สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
หลักฐานเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ Du Royaume de Siam ของ ซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทูตพิเศษชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ. ๒๒๓๐ ตัวลาลูแบร์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสยามประมาณ ๓ เดือน และได้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของชาวสยามไว้อย่างละเอียด ทั้งประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป ฯลฯ แปลเป็นภาษาไทยโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ในชื่อ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม”
ลาลูแบร์ ได้กล่าวถึงสรรพนามที่คนอยุทธยายุคนั้นใช้ไว้อย่างละเอียด (อ้างอิงตามฉบับภาษาไทยของ สันต์ ท. โกมลบุตร) สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๑ มีดังต่อไปนี้
“กู (cou), ข้า (câ), เรา (râou), อาตมาภาพ (átamapapp), ข้าเจ้า (câ-tchéou), ข้าพเจ้า (câ-ppa-tchéou), อตนุ (atanou) เป็นคำ ๘ คำที่หมายความว่า ฉัน (je) หรือ เรา (nous) ด้วยไม่มีความแตกต่างกันเลย ระหว่างพหูพจน์กับเอกพจน์.
กู เป็นคำที่นายเจรจากับบ่าวทาสของตน.
ข้า เป็นคำแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และในทางมรรยาทระหว่างบุคคลที่มีฐานะเสมอบ่าเสมอไหล่กัน พระภิกษุไม่ใช้คำๆ นี้เลยเป็นอันขาด ด้วยเชื่อว่าตนมีศักดิ์เหนือกว่าคนทั้งปวง.
เรา แสดงความเป็นใหญ่เป็นโต หรือสูงศักดิ์กว่า ดังที่เราใช้ในบทเจรจาในบทละครว่า เราผู้นั้น เราผู้นี้ (Nous tel) เป็นต้น.
รูป (roup) ว่ามีความอย่างธรรมดาว่า ร่างกาย (corps) คล้ายกับจะพูดว่า รางกายของฉัน (mon corps) ฉะนั้น มีแต่พระภิกษุเท่านั้นที่ใช้คำนี้เป็นลางครั้งลางคราว.
อาตมาภาพ เป็นคำภาษาบาลีที่พระภิกษุใช้เรียกตัวเองยิ่งกว่าคำอื่นๆ.
ข้าเจ้า ประกอบด้วยคำว่า ข้า อันหมายความว่า ฉัน, กระผม (moy) กับคำว่า เจ้า อันหมายความว่า เจ้านาย (seigneur) ดังจะกล่าวว่า กระผมของเจ้านาย (moy-du Seigneur) หรือ กระผมผู้ขึ้นอยู่กับเจ้านาย (moy qui appartiens à vous Monseigneur) หมายความว่า กระผมผู้เป็นบ่าวทาสของพระเดชพระคุณ. เป็นคำที่บ่าวทาสใช้ต่อเจ้าขุนมูลนายของตน ราษฎรสามัญใช้ต่อขุนนางผู้ใหญ่ และคนทั่วๆ ไปใช้ต่อพระภิกษุ.
ข้าพเจ้า เป็นคำที่มีลักษณะแสดงความอ่อนน้อมกว่า
อตนุ เป็นคำภาษาบาลี นำมาใช้ในภาษาสยามเมื่อ ๓ หรือ ๔ ปีมานี้เอง ใช้เรียกตัวเองเป็นคำกลาง ๆ คือไม่ยกตนหรือว่าอ่อนน้อมถ่อมต้นจนเกินไปนัก”
คำส่วนใหญ่เชื่อว่าคนไทยปัจจุบันน่าจะคุ้นเคยดี เว้นแต่ atanou ซึ่ง สันต์ ท. โกมลบุตร ผู้แปลแปลเป็น อตนุ เข้าใจว่าคงพยายามถอดเสียงให้ใกล้เคียงกับภาษาฝรั่งเศสมากที่สุด
แต่จริงๆ แล้วคำนี้พบหลักฐานร่วมสมัยสะกดว่า “อัตโน” มาจากภาษาบาลีคือ “อตฺตโน” แปลว่า แห่งตน, เป็นของตน
