ต่อจากกระทู้
https://ppantip.com/topic/37427801
แต่... กระนั้นอาการที่คุณพ่อกลืนยากนั้น ก็ส่งผลอย่างอื่นตามมา เช่น อาการเจ็บช่องอก โดยเฉพาะเวลาหายใจและเวลาล้มตัวลงนอน คุณพ่อจะเจ็บจนร้องโอยๆ อยู่ตลอด แน่นอน ผม แม่และพี่สาว ก็ไม่สบายใจอีกครั้ง จึงพาคุณพ่อไปที่ศิริราช (คือไม่ได้กลับไป ชลประทานฯ อีกเลย โรคทุกอย่างที่คุณพ่อ เป็นเช่น ทางเดินปัสสาวะ , หลอดเลือดสมอง ก็ได้มาทาง ศิริราชทั้งหมด) แบบไม่ได้นัด บ่อยครั้ง ไปแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1 วันเต็มๆ (6.00 – 20.00) คุณหมอแผนกอายุรกรรมด้านทรวงอก ก็ได้ทำการ x-ray ช่องปอด ก็ไม่เจอหรือพบอะไรผิดปกติ รวมถึงตรวจหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า ก็ไม่พบอะไรผิดปกติเช่นกัน จึงให้กลับบ้าน ทางเราจึงลองไป รพ. ทรวงอก ที่ จ. นนทบุรี (สะดวกใกล้บ้านและเห็นว่า เป็นเฉพาะทาง) หมอที่ทรวงอก ได้ทำการ x-ray แบบนอนตระแคง จึงพบว่ามีน้ำในช่องปอด ได้ทำการเจาะดูดน้ำออกไป พร้อมกับเอาไปตรวจหาเชื้อในห้องแล็ป ด้วย แต่ต้องรอผล อีกหลายวัน และหมอ ได้สอบถามว่า คนไข้เป็นอะไรมาก่อนหน้า ทางผม ก็ได้เล่าให้ฟังอย่างละเอียด คุณหมอ บอกว่ามีความเป็นไปได้เมื่อตอนที่กระเพาะปัสสาวะทะลุนั้นของเหลวอาจไหลไปถึงผนังปอดๆ เลยสร้างเนื้อผนังให้หนาขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง เมื่อผนังหนาขึ้นเวลาขยับหรือหายใจ ก็อาจส่งผลให้ แต่ไม่เป็นอันตราย จากนั้นอาการเจ็บอก ของคุณพ่อ ก็ดีขึ้นแต่ก็..ดีขึ้นได้ไม่กี่วัน คุณพ่อก็เจ็บช่องอกอีก
ครั้งนี้จึงพาคุณพ่อไป ศิริราช แบบฉุกเฉิน (จะได้พบคุณหมอท่านใหม่ๆ) ผมก็ได้พูดถึงที่ รพ. ทรวงอกถึงการนอนตะแคง x-ray ศิริราช จึงทำเช่นกัน และพบว่ามีน้ำในปอดอีก แต่น้อยกว่าที่พบที่ รพ. ทรวงอก จึงเจาะออกไป และ ส่งวิเคราะห์ห้องแล็ป
