รมว.พม. เป็นประธานวางศิลาฤกษ์สร้างบ้านชุมชนริมคลองอีก 280 หลัง รองรับชาวบ้าน 7 ชุมชน ใช้งบ 134 ล้านบาท เผยยอดสร้างบ้านริมคลองเสร็จแล้ว 1,158 หลัง
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และคณะ พร้อมด้วยนายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และนางรัตนธร รัตนสกุล ผู้อำนวยการเขตสายไหม ได้เดินทางมาที่สถานที่ก่อสร้างบ้านมั่นคง ซอยพหลโยธิน 54/1 เขตสายไหม เพื่อเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างบ้านมั่นคงของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงเลียบคลองสองสามัคคี จำกัด โดยมีตัวแทนหน่วนงานที่เกี่ยวข้องและชาวชุมชนริมคลองเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน หลังจากนั้นพลเอก อนันตพรและคณะได้ลงเรือสำรวจชุมชนริมคลองสอง (คลองลาดพร้าว) เขตสายไหม และเยี่ยมเยียนชาวชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พม. กล่าวว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญหลายด้าน ซึ่งนโยบายการบริหารจัดการสิ่งรุกล้ำลำคลองก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ เพราะปัจจุบันมีการปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำลงไปในคลองจำนวนมาก โดยเฉพาะในคลองลาดพร้าวที่เป็นคลองระบายน้ำที่สำคัญในเขตกรุงเทพฯ ทำให้เกิดปัญหาน้ำในคลองระบายไม่ทัน ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้กรุงเทพมหานครสร้างเขื่อนคอนกรีตเพื่อระบายน้ำ และให้มีการรื้อย้ายบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่ในลำคลองและบนที่ดินริมคลองของราชพัสดุออกไป โดยให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
“รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างเขื่อน จึงให้ พอช.จัดทำโครงการที่อยู่อาศัยรองรับ หากชุมชนใดอยู่อาศัยในที่ดินเดิมได้ ก็จะต้องรื้อย้ายเพื่อสร้างบ้านใหม่ โดยเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ เปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุก เป็นผู้เช่าที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นที่ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ ส่วนชุมชนใดที่มีพื้นที่ไม่เพียงพอก็จะรวมตัวกันจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อปลูกสร้างบ้านใหม่ เช่นที่ชุมชนเลียบคลองสองสามัคคีที่กำลังสร้างบ้านอยู่ในขณะนี้ โดย พอช.จะสนับสนุนสินเชื่อและให้งบประมาณสนับสนุน ทำให้พี่น้องชาวชุมชนริมคลองมีบ้านใหม่ที่มั่นคง สวยงาม มีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเมื่อสร้างบ้านใหม่เสร็จแล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนต่อไป” พลเอกอนันตพรกล่าว
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยคลองลาดพร้าวในปี 2558 ในรูปแบบให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น ร่วมออกแบบบ้านตามความต้องการ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้าน จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบและบริหารงาน เช่น มีกรรมการฝ่ายบัญชี/การเงิน กรรมการตรวจสอบ กรรมการสืบราคา ตรวจสอบงวดงานก่อสร้าง ฯลฯ
ส่วนรูปแบบการสร้างบ้านจะมี 2 แบบ คือ 1.หากเป็นพื้นที่ที่ชุมชนสามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ จะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ช่วงแรก 30 ปี (อัตราตารางวาละ 1.50-2.00 บาท/เดือน) หลังจากรื้อย้ายบ้านพ้นจากแนวคลองและแนวก่อสร้างเขื่อนแล้ว จะมีการปรับผังชุมชนใหม่ โดยแบ่งที่ดินก่อสร้างบ้านให้ทุกครอบครัวเท่ากัน เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมได้ ขนาดบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านแถว 2 ชั้น ขนาด 4X6 และ 4X7 ตารางเมตร ราคาค่าก่อสร้างบ้านประมาณหลังละ 250,000—350,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้างบ้านประมาณ 8 เดือน
2.หากอาศัยอยู่ในชุมชนเดิมไม่ได้ ชาวชุมชนอาจรวมตัวกันไปหาที่ดินใหม่ (ซื้อที่ดินจากเอกชนในราคาที่ชุมชนสามารถรับภาระได้) แล้วก่อสร้างบ้านใหม่ เช่น ชุมชนเลียบคลองสองโซน 1, ชุมชนเลียบคลองสองโซน 2, ชุมชนเลียบคลองสองโซน 3 ซึ่งซื้อที่ดินและขณะนี้กำลังก่อสร้างบ้านใหม่ในเขตสายไหม (ขนาดบ้านประมาณ 4X8 ตารางเมตร โดย พอช.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินและก่อสร้างบ้านใหม่ ผ่อนชำระเดือนละประมาณ 2,500-2,800 บาท)
ทั้งสองกรณี พอช.จะสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง โดยแยกเป็น 1.งบพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ครัวเรือนละ 50,000 บาท 2.อุดหนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย (สมทบปลูกสร้างบ้าน,ซื้อที่ดิน) ครัวเรือนละ 25,000 บาท 3.งบช่วยเหลือแบ่งเบาผู้ได้รับผลกระทบ (ค่าที่พักชั่วคราว,ลดภาระหนี้สินในการกู้เงินสร้างบ้าน ฯลฯ) ครัวเรือนละ 72,000 บาท 4.งบบริหารจัดการ ชุมชนละ 50,000-500,000 บาท 5.งบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 330,000-360,000 บาท ชำระคืนภายใน 20 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 บาทต่อปี