คำว่า “อัตโน” พบในหลักฐานจดหมายที่เขียนในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา) หลายฉบับ โดยเป็นคำที่คณะทูตกรุงศรีอยุทธยาของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวในจดหมาย ๒ ฉบับที่เขียนถึงข้าราชการชาวฝรั่งเศส ได้แก่ มาร์กีส์ เดอ เซนเญอเลย์ (Jean-Baptiste Colbert, Marquis de Seignelay) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส และ เมอร์ซิเออร์ลาญยี (Monsieur Lagny) ผู้ว่าการบริษัทการค้าของฝรั่งเศสในบุรพทิศ ในคณะที่คณะทูตพำนักอยู่ที่เมืองกาบ หรือ แหลมกู๊ดโฮป (Cap de Bonne-Espérance) ระหว่างเดินทางกลับจากฝรั่งเศส
และเมื่อออกพระวิสุทสุนธรได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระญาศรีธรรมราช เสนาบดีกรมพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระมหาบุรุษแล้ว ก็ยังพบว่าท่านใช้คำว่า “อัตโน” เป็นสรรพนามแทนตัวในจดหมาย ๒ ฉบับที่ส่งถึงชาวฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๗ (นับตามศักราชลังกา)ฉบับหนึ่งส่งถึงบาทหลวง เดอ ลาแชส (François de la Chaise) ผู้อภัยบาป (confessor) ประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV) อีกฉบับส่งถึงมองซิเออร์ เดอ ปงต์ชาร์แตรง (Louis Phélypeaux, comte de Pontchartrain) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส
มีข้อควรสังเกตคือ บันทึกรายวันของออกพระวิสุทสุนธร (บางตอนพบว่าออกหลวงกัลยาราชไมตรีอุปทูต และออกขุนวิสารวาจาตรีทูตได้ร่วมบันทึกด้วย) ที่จดบันทึกเหตุการณ์ระหว่างที่คณะทูตพำนักอยู่ในเมืองแบรสต์ (Brest) ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. ๒๒๒๙ ในเนื้อหาที่บรรยายเหตุการณ์ทั่วไป ผู้บันทึกจะแทนตัวเองว่า “ข้าพเจ้า” แต่หากเป็นบันทึกบทสนทนาที่มีกับชาวฝรั่งเศส ผู้บันทึกจะแทนตัวว่า “อัตโน” และเรียกคู่สนทนาว่า “ท่าน” จึงเข้าใจได้ว่าสองคำหลังนี้เป็นคำกลางๆ ที่ใช้สนทนากับชาวต่างประเทศในเวลานั้น
หลังจากรัชกาลสมเด็จพระมหาบุรุษเป็นต้นมา เท่าที่ทราบยังไม่พบหลักฐานว่ามีการใช้คำว่า “อัตโน” เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ อีกในภาษาไทย เข้าใจว่าคงจะเสื่อมความนิยมลงไป
สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๒ กับสรรรพนามบุรุษที่ ๓ มีดังต่อไปนี้
“เธอ (teu), ท่าน (tan), เอ็ง (eng), มัน (man), ออเจ้า (otcháou) ใช้เป็นทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และบุรุษที่ ๓ ทั้งที่เป็นเอกพจน์และพหูพจน์ แต่มักใช้เรียกชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลที่ตนเจรจาด้วยมากกว่า.
เธอ เป็นคำที่ใช้ยกย่องมาก แต่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ หรือใช้ต่อพระภิกษุ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เมื่อเจรจาด้วยกัน.
ท่าน เป็นคำแสดงมรรยาท สำหรับบุคคลที่มีฐานะเสมอกัน ชาวฝรั่งเศสนำเอาไปแปลว่า เมอสิเออร์ (Monsieur).
เอ็ง ใช้แก่บุคคลที่มีฐานะที่ต่ำกว่า. [เอกสารโบราณมักสะกด เอง]
มัน ใช้พูดด้วยความดูถูกดูหมิ่น.
ออเจ้า ใช้พูดแก่บุคคลที่มีฐานะต่ำกว่า และซึ่งผู้พูดไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามมาแต่ก่อน.”
