูดว่า......
"DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย เป็นเรื่องที่ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ?"
เพราะตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔ และ ๑๓๔/๔ บอกชัด
เรื่องถูกหมายเรียกไปพบเจ้าพนักงาน ทั้งผู้เรียกและผู้ถูกเรียก ทำอะไรได้บ้าง?
มาตรา ๑๓๔ เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่า ผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา
ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ
การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่า ผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น
ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้...........ฯลฯ........"
และมาตรา ๑๓๔/๔ ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(๑) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(๒) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใด ก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลย ก็ให้บันทึกไว้.............ฯลฯ.........
เนี่ย...ทนายก็รู้ กฎหมายบอกชัด ผู้ต้องหาคือธัมมชโยต้องเป็นฝ่ายไปพบ DSI ไม่ใช่ DSI ต้องคลานไปพบผู้ต้องหา
ที่พูด "DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย" นั้น
แสดงว่า กฎหมายผิด หรือ ทนายพูดไม่ถูก....หือ?
ขั้นตอนมันมี ตอนนี้ DSI ยังไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรเลย ทนาย "ลัดขั้นตอน" ละเลงล่วงหน้าซะแล้ว
เขาเรียกไปพบ ก็ให้ธัมมชโยไปพบซะ DSI เป็นแค่ขั้นตอนแจกแจงและแจ้งให้ทราบเท่านั้นว่า
เรื่องราวที่ตกเป็นคดีมันเป็นอย่างนี้...อย่างนี้ และท่านถูกกล่าวหาอย่างนี้...อย่างนี้
จากนั้น เจ้าพนักงานเขาก็ถึงจะ "แจ้งข้อหา" ให้ทราบ!
เราจะให้การหรือไม่ให้การอะไรเลยก็ได้ จะแก้ข้อกล่าวหา เอาพยานหลักฐานมาชี้แจง-ยืนยันความบริสุทธิ์ต่อเจ้าพนักงานเลยก็ได้
เป็นหลักปฏิบัติตามกฎหมาย "ทัดเทียมกัน" กับทุกคน-ทุกคดี ไม่ว่ากับคนขายขวด หรือคนขายค้อน
ฉะนั้น ที่พูดเชิงปลุกระดม "เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ" นั้น ไม่ถูกต้อง!
การเฉไป-ไฉมา ออกลีลาหน่วงประวิง "ซื้อเวลา" รอการเมืองเปลี่ยน ก็ดี การเอา "ขาใคร-ตีนใคร" อืดยังกะเอดส์ มาบอกว่าเป็นของนักจัดสรรสวรรค์-นรก ก็ดี
แบบนี้ตะหากที่ "ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ"!
เกมนี้ มันมี "เดิมพัน"..........
คือธรรมกายพันมหาเถรสมาคม และทั้งธรรมกาย-มหาเถรฯ "พันระบอบทักษิณ"
ก็ลองซักตั้งซิ ลงท้าย...ฝ่ายไหนจะเหลือแต่ซาก ระหว่าง "ระบบกฎหมาย กับ ระบอบทักษิณ"?
เปลวสีเงิน: เป็นหลักปฏิบัติตามกฎหมาย "ทัดเทียมกัน"..ที่พูดเชิงปลุกระดม "เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ" นั้น ไม่ถูกต้อง!
http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93
ระบบกฎหมาย-ระบอบทักษิณ'
Thursday, April 28, 2016 - 00:00
ก็สงสัยกัน ถ้า ๑๖ พฤษภา "ธัมมชโย" ยังไม่ยอมไปพบ DSI ตามหมายเรียกอีก แล้วจะยังไงต่อ?
จะเรียกไปเรื่อยๆ หรือ ถึงขั้นต้องรวบ?
