ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมโพสในกระทู้พันทิปนะครับ ด้วยมีคนรู้จักถามว่า ในมุมมองจิตวิทยา มีคำอธิบายปรากฏการณ์กระแสละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” อย่างไรบ้าง ผมตอบคำถามนี้ไป แล้วคิดว่าจะมีประโยชน์มากขึ้น หากนำมาแลกเปลี่ยนในพื้นที่สาธารณะ จึงเขียนกระทู้นี้ขึ้นครับ
สำหรับเรื่องนี้ ผมเห็นว่ามีปัจจัยที่ประกอบกันหลายด้าน ปัจจัยแรก เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สำคัญมากที่ช่วยกระพือกระแสของละครเรื่องนี้ให้แผ่กว้างออกไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยความที่เป็นปรากฏการณ์ไวรัล ย่อมส่งผลในเชิงจิตวิทยาในการกระตุ้นความรู้สึกให้คนที่ไม่เคยดู เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และอาจส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการคล้อยตามคนหมู่มาก (conformity) เพราะ ธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์นั้นมักไม่ต้องการที่จะผิดแผกแตกต่างจากคนทั่วไป รวมทั้งมีความปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือมีส่วนร่วมกับกระแสสังคมดังกล่าว
ปัจจัยต่อมาผมมองว่าเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของละครเอง โดยขอแยกปัจจัยด้านนี้ออกเป็น ๒ ปัจจัยย่อย คือ ตัวละคร และ โครงเรื่อง
ในแง่ของตัวละครแต่ละตัวนั้น ผู้จัดละครรู้ดีว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จึงเน้นนักแสดง (โดยมากเป็นผู้ชาย) ที่มีรูปร่างหน้าตางดงามตามคตินิยมความงามในสังคมไทยปัจจุบัน ที่สำคัญ คือ ตัวละครเหล่านี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหลากหลายช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก๋าลายครามอย่างออกญาโหราธิบดี ช่วงกลาง อย่างหมื่นสุนทรเทวา หรือ หมื่นเรืองราชภักดี แม้กระทั่งข้ารับใช้ อย่าง “ไอ้จ้อย” ก็ได้รับการคัดสรรรูปร่างหน้าตามาแล้วเป็นอย่างดี
ในส่วนของโครงเรื่องนั้น ถึงแม้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะละครที่มีโครงเรื่องลักษณะแบบเดียวกันนี้มีมาก่อนหลายเรื่องแล้วก็ตาม แต่ที่เห็นว่าแตกต่างจนดึงดูดความสนใจผู้ชมได้อย่างมากนั้น อาจแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นย่อย คือ
ก. การนำเสนอเรื่องราวในลักษณะที่ผิดไปจากความคาดหมายของคนทั่วไปเพื่อสร้างภาพจำในเชิงตลกขบขัน: ละครเรื่องนี้เป็นละครที่มีเนื้อหาไม่หนักมาก ตลกขบขัน และเบาสมอง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนที่ต้องเผชิญกับความตึงเครียดในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องความตลกขบขัน คำถามคือ ทำไมเราถึงรู้สึกขบขันกับบทละครเรื่องนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับความตลกขบขันนั้น มีแนวคิดทางจิตวิทยาที่สามารถนำมาอธิบายละครเรื่องนี้ได้ ๒ แนวคิด คือ แนวคิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย (unexpected event) และ แนวคิดการแหกกฎเพียงเล็กน้อย (benign violation) ซึ่งแนวคิดแรกเสนอว่า ความตลกขบขันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย ขณะที่แนวคิดหลังเห็นว่าความตลกขบขันอาจเกิดจากการแหกขนบหรือละเมิดกฎเกณฑ์บางอย่างเพียงเล็กน้อย โดยไม่ส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรง
ทั้งนี้เห็นได้จากที่ในละครทั่วไปมักสร้างให้ตัวพระและตัวนางมีลักษณะของความสมบูรณ์แบบตามอุดมคติ คือ มีรูปร่างหน้าตางดงาม กริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจดี ฯลฯ แต่ในละครเรื่องนี้ แทนที่จะสร้างให้นางเอกมีภาพลักษณ์ตามอุคติของหญิงไทยสมัยอยุธยาเช่นเดียวกับแม่หญิงจันทร์วาด กลับสร้างนางเอกให้มีลักษณะที่ผิดไปจากความคาดหมายเหล่านี้ เช่น การทำท่าทางเลียนแบบกิ๊ก สุวัจนี หรือ การแสดงพฤติกรรม เข้าขั้นกระโดกกระเดกห่างจากมาตรฐานพฤติกรรมแม่หญิงในแบบฉบับโบราณ เป็นต้น นอกจากนี้ บ่อยครั้งที่นางเอกแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นการแหกกฎหรือขนบบางอย่างทางสังคม โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง เช่น การใช้คำพูดคำจาที่ผิดแผกไปจากคนทั่วไป การคิดประดิษฐ์สร้างสิ่งแปลกใหม่ในยุคสมัยที่ไม่สามารถจินตนาการถึงสิ่งเหล่านั้นได้ เช่น เมนูอาหารแปลกๆ กระทะ หรือ เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ผู้ชมมองเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าสิ่งเหล่านี้ตอบสนองความต้องการส่วนลึกของมนุษย์ที่ปรารถนาจะแหกกฎระเบียบต่างๆ และต้องการเป็นอิสระจากกรอบที่สังคมกำหนด
