ผมมีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมของงาน SE-ED BOOK FAIR “อ่านสู่ความสำเร็จ” READ TO SUCCESS ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 11 มีนาคม 2561 ที่ห้องพระราม 2 ฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 โดยวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561 มีหัวข้อการบรรยายพิเศษชื่อว่า “เทคนิคปลูกนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย” ที่บรรยายโดยพี่ตุ๊บปอง คุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจที่ผมอยากนำเสนอดังนี้
(รายละเอียดจากการบรรยายในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)
-ขอพูดถึงหนังสือนิทานสำหรับเด็กที่พี่ตุ๊บปองแต่งเรื่อง “ตาอินกับตานา” และเรื่อง “กำเนิดพระสังข์” สองเล่มนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือดีสำหรับเด็กควรอ่าน
-ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองหยิบหนังสือสำหรับเด็กขึ้นมา 1 เล่ม ควรจะต้องใช้ประโยชน์จากหนังสือให้ได้ทั้ง 5 ประการคือ 1.อ่าน 2.ท่อง 3.ร้อง 4.เล่น 5.เล่า
-พี่ตุ๊บปองลองอ่านนิทานเรื่อง “กำเนิดพระสังข์” เป็นสำนองเสนาะให้ฟัง ฟังเสียงแล้วมีจังหวะขึ้น-ลงที่สอดรับกันอย่างดี
-พี่ตุ๊บปองเล่าใฟ้ฟังว่า เมื่อปี 2546 มีหนังสือแปลเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยคุณพรอนงค์ นิยมค้า เล่มนี้เป็นหนังสือที่พ่อแม่ทุกคนต้องอ่าน เป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พูดถึงการปลูกฝังการอ่านให้แก่ลูกน้อย
-พี่ตุ๊บปองเคยทำโครงการ “บุ๊คสตาร์ท” หรือใช้ภาษาไทยว่าโครงการ “หนังสือเล่มแรก” โดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศอังกฤษ ที่ประเทศอังกฤษเริ่มทำโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2535
-หลังจากนั้นพี่ตุ๊บปองได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเอาแบบอย่างโครงการ “บุ๊คสตาร์ท” มาทำจนประสบผลสำเร็จ โดยที่ประเทศญี่ปุ่นมีโครงการต่อเนื่องคือ โครงการห้องสมุดในบ้านของแต่ละครอบครัว ทำให้เด็กญี่ปุ่นเป็นเด็กที่รักการอ่านมาก
-พอถึงปี 2546 ก็เริ่มทำโครงการ “หนังสือเล่มแรก” ขึ้นมาในประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วพี่ตุ๊บปองทำการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กๆ มาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว ทำให้พี่ตุ๊บปองรู้ซึ้งถึงปัญหาในการทำงานด้านนี้มาตลอด
-ที่ผ่านมาโครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กในประเทศไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะการขาดส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ล้มเหลวคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่อ่านหนังสือเลย โอกาสที่จะทำให้เด็กอ่านหนังสือตามจึงไม่มีเลย
-พี่ตุ๊บปองเล่าถึงการทำโครงการ “หนังสือเล่มแรก” ในช่วงเริ่มต้นว่า ตัวพี่ตุ๊บปองได้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ ได้ลองทำโครงการกับครอบครัวจำนวน 106 ครอบครัว เป็นครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน ใช้วิธีเดินเข้าไปหาครอบครัวที่กำลังมีลูกน้อยวัย 6-9 เดือน พูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของโครงการให้พ่อแม่เหล่านี้ทราบ แล้วได้มอบ “ถุงหนังสือเล่มแรก” ให้แต่ละครอบครัวไว้อ่าน
-โดยใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” จะมีหนังสืออยู่ 3 เล่มคือ เล่มที่ 1 และ 2 เป็นหนังสือสำหรับให้คุณพ่อคุณแม่อ่านเพื่อการเตรียมตัวสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ลูกน้อย โดยเอาข้อมูลมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสืออ่านง่ายที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น
-เพราะมองว่าหนังสือเป็นอาหารมื้อสำคัญสำหรับเด็ก แม้ว่าจะไม่ได้เป็นมื้อหลักแต่ก็เป็นมื้อเสริมที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับเด็ก ควรให้ลูกๆ ได้อ่านหนังสือมื้อเสริมนี้ทุกวันอย่าให้ขาด
-ปัญหาที่เจออีกประการหนึ่งก็คือ คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือไม่ออก ดังนั้นทางโครงการจึงได้ทำการ์ตูนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือหนังสือสำหรับการเตรียมตัวในเล่มที่ 1 และ 2 นี้เอง
-คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ซื้อหนังสือให้แก่ลูก มอบให้เขาเลยโดยไม่ได้สอนวิธีการจับหนังสือให้แก่ลูก เพราะสำหรับเด็กน้อยวิธีการจับหนังสือก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทำหนังสือขาด เพราะ “หนังสือเล่มขาดได้แต่ใจลูกต้องไม่ขาด”
-เมื่อหยิบหนังสือแต่ละเล่มส่งให้แก่ลูกน้อย เราต้องสอนให้เขาจับหนังสือเล่มให้ถูกต้อง สอนให้เขาเปิดหน้าให้ถูกวิธี เพื่อสร้างสัมผัสเริ่มต้นให้แก่เขา
-คุณพ่อคุณแม่บางท่านชอบอ้างว่าตัวเองไม่มีเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟัง บางคนกังวลว่าเสียงตัวเองไม่ดีไม่เพราะเลยไม่อยากอ่านให้ลูกฟัง ซึ่งวิธีคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ผิด เพราะเรื่องการอ่านของลูกเราต้องให้เวลาแก่เขา ลูกอยากฟังเสียงของพ่อแม่มากกว่าเสียงอื่นๆ จงจำไว้ว่า ... เสียงของพ่อแม่เป็นเสียงที่อบอุ่นและเชื่อใจได้สำหรับลูกน้อยเสมอ
-อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพราะเมื่อลูกได้ฟังลูกจะจำเสียงพ่อแม่ได้ เวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังลูกจะมองที่รูปปากของคุณพ่อคุณแม่ สิ่งเหล่านี้สำคัญมากสำหรับพัฒนาการด้านการพูดของลูกๆ ด้วย
-พี่ตุ๊บปองย้ำชัดๆ เสียงดังๆ ว่า “อ่านหนังสือให้ลูกฟังเถอะ อ่านอะไรก็ได้ อ่านเรื่องที่คิดว่าลูกคงชอบก็ได้ อ่านเล่มไหนก็ได้และอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ ขอให้อ่านให้ลูกฟังเถอะ”
-สำหรับหนังสือเล่มที่ 3 ใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” คือหนังสือนิทานสำหรับลูกน้อยชื่อ “ตั้งไข่ล้ม” หนังสือเล่มนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะอ่านให้ลูกฟังได้ , ท่องเนื้อเรื่องเป็นสำนองเพราะๆ ให้ลูกฟังได้ , ร้องเพลงสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับเรื่องให้ลูกฟังได้ , เล่นละครตามนิทานให้ลูกดูได้ และเล่าเรื่องให้ลูกฟังอีกกี่รอบก็ได้ ตามหลัก 5 ประการที่พี่ตุ๊บปองให้ไว้คือ 1.อ่าน 2.ท่อง 3.ร้อง 4.เล่น 5.เล่า
-หนังสือนิทานเรื่อง “ตั้งไข่ล้ม” นี้ ในเล่มจะมีภาพประกอบที่สวยงามเรียกความสนใจจากเด็กน้อย และภาพเหล่านี้สำหรับปู่ย่าตายายที่อ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเล่าเรื่องตามภาพประกอบให้เด็กน้อยฟังได้เช่นกัน