กฎหมาย จะ เยส, โน, โอเค ตายตัวไม่ได้ ทางที่ดี วันนี้ มาเรียนให้รู้กติกา "เฉียดคุก" กันซักตั้งดีกว่า
เพราะผมฟังที่ทนายธัมมชโย "นายสัมพันธ์ เสริมชีพ" พูดเมื่อวาน (๒๗ เม.ย.๕๙) เกรงว่า อาจมีคนหลงเชื่อตาม และนั่น อาจเกิดภาวะ "ขี้หมูไหล"
คือนายสัมพันธ์บอกนักข่าวว่า "ทราบจากสื่อ DSI ออกหมายเรียกเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว"
และตั้ง "ประเด็นข้องใจ" ให้นักข่าวเอาไปกระจายต่อว่า........
"เพราะเหตุใด คดีนี้จึงมีการเร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษ และขอยืนยันว่า DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ?"
ตรงนี้แหละที่ผมเห็นว่า คนเป็นทนาย ไม่น่าพูดแบบ "ตะแคงกฎหมายพูด" เช่นนี้
-เร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษ
-เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ
และที่บอก "ขอยืนยันว่า DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวนหรือสอบปากคำธัมมชโย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย" นั้น
นายสัมพันธ์ เป็นทนาย รู้กฎหมายดี โดยเฉพาะ "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"
แล้วเอาขั้นตอนกฎหมายมาพูดครึ่งๆ กลางๆ ด้วยประสงค์ใด?
แจงซิว่า DSI เร่งรัดพิจารณามากเป็นพิเศษตรงไหน และเป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ อย่างไร?
ชี้ให้ชัดนะว่า ตรงขั้นตอนไหนที่ DSI เร่งรัด ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่ ป.วิ.อาญา บัญญัติไว้
และตรงไหน ท่านทนายหนวดช่วยบอกเป็นวิทยาทานทีซิว่า......ที่ DSI ทำคดีนี้......"เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ"?
ผมไม่ได้อยู่ในฐานะนักกฎหมาย........
แต่อยู่ในฐานะผู้ต้องหาและจำเลยภายใต้กฎหมายมาหลายสิบคดี เลยค่อนข้างเจนจบขั้นตอนการเข้าพบเจ้าพนักงานสอบสวน
ฉะนั้น วันนี้ ขอเป็น "กฤษณากลั่นสอนน้อง" ซักหน่อย เพราะเกิดก่อน ๑๐ วัน เผื่อธัมมชโยจะเชื่อผมมากกว่าเชื่อทะแนะ
จะเลื่อนพบ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ได้ทั้งนั้น นิมนต์ตามที่สมีชอบเถอะ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนด
แต่เจ้าพนักงาน ในที่นี้ คือ DSI มีสิทธิ์ใช้ดุลยพินิจได้ว่า จะอนุญาตให้เลื่อนได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับ "หลักฐาน-เหตุผล-เจตนา" ตามจริง!
และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเช่นกันว่า จะต้องเลื่อนกี่ครั้ง จึงจะออกหมายจับได้ บางกรณี ออกหมายจับตั้งแต่ครั้งแรกเลยก็ได้
เอ้าดูตามมาตรา ๖๖ เหตุที่จะออกหมายจับ........
(๑) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า บุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(๒) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า บุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
ตามข้อ ๒ ศาลท่านเชื่อว่า "จะไม่หลบหนี" ก็ยัง ชิตัง เม อื๊ดๆ ได้อีกพัก
แต่ถ้า ๑๖ พฤษภา ยังลีลาวดี และพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้ป่วยใกล้ตัด-ใกล้ตาย ตามภาพชวนสยองขวัญวันฮัลโลวีนละก็
ต้องระวัง ถ้า DSI มีดุลยพินิจว่า.......
"เข้าข่าย ไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"
"ชิตัง เม โป้ง...คุก" ละทีนี้!
ถึงเกณฑ์สาวกมากางมุ้งเฝ้า ก็ช่วยได้ประเดี๋ยว-ประด๋าว ในทางยาวลองหมายจับออกมาแล้ว ชื่อเข้าทะเบียนประวัติอาชญากร "หราทั่วโลก"
เจอที่ไหน จับได้ทันที และกับผู้ต้องหาหนีหมายจับ ได้ตัวปุ๊บ ต้องส่งเข้าตะรางก่อนเลย และ...ยากประกัน!