คำว่า “ออเจ้า” นั้นอาจไม่ได้ใช้เฉพาะพูดกับผู้ที่ไม่รู้จักมาก่อนอย่างที่ลาลูแบร์ระบุ เพราะยังปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน ใช้เป็นสรรพนามเมื่อพูดกับผู้ที่รู้จักอยู่บ่อยครั้ง ความหมายไม่แตกต่างจากคำว่า “เจ้า” ที่ใช้ผู้กับผู้ที่เสมอกันหรืออาวุโสน้อยกว่า อย่างสามีกล่าวกับภรรยา บิดามารดากล่าวกับบุตร ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย หรือเพื่อนพูดกับเพื่อน
หลายครั้งพบการใช้คำว่า "ออ" นำหน้าชื่อผู้เรียกด้วยด้วยทั้งเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ เช่นในขุนช้างขุนแผน นางศรีประจันเรียกนางพิมพิลาไลยบุตรสาวว่า "ออพิม" เรียกพลายแก้วลูกเขยว่า "ออแก้ว"
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1682898971773566
ส่วนคำว่า พระเจ้าอยู่หัว ก็มีมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา พบในเอกสารราชการเป็นหลัก ทั้งในพงศาวดาร พระราชสาส์น หนังสือสัญญา พระราชกำหนดกฎหมายโบราณ มีทั้ง พระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยูหัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
แต่ไม่เคยมีการใช้ว่า "พ่ออยู่หัว" เรียกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาอย่างในภาพยนตร์บางเรื่องครับ
พิจารณาหลักฐานของการใช้คำว่า “พ่ออยู่หัว” เท่าที่พบมีดังต่อไปนี้
- จารึกวัดอโสการาม สร้างราว พ.ศ. ๑๙๔๒ เรียกขานสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชกษัตริย์เมืองสุโขทัยในเวลานั้นว่า “พ่ออยู่หัว” และเรียกพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครมเหสีของมหาธรรมราชาว่า “แม่อยู่หัว”
- จารึกวัดสรศักดิ์ สร้างประมาณ พ.ศ. ๑๙๖๐ เรียกกษัตริย์สุโขทัยในเวลานั้นว่า “พ่ออยู่หัวเจ้าธออกญาธรรมราชา”
- จารึกมหาสามีญาณสุนทรเจ้าวัดพระเกิด พบที่จังหวัดพะเยา เรียกกษัตริย์เมืองพะเยาใน พ.ศ. ๒๐๕๖ ว่า “พ่อหญอเจ้า” ซึ่งคือคำว่า “พ่อหญัวเจ้า” กร่อนมาจาก “พ่ออยู่หัวเจ้า”
- จดหมายเหตุเรื่อง Suma Oriental ของ โทเม ปิเรส (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. ๒๐๕๕ – ๒๐๕๘ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) แห่งกรุงศรีอยุทธยา ระบุว่าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งขึ้นกับกรุงศรีอยุทธยาถูกปกครองโดยอุปราช (viceroy) ที่เรียกขานกันว่า “พ่ออยู่หัว” (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองปากใต้ตั้งแต่เมืองปะหังขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุทธยา จึงเข้าใจว่าในสมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์ปกครอง แต่อยู่ใต้อิทธิพลของอยุทธยาอีกต่อหนึ่ง
จากหลักฐานที่ยกมาจะเห็นได้ว่าคำว่า “พ่ออยู่หัว” ใช้เป็นคำเรียกที่กลุ่มรัฐที่ใช้ภาษาไทส่วนใหญ่ใช้เรียกกษัตริย์ของตน ซึ่งอาจมาจากแนวคิดสมัยโบราณแบบปิตาธิปไตย (Paternalism) ที่นับกษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็น “พ่อ” และนับผู้ใต้ปกครองเป็น “ลูก” ดังที่พบว่าในจารึกสมัยสุโขทัยตอนต้นเรียกกษัตริย์ว่า “พ่อขุน” เรียกข้าราชการว่า “ลูกขุน”
และในสมัยต่อมาพบจารึกหลายเมืองเรียกกษัตริย์ของตนว่า “พ่อพระญา” เช่น จารึกลานทองเมืองเพชรบูรณ์เรียกกษัตริย์ว่า “สํเดจพพรญา” (สมเด็จพ่อพระญา) และจารึกลานเงินเมืองกำแพงเพชรที่สร้างใน พ.ศ. ๑๙๖๓ เรียกพระญาแสนสอยดาวกษัตริย์เมืองกำแพงเพชรว่า “สเดจพพฺระญาสอย” (เสด็จพ่อพระญาสอย)
หรือแม้แต่กรุงศรีอยุทธยาเองก็พบในหลักฐานจีนคือหมิงสือลู่ (明實錄) ได้เรียกพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ว่า "ซานเลี่ยเป่าผีหยาซือหลี่ตัวหลัวลู่" (參烈寶毘牙思哩哆囉祿) สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก สมเด็จพ่อพระญาศรีอินทรราช/ศรีนทรราช
แต่สำหรับกรุงศรีอยุทธยาซึ่งเป็นอาณาจักรที่รับสืบทอดคติ “เทวราชา” จากวัฒนธรรมขอม-เขมรอย่างเข้มข้น และนับถือกษัตริย์เสมอด้วยพระผู้เป็นเจ้าที่อวตารมาปราบทุกข์เข็ญบนโลกมนุษย์ ไม่พบการเปรียบเปรยกษัตริย์ว่าเป็น “พ่อ” เลยแม้แต่น้อย (เว้นแต่ขุนหลวงพ่องั่วที่กล่าวมาแล้ว) และหลักฐานส่วนใหญ่บ่งชี้ว่ากษัตริย์อยุทธยาถูกเรียกขานว่า “พระเจ้าอยู่หัว” มาตั้งแต่โบราณ
ตัวอย่างเช่นพระอัยการเบ็ดเสร็จที่ตราใน พ.ศ. ๑๙๐๓ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี (อู่ทอง) ระบุว่า
“ศุภมัศดุ ๑๙๐๓ ศุกรสังวัชฉะระ วิสาขมาศ กาลปักขตดิยดิถีระวิวาระปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดีศรีบรมมหาจักรพรรดิราชาธิราชบรมบาทบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ในพระธินั่งรัตนสิงหาศน จึ่งเจ้าขุนหลวงสพฤๅนครบาลบังคมทูลพระกรรุณา ดว้ยผู้ชิงที่แดนรั้วเรือนไร่สวนพิภาษว่าที่เดิมแก่กัน แลผู้หนึ่งว่าที่นั้นเปนมรฎกจะเอาที่นั้น จึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการมานพระบันทูลสุรสิงหนาทดำหรัศตรัสแก่เจ้าขุนหลวงสพฤๅแลมุขมุนตรีทังหลายว่า
ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมยเปนที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทังหลายผู้เปนข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เปนที่ราษฎรหามิได้...”
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่แรกสถาปนากรุง ทั้งพระนามและสรรพนามแทนองค์พระเจ้าแผ่นดินล้วนสะท้อนความเป็นสิทธิขาดของกษัตริย์อยุทธยาในฐานะกษัตริย์ผู้เป็น “พระเจ้าอยู่หัว” เป็นจักรพรรดิราชผู้เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์องค์อื่น ไม่ได้มองว่าเป็น “พ่ออยู่หัว” และมองว่าราษฎรเป็น “ข้าแผ่นดิน” ไม่ใช่ลูก แตกต่างจากกษัตริย์ในรัฐใช้ภาษาไทอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัย
ข้อสังเกตในเรื่องการใช้สรรพนามเรียกขานพระเจ้าแผ่นดินในสมัยอยุทธยาน่าจะมีคติความเชื่อต่างกันระหว่างรัฐละโว้-อโยธยาที่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมขอม-เขมร และรัฐสุพรรณภูมิที่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไท-ลาวด้วย เพราะหมิงสือลู่ที่เรียบเรียงจากหลักฐานร่วมสมัยระบุพระนามสมเด็จพระราเมศวรโอรสพระเจ้ารามาธิบดีในภาษาจีนว่า ซานเลี่ยเจาผีหยา (參烈昭毘牙) ซึ่งคือ “สมเด็จเจ้าพระญา” ในภาษาไทย แตกต่างจากขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรณภูมิที่ใช้พระนามว่า “สมเด็จพ่อพระญา” จึงน่าจะสะท้อนแนวคิดของกษัตริย์สายละโว้-อโยธยาที่ยึดถือในแนวคิดเทวราชและเป็น “พระเจ้าอยู่หัว” มากกว่า “พ่อ” ได้ในระดับหนึ่ง
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เลขที่ ๒/ก.๑๐๔ ซึ่งมีเนื้อหาสมัยอยุทธยาตอนต้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ก็ระบุสรรพนามเรียกขานกษัตริย์อยุทธยาว่า ผู้เป็นเจ้า พระบาทผู้เป็นเจ้า สมเด็จผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระบาทผู้เป็นเจ้า ไม่มีการเรียกขานว่า “พ่ออยู่หัว”
นอกจากนี้ในจดหมายเหตุ Suma Oriental ของโทเม ปิเรส ฉบับเดียวกับที่ระบุว่าผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชถูกเรียกว่า “พ่ออยู่หัว” ระบุชัดเจนว่ากษัตริย์อยุทธยาคือ Prechayoa (lord of all) ซึ่งก็เข้าใจว่าคือคำว่า “พระเจ้าอยู่หัว” เป็นการแสดงว่ากษัตริย์อยุทธยาอยู่ในฐานะจักรพรรดิราชเหนือกว่ากษัตริย์เมืองนคร
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1531092066954258
ลาลูแบร์ ได้กล่าวถึงสรรพนามที่คนอยุทธยายุคนั้นใช้ไว้อย่างละเอียด (อ้างอิงตามฉบับภาษาไทยของ สันต์ ท. โกมลบุตร) สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๑ มีดังต่อไปนี้
“กู (cou), ข้า (câ), เรา (râou), อาตมาภาพ (átamapapp), ข้าเจ้า (câ-tchéou), ข้าพเจ้า (câ-ppa-tchéou), อตนุ (atanou) เป็นคำ ๘ คำที่หมายความว่า ฉัน (je) หรือ เรา (nous) ด้วยไม่มีความแตกต่างกันเลย ระหว่างพหูพจน์กับเอกพจน์.
