เดี๋ยวนี้ภาพแคปหน้าจอสเตตัส Facebook ก็ถูกใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายกันแล้ว ถึงขั้นทำให้คนถูกดำเนินคดีติดคุกติดตารางกันยังได้
เลยคิดว่าถ้าเราแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินโดยเขียนเป็นสเตตัส Facebook ก็น่าจะใช้แทนพินัยกรรมแบบธรรมดาได้ ตามองค์ประกอบของพินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
1. ทำเป็นหนังสือ โดยเขียนหรือพิมพ์ --> พิมพ์บน Facebook
2. ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ --> Facebook มีแสดงวันเดือนปีของทุกสเตตัสอยู่แล้ว
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้... --> ชื่อ Facebook profile เป็นหลักฐานยืนยันตัวตนผู้ทำพินัยกรรมอยู่แล้ว
4. ...ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน --> คนกดไลค์หรือคอมเม้นเป็นหลักฐานว่ามีผู้รับรู้เจตนา
5. แก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน --> Facebook สามารถดูประวัติการแก้ไขโพสต์ได้อยู่แล้ว
ถ้าเปรียบเทียบเจตนารมณ์กับองค์ประกอบในลักษณะนี้ ก็น่าจะทำให้พินัยกรรมที่เขียนด้วยการโพสสเตตัส Facebook มีผลใช้ได้ทางกฎหมายหรือเปล่า ?
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต : ฉากจากหนังเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
ถ้าเราเขียนพินัยกรรมเป็นสเตตัส Facebook จะมีผลบังคับใช้ได้ทางกฎหมายไหม ?
เลยคิดว่าถ้าเราแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินโดยเขียนเป็นสเตตัส Facebook ก็น่าจะใช้แทนพินัยกรรมแบบธรรมดาได้ ตามองค์ประกอบของพินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
1. ทำเป็นหนังสือ โดยเขียนหรือพิมพ์ --> พิมพ์บน Facebook
2. ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ --> Facebook มีแสดงวันเดือนปีของทุกสเตตัสอยู่แล้ว
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้... --> ชื่อ Facebook profile เป็นหลักฐานยืนยันตัวตนผู้ทำพินัยกรรมอยู่แล้ว
4. ...ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน --> คนกดไลค์หรือคอมเม้นเป็นหลักฐานว่ามีผู้รับรู้เจตนา
5. แก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน --> Facebook สามารถดูประวัติการแก้ไขโพสต์ได้อยู่แล้ว
ถ้าเปรียบเทียบเจตนารมณ์กับองค์ประกอบในลักษณะนี้ ก็น่าจะทำให้พินัยกรรมที่เขียนด้วยการโพสสเตตัส Facebook มีผลใช้ได้ทางกฎหมายหรือเปล่า ?
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต : ฉากจากหนังเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)