ผลจากที่ ทรวงอก ก็ออกมา คือ ไม่มีเชื้อใดๆ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และ มะเร็ง จึงนำผลมาให้ที่ ศิริราชด้วยเช่นกัน ในวันเดียวกับที่ศิริราชนัดฟังผลๆ ที่ศิริราช ก็ไม่พบอะไรเชื้ออะไรเช่นกัน และครั้งนี้เองคุณหมอ ท่านนึง ได้แนะนำว่า ให้คุณพ่อ ใส่สายยางให้อาหารไหม สอดเข้าทางจมูกสายยาวไปถึงตำแหน่งกระเพาะ คนไข้มีภาวะกลืนยากอาจเสี่ยงต่อการสำลักและติดเชื้อในปอดได้ ตอนนั้นทางผม แม่และพี่สาว ไม่พร้อมที่จะให้คุณพ่อ ใส่ฯ เพราะนั่นคือคุณพ่อ จะไม่ได้ลิ้มรสชาต อาหารอีกแล้ว (ปกติจะพาคุณพ่อไปทานอาหารนอกบ้านอยู่บ่อยๆ) จึงบอกคุณหมอว่าเอาไว้คราวหลัง
เรื่องอาหารของคุณพ่อ เกือบทุกอย่างต้องปั่นเป็นของเหลว และจัดหาอาหารเสริมที่ดีต่อร่างกาย แต่อาการของคุณพ่อเรื่องกลืนยาก ก็เป็นมากขึ้น กินอาหารยาวนาน มากขึ้นเรื่องๆ เรียกได้ว่า กินเช้าเสร็จเอาเกือบเที่ยง กินเที่ยงไปชนมื้อเย็น เป็นแบบนี้ อยู่ 4-5 วัน จนคุณพ่อ มีอาการสำลักอาหารและน้ำแบบรุนแรง วันรุ่งขึ้น (14 มค. 2561) คุณพ่อก็มีไข้ จึงรีบพาไปฉุกเฉินที่ ศิริราช และ ทาง รพ. ทำการเจาะเลือด และตรวจเสมหะจึงพบว่าที่ปอด มีอาการอักเสบติดเชื้อจึงต้องนอนให้ยาฆ่าเชื้อและอยาก แอดมิด แต่ที่ศิริราชอย่างที่ทุกคนรู้ครับ ว่าเตียงว่างยากมากจึงต้อง อยู่รอบๆ ห้องฉุกเฉิน และมีญาติเฝ้า 24 ชม. ผม พี่สาว และ แม่ ต้องผลัดกันเฝ้า ระหว่างที่ให้ยาฆ่าเชื้อ คุณพ่อก็มีเสมหะเยอะมาก และมีตลอดเวลา คุณพยาบาลต้องคอยดูดให้ ทุกๆ 2-3 ชม. ทุกๆ ครั้งที่ดูดคุณพ่อจะทรมานมากเพราะสายยางที่ดูดจะลงไปถึงคอหอยคุณพ่อจะน้ำตาไหลและเหนื่อยจนหมดแรงทุกครั้ง
คุณพ่ออยู่ที่ห้องฉุกเฉินได้ 1 สัปดาห์ก็ได้ย้ายขึ้นห้องข้างบน (ห้องสามัญรวม) อาการของคุณพ่อ ก็ค่อยๆ ดีขึ้นแบบช้า มากๆ
และยังคงมี เสมหะ สลับกับมีไข้ อยู่ทุกๆ วัน เมื่อทาง รพ. ให้ยาฆ่าเชื้อติดต่อกัน 14 วัน อาการติดเชื้อ แบคทีเรียที่ปอด ก็เหมือนจะไม่มีแล้ว แต่อาการไข้ยังคงมีอยู่ ทาง รพ. ไม่ทราบเหตุว่าเกิดจากอะไรเพราะ เชื้อก็ไม่มีแล้ว จึงวิเคราะห์ปัญหาว่าอาจเกิดขึ้นจากกระบวนการในร่างกายเอง ระหว่างนั้น ก็ได้มีการเจาะน้ำในปอดออกไป วิเคราะห็อีก และคุณหมอได้พบว่า มีต่อมน้ำเหลือกโต นิดๆ และพบเชื้อวัณโรคแบบอ่อนๆ เชื้อนี้อาจได้รับมาจากที่ไหนสักแห่งเมื่อภาวะปอดอ่อนแอมันจึงเข้าเล่นงานปอด ….
ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ คุณหมอคุยเรื่องการดิสชาจ และให้ญาติไปเรียนเรื่องการปั่นอาหารและการดูแลคนไข้ เพื่อเตรียมพร้อมตอนกลับบ้าน พี่สาวก็ไปเรียนในทันที และให้เตรียมเครื่องผลิตอ๊อกซิเจน และเครื่องดูดเสมหะ ผมก็ไม่รังเร เตรียมซื้อไว้ในทันที (ค่าเครื่องรวมกันประมาณ 25,000)
จากนั้น อีกไม่ถึง 3 วัน วันที่ 11 กพ. 2561 เวลา 01.30 น. คุณหมอได้โทรมาบอกข่าวว่า คุณพ่อ…….เสียแล้ว ท่านจากไปอย่างสงบ รวมระยะเวลาที่ แอดมิดในครั้งนี้เกือบ 1 เดือน ….T T
เรื่องราวที่ผมได้แบ่งปัน นี้ อาจจะพอสรุปได้ว่า (ความคิดของผมเอง) คุณพ่อที่เริ่มล้มป่วยจากหลอดเลือดสมองนั้นถ้าอายุมากโอกาศกลับมาเหมือนเดิมไม่มีอีกแล้วแค่ให้เขาพอเดินได้นั่นก็ดีมากแล้ว (คุณพ่อ เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ต้นคอ) และโรคนี้คิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปสมองจะค่อยๆ ด้อยและเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ช้าหรือเร็วขึ้นกับ ปัจจัยแทรกซ้อน คนที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนสมองก็จะด้อยลงแบบช้าตามอายุของท่าน แต่ถ้ามีอาการแทรกซ้อนแบบคุณพ่อผมก็จะด้อยไปแบบเร็ว ผมเคยได้ยินและรับรู้จาก ญาติและเพื่อนๆ ที่เป็นโรคเดียวกัน บางคนมีชิวิตอยู่ 10 ปี หรือ 5 ปี บางคนต้องนอนติดเตียง แต่ก็สามารถอยู่ถึง 10 ปี ทั้งนี้เพราะเขาไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง และเรื่องกำลังใจสำคัญมากๆ คนดูแลก็เสี่ยงต่อความเครียดด้วย เพราะเรื่องการดูแลคนป่วยเป็นเรื่องยากและอดทนอย่างมาก ทั้งนี้ผม ต้องขอชื่นชม คุณแม่ และพี่สาว ที่เขาดูแลคุณพ่อ อย่างใกล้ชิด และตลอดมา ผมเองต้องทำงานประจำ จึงไปดูแลท่าน ได้เฉพาะ วันเท่านั้น
ทั้งนี้เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ ก็มักจะมีคำพูดที่ว่า “ถ้าย้อนเวลากลับไปได้” เราจะ……
- ตอนคุณพ่อ มีอาการปวดหัวและท้ายทอยทีแรกน่าจะพาไป รพ เฉพาะทางด้านสมอง
- เมื่อล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบน่าจะพาไป รพ เฉพาะทางตั้งแต่แรก (ให้ทันภายใน 4.5 ชม.)
- รู้งี้ยังไม่ให้คุณพ่อ ผ่าต่อมลูกหมาก หรือ ไปผ่าที่ ศิริราชซะตั้งแต่แรก
- น่าจะให้คุณพ่อ ใส่สายยางหยอดอาหารซะตั้งแต่ คุณหมอทัก
- และอื่นๆ
ในเรื่องนี้ผมมองได้ 2 จุด ที่เป็นปัจจัยส่งผลเสียต่อการดูแลคุณพ่อ
- ความผิดพลาดของบุคคลากร ทางการแพทย์ (คุณหมอ หรือ พยาบาล)
เคยมีคนบอกว่าให้ฟ้องร้องทาง รพ. แต่ผมนึกภาพถึงความแบบว่า ยุ่งยาก และมาถึงจุดนี้ ผมไม่อยากที่ทำอะไร นอกจาก เขียนแชร์ประสบการณ์นี้ ผมคิดว่าเรื่องราวแบบนี้คงต้องมีกันบ้างกับความผิดพลาด แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเกิดกับคุณพ่อ
- ความไม่รู้หรือคาดไม่ถึงของคนดูแล
การพยายามฝึกคุณพ่อ ให้ทำกายภาพถ้าหนักเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายใช้งานหนัก และเป็นไข้ได้ เป็นปัจจัยต้องให้ไปรพ บ่อยครั้งซึ่งการไป รพ บ่อยครั้ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อน และในที่นี้ผมเคยดูข้อมูลใน กูเกิ้ลเรื่อง หลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก อาจเกิดการตีบได้อีก ยิ่งถ้ามีการออกกำลังกายหนักมาก ก็ยิ่งส่งผลทำหม้ตีบเร็ว จึงเป็ยสาเหตุที่ต้องมาถ่างบ่อย ถ่างบ่อยก็เสี่ยงต่อการทะลุ อีก เราต้องออกกำลังให้พอเหมาะ
ผมหวังว่า เรื่องราวของคุณพ่อ และการดูแลจาก ผม พี่ สาว และแม่ จะเป็นบทเรียนและประสบการณ์ให้กับคนอื่นไม่มากก็น้อย
แชร์ประสบการณ์ คุณพ่อป่วย (ต่อ)
แต่... กระนั้นอาการที่คุณพ่อกลืนยากนั้น ก็ส่งผลอย่างอื่นตามมา เช่น อาการเจ็บช่องอก โดยเฉพาะเวลาหายใจและเวลาล้มตัวลงนอน คุณพ่อจะเจ็บจนร้องโอยๆ อยู่ตลอด แน่นอน ผม แม่และพี่สาว ก็ไม่สบายใจอีกครั้ง จึงพาคุณพ่อไปที่ศิริราช (คือไม่ได้กลับไป ชลประทานฯ อีกเลย โรคทุกอย่างที่คุณพ่อ เป็นเช่น ทางเดินปัสสาวะ , หลอดเลือดสมอง ก็ได้มาทาง ศิริราชทั้งหมด) แบบไม่ได้นัด บ่อยครั้ง ไปแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1 วันเต็มๆ (6.00 – 20.00) คุณหมอแผนกอายุรกรรมด้านทรวงอก ก็ได้ทำการ x-ray ช่องปอด ก็ไม่เจอหรือพบอะไรผิดปกติ รวมถึงตรวจหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า ก็ไม่พบอะไรผิดปกติเช่นกัน จึงให้กลับบ้าน ทางเราจึงลองไป รพ. ทรวงอก ที่ จ. นนทบุรี (สะดวกใกล้บ้านและเห็นว่า เป็นเฉพาะทาง) หมอที่ทรวงอก ได้ทำการ x-ray แบบนอนตระแคง จึงพบว่ามีน้ำในช่องปอด ได้ทำการเจาะดูดน้ำออกไป พร้อมกับเอาไปตรวจหาเชื้อในห้องแล็ป ด้วย แต่ต้องรอผล อีกหลายวัน และหมอ ได้สอบถามว่า คนไข้เป็นอะไรมาก่อนหน้า ทางผม ก็ได้เล่าให้ฟังอย่างละเอียด คุณหมอ บอกว่ามีความเป็นไปได้เมื่อตอนที่กระเพาะปัสสาวะทะลุนั้นของเหลวอาจไหลไปถึงผนังปอดๆ เลยสร้างเนื้อผนังให้หนาขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง เมื่อผนังหนาขึ้นเวลาขยับหรือหายใจ ก็อาจส่งผลให้ แต่ไม่เป็นอันตราย จากนั้นอาการเจ็บอก ของคุณพ่อ ก็ดีขึ้นแต่ก็..ดีขึ้นได้ไม่กี่วัน คุณพ่อก็เจ็บช่องอกอีก