-การท่องเนื้อเรื่องที่เป็นจังหวะ เป็นทำนองเพราะๆ หรือเนื้อเรื่องที่มีบทร้องจะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก อีกทั้งทำให้เด็กสนุกไปกับเนื้อเรื่องด้วย
-การเล่นกับลูกตามเนื่อเรื่องในนิทาน นอกจากจะทำให้เด็กสนุกสนานแล้ว ยังทำให้เด็กชอบการเล่าเรื่องอีกด้วย โตขึ้นมาเขาจะได้ชอบอ่านหนังสือที่เป็นการเล่าเรื่องต่อได้
-หนังสือนิทานบางเล่มมีเนื้อเรื่องเป็นคำกลอนที่อ่านได้สอดคล้องกันไป อ่านแล้วมีจังหวะจะโคน เช่นลงท้ายด้วยเสียงไหนก็รับด้วยเสียงนั้น คือเป็นคำคล้องจอง หรือมีคำสัมผัสต่างๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีเมื่อเขาโตขึ้นด้วย
-นอกจากนั้นนิทานที่เล่าเรื่องเป็นคำกลอน จะช่วยให้เด็กจดจำได้ง่าย เป็นการช่วยพัฒนาเรื่องความจำให้แก่เด็กๆ ด้วย
-และเวลาที่อ่านนิทานให้ลูกฟัง ให้ทำท่าทำทางให้ลูกดูด้วย เพื่อสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายให้แก่เขา เช่นเล่นร้องเพลงจับปูดำขยำปูนา ร้องไปก็ขยำมือไปด้วย ให้ลูกลองทำตาม ให้เขาทำมือขยำตาม พวกนี้จะช่วยในเรื่องพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวให้แก่เขาด้วย
-นอกจากนั้นการร้องเพลงประกอบการเล่าเรื่องให้ลูกฟัง จะช่วยในเรื่องการสร้างสมาธิให้แก่ลูกน้อยด้วย อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนร้องเพลงกล่อมลูกด้วย เพลงอะไรก็ได้จะเป็นเพลงที่พ่อแม่เคยร้องกล่อมเรามาก่อนก็ได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะล้าสมัยเลย
-ในสมัยนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมร้องเพลงกล่อมลูกเลย ใช้วิธีเปิดเพลงเปิดวิทยุให้ลูกฟัง วิธีแบบนี้มันไม่มีชีวิตชีวาเลย ลูกน้อยไม่ได้รับสัมผัสความรักที่พ่อแม่ส่งให้เลย ดังนั้น ... มาร้องเพลงกล่อมลูกกันเถอะ
-สรุปว่า หนังสือนิทานเรื่อง “ตั้งไข่ล้ม” มีครบทั้ง 5 ประการที่ช่วยส่งเสริมการรักการอ่านให้แก่ลูกน้อย
-ในปี 2552 รัฐบาลในเวลานั้นให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมการอ่านมาก ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปี 2556 โครงการหนังสือเล่มแรกได้ถูกผลักดันให้ถึงมือเด็กทั่วประเทศที่เกิดในช่วงเวลานั้น เด็กที่เกิดปีละประมาณ 8 แสนคนจะได้รับ “ถุงหนังสือเล่มแรก” ทุกคน และพอถึงเวลาที่เด็กเข้ารับการฉีดวัคซีน เด็กทุกคนจะได้รับหนังสือนิทานเรื่อง “ติ่งต่อง” คนละเล่มด้วย
-ปัจจุบันโครงการนี้ไม่มีแล้ว ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอีกแล้ว ทำได้ประมาณ 5 ปีจึงเลิกไป ต่อไปนี้ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนลองทำตามที่พี่ตุ๊บปองเล่ามาทั้งหมด เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาการให้แก่ลูกน้อยของท่าน ให้เขารักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นไปเขาจะได้อ่านหนังสือเล่มอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นคนที่ดีต่อไปในภายภาคหน้า
-พี่ตุ๊บปองขอแนะนำหนังสือนิทานที่พี่ตุ๊บปองแต่งให้คุณพ่อคุณแม่ลองอ่านให้ลูกน้อยฟัง คือเรื่อง “กุ๊กไก่ปวดท้อง” เล่มนี้เด็กๆ ชอบกันมาก พิมพ์ครั้งแรกปี 2547 ปัจจุบันก็ยังพิมพ์อยู่เป็นครั้งที่ 50 แล้ว เล่มนี้เป็นหนังสือจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