กู เป็นคำที่นายเจรจากับบ่าวทาสของตน.
ข้า เป็นคำแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และในทางมรรยาทระหว่างบุคคลที่มีฐานะเสมอบ่าเสมอไหล่กัน พระภิกษุไม่ใช้คำๆ นี้เลยเป็นอันขาด ด้วยเชื่อว่าตนมีศักดิ์เหนือกว่าคนทั้งปวง.
เรา แสดงความเป็นใหญ่เป็นโต หรือสูงศักดิ์กว่า ดังที่เราใช้ในบทเจรจาในบทละครว่า เราผู้นั้น เราผู้นี้ (Nous tel) เป็นต้น.
รูป (roup) ว่ามีความอย่างธรรมดาว่า ร่างกาย (corps) คล้ายกับจะพูดว่า รางกายของฉัน (mon corps) ฉะนั้น มีแต่พระภิกษุเท่านั้นที่ใช้คำนี้เป็นลางครั้งลางคราว.
อาตมาภาพ เป็นคำภาษาบาลีที่พระภิกษุใช้เรียกตัวเองยิ่งกว่าคำอื่นๆ.
ข้าเจ้า ประกอบด้วยคำว่า ข้า อันหมายความว่า ฉัน, กระผม (moy) กับคำว่า เจ้า อันหมายความว่า เจ้านาย (seigneur) ดังจะกล่าวว่า กระผมของเจ้านาย (moy-du Seigneur) หรือ กระผมผู้ขึ้นอยู่กับเจ้านาย (moy qui appartiens à vous Monseigneur) หมายความว่า กระผมผู้เป็นบ่าวทาสของพระเดชพระคุณ. เป็นคำที่บ่าวทาสใช้ต่อเจ้าขุนมูลนายของตน ราษฎรสามัญใช้ต่อขุนนางผู้ใหญ่ และคนทั่วๆ ไปใช้ต่อพระภิกษุ.
ข้าพเจ้า เป็นคำที่มีลักษณะแสดงความอ่อนน้อมกว่า
อตนุ เป็นคำภาษาบาลี นำมาใช้ในภาษาสยามเมื่อ ๓ หรือ ๔ ปีมานี้เอง ใช้เรียกตัวเองเป็นคำกลาง ๆ คือไม่ยกตนหรือว่าอ่อนน้อมถ่อมต้นจนเกินไปนัก”
คำส่วนใหญ่เชื่อว่าคนไทยปัจจุบันน่าจะคุ้นเคยดี เว้นแต่ atanou ซึ่ง สันต์ ท. โกมลบุตร ผู้แปลแปลเป็น อตนุ เข้าใจว่าคงพยายามถอดเสียงให้ใกล้เคียงกับภาษาฝรั่งเศสมากที่สุด
แต่จริงๆ แล้วคำนี้พบหลักฐานร่วมสมัยสะกดว่า “อัตโน” มาจากภาษาบาลีคือ “อตฺตโน” แปลว่า แห่งตน, เป็นของตน
คำว่า “อัตโน” พบในหลักฐานจดหมายที่เขียนในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา) หลายฉบับ โดยเป็นคำที่คณะทูตกรุงศรีอยุทธยาของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวในจดหมาย ๒ ฉบับที่เขียนถึงข้าราชการชาวฝรั่งเศส ได้แก่ มาร์กีส์ เดอ เซนเญอเลย์ (Jean-Baptiste Colbert, Marquis de Seignelay) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส และ เมอร์ซิเออร์ลาญยี (Monsieur Lagny) ผู้ว่าการบริษัทการค้าของฝรั่งเศสในบุรพทิศ ในคณะที่คณะทูตพำนักอยู่ที่เมืองกาบ หรือ แหลมกู๊ดโฮป (Cap de Bonne-Espérance) ระหว่างเดินทางกลับจากฝรั่งเศส
และเมื่อออกพระวิสุทสุนธรได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระญาศรีธรรมราช เสนาบดีกรมพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระมหาบุรุษแล้ว ก็ยังพบว่าท่านใช้คำว่า “อัตโน” เป็นสรรพนามแทนตัวในจดหมาย ๒ ฉบับที่ส่งถึงชาวฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๗ (นับตามศักราชลังกา)ฉบับหนึ่งส่งถึงบาทหลวง เดอ ลาแชส (François de la Chaise) ผู้อภัยบาป (confessor) ประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV) อีกฉบับส่งถึงมองซิเออร์ เดอ ปงต์ชาร์แตรง (Louis Phélypeaux, comte de Pontchartrain) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส
มีข้อควรสังเกตคือ บันทึกรายวันของออกพระวิสุทสุนธร (บางตอนพบว่าออกหลวงกัลยาราชไมตรีอุปทูต และออกขุนวิสารวาจาตรีทูตได้ร่วมบันทึกด้วย) ที่จดบันทึกเหตุการณ์ระหว่างที่คณะทูตพำนักอยู่ในเมืองแบรสต์ (Brest) ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. ๒๒๒๙ ในเนื้อหาที่บรรยายเหตุการณ์ทั่วไป ผู้บันทึกจะแทนตัวเองว่า “ข้าพเจ้า” แต่หากเป็นบันทึกบทสนทนาที่มีกับชาวฝรั่งเศส ผู้บันทึกจะแทนตัวว่า “อัตโน” และเรียกคู่สนทนาว่า “ท่าน” จึงเข้าใจได้ว่าสองคำหลังนี้เป็นคำกลางๆ ที่ใช้สนทนากับชาวต่างประเทศในเวลานั้น