เนี่ย...เห็นพร่ำว่าบริสุทธิ์ หัวมังกุ แต่ตีนเน่า แล้วจะต้องไปหลบ-ไปเลี่ยงทำไม ไปพบ DSI ตามนัด เขาจับเข้าตะรางไม่ได้หรอก
สอบเสร็จ เขาให้ประกันออกไปชิตัง เม อื๊ดๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่จริงและไม่ใช่ อย่างที่ทนายพูดว่า......
"DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย เป็นเรื่องที่ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ?"
เพราะตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔ และ ๑๓๔/๔ บอกชัด
เรื่องถูกหมายเรียกไปพบเจ้าพนักงาน ทั้งผู้เรียกและผู้ถูกเรียก ทำอะไรได้บ้าง?
มาตรา ๑๓๔ เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่า ผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา
ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ
การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่า ผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น
ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้...........ฯลฯ........"
และมาตรา ๑๓๔/๔ ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(๑) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(๒) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใด ก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลย ก็ให้บันทึกไว้.............ฯลฯ.........
เนี่ย...ทนายก็รู้ กฎหมายบอกชัด ผู้ต้องหาคือธัมมชโยต้องเป็นฝ่ายไปพบ DSI ไม่ใช่ DSI ต้องคลานไปพบผู้ต้องหา
ที่พูด "DSI ไม่เคยเข้ามาสอบสวน หรือสอบปากคำ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แต่จะแจ้งข้อกล่าวหาเลย" นั้น
แสดงว่า กฎหมายผิด หรือ ทนายพูดไม่ถูก....หือ?
ขั้นตอนมันมี ตอนนี้ DSI ยังไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรเลย ทนาย "ลัดขั้นตอน" ละเลงล่วงหน้าซะแล้ว
เขาเรียกไปพบ ก็ให้ธัมมชโยไปพบซะ DSI เป็นแค่ขั้นตอนแจกแจงและแจ้งให้ทราบเท่านั้นว่า
เรื่องราวที่ตกเป็นคดีมันเป็นอย่างนี้...อย่างนี้ และท่านถูกกล่าวหาอย่างนี้...อย่างนี้
จากนั้น เจ้าพนักงานเขาก็ถึงจะ "แจ้งข้อหา" ให้ทราบ!
เราจะให้การหรือไม่ให้การอะไรเลยก็ได้ จะแก้ข้อกล่าวหา เอาพยานหลักฐานมาชี้แจง-ยืนยันความบริสุทธิ์ต่อเจ้าพนักงานเลยก็ได้
เป็นหลักปฏิบัติตามกฎหมาย "ทัดเทียมกัน" กับทุกคน-ทุกคดี ไม่ว่ากับคนขายขวด หรือคนขายค้อน
ฉะนั้น ที่พูดเชิงปลุกระดม "เป็นเรื่องผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ" นั้น ไม่ถูกต้อง!
การเฉไป-ไฉมา ออกลีลาหน่วงประวิง "ซื้อเวลา" รอการเมืองเปลี่ยน ก็ดี การเอา "ขาใคร-ตีนใคร" อืดยังกะเอดส์ มาบอกว่าเป็นของนักจัดสรรสวรรค์-นรก ก็ดี
แบบนี้ตะหากที่ "ผิดปกติกว่าคดีอื่นๆ"!
เกมนี้ มันมี "เดิมพัน"..........
คือธรรมกายพันมหาเถรสมาคม และทั้งธรรมกาย-มหาเถรฯ "พันระบอบทักษิณ"
ก็ลองซักตั้งซิ ลงท้าย...ฝ่ายไหนจะเหลือแต่ซาก ระหว่าง "ระบบกฎหมาย กับ ระบอบทักษิณ"?