-อีกเล่มคือหนังสือนิทานเรื่อง “น้องหมีเล่นกับพ่อ” เล่มนี้เป็นหนังสือแปลมาจากภาษาญี่ปุ่น เล่มนี้พิเศษคือเรื่องราวจะเป็นการเล่นระหว่างพ่อกับลูก ซึ่งสามารถนำไปเล่าประยุกต์ใช้ได้จริง เช่นการเล่น “เดินโยกเยก” คือให้ลูกน้อยยืนบนหลังเท้าของคุณพ่อ คุณพ่อจับมือลูกไว้ประครองให้เดินไปด้วยกันโดยคุณพ่อยกเท้าก้าวขาไป เล่นแบบนี้เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อกับลูก อีกทั้งได้สัมผัสรักจากพ่อสู่ลูกด้วย
-คุณพ่อคุณแม่อาจจะอ่านหนังสือเล่าให้ลูกฟัง แล้วร้องเพลงเด็กตามไปด้วยก็ได้ เช่นการเล่นเดินโยกเยกกับคุณพ่อ แล้วร้องเพลง “โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ ...” ร้องคู่ไปด้วย ทำให้เด็กสนุกสนานมากขึ้นด้วย
-นอกจากนี้ใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” ยังมีตุ๊กตาผ้ารูปช้าง มอบให้เด็ก 1 ตัวด้วย เพื่อให้เด็กน้อยได้กอดเล่นหรือกัดเล่นก็ได้ เพื่อสร้างสัมผัสที่ดีให้แก่เขา ซึ่งตุ๊กตาผ้ารูปช้างนี้ซักได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกลัวเรื่องความสกปรก พอลูกเล่นแล้วก็เอาไปซักได้
-โครงการหนังสือเล่มแรกที่พี่ตุ๊บปองเล่ามาทั้งหมดนี้ พี่ตุ๊บปองทำมาตั้งแต่ปี 2546 แล้ว ปัจจุบันก็ 15 ปีแล้ว และพี่ตุ๊บปองก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ (ขอให้พวกเราช่วยส่งกำลังใจให้พี่ตุ๊บปองด้วย) อยากให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยลองทำตามอย่างที่พี่ตุ๊บปองบอกกันเยอะๆ
-ปัจจุบันนี้พี่ตุ๊บปองต้องหาเงินมาทำโครงการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กๆ เอง เป็นการทำต่อยอดเพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จ โดยเริ่มโครงการ “อ่านแต่เล็กเด็กฉลาด สร้างสมรรถนะที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัย” เป็นโครงการที่ใช้หนังสือสร้างสมรรถนะที่ดีให้แก่เด็กๆ โครงการนี้ร่วมมือกับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลที่ได้จากเด็กๆ ที่ผ่านโครงการส่งเสริมการอ่านนี้สามารถทำคะแนนได้ดีเยี่ยมกว่า 90% กันทุกคน
-จึงสรุปได้ว่า “อ่าน ท่อง ร้อง เล่น เล่า” 5 ประการนี้สร้างสมรรถนะให้แก่เด็กปฐมวัยได้จริงๆ ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
-คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเป็นอย่างไร ก็หาหนังสือที่มีเนื้อหาอย่างนั้นมาอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่ปฐมวัย จงจำไว้ว่า บ้านไหนมีเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้แก่เด็ก
-เด็กที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือนิทานให้ฟังตั้งแต่ 6 เดือน เด็กเขามีภาพจำที่ดีของพ่อแม่อยู่ในหัวเขาตลอด พอเขาโตขึ้นมาเขาจะไม่ทำอะไรที่เสียหายเลย เพราะเขาไม่ต้องการให้พ่อแม่ที่เป็นภาพจำอันดีของเขาต้องเสียใจ
-ดังนั้นภาพจำที่ดีที่เด็กได้เห็นทุกวัน จะกลายเป็นอุปนิสัยที่ดีของเขาในอนาคต คุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวเป็นภาพจำที่ดีสำหรับลูกน้อยด้วย
-ข้อควรจำอีกประการคือ ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง เราควรเล่าให้จบเรื่องทุกครั้ง อย่าเล่าแบบค้างๆ คาๆ หรือผัดวันประกันพรุ่ง เด็กจะเอาเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีได้
-ท้ายที่สุดพี่ตุ๊บปองอยากจะบอกว่า ถ้าเราอยากให้ลูกอ่านหนังสือ เราต้องเป็นคนที่อ่านหนังสือด้วย เพื่อเป็นภาพจำให้เด็กได้เห็นทุกวัน เขาจะได้มีนิสัยรักการอ่านเหมือนคุณพ่อคุณแม่ของเขา
เทคนิคปลูกนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย
ผมมีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมของงาน SE-ED BOOK FAIR “อ่านสู่ความสำเร็จ” READ TO SUCCESS ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 11 มีนาคม 2561 ที่ห้องพระราม 2 ฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 โดยวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561 มีหัวข้อการบรรยายพิเศษชื่อว่า “เทคนิคปลูกนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย” ที่บรรยายโดยพี่ตุ๊บปอง คุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจที่ผมอยากนำเสนอดังนี้
(รายละเอียดจากการบรรยายในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)
-ขอพูดถึงหนังสือนิทานสำหรับเด็กที่พี่ตุ๊บปองแต่งเรื่อง “ตาอินกับตานา” และเรื่อง “กำเนิดพระสังข์” สองเล่มนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือดีสำหรับเด็กควรอ่าน
-ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองหยิบหนังสือสำหรับเด็กขึ้นมา 1 เล่ม ควรจะต้องใช้ประโยชน์จากหนังสือให้ได้ทั้ง 5 ประการคือ 1.อ่าน 2.ท่อง 3.ร้อง 4.เล่น 5.เล่า
-พี่ตุ๊บปองลองอ่านนิทานเรื่อง “กำเนิดพระสังข์” เป็นสำนองเสนาะให้ฟัง ฟังเสียงแล้วมีจังหวะขึ้น-ลงที่สอดรับกันอย่างดี
-พี่ตุ๊บปองเล่าใฟ้ฟังว่า เมื่อปี 2546 มีหนังสือแปลเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยคุณพรอนงค์ นิยมค้า เล่มนี้เป็นหนังสือที่พ่อแม่ทุกคนต้องอ่าน เป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พูดถึงการปลูกฝังการอ่านให้แก่ลูกน้อย
-พี่ตุ๊บปองเคยทำโครงการ “บุ๊คสตาร์ท” หรือใช้ภาษาไทยว่าโครงการ “หนังสือเล่มแรก” โดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศอังกฤษ ที่ประเทศอังกฤษเริ่มทำโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2535
-หลังจากนั้นพี่ตุ๊บปองได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเอาแบบอย่างโครงการ “บุ๊คสตาร์ท” มาทำจนประสบผลสำเร็จ โดยที่ประเทศญี่ปุ่นมีโครงการต่อเนื่องคือ โครงการห้องสมุดในบ้านของแต่ละครอบครัว ทำให้เด็กญี่ปุ่นเป็นเด็กที่รักการอ่านมาก
-พอถึงปี 2546 ก็เริ่มทำโครงการ “หนังสือเล่มแรก” ขึ้นมาในประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วพี่ตุ๊บปองทำการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กๆ มาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว ทำให้พี่ตุ๊บปองรู้ซึ้งถึงปัญหาในการทำงานด้านนี้มาตลอด
-ที่ผ่านมาโครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กในประเทศไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะการขาดส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ล้มเหลวคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่อ่านหนังสือเลย โอกาสที่จะทำให้เด็กอ่านหนังสือตามจึงไม่มีเลย
-พี่ตุ๊บปองเล่าถึงการทำโครงการ “หนังสือเล่มแรก” ในช่วงเริ่มต้นว่า ตัวพี่ตุ๊บปองได้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ ได้ลองทำโครงการกับครอบครัวจำนวน 106 ครอบครัว เป็นครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน ใช้วิธีเดินเข้าไปหาครอบครัวที่กำลังมีลูกน้อยวัย 6-9 เดือน พูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของโครงการให้พ่อแม่เหล่านี้ทราบ แล้วได้มอบ “ถุงหนังสือเล่มแรก” ให้แต่ละครอบครัวไว้อ่าน
-โดยใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” จะมีหนังสืออยู่ 3 เล่มคือ เล่มที่ 1 และ 2 เป็นหนังสือสำหรับให้คุณพ่อคุณแม่อ่านเพื่อการเตรียมตัวสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ลูกน้อย โดยเอาข้อมูลมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสืออ่านง่ายที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น
-เพราะมองว่าหนังสือเป็นอาหารมื้อสำคัญสำหรับเด็ก แม้ว่าจะไม่ได้เป็นมื้อหลักแต่ก็เป็นมื้อเสริมที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับเด็ก ควรให้ลูกๆ ได้อ่านหนังสือมื้อเสริมนี้ทุกวันอย่าให้ขาด
-ปัญหาที่เจออีกประการหนึ่งก็คือ คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือไม่ออก ดังนั้นทางโครงการจึงได้ทำการ์ตูนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือหนังสือสำหรับการเตรียมตัวในเล่มที่ 1 และ 2 นี้เอง
-คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ซื้อหนังสือให้แก่ลูก มอบให้เขาเลยโดยไม่ได้สอนวิธีการจับหนังสือให้แก่ลูก เพราะสำหรับเด็กน้อยวิธีการจับหนังสือก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทำหนังสือขาด เพราะ “หนังสือเล่มขาดได้แต่ใจลูกต้องไม่ขาด”
-เมื่อหยิบหนังสือแต่ละเล่มส่งให้แก่ลูกน้อย เราต้องสอนให้เขาจับหนังสือเล่มให้ถูกต้อง สอนให้เขาเปิดหน้าให้ถูกวิธี เพื่อสร้างสัมผัสเริ่มต้นให้แก่เขา
-คุณพ่อคุณแม่บางท่านชอบอ้างว่าตัวเองไม่มีเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟัง บางคนกังวลว่าเสียงตัวเองไม่ดีไม่เพราะเลยไม่อยากอ่านให้ลูกฟัง ซึ่งวิธีคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ผิด เพราะเรื่องการอ่านของลูกเราต้องให้เวลาแก่เขา ลูกอยากฟังเสียงของพ่อแม่มากกว่าเสียงอื่นๆ จงจำไว้ว่า ... เสียงของพ่อแม่เป็นเสียงที่อบอุ่นและเชื่อใจได้สำหรับลูกน้อยเสมอ
-อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพราะเมื่อลูกได้ฟังลูกจะจำเสียงพ่อแม่ได้ เวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังลูกจะมองที่รูปปากของคุณพ่อคุณแม่ สิ่งเหล่านี้สำคัญมากสำหรับพัฒนาการด้านการพูดของลูกๆ ด้วย
-พี่ตุ๊บปองย้ำชัดๆ เสียงดังๆ ว่า “อ่านหนังสือให้ลูกฟังเถอะ อ่านอะไรก็ได้ อ่านเรื่องที่คิดว่าลูกคงชอบก็ได้ อ่านเล่มไหนก็ได้และอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ ขอให้อ่านให้ลูกฟังเถอะ”
-สำหรับหนังสือเล่มที่ 3 ใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” คือหนังสือนิทานสำหรับลูกน้อยชื่อ “ตั้งไข่ล้ม” หนังสือเล่มนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะอ่านให้ลูกฟังได้ , ท่องเนื้อเรื่องเป็นสำนองเพราะๆ ให้ลูกฟังได้ , ร้องเพลงสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับเรื่องให้ลูกฟังได้ , เล่นละครตามนิทานให้ลูกดูได้ และเล่าเรื่องให้ลูกฟังอีกกี่รอบก็ได้ ตามหลัก 5 ประการที่พี่ตุ๊บปองให้ไว้คือ 1.อ่าน 2.ท่อง 3.ร้อง 4.เล่น 5.เล่า
-หนังสือนิทานเรื่อง “ตั้งไข่ล้ม” นี้ ในเล่มจะมีภาพประกอบที่สวยงามเรียกความสนใจจากเด็กน้อย และภาพเหล่านี้สำหรับปู่ย่าตายายที่อ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเล่าเรื่องตามภาพประกอบให้เด็กน้อยฟังได้เช่นกัน