ข. การสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครหลักของเรื่องภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบอุดมคติ: ในเรื่องนี้ตัวละครหลักสองตัวถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยพระเอกถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบในอุดมคติ กล่าวคือ มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีรูปร่างหน้าตาดี มีกิริยามารยาทดี มีความรู้ความสามารถ ในขณะที่นางเอกถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของคน (ดู) ทั่วไปที่ยังมีความไม่สมบูรณ์แบบปนอยู่ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมติดละครเรื่องนี้มาก อาจเกิดจากการที่ตัวพระเอกซึ่งเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกลียดนางเอก (ตัวแทนของความไม่สมบูรณ์แบบ) ได้แสดงความรู้สึกรัก ห่วงใย ใส่ใจ และยอมอ่อนข้อให้แก่นางเอกในหลายๆ ครั้ง เหล่านี้มีนัยยะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจเหนือกว่า หรือ แสดงถึงความพ่ายแพ้ต่อความไม่สมบูรณ์แบบ (ของนางเอก) ซึ่งล้วนเป็นอุดมคติของผู้ชม (หญิง) ส่วนใหญ่
ยิ่งกว่านั้น ละครยังเอาใจผู้ชม โดยการกระชากความสมบูรณ์แบบของตัวพระเอกให้เผลอทำตัวเปิ่น เด๋อ เซ่อซ่า ในบางครั้ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่า ตัวพระเอก (ซึ่งเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบ) นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ เอื้อมถึงได้ และไม่ได้แตกต่างจากตนมากนัก เพราะในโลกของความเป็นจริงที่แต่ละคนล้วนรู้สึกว่าตนเองยังไม่สมบูรณ์แบบนั้น การเอื้อมไปสัมผัสสิ่งที่สมบูรณ์แบบ (สิ่งที่เหนือกว่า/สูงกว่า) เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย การทำให้สิ่งนั้นลดต่ำลงมา หรือมีลักษณะใกล้เคียงกับตน เป็นเรื่องง่ายและเป็นไปได้มากกว่า นั่นยิ่งเป็นการตอกย้ำและเชื้อเชิญให้บรรดาผู้ชม (หญิง) ทั้งหลายตกอยู่ในห้วงจินตนาการของความรักแบบอุดมคติเนื่องด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความสมบูรณ์แบบและไม่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ค. การนำเสนอเนื้อหาและเรื่องราวภายใต้ชุดความเชื่อตามมาตรฐานของคนในสังคมไทยปัจจุบันผ่านตัวละครสำคัญ: ต้องยอมรับว่าในละครเรื่องนี้ นางเอก เป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญ โดยถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของคนยุคนี้ ที่พกพาแนวคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันไปใช้ในสังคมที่แนวคิดดังกล่าวไม่เป็นที่พูดถึง เห็นได้จากการที่นางเอกพยายามต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย และความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ละครยังนำเสนอชุดความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นชาติที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม ผ่านฉากต่างๆ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยนั้น ซึ่งแนวคิดเชิงชาตินิยมลักษณะนี้ เกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสความขัดแย้งและแข่งขันกันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ชาติมหาอำนาจต่างพากันสร้างฐานอำนาจให้กับตนเอง ทั้งแนวคิดเรื่อง "Make America Great Again" หรือ "One China Policy" เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศเล็กๆ อย่างเรา ดังนั้น สำนึกรักความเป็นชาติจึงเป็นสิ่งที่คนในสังคมโหยหา และกลายเป็นชุดความเชื่อมาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตนเอง จึงไม่แปลกที่กระแสแนวคิดดังกล่าวซึ่งถ่ายทอดผ่านตัวละครหลักในเรื่องนี้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
กระแสละครเรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ในมุมองจิตวิทยา
สำหรับเรื่องนี้ ผมเห็นว่ามีปัจจัยที่ประกอบกันหลายด้าน ปัจจัยแรก เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สำคัญมากที่ช่วยกระพือกระแสของละครเรื่องนี้ให้แผ่กว้างออกไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยความที่เป็นปรากฏการณ์ไวรัล ย่อมส่งผลในเชิงจิตวิทยาในการกระตุ้นความรู้สึกให้คนที่ไม่เคยดู เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และอาจส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการคล้อยตามคนหมู่มาก (conformity) เพราะ ธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์นั้นมักไม่ต้องการที่จะผิดแผกแตกต่างจากคนทั่วไป รวมทั้งมีความปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือมีส่วนร่วมกับกระแสสังคมดังกล่าว
ปัจจัยต่อมาผมมองว่าเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของละครเอง โดยขอแยกปัจจัยด้านนี้ออกเป็น ๒ ปัจจัยย่อย คือ ตัวละคร และ โครงเรื่อง
ในแง่ของตัวละครแต่ละตัวนั้น ผู้จัดละครรู้ดีว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จึงเน้นนักแสดง (โดยมากเป็นผู้ชาย) ที่มีรูปร่างหน้าตางดงามตามคตินิยมความงามในสังคมไทยปัจจุบัน ที่สำคัญ คือ ตัวละครเหล่านี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหลากหลายช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก๋าลายครามอย่างออกญาโหราธิบดี ช่วงกลาง อย่างหมื่นสุนทรเทวา หรือ หมื่นเรืองราชภักดี แม้กระทั่งข้ารับใช้ อย่าง “ไอ้จ้อย” ก็ได้รับการคัดสรรรูปร่างหน้าตามาแล้วเป็นอย่างดี
ในส่วนของโครงเรื่องนั้น ถึงแม้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะละครที่มีโครงเรื่องลักษณะแบบเดียวกันนี้มีมาก่อนหลายเรื่องแล้วก็ตาม แต่ที่เห็นว่าแตกต่างจนดึงดูดความสนใจผู้ชมได้อย่างมากนั้น อาจแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นย่อย คือ
ก. การนำเสนอเรื่องราวในลักษณะที่ผิดไปจากความคาดหมายของคนทั่วไปเพื่อสร้างภาพจำในเชิงตลกขบขัน: ละครเรื่องนี้เป็นละครที่มีเนื้อหาไม่หนักมาก ตลกขบขัน และเบาสมอง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนที่ต้องเผชิญกับความตึงเครียดในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องความตลกขบขัน คำถามคือ ทำไมเราถึงรู้สึกขบขันกับบทละครเรื่องนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับความตลกขบขันนั้น มีแนวคิดทางจิตวิทยาที่สามารถนำมาอธิบายละครเรื่องนี้ได้ ๒ แนวคิด คือ แนวคิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย (unexpected event) และ แนวคิดการแหกกฎเพียงเล็กน้อย (benign violation) ซึ่งแนวคิดแรกเสนอว่า ความตลกขบขันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย ขณะที่แนวคิดหลังเห็นว่าความตลกขบขันอาจเกิดจากการแหกขนบหรือละเมิดกฎเกณฑ์บางอย่างเพียงเล็กน้อย โดยไม่ส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรง
ทั้งนี้เห็นได้จากที่ในละครทั่วไปมักสร้างให้ตัวพระและตัวนางมีลักษณะของความสมบูรณ์แบบตามอุดมคติ คือ มีรูปร่างหน้าตางดงาม กริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจดี ฯลฯ แต่ในละครเรื่องนี้ แทนที่จะสร้างให้นางเอกมีภาพลักษณ์ตามอุคติของหญิงไทยสมัยอยุธยาเช่นเดียวกับแม่หญิงจันทร์วาด กลับสร้างนางเอกให้มีลักษณะที่ผิดไปจากความคาดหมายเหล่านี้ เช่น การทำท่าทางเลียนแบบกิ๊ก สุวัจนี หรือ การแสดงพฤติกรรม เข้าขั้นกระโดกกระเดกห่างจากมาตรฐานพฤติกรรมแม่หญิงในแบบฉบับโบราณ เป็นต้น นอกจากนี้ บ่อยครั้งที่นางเอกแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นการแหกกฎหรือขนบบางอย่างทางสังคม โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง เช่น การใช้คำพูดคำจาที่ผิดแผกไปจากคนทั่วไป การคิดประดิษฐ์สร้างสิ่งแปลกใหม่ในยุคสมัยที่ไม่สามารถจินตนาการถึงสิ่งเหล่านั้นได้ เช่น เมนูอาหารแปลกๆ กระทะ หรือ เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ผู้ชมมองเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าสิ่งเหล่านี้ตอบสนองความต้องการส่วนลึกของมนุษย์ที่ปรารถนาจะแหกกฎระเบียบต่างๆ และต้องการเป็นอิสระจากกรอบที่สังคมกำหนด
