แชร์ประสบการณ์ คุณพ่อป่วย

กระทู้สนทนา
หัวข้อ การล้มป่วยด้วยโรค หลอดเลือดสมอง
          เรื่องราวนี่ขอแชร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับใครบางคนที่อาจจะตกอยู่สถานะการณ์คล้ายๆ กัน
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อประมาณ เดือน กย 2558 พ่อผมล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบซีกขวาทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตซีกซ้าย (คุณพ่อ, แม่ และพี่สาว อาศัยอยู่ที่ สัตหีบ ชลบุรี ;ก่อนเกิดโรค คุณพ่อมีอาการตัดสินใจช้าขณะขับรถเกือบเกิดอุบัติเหตุในบางครั้ง และก่อนเป็นโรค 1 สัปดาห์มีอาการปวดบริเวณท้ายทอยขึ้นไปจนถึงทุยศรีษะ และคุณพ่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว และคุณหมอที่คุณพ่อไปหาปรึกษาหมอที่หาอยู่ประจำว่า พักนี้หน้ามืดบ่อย หมอก็แนะนำว่า งั้นงดยา ความดันไปบ้างก็ได้)
           ขณะนั้นในสถานะการณ์คับขันได้พาคุณพ่อไป รพ. เอกชนใกล้บ้านแห่งหนึ่ง (แถว พัทยา ชื่อ อินเตอร์ๆหน่อย) ทาง รพ. ได้ให้แอดมิด และไม่ได้ทำอะไรอื่นนอกจากให้น้ำเกลือ และต้องนอนอยู่ที่ รพ. 1 คืน 1 วัน ทางผมก็ได้หาข้อมูลทาง กูเกิ้ล พบว่าคนไข้โรคนี้ควรได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 4.5 ชม. อาการที่เลือดตีบตันจะค่อยๆดีขึ้น ผมจึงหาข้อมูลต่อถึง รพ. เฉพาะทาง และติดต่อทำเรื่องรีเฟอร์คุณพ่อ เพื่อจะไป รพ. ประสาทวิทยา ฯ ใน กทม และก็ได้ รีเฟอร์มา ถึงที่ รพ. 2 ทุ่มอีกวัน และได้อยู่ห้องฉุกเฉิน สามัญ คุณหมอก็ได้รักษาอาการของพ่อตาม สเตปของทาง รพ. ผมก็ได้ถามคุณหมอเกี่ยวกับการให้ยาคนไข้ภายใน 4 ชม. ครึ่งนั้น คุณหมอก็ได้บอกว่ากรณีของคุณพ่อจะให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่ได้ในทันที เพราะเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดแตก ผมก็งงนิดหน่อย ก็หมอว่ายังไงก็คงต้องตามนั้น คุณพ่อก็ได้รักษาตัวอยู่ที่นั่นประมาณเดือนกว่า จนคุณพ่อพอที่จะขยับแขนขาได้บ้างและพอลุกได้แบบต้องมีคนประคอง ทาง รพ. ประสาทวิทยา ฯ เองก็มีแผนกกายภาพบำบัดด้วยและทำกายภาพ ฯ
          ในตลอดที่อยู่ เดือนเศษนั้นทาง รพ. เห็นว่า น่าจะกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อเองได้ แต่คนดูแล แม่ และพี่สาว ยังไม่พร้อมที่จะดูแลกันเองเพราะทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่หมด ยังปรับตัวกันไม่ค่อยได้ ทางรพ แนะนำให้พาคนไข้ไปทำกายภาพฯ ที่ “ศูนย์สิรินธร” ใกล้ๆ กับกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งก็ไม่ไกลจากบ้านผมที่อยู่ บางบัวทอง จ. นนทบุรี และได้ ดิสชาจ คุณพ่อออกมา แล้วไปติดต่อ “ศูนย์สิรินธร” ซึ่งวันแรกที่ไปติดต่อทราบว่าที่นี่มีห้องให้แอดมิดด้วย แต่เตียงน้อยมากๆ ก็ขอคุณหมอว่าอยากจะแอดมิด หมอก็บอกได้ แต่ห้องพิเศษเดี่ยวไม่มี มีแต่ห้องสามัญรวม จึงได้พักอยู่คืนนึงและคืนนั้นเองคุณพยาบาล ก็ทำการสวนสายปัสสาวะ เนื่องจาก พ่อยังถ่ายปัสสาวะ เองไม่ค่อยได้ และก็แจ๊คพ็อต คุณพยาบาล ใช้เครื่องมือสวนฯ จนพ่อบอกเจ็บมาก และเกิดภาวะ ปัสสาวะติดเชื้อ และสีฉี่เป็นสีแดงส้ม คุณหมอทราบเรื่องฯ ในวันต่อมาจึงแนะให้ไป รพ. ที่มีหมอชำนาณการณ์ และใกล้ๆให้เดินทางสะดวก คือ รพ. “พระนั่งเกล้า” หรือ รพ. “ชลประทาน”