หลังจากรัชกาลสมเด็จพระมหาบุรุษเป็นต้นมา เท่าที่ทราบยังไม่พบหลักฐานว่ามีการใช้คำว่า “อัตโน” เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ อีกในภาษาไทย เข้าใจว่าคงจะเสื่อมความนิยมลงไป
สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๒ กับสรรรพนามบุรุษที่ ๓ มีดังต่อไปนี้
“เธอ (teu), ท่าน (tan), เอ็ง (eng), มัน (man), ออเจ้า (otcháou) ใช้เป็นทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และบุรุษที่ ๓ ทั้งที่เป็นเอกพจน์และพหูพจน์ แต่มักใช้เรียกชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลที่ตนเจรจาด้วยมากกว่า.
เธอ เป็นคำที่ใช้ยกย่องมาก แต่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ หรือใช้ต่อพระภิกษุ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เมื่อเจรจาด้วยกัน.
ท่าน เป็นคำแสดงมรรยาท สำหรับบุคคลที่มีฐานะเสมอกัน ชาวฝรั่งเศสนำเอาไปแปลว่า เมอสิเออร์ (Monsieur).
เอ็ง ใช้แก่บุคคลที่มีฐานะที่ต่ำกว่า. [เอกสารโบราณมักสะกด เอง]
มัน ใช้พูดด้วยความดูถูกดูหมิ่น.
ออเจ้า ใช้พูดแก่บุคคลที่มีฐานะต่ำกว่า และซึ่งผู้พูดไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามมาแต่ก่อน.”
คำว่า “ออเจ้า” นั้นอาจไม่ได้ใช้เฉพาะพูดกับผู้ที่ไม่รู้จักมาก่อนอย่างที่ลาลูแบร์ระบุ เพราะยังปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน ใช้เป็นสรรพนามเมื่อพูดกับผู้ที่รู้จักอยู่บ่อยครั้ง ความหมายไม่แตกต่างจากคำว่า “เจ้า” ที่ใช้ผู้กับผู้ที่เสมอกันหรืออาวุโสน้อยกว่า อย่างสามีกล่าวกับภรรยา บิดามารดากล่าวกับบุตร ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย หรือเพื่อนพูดกับเพื่อน
หลายครั้งพบการใช้คำว่า "ออ" นำหน้าชื่อผู้เรียกด้วยด้วยทั้งเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ เช่นในขุนช้างขุนแผน นางศรีประจันเรียกนางพิมพิลาไลยบุตรสาวว่า "ออพิม" เรียกพลายแก้วลูกเขยว่า "ออแก้ว"
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1682898971773566
ส่วนคำว่า พระเจ้าอยู่หัว ก็มีมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา พบในเอกสารราชการเป็นหลัก ทั้งในพงศาวดาร พระราชสาส์น หนังสือสัญญา พระราชกำหนดกฎหมายโบราณ มีทั้ง พระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยูหัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
แต่ไม่เคยมีการใช้ว่า "พ่ออยู่หัว" เรียกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาอย่างในภาพยนตร์บางเรื่องครับ
พิจารณาหลักฐานของการใช้คำว่า “พ่ออยู่หัว” เท่าที่พบมีดังต่อไปนี้
- จารึกวัดอโสการาม สร้างราว พ.ศ. ๑๙๔๒ เรียกขานสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชกษัตริย์เมืองสุโขทัยในเวลานั้นว่า “พ่ออยู่หัว” และเรียกพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครมเหสีของมหาธรรมราชาว่า “แม่อยู่หัว”
- จารึกวัดสรศักดิ์ สร้างประมาณ พ.ศ. ๑๙๖๐ เรียกกษัตริย์สุโขทัยในเวลานั้นว่า “พ่ออยู่หัวเจ้าธออกญาธรรมราชา”