ข. การสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครหลักของเรื่องภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบอุดมคติ: ในเรื่องนี้ตัวละครหลักสองตัวถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยพระเอกถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบในอุดมคติ กล่าวคือ มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีรูปร่างหน้าตาดี มีกิริยามารยาทดี มีความรู้ความสามารถ ในขณะที่นางเอกถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของคน (ดู) ทั่วไปที่ยังมีความไม่สมบูรณ์แบบปนอยู่ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมติดละครเรื่องนี้มาก อาจเกิดจากการที่ตัวพระเอกซึ่งเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกลียดนางเอก (ตัวแทนของความไม่สมบูรณ์แบบ) ได้แสดงความรู้สึกรัก ห่วงใย ใส่ใจ และยอมอ่อนข้อให้แก่นางเอกในหลายๆ ครั้ง เหล่านี้มีนัยยะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจเหนือกว่า หรือ แสดงถึงความพ่ายแพ้ต่อความไม่สมบูรณ์แบบ (ของนางเอก) ซึ่งล้วนเป็นอุดมคติของผู้ชม (หญิง) ส่วนใหญ่
ยิ่งกว่านั้น ละครยังเอาใจผู้ชม โดยการกระชากความสมบูรณ์แบบของตัวพระเอกให้เผลอทำตัวเปิ่น เด๋อ เซ่อซ่า ในบางครั้ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่า ตัวพระเอก (ซึ่งเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์แบบ) นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ เอื้อมถึงได้ และไม่ได้แตกต่างจากตนมากนัก เพราะในโลกของความเป็นจริงที่แต่ละคนล้วนรู้สึกว่าตนเองยังไม่สมบูรณ์แบบนั้น การเอื้อมไปสัมผัสสิ่งที่สมบูรณ์แบบ (สิ่งที่เหนือกว่า/สูงกว่า) เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย การทำให้สิ่งนั้นลดต่ำลงมา หรือมีลักษณะใกล้เคียงกับตน เป็นเรื่องง่ายและเป็นไปได้มากกว่า นั่นยิ่งเป็นการตอกย้ำและเชื้อเชิญให้บรรดาผู้ชม (หญิง) ทั้งหลายตกอยู่ในห้วงจินตนาการของความรักแบบอุดมคติเนื่องด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความสมบูรณ์แบบและไม่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ค. การนำเสนอเนื้อหาและเรื่องราวภายใต้ชุดความเชื่อตามมาตรฐานของคนในสังคมไทยปัจจุบันผ่านตัวละครสำคัญ: ต้องยอมรับว่าในละครเรื่องนี้ นางเอก เป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญ โดยถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของคนยุคนี้ ที่พกพาแนวคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันไปใช้ในสังคมที่แนวคิดดังกล่าวไม่เป็นที่พูดถึง เห็นได้จากการที่นางเอกพยายามต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย และความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ละครยังนำเสนอชุดความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นชาติที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม ผ่านฉากต่างๆ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยนั้น ซึ่งแนวคิดเชิงชาตินิยมลักษณะนี้ เกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสความขัดแย้งและแข่งขันกันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ชาติมหาอำนาจต่างพากันสร้างฐานอำนาจให้กับตนเอง ทั้งแนวคิดเรื่อง "Make America Great Again" หรือ "One China Policy" เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศเล็กๆ อย่างเรา ดังนั้น สำนึกรักความเป็นชาติจึงเป็นสิ่งที่คนในสังคมโหยหา และกลายเป็นชุดความเชื่อมาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตนเอง จึงไม่แปลกที่กระแสแนวคิดดังกล่าวซึ่งถ่ายทอดผ่านตัวละครหลักในเรื่องนี้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี