(บทความ...นายพระรอง)“ผู้ใหญ่”อุปสรรคที่ครอบไทย...ให้ยังติดอยู่กับระบบอุปถัมภ์

กระทู้สนทนา
.
       ถ้าว่ากันด้วยขนบธรรมเนียมของไทยที่นับถือระบบอาวุโส แค่หัวกะทู้ และพิจารณาจากอายุผู้เขียนบทความนี้ก็ดูจะออกแนว เป็นคนไม่มีสัมมาคาราววะทันทีโดยที่ยังไม่ต้องแสดงความเห็นใดๆออกมาเพิ่ม แม้ว่า ตัวผู้เขียนเองก็มีอายุไม่ใช่น้อยแล้ว แต่คนในสังคมไทยที่ยังแก่ว่าตัวผู้เขียนก็ยังมีอีกนับล้านคน ซึ่งถ้าเอาแค่เหตุผลด้านวัยวุฒิเป็นหลักแค่ด้านเดียว ชื่อกะทู้นี้ก็เป็นการ “ลามปาม” ผู้ใหญ่ไปแล้วจริงๆ

       แต่คำว่า “ผู้ใหญ่” ในบทความนี้ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงเรื่องวัยวุฒิเพียงด้านเดียว มันยังมีเรื่องอื่นมิติอื่นๆประกอบด้วย ซึ่งในที่นี้คือ “ตำแหน่ง” หรือ ยศถาบรรดาศักดิ์ตามระบบราชการ ที่มีความเป็น”นาย” มีข้าราชการระดับล่างเป็นลูกน้องบริวาร คอยปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งวิถีปฏิบัติจาก”ผู้ใหญ่”เยี่ยงนี้บางคนนั้น มันถ่วงรั้งการพัฒนาของประเทศชาติ

       ซึ่งแน่นอน มันต้องมีเรื่องวัยวุฒิเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย เพราะระบบราชการไทย ส่วนใหญ่ก็เติบโตขึ้นได้โดยอาศัยอายุราชการเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณา ร่วมกับอีกปัจจัยหนึ่งที่ว่า “เป็นเด็กของผู้ใหญ่ท่านไหน” ด้วย ซึ่งอันหลังจะเป็นแรงพลังผลักดันให้ก้าวกระโดดในตำแหน่งหน้าที่ได้ไกล หากรู้จักเลียผู้ใหญ่ให้ถูกคน และแน่นอนเมื่อวันหนึ่งข้างหน้า ตำแหน่งฐานะทางราชการของใครได้ไปจนอยู่จุดสูงสุดของกรมกอง ก็จะกลายเป็น ผู้ใหญ่รุ่นต่อไป ให้เด็กๆลูกน้องราชการ พากันมาเอาอกเอาใจ เพื่อหวังพึ่งพิงให้นายคนใหม่ผลักดันตัวเอง

ถ้าถามว่า วงจรแบบนี้ คนในภาคส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ข้าราชการไม่รู้หรือ..?

       หรือว่ารู้แต่ไม่พูด เพราะว่าวงจรแบบนี้มันก็มีอยู่ในทุกสังคมอยู่ว่า ไม่ว่าจะราชการ หรือ เอกชน หรือแม้กระทั่งมูลนิธิ ที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ก็หนีวงจรระบอบ ผู้ใหญ่ ครอบการเจริญเติบโตของคนในองค์กรไปได้ ซึ่งถ้าใช่ นั้นก็แปลว่า “ผู้ใหญ่”ตามบริบทของบทความนี้ คือ “ตัวปัญหา” จริงๆ เพราะเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้ระบบอุปถัมภ์ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย

คำถามที่สำคัญ แล้วจะทำยังไงให้ปัญหานี้ทุเลาเบาบางลงล่ะ(เรื่องหมดไปคงไม่มีทางสำหรับประเทศที่ถูกครอบงำกันมายาวนานอย่างประเทศไทย)

       คำตอบก็ง่ายๆ คือ ใช้ ระบบประเมินวัดผลที่มีประสิทธิภาพการทำงาน แทนการใช้วิจารณญาณของท่านผู้ใหญ่ ว่าจะปรับเลื่อนตำแหน่งให้ใครในวงสังคมข้าราชการ โดยตั้งเป้าหมายและเปิดระบบวัดผลประเมินผลให้ตัวข้าราชการสามารถตรวจสอบตนเองได้ ว่าในขณะใดขณะหนึ่งนั้น ตนเองทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อประเมินผลขนาดไหน กำหนดระยะเวลาประเมินผลให้เหมาะสมกับระยะเวลาการทำงาน อาจจะใช้รอบปี และสุดท้ายใครที่ทำผลงานได้ตามเป้าหมายหรือเกินกว่าเป้าหมายที่สุดก็ได้รับตำแหน่งไป ในยามที่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ที่ตัวของราชการคนไหนที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปนั้นว่างลง

       แน่นอนแต่ละหน่วยงานราชการย่อมมีวิธีวัดเป้าหมายการประเมินผลงานแต่ละตำแหน่งต่างๆกันไป ตามแต่ล่ะหน้าที่ของแต่ละองค์กร ซึ่งก็ปรับให้เหมาะสมกับการทำงานของข้าราชการ ในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันและที่คาบเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ที่ข้าราชการคนนั้นๆต้องการโปรโมตตัวเองขึ้นไปรับหน้าที่

ใช้กรรมวิธีเยี่ยงนี้ ตัดบรรดา “ผู้ใหญ่” ออกไปในการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ เป็นการเริ่มต้นที่จะได้ฤกษ์เริ่มต้นถอนรากถอนโค่นระบบอุปถัมภ์ออกไปจากวงการผู้มีอำนาจในบ้านเมืองไทย


"กรรม" นั้นอยู่ที่ ใดกันหนอ
"ก่อ" การอันใด นั้นใช่ไหม
"เกิด" ผลส่งต่อ กับผู้ใด
"เกียรติ" ต่อตนไซร้ ด้วยทำตน

"ก่อน" จักสิ้นลม ล้มดับหาย
"กาล" ยังมีให้ พอเริ่มต้น
"ก้าว" ที่ยังเหลือ เพื่อทำตน
"เกิน" พอที่คน จะเปลี่ยนกรรม



ป.ล.เขียนยาวก็กลัวโพสต์ไม่ผ่าน เพราะติดด่านผิดกฏหมายและศีลธรรมอันดี เขียนสั้นก็กลัวจะได้ใจความไม่ชัดพอจะสื่อประเด็น
เฮ้อ.....เขียนยากเขียนเย็นจังแหะ

ขอบคุณครับ
นายพระรอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่