- จารึกมหาสามีญาณสุนทรเจ้าวัดพระเกิด พบที่จังหวัดพะเยา เรียกกษัตริย์เมืองพะเยาใน พ.ศ. ๒๐๕๖ ว่า “พ่อหญอเจ้า” ซึ่งคือคำว่า “พ่อหญัวเจ้า” กร่อนมาจาก “พ่ออยู่หัวเจ้า”
- จดหมายเหตุเรื่อง Suma Oriental ของ โทเม ปิเรส (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. ๒๐๕๕ – ๒๐๕๘ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) แห่งกรุงศรีอยุทธยา ระบุว่าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งขึ้นกับกรุงศรีอยุทธยาถูกปกครองโดยอุปราช (viceroy) ที่เรียกขานกันว่า “พ่ออยู่หัว” (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองปากใต้ตั้งแต่เมืองปะหังขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุทธยา จึงเข้าใจว่าในสมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์ปกครอง แต่อยู่ใต้อิทธิพลของอยุทธยาอีกต่อหนึ่ง
จากหลักฐานที่ยกมาจะเห็นได้ว่าคำว่า “พ่ออยู่หัว” ใช้เป็นคำเรียกที่กลุ่มรัฐที่ใช้ภาษาไทส่วนใหญ่ใช้เรียกกษัตริย์ของตน ซึ่งอาจมาจากแนวคิดสมัยโบราณแบบปิตาธิปไตย (Paternalism) ที่นับกษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็น “พ่อ” และนับผู้ใต้ปกครองเป็น “ลูก” ดังที่พบว่าในจารึกสมัยสุโขทัยตอนต้นเรียกกษัตริย์ว่า “พ่อขุน” เรียกข้าราชการว่า “ลูกขุน”
และในสมัยต่อมาพบจารึกหลายเมืองเรียกกษัตริย์ของตนว่า “พ่อพระญา” เช่น จารึกลานทองเมืองเพชรบูรณ์เรียกกษัตริย์ว่า “สํเดจพพรญา” (สมเด็จพ่อพระญา) และจารึกลานเงินเมืองกำแพงเพชรที่สร้างใน พ.ศ. ๑๙๖๓ เรียกพระญาแสนสอยดาวกษัตริย์เมืองกำแพงเพชรว่า “สเดจพพฺระญาสอย” (เสด็จพ่อพระญาสอย)
หรือแม้แต่กรุงศรีอยุทธยาเองก็พบในหลักฐานจีนคือหมิงสือลู่ (明實錄) ได้เรียกพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ว่า "ซานเลี่ยเป่าผีหยาซือหลี่ตัวหลัวลู่" (參烈寶毘牙思哩哆囉祿) สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก สมเด็จพ่อพระญาศรีอินทรราช/ศรีนทรราช
แต่สำหรับกรุงศรีอยุทธยาซึ่งเป็นอาณาจักรที่รับสืบทอดคติ “เทวราชา” จากวัฒนธรรมขอม-เขมรอย่างเข้มข้น และนับถือกษัตริย์เสมอด้วยพระผู้เป็นเจ้าที่อวตารมาปราบทุกข์เข็ญบนโลกมนุษย์ ไม่พบการเปรียบเปรยกษัตริย์ว่าเป็น “พ่อ” เลยแม้แต่น้อย (เว้นแต่ขุนหลวงพ่องั่วที่กล่าวมาแล้ว) และหลักฐานส่วนใหญ่บ่งชี้ว่ากษัตริย์อยุทธยาถูกเรียกขานว่า “พระเจ้าอยู่หัว” มาตั้งแต่โบราณ
ตัวอย่างเช่นพระอัยการเบ็ดเสร็จที่ตราใน พ.ศ. ๑๙๐๓ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี (อู่ทอง) ระบุว่า
“ศุภมัศดุ ๑๙๐๓ ศุกรสังวัชฉะระ วิสาขมาศ กาลปักขตดิยดิถีระวิวาระปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดีศรีบรมมหาจักรพรรดิราชาธิราชบรมบาทบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ในพระธินั่งรัตนสิงหาศน จึ่งเจ้าขุนหลวงสพฤๅนครบาลบังคมทูลพระกรรุณา ดว้ยผู้ชิงที่แดนรั้วเรือนไร่สวนพิภาษว่าที่เดิมแก่กัน แลผู้หนึ่งว่าที่นั้นเปนมรฎกจะเอาที่นั้น จึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการมานพระบันทูลสุรสิงหนาทดำหรัศตรัสแก่เจ้าขุนหลวงสพฤๅแลมุขมุนตรีทังหลายว่า
ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมยเปนที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทังหลายผู้เปนข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เปนที่ราษฎรหามิได้...”