ครั้งนี้จึงพาคุณพ่อไป ศิริราช แบบฉุกเฉิน (จะได้พบคุณหมอท่านใหม่ๆ) ผมก็ได้พูดถึงที่ รพ. ทรวงอกถึงการนอนตะแคง x-ray ศิริราช จึงทำเช่นกัน และพบว่ามีน้ำในปอดอีก แต่น้อยกว่าที่พบที่ รพ. ทรวงอก จึงเจาะออกไป และ ส่งวิเคราะห์ห้องแล็ป
ผลจากที่ ทรวงอก ก็ออกมา คือ ไม่มีเชื้อใดๆ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และ มะเร็ง จึงนำผลมาให้ที่ ศิริราชด้วยเช่นกัน ในวันเดียวกับที่ศิริราชนัดฟังผลๆ ที่ศิริราช ก็ไม่พบอะไรเชื้ออะไรเช่นกัน และครั้งนี้เองคุณหมอ ท่านนึง ได้แนะนำว่า ให้คุณพ่อ ใส่สายยางให้อาหารไหม สอดเข้าทางจมูกสายยาวไปถึงตำแหน่งกระเพาะ คนไข้มีภาวะกลืนยากอาจเสี่ยงต่อการสำลักและติดเชื้อในปอดได้ ตอนนั้นทางผม แม่และพี่สาว ไม่พร้อมที่จะให้คุณพ่อ ใส่ฯ เพราะนั่นคือคุณพ่อ จะไม่ได้ลิ้มรสชาต อาหารอีกแล้ว (ปกติจะพาคุณพ่อไปทานอาหารนอกบ้านอยู่บ่อยๆ) จึงบอกคุณหมอว่าเอาไว้คราวหลัง
เรื่องอาหารของคุณพ่อ เกือบทุกอย่างต้องปั่นเป็นของเหลว และจัดหาอาหารเสริมที่ดีต่อร่างกาย แต่อาการของคุณพ่อเรื่องกลืนยาก ก็เป็นมากขึ้น กินอาหารยาวนาน มากขึ้นเรื่องๆ เรียกได้ว่า กินเช้าเสร็จเอาเกือบเที่ยง กินเที่ยงไปชนมื้อเย็น เป็นแบบนี้ อยู่ 4-5 วัน จนคุณพ่อ มีอาการสำลักอาหารและน้ำแบบรุนแรง วันรุ่งขึ้น (14 มค. 2561) คุณพ่อก็มีไข้ จึงรีบพาไปฉุกเฉินที่ ศิริราช และ ทาง รพ. ทำการเจาะเลือด และตรวจเสมหะจึงพบว่าที่ปอด มีอาการอักเสบติดเชื้อจึงต้องนอนให้ยาฆ่าเชื้อและอยาก แอดมิด แต่ที่ศิริราชอย่างที่ทุกคนรู้ครับ ว่าเตียงว่างยากมากจึงต้อง อยู่รอบๆ ห้องฉุกเฉิน และมีญาติเฝ้า 24 ชม. ผม พี่สาว และ แม่ ต้องผลัดกันเฝ้า ระหว่างที่ให้ยาฆ่าเชื้อ คุณพ่อก็มีเสมหะเยอะมาก และมีตลอดเวลา คุณพยาบาลต้องคอยดูดให้ ทุกๆ 2-3 ชม. ทุกๆ ครั้งที่ดูดคุณพ่อจะทรมานมากเพราะสายยางที่ดูดจะลงไปถึงคอหอยคุณพ่อจะน้ำตาไหลและเหนื่อยจนหมดแรงทุกครั้ง
คุณพ่ออยู่ที่ห้องฉุกเฉินได้ 1 สัปดาห์ก็ได้ย้ายขึ้นห้องข้างบน (ห้องสามัญรวม) อาการของคุณพ่อ ก็ค่อยๆ ดีขึ้นแบบช้า มากๆ
และยังคงมี เสมหะ สลับกับมีไข้ อยู่ทุกๆ วัน เมื่อทาง รพ. ให้ยาฆ่าเชื้อติดต่อกัน 14 วัน อาการติดเชื้อ แบคทีเรียที่ปอด ก็เหมือนจะไม่มีแล้ว แต่อาการไข้ยังคงมีอยู่ ทาง รพ. ไม่ทราบเหตุว่าเกิดจากอะไรเพราะ เชื้อก็ไม่มีแล้ว จึงวิเคราะห์ปัญหาว่าอาจเกิดขึ้นจากกระบวนการในร่างกายเอง ระหว่างนั้น ก็ได้มีการเจาะน้ำในปอดออกไป วิเคราะห็อีก และคุณหมอได้พบว่า มีต่อมน้ำเหลือกโต นิดๆ และพบเชื้อวัณโรคแบบอ่อนๆ เชื้อนี้อาจได้รับมาจากที่ไหนสักแห่งเมื่อภาวะปอดอ่อนแอมันจึงเข้าเล่นงานปอด ….
ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ คุณหมอคุยเรื่องการดิสชาจ และให้ญาติไปเรียนเรื่องการปั่นอาหารและการดูแลคนไข้ เพื่อเตรียมพร้อมตอนกลับบ้าน พี่สาวก็ไปเรียนในทันที และให้เตรียมเครื่องผลิตอ๊อกซิเจน และเครื่องดูดเสมหะ ผมก็ไม่รังเร เตรียมซื้อไว้ในทันที (ค่าเครื่องรวมกันประมาณ 25,000)
จากนั้น อีกไม่ถึง 3 วัน วันที่ 11 กพ. 2561 เวลา 01.30 น. คุณหมอได้โทรมาบอกข่าวว่า คุณพ่อ…….เสียแล้ว ท่านจากไปอย่างสงบ รวมระยะเวลาที่ แอดมิดในครั้งนี้เกือบ 1 เดือน ….T T
เรื่องราวที่ผมได้แบ่งปัน นี้ อาจจะพอสรุปได้ว่า (ความคิดของผมเอง) คุณพ่อที่เริ่มล้มป่วยจากหลอดเลือดสมองนั้นถ้าอายุมากโอกาศกลับมาเหมือนเดิมไม่มีอีกแล้วแค่ให้เขาพอเดินได้นั่นก็ดีมากแล้ว (คุณพ่อ เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ต้นคอ) และโรคนี้คิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปสมองจะค่อยๆ ด้อยและเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ช้าหรือเร็วขึ้นกับ ปัจจัยแทรกซ้อน คนที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนสมองก็จะด้อยลงแบบช้าตามอายุของท่าน แต่ถ้ามีอาการแทรกซ้อนแบบคุณพ่อผมก็จะด้อยไปแบบเร็ว ผมเคยได้ยินและรับรู้จาก ญาติและเพื่อนๆ ที่เป็นโรคเดียวกัน บางคนมีชิวิตอยู่ 10 ปี หรือ 5 ปี บางคนต้องนอนติดเตียง แต่ก็สามารถอยู่ถึง 10 ปี ทั้งนี้เพราะเขาไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง และเรื่องกำลังใจสำคัญมากๆ คนดูแลก็เสี่ยงต่อความเครียดด้วย เพราะเรื่องการดูแลคนป่วยเป็นเรื่องยากและอดทนอย่างมาก ทั้งนี้ผม ต้องขอชื่นชม คุณแม่ และพี่สาว ที่เขาดูแลคุณพ่อ อย่างใกล้ชิด และตลอดมา ผมเองต้องทำงานประจำ จึงไปดูแลท่าน ได้เฉพาะ วันเท่านั้น
ทั้งนี้เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ ก็มักจะมีคำพูดที่ว่า “ถ้าย้อนเวลากลับไปได้” เราจะ……
- ตอนคุณพ่อ มีอาการปวดหัวและท้ายทอยทีแรกน่าจะพาไป รพ เฉพาะทางด้านสมอง
- เมื่อล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบน่าจะพาไป รพ เฉพาะทางตั้งแต่แรก (ให้ทันภายใน 4.5 ชม.)
- รู้งี้ยังไม่ให้คุณพ่อ ผ่าต่อมลูกหมาก หรือ ไปผ่าที่ ศิริราชซะตั้งแต่แรก
- น่าจะให้คุณพ่อ ใส่สายยางหยอดอาหารซะตั้งแต่ คุณหมอทัก
- และอื่นๆ
ในเรื่องนี้ผมมองได้ 2 จุด ที่เป็นปัจจัยส่งผลเสียต่อการดูแลคุณพ่อ
- ความผิดพลาดของบุคคลากร ทางการแพทย์ (คุณหมอ หรือ พยาบาล)
เคยมีคนบอกว่าให้ฟ้องร้องทาง รพ. แต่ผมนึกภาพถึงความแบบว่า ยุ่งยาก และมาถึงจุดนี้ ผมไม่อยากที่ทำอะไร นอกจาก เขียนแชร์ประสบการณ์นี้ ผมคิดว่าเรื่องราวแบบนี้คงต้องมีกันบ้างกับความผิดพลาด แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเกิดกับคุณพ่อ
- ความไม่รู้หรือคาดไม่ถึงของคนดูแล
การพยายามฝึกคุณพ่อ ให้ทำกายภาพถ้าหนักเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายใช้งานหนัก และเป็นไข้ได้ เป็นปัจจัยต้องให้ไปรพ บ่อยครั้งซึ่งการไป รพ บ่อยครั้ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อน และในที่นี้ผมเคยดูข้อมูลใน กูเกิ้ลเรื่อง หลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก อาจเกิดการตีบได้อีก ยิ่งถ้ามีการออกกำลังกายหนักมาก ก็ยิ่งส่งผลทำหม้ตีบเร็ว จึงเป็ยสาเหตุที่ต้องมาถ่างบ่อย ถ่างบ่อยก็เสี่ยงต่อการทะลุ อีก เราต้องออกกำลังให้พอเหมาะ
ผมหวังว่า เรื่องราวของคุณพ่อ และการดูแลจาก ผม พี่ สาว และแม่ จะเป็นบทเรียนและประสบการณ์ให้กับคนอื่นไม่มากก็น้อย