          คุณหมอจึงเขียนใบส่งตัว คนไข้ (แต่ก็ไม่ได้เขียนสาเหตุการติดเชื้อ) และได้ตัดสินใจไป ที่ รพ. ชลประทานฯ และสภาพปกติของ รพ. รัฐฯ คือคนเยอะและรอ นานมากๆ แต่ก็ดีใจที่ได้แอดมิดในคืนนั้น คุณพ่อได้รักษาตัวอยู่ที่นั่นและได้คุณหมอ ชำนาญเรื่องปัสสาวะ (คุณหมอชื่อ ส. ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ คุณหมอมีคนไข้ในความดูแลเยอะมากๆ) จนอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และที่ รพ. ชลประทาน เองก็มีแผนกกายภาพบำบัด คนพ่อก็ได้ทำกายภาพฯ ตามลำดับ จนร่างกายแข็งแรงขึ้น และการเดินก็แข็งแรงขึ้นเช่นกัน คุณหมอก็เลยให้ออกจาก รพ. ไปพักฟื้นที่บ้านต่อ ในประมาณต้นเดือน ธค 58 นับเวลาที่อยู่ที่ ชลประทานฯ ประมาณเดือนเศษ ตอนกลับไปอยู่ที่บ้าน ผม แม่ และพี่สาว ก็ได้ตระเตรียมสิ่งจำเป็นของการฟื้นฟูของไข้เช่น ราวจับ ทางลาด และห้องนอน, เตียง, เครื่องออกกำลังกาย สำหรับคุณพ่อ ในขณะที่พักฟื้นอยู่ที่บ้าน ก็ต้องพาคุณพ่อไปหาหมอตามนัดฯ โดยแบ่งเป็น 2 ที่ คือ 1. รพ. ชลประทานฯ -> ติดตามอาการเรื่อง ทางเดินปัสสาวะ และ โรคหลอดเลือดสมอง 2. ศูนย์กายภาพฯ สิรินธร -> ทำกายภาพตามสเต็ปคุณหมออย่างต่อเนื่อง
          ทำอย่างนี้ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนคุณพ่อดีขึ้นจากเดินได้วันละ 10 นาที เป็น 20 นาที และ 30 นาที จนดีสุดได้ 1 ชม. ระหว่างนั้น คุณหมอ ส. ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ได้บอกว่าคุณพ่อมีภาวะต่อมลูกหมากโตด้วยนะ คือ ก่อนหน้าที่คนไข้จะป่วยอาจมีภาวะนี้อยู่แล้วพอป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองโรคนี้จึงชัดขึ้น หมอจึงให้คุณพ่อกินยาเกี่ยวกับทางเดินปัสสวะร่วมด้วย ซึ่งผลข้างเคียงจะมีเบลอๆบ้างในบางวัน และในส่วนของยาละลายลิ่มเลือด ที่คุณพ่อต้องกินทุกวัน โดยผลข้างเคียงคือ จะต้องระวังไม่ให้เกิดภาวะเลือดออกเพราะเลือดจะเหลวมาก และไหลไม่หยุด เรื่องการทำกายภาพฯ บางอย่างก็สามารถกลับมาทำเองที่บ้านได้ ทำให้การเดินทางไป รพ. น้อยลง โดยมีแม่และพี่สาวช่วยกัน ฝึกกายภาพฯ
          จนเวลาผ่านมาได้ ปีเศษ กระทั่งเดือน มีค. 2560 ได้มีโอกาสพาคุณพ่อกลับ ตจว (สัตหีบ) โดยมีญาติๆ มาเยี่ยมเยียน เลยทำให้พ่อ ต้องนั่งรอรับแขกที่ไม่ได้เจอกันนาน ทำให้เกิดการอั้นปัสสาวะ จึงเกิดภาวะฉี่เป็นพิษ หรือ ติดเชื้อขึ้น จึงต้องรีบพาคุณพ่อกลับไปพบคุณหมอที่ ชลประทานแบบก่อนนัด และคุณหมอก้ได้ให้ยาฆ่าเชื้อจนหายจากภาวะติดเชื้อ ซึ่งถือว่าไม่ร้ายแรง ทางผม แม่ และพี่สาวจึงเกิดไอเดียว่า อยากจะให้คุณพ่อได้รับการรักษาเรื่องภาวะต่อมลูกหมากโตแบบถาวร จึงได้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการผ่าฯ คุณหมอก็บอกว่าได้ทั้ง 2 ทางนะ คือไม่ผ่าก็ได้ โดยกินยาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพราะพ่อก็อายุมากแล้วและโรคปัสสาวะที่เป็นนี้ก็ถือว่าไม่ถึงขั้นร้ายแรงจนต้องผ่า แต่ถ้าจะผ่าก็ได้ เพราะเทคโนโลยีการผ่าปัจจุบันใช้การส่องกล้องเข้าทางปลายอวัยวะฯ ไม่เกิดแผลภายนอก ทำให้เจ็บน้อยและหลังผ่าตัดก็พักฟื้นไม่นานเมื่อคุณหมอได้แนะนำแบบนี้ เราจึงตัดสินใจกันว่าผ่าละกัน (มีตัวอย่างหลายคนที่รู้จักและอายุมากๆ ผ่าแล้ว ก็หายเป็นปกติ) อย่างน้อยก็สามารถ ลดการกินยาเรื่องปัสสวะไปได้ตัวหนึ่ง (ตัดปัญหาเรื่องการเบลอของคนไข้จากยากิน) และคุณหมอก็แนะว่าถ้าจะผ่าๆ ด้วยเลเซอร์ ก็ยิ่งดีแต่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทางผม ก็ยอม และคุณหมอก็นัดวันผ่าฯ ได้ เดือน เมย. 2560
          ใกล้ๆวันผ่า หมอก็ให้งดยาละลายลิ่มเลือด ก่อนวันผ่าประมาณ 3-4 วัน (โดยคุณหมออายุรกรรม) การผ่าฯ ก็เป็นไปได้ด้วยดี และไม่นานนักใช้เวลา 2-3 ชม. และพักฟื้นอยู่ที่ รพ. เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์เศษ ก็กลับบ้าน จากนั้น อีกไม่นาน ก็คิดว่าโล่งไป 1 โรค แต่อยู่มาไม่นาน ประมาณเดือนเศษๆ คุณพ่อก็มีอาการเหมือนฉี่ไม่ออก เลยพา คุณพ่อมา รพ. ปรากฎว่า ท่อปัสสาวะตีบ (อ่าวยังไงล่ะ) หมอก็ได้นัดทำการถ่างท่อปัสสาวะ โดยการส่องกล้อง ก็ได้ถามหมอว่า ผ่าแล้วทำไม ถึงกลับมาตีบได้ คุณหมอก็บอกว่า มีโอกาศ เป็นไปได้ สำหรับคนไข้ ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่ก่อน (คิดในใจว่าทำไมตอนก่อนผ่าไม่บอก) จากนั้น อีกประมาณ เดือนเศษๆ ก็มีอาการ เช่นเดิม คือฉี่ไม่ออก ก็ต้องกลับมาถ่างอีกเป็นครั้งที่ 2 แต่ครั้งที่ 2 นี้เอง คุณหมอฯ ได้ทำการถ่างแบบไม่ส่องกล้อง และเป็นครั้งที่ คุณพ่อบอกว่าเจ็บมากเมื่อทำการถ่างเสร็จก็กลับไปบ้าน คุณพ่อจะบ่นว่า เจ็บอยู่ตลอดเวลา ผม พี่สาว และ คุณแม่ ก็คิดว่าไม่น่ามีไรร้ายแรง จนข้ามคืน เช้ามาคุณพ่อ ในขณะที่คุณพ่อลุกขึ้นจากเตียง ตาคุณพ่อ ค้างและนิ่งแบบไม่ได้สติอยู่ประมาณ 10 วินาที เป็นอาการเหมือนคนช๊อค ทุกคนตกใจกันมาก จึงพยายามจะพาคุณพ่อไป รพ. แต่คุณพ่อไม่สามารถเดินไปขึ้นรถเองได้ผม ทางเราก็ไม่กล้าอุ้มคุณพ่อเพราะกลัวจะเกิดอาการช็อคอีก จึงโทรเรียก 1669 จึงได้รถพยาบาลไปส่ง รพ. ชลประทานฯ แผนกฉุกเฉิน แต่ก็ เช่นเดิม รพ. ของรัฐฯ นานมาก กว่าจะมีการพิสูนจ์ ว่าเป็นอะไร ก็มีการเจาะเลือดไปตรวจ ผลค่าเกล็ดเลือด ต่ำ มากๆ และ โซเดี่ยมก็ต่ำเช่นกัน ทาง รพ. จึงได้ให้ แอดมิด และ ให้เลือด ประมาณ 3 ถุง และน้ำเกลือ ผลทำการวัดค่าเกล็ดเลือดใหม่ ค่าของเกล็ดเลือดก็ยังไม่ค่อยขึ้นมา และ บริเวณท้องของคุณพ่อ ก็มีรอยเลือดเป็นจั่ม บริเวรสีข้างทั้ง 2 ข้าง คุณหมอก็ซักถามทำนองว่า คนไข้มีการหกล้มมาหรือไม่ ทางผมแน่นอน ว่าไม่