-การท่องเนื้อเรื่องที่เป็นจังหวะ เป็นทำนองเพราะๆ หรือเนื้อเรื่องที่มีบทร้องจะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก อีกทั้งทำให้เด็กสนุกไปกับเนื้อเรื่องด้วย
-การเล่นกับลูกตามเนื่อเรื่องในนิทาน นอกจากจะทำให้เด็กสนุกสนานแล้ว ยังทำให้เด็กชอบการเล่าเรื่องอีกด้วย โตขึ้นมาเขาจะได้ชอบอ่านหนังสือที่เป็นการเล่าเรื่องต่อได้
-หนังสือนิทานบางเล่มมีเนื้อเรื่องเป็นคำกลอนที่อ่านได้สอดคล้องกันไป อ่านแล้วมีจังหวะจะโคน เช่นลงท้ายด้วยเสียงไหนก็รับด้วยเสียงนั้น คือเป็นคำคล้องจอง หรือมีคำสัมผัสต่างๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีเมื่อเขาโตขึ้นด้วย
-นอกจากนั้นนิทานที่เล่าเรื่องเป็นคำกลอน จะช่วยให้เด็กจดจำได้ง่าย เป็นการช่วยพัฒนาเรื่องความจำให้แก่เด็กๆ ด้วย
-และเวลาที่อ่านนิทานให้ลูกฟัง ให้ทำท่าทำทางให้ลูกดูด้วย เพื่อสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายให้แก่เขา เช่นเล่นร้องเพลงจับปูดำขยำปูนา ร้องไปก็ขยำมือไปด้วย ให้ลูกลองทำตาม ให้เขาทำมือขยำตาม พวกนี้จะช่วยในเรื่องพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวให้แก่เขาด้วย
-นอกจากนั้นการร้องเพลงประกอบการเล่าเรื่องให้ลูกฟัง จะช่วยในเรื่องการสร้างสมาธิให้แก่ลูกน้อยด้วย อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนร้องเพลงกล่อมลูกด้วย เพลงอะไรก็ได้จะเป็นเพลงที่พ่อแม่เคยร้องกล่อมเรามาก่อนก็ได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะล้าสมัยเลย
-ในสมัยนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมร้องเพลงกล่อมลูกเลย ใช้วิธีเปิดเพลงเปิดวิทยุให้ลูกฟัง วิธีแบบนี้มันไม่มีชีวิตชีวาเลย ลูกน้อยไม่ได้รับสัมผัสความรักที่พ่อแม่ส่งให้เลย ดังนั้น ... มาร้องเพลงกล่อมลูกกันเถอะ
-สรุปว่า หนังสือนิทานเรื่อง “ตั้งไข่ล้ม” มีครบทั้ง 5 ประการที่ช่วยส่งเสริมการรักการอ่านให้แก่ลูกน้อย
-ในปี 2552 รัฐบาลในเวลานั้นให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมการอ่านมาก ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปี 2556 โครงการหนังสือเล่มแรกได้ถูกผลักดันให้ถึงมือเด็กทั่วประเทศที่เกิดในช่วงเวลานั้น เด็กที่เกิดปีละประมาณ 8 แสนคนจะได้รับ “ถุงหนังสือเล่มแรก” ทุกคน และพอถึงเวลาที่เด็กเข้ารับการฉีดวัคซีน เด็กทุกคนจะได้รับหนังสือนิทานเรื่อง “ติ่งต่อง” คนละเล่มด้วย
-ปัจจุบันโครงการนี้ไม่มีแล้ว ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอีกแล้ว ทำได้ประมาณ 5 ปีจึงเลิกไป ต่อไปนี้ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนลองทำตามที่พี่ตุ๊บปองเล่ามาทั้งหมด เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาการให้แก่ลูกน้อยของท่าน ให้เขารักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นไปเขาจะได้อ่านหนังสือเล่มอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นคนที่ดีต่อไปในภายภาคหน้า
-พี่ตุ๊บปองขอแนะนำหนังสือนิทานที่พี่ตุ๊บปองแต่งให้คุณพ่อคุณแม่ลองอ่านให้ลูกน้อยฟัง คือเรื่อง “กุ๊กไก่ปวดท้อง” เล่มนี้เด็กๆ ชอบกันมาก พิมพ์ครั้งแรกปี 2547 ปัจจุบันก็ยังพิมพ์อยู่เป็นครั้งที่ 50 แล้ว เล่มนี้เป็นหนังสือจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
