"เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดบ่อยๆ ก่อให้เกิดการกระทำ เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำบ่อยๆ ก่อให้เกิดนิสัย เธอจงระวังนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคลิก เธอจงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกำหนดชะตากรรมของเธอ"
ทฤษฎีกบต้ม (The Boiled Frog Theory)
ชาวไอริชชื่อ ทิชยาน เชอแมน (Tichyand Sherman คศ.1993) ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ โดยเอากบตัวหนึ่งใส่ลงไปในน้ำร้อน ปรากฏว่ามันรีบกระโดดหนีโดยทันทีจากน้ำร้อนทันที เลยรอดจากการถูกต้มสุก
จากนั้นเขาเอากบอีกตัวหนึ่งใส่ลงไปน้ำอุณหภูมิปกติ มันก็จะเล่นอย่างสบายใจ แล้วเขาค่อยๆเพิ่มความร้อนเข้าไปทีละนิด ในตอนแรก มันก็จะปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น เหมือนไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อน้ำร้อนได้ที่ แม้มันรู้สึกว่าร้อนเกินไปแล้ว แต่ ณ นาทีนั้นความร้อนที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเป็นะวลานานก็ทำให้มันหมดแรงกระโดดหนีเสียแล้ว มันกลายเป็นกบต้มในที่สุด กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว
สรุปก็คือกบที่จะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลง ส่วนกบที่ไม่ไวต่อความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่รอด
การทดลองนี้ให้ข้อคิดว่า เราต้องไวในการสังเกตความเปลี่ยนแปลง ประเมินแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นในเวลาและรูปแบบที่เหมาะสม อย่าเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย การอดทนหรือยอมทนไปได้เรื่อยๆ อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะท้ายที่สุดก็อาจถึงจุดที่ทนไม่ไหว แต่ก็สายเกินแก้ไปแล้ว
ทฤษฎีกบต้ม (The Boiled Frog Theory)
ทฤษฎีกบต้ม (The Boiled Frog Theory)
ชาวไอริชชื่อ ทิชยาน เชอแมน (Tichyand Sherman คศ.1993) ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ โดยเอากบตัวหนึ่งใส่ลงไปในน้ำร้อน ปรากฏว่ามันรีบกระโดดหนีโดยทันทีจากน้ำร้อนทันที เลยรอดจากการถูกต้มสุก
จากนั้นเขาเอากบอีกตัวหนึ่งใส่ลงไปน้ำอุณหภูมิปกติ มันก็จะเล่นอย่างสบายใจ แล้วเขาค่อยๆเพิ่มความร้อนเข้าไปทีละนิด ในตอนแรก มันก็จะปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น เหมือนไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อน้ำร้อนได้ที่ แม้มันรู้สึกว่าร้อนเกินไปแล้ว แต่ ณ นาทีนั้นความร้อนที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเป็นะวลานานก็ทำให้มันหมดแรงกระโดดหนีเสียแล้ว มันกลายเป็นกบต้มในที่สุด กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว
สรุปก็คือกบที่จะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลง ส่วนกบที่ไม่ไวต่อความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่รอด
การทดลองนี้ให้ข้อคิดว่า เราต้องไวในการสังเกตความเปลี่ยนแปลง ประเมินแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นในเวลาและรูปแบบที่เหมาะสม อย่าเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย การอดทนหรือยอมทนไปได้เรื่อยๆ อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะท้ายที่สุดก็อาจถึงจุดที่ทนไม่ไหว แต่ก็สายเกินแก้ไปแล้ว