อะไรคือรีวิวย่อฉบับยาวฟร่ะ แต่ช่างมันเถอะ 55
(อาจมีสปอลย์เล็กน้อย แต่ไม่ทำให้เสียอรรถรส)
- เนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร
เกี่ยวกับการเดินทางของเด็กสาวคนหนึ่งที่อยู่ในวัยขบถต่อทุกอย่าง
- องก์แรก หนังแสดงให้เห็นว่าเธอพยายามหลุดออกจากความเป็นตัวของตัวเองมากแค่ไหน โดยการให้เธอพร่ำเพ้อรำพันถึงความไม่น่าอยู่ของซาคลาเมนโต บ้านที่แสนคับแคบ แม่ที่คอยจุกจิก และโรงเรียนคริสต์ที่ดูล้าสมัย นอกจากนี้ เธอยังพยายามสร้างตัวตนใหม่โดยเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น "เลดี้เบิร์ด" เพื่อนิยามถึงตัวตนที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะใช้ชื่อเดิม "คริสติน" หรือชื่อใหม่ "เลดี้เบิร์ด" มันก็ไม่ได้ทำให้เธอหลุดออกจากความเป็นจริงที่เธอไม่พอใจเลยสักนิด ตรงกันข้ามมันกลับทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ซับซ้อนขึ้นโดยใช่เหตุ เธอต้องคอยย้ำเตือนให้แม่รวมถึงคนอื่น ๆ เรียกเธอว่า "เลดี้เบิร์ด" ซึ่งแน่ล่ะว่าไม่มีใครอยากเออออกับเธอเท่าใดนัก
- ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" อาจสื่อได้จากการกระทำของเธอ ที่ต้องการจะโบยบินไปสู่ความศิวิไลซ์อันไกลโพ้น เธอวาดฝันถึงนิวยอร์ก เธอนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อ และความนึกฝันนั้นกระตุ้นให้เธอดิ้นรน เต้นแร้งเต้นกาบ้าบอในแบบของเธอ ซึ่งผมเฉย ๆ กับพาร์ทขบถของตัวละครตัวนี้นะ อาจเป็นเพราะความเข้าใจหรือเพราะเคยมีประสบการณ์ร่วมในหลายช่วงหลายฉากก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผมชอบที่หนังอยู่กับปัจจุบันอย่างแท้จริง ไม่มีการแฟลชแบ็คย้อนอดีตให้มากความ ไม่มีภาพเพ้อฝันฟรุ้งฟริ้งของอนาคตลอยมาให้เห็น มีแต่ความเป็นจริงของปัจจุบันที่ไม่น่าพิศมัยและเราหนีไปไหนไม่ได้
- องค์สอง เลดี้เบิร์ดเริ่มมีความรัก ดูไปดูมา ผมอดนึกถึง "Mary Is Happy, Mary Is Happy" ของเต๋อ นวพลไม่ได้ เพียงแต่หนังไม่แสดงความฟูมฟายของตัวละคร และไม่มีการยัดเยียดความสวยงามของโมเมนต์อินเลิฟมากนัก จังหวะหนังที่ตัดต่อเร็วฉับ ๆ ขับเน้นให้เราเห็นถึงความพลุ่งพล่านของฮอร์โมนวัยหนุ่มสาวที่ทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วราวกับนิ้วที่กดชัตเตอร์รัว ๆ เราได้เห็นเธอลองผิดลองถูกหลายอย่าง ทั้งมิตรภาพและความรัก เป็นพาร์ทที่ดูได้เพลิน ๆ และผมแอบหัวเราะกิ๊กกั๊กอยู่หลายช่วง
- ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับแม่ก็น่าสนใจ มีฉากแรง ๆ หลายช่วงที่ดูแล้วนึกย้อนกลับมามองตัวเองบ้างเหมือนกัน อุปนิสัยที่ตรงกันข้ามของสองคนนี้ขับเน้นให้หนังกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น เลดี้เบิร์ดชอบโกหกเพื่อให้ตัวเองดูดี แน่นอนว่า "Image" หรือภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่วัยรุ่นกังวลเป็นอันดับหนึ่ง ภาพลักษณ์คือทุกสิ่งทุกอย่างของคนวัยนี้ ซึ่ง "การโกหก" มาจาก "การไม่อยากยอมรับ" และก็มาจาก "ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี" อีกทอดหนึ่ง ในขณะที่คนเป็นแม่ "จริง" กับทุกเรื่อง ปากกับใจตรงกัน ไม่มีความจำเป็นอะไรต้องอ้อมค้อม ซึ่งความโผงผางดังกล่าวมาจากความหวังดีที่แม่มีต่อลูก เธออาจถือคติว่า "มองที่เจตนาฉันสิ อย่าใส่ใจคำพูดฉัน" ในขณะที่ลูกก็คงชอบให้ "รดต้นไม้ด้วยน้ำเย็นแห่งคำหวาน" มากกว่า "รดต้นไม้ด้วยน้ำร้อนแห่งคำด่า" ซึ่งเจตนาดีแต่คำพูดขัดหูนี่ล่ะทำให้ตัวละครกินแหนงแคลงใจกันจนถึงองก์ที่สาม
- องค์สาม เลดี้เบิร์ดเรียนจบมัธยมและทุกอย่างก็ดูจะไปได้สวย ถ้าเธอไม่วางยาตัวเองด้วยการโกหกแม่ซะก่อนว่าเข้ามหาวิทยาลัยในนิวยอร์กได้ ทั้ง ๆ ที่เธอมีชื่อติดเป็นแค่ตัวสำรองเท่านั้น เธอเริ่มตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการกระทำ และพบความจริงหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับตัวเอง เธอพบว่าจริง ๆ แล้วเธอรักสิ่งที่เธอเกลียดมาตลอด เข้าทำนอง "ไม่รู้จักไม่รู้ใจตัวเอง" และสิ่งที่ผมชอบคือ เธอไม่ได้จริงจังกับชื่อ "เลดี้เบิร์ด" อีกต่อไป และหันกลับไปใช้ "คริสติน" ที่เป็นชื่อจริงแทน มันแสดงให้เห็นว่าในที่สุดเธอก็ยอมรับตัวตนที่เธอปฏิเสธมาตั้งแต่แรก ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" ในที่นี้จึงเป็นเหมือนภาพมายาที่เธอสร้างขึ้นมาครอบงำตัวเองและเลือนหายไปเมื่อเกิดวุฒิภาวะหรือพุทธิปัญญา
- ตอนแรก ผมมองว่าชื่อ "เลดี้เบิร์ด" เปรียบเสมือนความขบถของตัวละคร แต่จริง ๆ แล้ว ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" เป็นเพียงภาพสะท้อนของความคิดที่เรามีต่อตัวเอง มันจริงกับเราในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แล้วสุดท้ายมันก็จะกลายร่างเป็นภาพจำของอดีตที่เราอาจรู้สึกเอ็นดูตัวเองในตอนนั้นเมื่อมองย้อนกลับไป
- สรุป: "Lady Bird" เป็นหนังดีเรื่องหนึ่งที่ดูได้เพลิน ๆ ผมอาจไม่ได้ชอบมากนัก เพราะพล็อตเรื่องไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ผมรู้สึกว่ามันค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวกับผู้กำกับ (Greta Gerwig) มาก ขนาดนางเอก (Saoirse Ronan) ยังคัดคนที่หน้าคล้ายกันเลย บางทีเธออาจไม่ได้อยากเล่าอะไรใหม่ ๆ ก็ได้นะ แค่อยากเล่าเรื่องราวที่อยู่ในหัวมากกว่า
รีวิวโดย: Mr.Blue