-อีกเล่มคือหนังสือนิทานเรื่อง “น้องหมีเล่นกับพ่อ” เล่มนี้เป็นหนังสือแปลมาจากภาษาญี่ปุ่น เล่มนี้พิเศษคือเรื่องราวจะเป็นการเล่นระหว่างพ่อกับลูก ซึ่งสามารถนำไปเล่าประยุกต์ใช้ได้จริง เช่นการเล่น “เดินโยกเยก” คือให้ลูกน้อยยืนบนหลังเท้าของคุณพ่อ คุณพ่อจับมือลูกไว้ประครองให้เดินไปด้วยกันโดยคุณพ่อยกเท้าก้าวขาไป เล่นแบบนี้เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อกับลูก อีกทั้งได้สัมผัสรักจากพ่อสู่ลูกด้วย
-คุณพ่อคุณแม่อาจจะอ่านหนังสือเล่าให้ลูกฟัง แล้วร้องเพลงเด็กตามไปด้วยก็ได้ เช่นการเล่นเดินโยกเยกกับคุณพ่อ แล้วร้องเพลง “โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ ...” ร้องคู่ไปด้วย ทำให้เด็กสนุกสนานมากขึ้นด้วย
-นอกจากนี้ใน “ถุงหนังสือเล่มแรก” ยังมีตุ๊กตาผ้ารูปช้าง มอบให้เด็ก 1 ตัวด้วย เพื่อให้เด็กน้อยได้กอดเล่นหรือกัดเล่นก็ได้ เพื่อสร้างสัมผัสที่ดีให้แก่เขา ซึ่งตุ๊กตาผ้ารูปช้างนี้ซักได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกลัวเรื่องความสกปรก พอลูกเล่นแล้วก็เอาไปซักได้
-โครงการหนังสือเล่มแรกที่พี่ตุ๊บปองเล่ามาทั้งหมดนี้ พี่ตุ๊บปองทำมาตั้งแต่ปี 2546 แล้ว ปัจจุบันก็ 15 ปีแล้ว และพี่ตุ๊บปองก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ (ขอให้พวกเราช่วยส่งกำลังใจให้พี่ตุ๊บปองด้วย) อยากให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยลองทำตามอย่างที่พี่ตุ๊บปองบอกกันเยอะๆ
-ปัจจุบันนี้พี่ตุ๊บปองต้องหาเงินมาทำโครงการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กๆ เอง เป็นการทำต่อยอดเพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จ โดยเริ่มโครงการ “อ่านแต่เล็กเด็กฉลาด สร้างสมรรถนะที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัย” เป็นโครงการที่ใช้หนังสือสร้างสมรรถนะที่ดีให้แก่เด็กๆ โครงการนี้ร่วมมือกับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลที่ได้จากเด็กๆ ที่ผ่านโครงการส่งเสริมการอ่านนี้สามารถทำคะแนนได้ดีเยี่ยมกว่า 90% กันทุกคน
-จึงสรุปได้ว่า “อ่าน ท่อง ร้อง เล่น เล่า” 5 ประการนี้สร้างสมรรถนะให้แก่เด็กปฐมวัยได้จริงๆ ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
-คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเป็นอย่างไร ก็หาหนังสือที่มีเนื้อหาอย่างนั้นมาอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่ปฐมวัย จงจำไว้ว่า บ้านไหนมีเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้แก่เด็ก
-เด็กที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือนิทานให้ฟังตั้งแต่ 6 เดือน เด็กเขามีภาพจำที่ดีของพ่อแม่อยู่ในหัวเขาตลอด พอเขาโตขึ้นมาเขาจะไม่ทำอะไรที่เสียหายเลย เพราะเขาไม่ต้องการให้พ่อแม่ที่เป็นภาพจำอันดีของเขาต้องเสียใจ
-ดังนั้นภาพจำที่ดีที่เด็กได้เห็นทุกวัน จะกลายเป็นอุปนิสัยที่ดีของเขาในอนาคต คุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวเป็นภาพจำที่ดีสำหรับลูกน้อยด้วย
-ข้อควรจำอีกประการคือ ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง เราควรเล่าให้จบเรื่องทุกครั้ง อย่าเล่าแบบค้างๆ คาๆ หรือผัดวันประกันพรุ่ง เด็กจะเอาเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีได้
-ท้ายที่สุดพี่ตุ๊บปองอยากจะบอกว่า ถ้าเราอยากให้ลูกอ่านหนังสือ เราต้องเป็นคนที่อ่านหนังสือด้วย เพื่อเป็นภาพจำให้เด็กได้เห็นทุกวัน เขาจะได้มีนิสัยรักการอ่านเหมือนคุณพ่อคุณแม่ของเขา