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่แรกสถาปนากรุง ทั้งพระนามและสรรพนามแทนองค์พระเจ้าแผ่นดินล้วนสะท้อนความเป็นสิทธิขาดของกษัตริย์อยุทธยาในฐานะกษัตริย์ผู้เป็น “พระเจ้าอยู่หัว” เป็นจักรพรรดิราชผู้เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์องค์อื่น ไม่ได้มองว่าเป็น “พ่ออยู่หัว” และมองว่าราษฎรเป็น “ข้าแผ่นดิน” ไม่ใช่ลูก แตกต่างจากกษัตริย์ในรัฐใช้ภาษาไทอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัย
ข้อสังเกตในเรื่องการใช้สรรพนามเรียกขานพระเจ้าแผ่นดินในสมัยอยุทธยาน่าจะมีคติความเชื่อต่างกันระหว่างรัฐละโว้-อโยธยาที่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมขอม-เขมร และรัฐสุพรรณภูมิที่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไท-ลาวด้วย เพราะหมิงสือลู่ที่เรียบเรียงจากหลักฐานร่วมสมัยระบุพระนามสมเด็จพระราเมศวรโอรสพระเจ้ารามาธิบดีในภาษาจีนว่า ซานเลี่ยเจาผีหยา (參烈昭毘牙) ซึ่งคือ “สมเด็จเจ้าพระญา” ในภาษาไทย แตกต่างจากขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรณภูมิที่ใช้พระนามว่า “สมเด็จพ่อพระญา” จึงน่าจะสะท้อนแนวคิดของกษัตริย์สายละโว้-อโยธยาที่ยึดถือในแนวคิดเทวราชและเป็น “พระเจ้าอยู่หัว” มากกว่า “พ่อ” ได้ในระดับหนึ่ง
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เลขที่ ๒/ก.๑๐๔ ซึ่งมีเนื้อหาสมัยอยุทธยาตอนต้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ก็ระบุสรรพนามเรียกขานกษัตริย์อยุทธยาว่า ผู้เป็นเจ้า พระบาทผู้เป็นเจ้า สมเด็จผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระบาทผู้เป็นเจ้า ไม่มีการเรียกขานว่า “พ่ออยู่หัว”
นอกจากนี้ในจดหมายเหตุ Suma Oriental ของโทเม ปิเรส ฉบับเดียวกับที่ระบุว่าผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชถูกเรียกว่า “พ่ออยู่หัว” ระบุชัดเจนว่ากษัตริย์อยุทธยาคือ Prechayoa (lord of all) ซึ่งก็เข้าใจว่าคือคำว่า “พระเจ้าอยู่หัว” เป็นการแสดงว่ากษัตริย์อยุทธยาอยู่ในฐานะจักรพรรดิราชเหนือกว่ากษัตริย์เมืองนคร
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1531092066954258
แสดงความคิดเห็น
จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาสจขกท.อยากถามเพื่อเป็นการถกกันเพื่อความรู้สมัยอยุธยานิยมแทนตัวว่าข้าอย่างเดียวจริงหรือ???
อ้อแล้วก็สงสัยว่าในสมัยอยุธยานี่เราจะนิยมขานเรียกพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ว่าพ่ออยู่หัวจริงเหรอครับ แต่เรื่องบุพเพสันนิวาสเห็นเรียกขุนหลวงอันนี้ไม่แปลกเพราะตามเอกสารต่างๆจะเรียกพระมหากษัตริย์ว่าขุนหลวง แต่ในเพจเฟซบุคเกี่ยวกับเรื่องนี้เขาบอกว่าตามที่สืบค้นนี่เขาเรียกพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ว่าพระเจ้าอยู่หัว คือคำว่าพระเจ้าอยู่หัวนี่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาจริงไหมครับ ส่วนตัวจขกท.มักจะเจอแต่คำว่าพระพุทธเจ้าอยู่หัวในสมัยอยุธยาน่ะครับ ตามหลักฐานที่สืบค้นชัดเจนในเชิงที่อ้างอิงได้เป็นอย่างไรอยากรู้จังครับ
รบกวนหน่อยนะครับถือว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เป็นวิทยาทานด้วย
ขอบคุณครับ