ที่มา: https://www.facebook.com/RevieweryClub/posts/2241829442497502
รีวิวย่อฉบับยาวของหนังเรื่อง "Lady Bird" (2017)
- เนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร
เกี่ยวกับการเดินทางของเด็กสาวคนหนึ่งที่อยู่ในวัยขบถต่อทุกอย่าง
- องก์แรก หนังแสดงให้เห็นว่าเธอพยายามหลุดออกจากความเป็นตัวของตัวเองมากแค่ไหน โดยการให้เธอพร่ำเพ้อรำพันถึงความไม่น่าอยู่ของซาคลาเมนโต บ้านที่แสนคับแคบ แม่ที่คอยจุกจิก และโรงเรียนคริสต์ที่ดูล้าสมัย นอกจากนี้ เธอยังพยายามสร้างตัวตนใหม่โดยเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น "เลดี้เบิร์ด" เพื่อนิยามถึงตัวตนที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะใช้ชื่อเดิม "คริสติน" หรือชื่อใหม่ "เลดี้เบิร์ด" มันก็ไม่ได้ทำให้เธอหลุดออกจากความเป็นจริงที่เธอไม่พอใจเลยสักนิด ตรงกันข้ามมันกลับทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ซับซ้อนขึ้นโดยใช่เหตุ เธอต้องคอยย้ำเตือนให้แม่รวมถึงคนอื่น ๆ เรียกเธอว่า "เลดี้เบิร์ด" ซึ่งแน่ล่ะว่าไม่มีใครอยากเออออกับเธอเท่าใดนัก
- ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" อาจสื่อได้จากการกระทำของเธอ ที่ต้องการจะโบยบินไปสู่ความศิวิไลซ์อันไกลโพ้น เธอวาดฝันถึงนิวยอร์ก เธอนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อ และความนึกฝันนั้นกระตุ้นให้เธอดิ้นรน เต้นแร้งเต้นกาบ้าบอในแบบของเธอ ซึ่งผมเฉย ๆ กับพาร์ทขบถของตัวละครตัวนี้นะ อาจเป็นเพราะความเข้าใจหรือเพราะเคยมีประสบการณ์ร่วมในหลายช่วงหลายฉากก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผมชอบที่หนังอยู่กับปัจจุบันอย่างแท้จริง ไม่มีการแฟลชแบ็คย้อนอดีตให้มากความ ไม่มีภาพเพ้อฝันฟรุ้งฟริ้งของอนาคตลอยมาให้เห็น มีแต่ความเป็นจริงของปัจจุบันที่ไม่น่าพิศมัยและเราหนีไปไหนไม่ได้
- องค์สอง เลดี้เบิร์ดเริ่มมีความรัก ดูไปดูมา ผมอดนึกถึง "Mary Is Happy, Mary Is Happy" ของเต๋อ นวพลไม่ได้ เพียงแต่หนังไม่แสดงความฟูมฟายของตัวละคร และไม่มีการยัดเยียดความสวยงามของโมเมนต์อินเลิฟมากนัก จังหวะหนังที่ตัดต่อเร็วฉับ ๆ ขับเน้นให้เราเห็นถึงความพลุ่งพล่านของฮอร์โมนวัยหนุ่มสาวที่ทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วราวกับนิ้วที่กดชัตเตอร์รัว ๆ เราได้เห็นเธอลองผิดลองถูกหลายอย่าง ทั้งมิตรภาพและความรัก เป็นพาร์ทที่ดูได้เพลิน ๆ และผมแอบหัวเราะกิ๊กกั๊กอยู่หลายช่วง
- ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับแม่ก็น่าสนใจ มีฉากแรง ๆ หลายช่วงที่ดูแล้วนึกย้อนกลับมามองตัวเองบ้างเหมือนกัน อุปนิสัยที่ตรงกันข้ามของสองคนนี้ขับเน้นให้หนังกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น เลดี้เบิร์ดชอบโกหกเพื่อให้ตัวเองดูดี แน่นอนว่า "Image" หรือภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่วัยรุ่นกังวลเป็นอันดับหนึ่ง ภาพลักษณ์คือทุกสิ่งทุกอย่างของคนวัยนี้ ซึ่ง "การโกหก" มาจาก "การไม่อยากยอมรับ" และก็มาจาก "ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี" อีกทอดหนึ่ง ในขณะที่คนเป็นแม่ "จริง" กับทุกเรื่อง ปากกับใจตรงกัน ไม่มีความจำเป็นอะไรต้องอ้อมค้อม ซึ่งความโผงผางดังกล่าวมาจากความหวังดีที่แม่มีต่อลูก เธออาจถือคติว่า "มองที่เจตนาฉันสิ อย่าใส่ใจคำพูดฉัน" ในขณะที่ลูกก็คงชอบให้ "รดต้นไม้ด้วยน้ำเย็นแห่งคำหวาน" มากกว่า "รดต้นไม้ด้วยน้ำร้อนแห่งคำด่า" ซึ่งเจตนาดีแต่คำพูดขัดหูนี่ล่ะทำให้ตัวละครกินแหนงแคลงใจกันจนถึงองก์ที่สาม
- องค์สาม เลดี้เบิร์ดเรียนจบมัธยมและทุกอย่างก็ดูจะไปได้สวย ถ้าเธอไม่วางยาตัวเองด้วยการโกหกแม่ซะก่อนว่าเข้ามหาวิทยาลัยในนิวยอร์กได้ ทั้ง ๆ ที่เธอมีชื่อติดเป็นแค่ตัวสำรองเท่านั้น เธอเริ่มตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการกระทำ และพบความจริงหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับตัวเอง เธอพบว่าจริง ๆ แล้วเธอรักสิ่งที่เธอเกลียดมาตลอด เข้าทำนอง "ไม่รู้จักไม่รู้ใจตัวเอง" และสิ่งที่ผมชอบคือ เธอไม่ได้จริงจังกับชื่อ "เลดี้เบิร์ด" อีกต่อไป และหันกลับไปใช้ "คริสติน" ที่เป็นชื่อจริงแทน มันแสดงให้เห็นว่าในที่สุดเธอก็ยอมรับตัวตนที่เธอปฏิเสธมาตั้งแต่แรก ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" ในที่นี้จึงเป็นเหมือนภาพมายาที่เธอสร้างขึ้นมาครอบงำตัวเองและเลือนหายไปเมื่อเกิดวุฒิภาวะหรือพุทธิปัญญา
- ตอนแรก ผมมองว่าชื่อ "เลดี้เบิร์ด" เปรียบเสมือนความขบถของตัวละคร แต่จริง ๆ แล้ว ชื่อ "เลดี้เบิร์ด" เป็นเพียงภาพสะท้อนของความคิดที่เรามีต่อตัวเอง มันจริงกับเราในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แล้วสุดท้ายมันก็จะกลายร่างเป็นภาพจำของอดีตที่เราอาจรู้สึกเอ็นดูตัวเองในตอนนั้นเมื่อมองย้อนกลับไป
- สรุป: "Lady Bird" เป็นหนังดีเรื่องหนึ่งที่ดูได้เพลิน ๆ ผมอาจไม่ได้ชอบมากนัก เพราะพล็อตเรื่องไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ผมรู้สึกว่ามันค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวกับผู้กำกับ (Greta Gerwig) มาก ขนาดนางเอก (Saoirse Ronan) ยังคัดคนที่หน้าคล้ายกันเลย บางทีเธออาจไม่ได้อยากเล่าอะไรใหม่ ๆ ก็ได้นะ แค่อยากเล่าเรื่องราวที่อยู่ในหัวมากกว่า
รีวิวโดย: Mr.Blue
ที่มา: https://www.facebook.com/RevieweryClub/posts/2241829442497502