           คุณหมอจึงทำการ x-ray และพบว่า มีเลือด ออกในช่องท้อง อ่าวใจคอไม่ดี และทำการส่องกล้องก็พบว่า มีรอยทะลุที่กระเพาะปัสสาวะ (ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทราบในทันทีมาทราบข้อมูลชัดเจนแบบทีหลังเพราะคิดว่าคุณหมอคงรอผลให้ชัวร์) และนั่นเองที่เป็นสาเหตุ คือเกิดจากคุณหมอขณะทำการถ่างท่อปัสสาวะครั้งล่าสุด แบบไม่ส่องกล้อง จึงเกิดการทำทะลุขึ้น (คุณหมอ ส. แผนกศัลยศาสตร์ ทางเดินปัสสาวะ) และส่งผลให้การทำงานของปอดไม่ปกติเนื่องจาก มีของเหลวในช่องท้องทำให้ท้องๆไม่สามารถยุบ-พองตัวแบบปกติ ส่งผลถึงค่า อ๊อกซิเจนต่ำไปด้วย การรักษาต่อมาคือ คุณหมอให้งดยา ละลายลิ่มเลือด เพื่อชลอการไหลของเลือดและ เจาะช่องท้องเพื่อระบายเลือดและของเสียออก ส่วนผม แม่ และพี่สาว ไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง อยากจะพาคุณพ่อย้ายไปที่อื่นแบบทันที แต่เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆอย่างเช่น ถ้าคนไข้ยังอยู่ในภาวะวิกฤต ทาง รพ. อื่นจะไม่รับยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ ซึ่งควรให้ทางนี้รักษาให้อาการดีขึ้นก่อนและค่อย ดิสชาร์ท ระหว่างนั้นผมก็มี รพ. ในดวงใจทันทีคือ ศิริราช จึงได้พยายามติดต่อแบบทันทีแต่ เนื่องจากชื่อเสียงเป็นที่นิยมของคนจำนวนมากของ ศิริราช จึงได้คิวนัดอีก 1 เดือน แต่ก็พอดีกับการ ดิสชาจของคุณพ่อ
          ระหว่างที่รักษาฯ คุณหมอ ส…ก็มาน้อยครั้งมาก เข้าในว่าคุณหมอ ต้องมีธุระ ลัดตัว และไป ตปท. บ่อยครั้ง แต่สัก 2 วันท้ายก่อนออก คุณหมอ ก็ได้มาบอกว่า เด๋วอีกสัก 1 สัปดาห์ หมอจะนัดเรื่องการผ่าตัดอีกครั้งนะ หมอ จะดูแลให้อย่างดี (ผมกับแม่คิดในใจครับว่า คงไม่) หลังจากนั้น คุณพ่อ อาการดีขึ้น ก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านครับ และรอไปพบคุณหมอที่ศิริราช
          หลังจากพ้นวิกฤต และมาพักฟื้นที่บ้าน คุณพ่อ มีอาการที่เปลี่ยนไปคือ การเดินด้อยลงท่าทางการเดินที่แย่ลง เวลาการออกกำลัง ก็ทำได้น้อยลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการนอน อยู่ใน รพ. เป็นเวลานาน แต่มีการเปลี่ยนแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอีกอย่างคือ เคี้ยวอาหารและไม่กลืน (ก่อนหน้าที่คุณพ่อป่วยด้วยโรคหลอดเลือด สามารถทานอาหารได้เองแบบปกติมาก) ซึ่งต้องคอยบอกคุณพ่อ อยู่บ่อยๆ ว่ากลืนนะๆ จากนั้น น้ำหนักตัว ก็ค่อยๆ ลดลง เดือนละ 2-3 กิโลฯ ทำให้เรี่ยวแรงด้อยลง จนถึงวันพบคุณหมอ (คุณหมอ ธีร….ศิริราช) คุณหมอก็ทราบเรื่องจากที่ รพ. ชลประทานฯ และได้ทำการตรวจสอบตามขั้นตอนใหม่หมด ตั้งแต่นัดส่องกล้อง การปรับเปลี่ยนการกินยา… ถึงวันส่องส่องกล้องคุณหมอก็ให้ดูแผลที่เคยทะลุในกระเพาะปัสสาวะนั้น มันหายและติดสนิทดีแร้ว หมอก็ทำการถ่างท่อปัสสาสะในครั้งนั้นไปเลย (คุณพ่อ เจ็บน้อยมาก) และ ที่สำคัญคุณพ่อไม่มีอาการ ท่อปัสสาวะตีบอีกเลย จนเรื่องของภาวะต่อมลูกหมากนั้น ไม่มีปัญหาอีก คุณหมอจึงนัด แบบ ยาวๆ ทุก 3 เดือน
อ่านต่อได้ที่ https://ppantip.com/topic/37427808
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่