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานครระบุว่า ขณะนี้บริษัทริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างเขื่อนไปแล้วประมาณ 18,123 ต้น จากเป้าหมายทั้งหมด 60,000 ต้น หรือคิดเป็นเนื้องานประมาณ 30.21 % ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าแผนงานมาก ดังนั้น กทม.จึงเร่งให้บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็มเพิ่มอีก 5,000 ต้นภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีต ค.ส.ล.และประตูระบายน้ำในคลองลาดพร้าว (คลองบางบัว-คลองถนน-คลองสอง) และคลองบางซื่อ จะเริ่มจากบริเวณอุโมงค์เขื่อนพระราม 9 เขตวังทองหลาง ไปยังประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ เขตสายไหม เพื่อระบายน้ำลงสู่อุโมงค์คลองบางซื่อ อุโมงค์เขื่อนพระราม 9 ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และลงสู่ทะเลต่อไป
รมว.พม.เป็นประธานวางศิลาฤกษ์สร้างบ้านชุมชนริมคลองอีก 280 หลัง
“รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างเขื่อน จึงให้ พอช.จัดทำโครงการที่อยู่อาศัยรองรับ หากชุมชนใดอยู่อาศัยในที่ดินเดิมได้ ก็จะต้องรื้อย้ายเพื่อสร้างบ้านใหม่ โดยเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ เปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุก เป็นผู้เช่าที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นที่ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ ส่วนชุมชนใดที่มีพื้นที่ไม่เพียงพอก็จะรวมตัวกันจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อปลูกสร้างบ้านใหม่ เช่นที่ชุมชนเลียบคลองสองสามัคคีที่กำลังสร้างบ้านอยู่ในขณะนี้ โดย พอช.จะสนับสนุนสินเชื่อและให้งบประมาณสนับสนุน ทำให้พี่น้องชาวชุมชนริมคลองมีบ้านใหม่ที่มั่นคง สวยงาม มีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเมื่อสร้างบ้านใหม่เสร็จแล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนต่อไป” พลเอกอนันตพรกล่าว
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยคลองลาดพร้าวในปี 2558 ในรูปแบบให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น ร่วมออกแบบบ้านตามความต้องการ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้าน จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบและบริหารงาน เช่น มีกรรมการฝ่ายบัญชี/การเงิน กรรมการตรวจสอบ กรรมการสืบราคา ตรวจสอบงวดงานก่อสร้าง ฯลฯ
ส่วนรูปแบบการสร้างบ้านจะมี 2 แบบ คือ 1.หากเป็นพื้นที่ที่ชุมชนสามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ จะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ช่วงแรก 30 ปี (อัตราตารางวาละ 1.50-2.00 บาท/เดือน) หลังจากรื้อย้ายบ้านพ้นจากแนวคลองและแนวก่อสร้างเขื่อนแล้ว จะมีการปรับผังชุมชนใหม่ โดยแบ่งที่ดินก่อสร้างบ้านให้ทุกครอบครัวเท่ากัน เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมได้ ขนาดบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านแถว 2 ชั้น ขนาด 4X6 และ 4X7 ตารางเมตร ราคาค่าก่อสร้างบ้านประมาณหลังละ 250,000—350,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้างบ้านประมาณ 8 เดือน
2.หากอาศัยอยู่ในชุมชนเดิมไม่ได้ ชาวชุมชนอาจรวมตัวกันไปหาที่ดินใหม่ (ซื้อที่ดินจากเอกชนในราคาที่ชุมชนสามารถรับภาระได้) แล้วก่อสร้างบ้านใหม่ เช่น ชุมชนเลียบคลองสองโซน 1, ชุมชนเลียบคลองสองโซน 2, ชุมชนเลียบคลองสองโซน 3 ซึ่งซื้อที่ดินและขณะนี้กำลังก่อสร้างบ้านใหม่ในเขตสายไหม (ขนาดบ้านประมาณ 4X8 ตารางเมตร โดย พอช.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินและก่อสร้างบ้านใหม่ ผ่อนชำระเดือนละประมาณ 2,500-2,800 บาท)
ทั้งสองกรณี พอช.จะสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง โดยแยกเป็น 1.งบพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ครัวเรือนละ 50,000 บาท 2.อุดหนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย (สมทบปลูกสร้างบ้าน,ซื้อที่ดิน) ครัวเรือนละ 25,000 บาท 3.งบช่วยเหลือแบ่งเบาผู้ได้รับผลกระทบ (ค่าที่พักชั่วคราว,ลดภาระหนี้สินในการกู้เงินสร้างบ้าน ฯลฯ) ครัวเรือนละ 72,000 บาท 4.งบบริหารจัดการ ชุมชนละ 50,000-500,000 บาท 5.งบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 330,000-360,000 บาท ชำระคืนภายใน 20 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 บาทต่อปี
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานครระบุว่า ขณะนี้บริษัทริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างเขื่อนไปแล้วประมาณ 18,123 ต้น จากเป้าหมายทั้งหมด 60,000 ต้น หรือคิดเป็นเนื้องานประมาณ 30.21 % ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าแผนงานมาก ดังนั้น กทม.จึงเร่งให้บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็มเพิ่มอีก 5,000 ต้นภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีต ค.ส.ล.และประตูระบายน้ำในคลองลาดพร้าว (คลองบางบัว-คลองถนน-คลองสอง) และคลองบางซื่อ จะเริ่มจากบริเวณอุโมงค์เขื่อนพระราม 9 เขตวังทองหลาง ไปยังประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ เขตสายไหม เพื่อระบายน้ำลงสู่อุโมงค์คลองบางซื่อ อุโมงค์เขื่อนพระราม 9 ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และลงสู่ทะเลต่อไป