การคอรัปชั่น(การทุรจริตที่ต้องห้าม)กับมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม

กระทู้คำถาม
คอร์รัปชั่น (การทุจริตที่ต้องห้าม)

นิพล แสงศรี

วงจรของคอร์รัปชั่น


        วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ที่ประชาชนทั่วทุกประเทศต่างสนใจและให้ความสำคัญ องค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International – TI ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คอร์รัปชั่น” (Corruption) ไว้หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาโดยหน้าที่ในการหาประโยชน์ส่วนตัว หรือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น โดยองค์กรความโปร่งใสสากลได้ระบุถึงกรณีต่างๆที่จะสามารถเกิดขึ้นในการคอร์รัปชั่นดังนี้




- การคอร์รัป ชั่นขนาดใหญ่ (Grand corruption)


        เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อบิดเบือนนโยบายหรือใช้อำนาจรัฐใน ทางมิชอบ เพื่อให้ผู้นำหรือผู้บริหารประเทศได้รับผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรของชาติ


- การคอร์รัป ชั่นขนาดเล็ก (Petty corruption)


       เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ระดับกลางและระดับล่างต่อประชาชนทั่วไป โดยการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายในทางมิชอบ


- การติดสินบน (Bribery)

       เป็นการเสนอ การให้ หรือสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ ทั้งในรูปของเงิน สิ่งของ และสิ่งตอบแทนต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี


- การยักยอก (Embezzlement)

        คือ การที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กร นำเงินหรือสิ่งของที่ได้รับมอบหมายให้ใช้ในราชการ มาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง


- การอุปถัมภ์ (Patronage)


       เป็นรูปแบบหนึ่งของการเล่นพรรคเล่นพวก ด้วยการคัดเลือกบุคคลจากสายสัมพันธ์ทางการเมือง (คอนเน็กชั่น) เพื่อเข้ามาทำงานหรือเพื่อให้รับผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม


- การเลือกที่รักมักที่ชัง (Nepotism)

       เป็นรูปแบบหนึ่งของการเล่นพรรคเล่นพวก โดยเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจที่มี ในการให้ผลประโยชน์หรือให้หน้าที่การงานแก่เพื่อน ครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม


- ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest)


คือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ส่วนรวม


        อาจจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า คอร์รัป ชั่น คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควร มิชอบ ได้แก่ การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการมาเป็นของตน หรือใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เช่นเดียวกับการบอกว่าจะให้/รับทรัพย์สินและประโยชน์แก่เจ้าพนักงานและเจ้า หน้าที่ โดยครอบคลุมทุกอาชีพ หน้าที่ ทั้งในส่วนกลางและในท้องถิ่น หรือราชการและเอกชน


        การคอร์รัปชั่นขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การที่เจ้าหน้าที่รับเงินแม้จะเป็นจำนวนเงินที่น้อยก็ตาม เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้จ่ายเงิน หรือการคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงนิยมใช้ในรูปแบบของสินบนเพื่อโครงการใหญ่ๆ เช่น ห้าง บริษัทต่าง ๆ และยังรวมถึงการให้ของขวัญ (gift) ถือเป็นการคอร์รัปชั่นอีกประเภทหนึ่ง รวมถึงการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทานอาหาร เพื่อพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล



         ส่วนสาเหตุของคอร์รัปชั่นในหน้าทีมีหลายประการแต่ที่พบได้บ่อยที่สุดในหน่วยงาน สถาบัน และองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่

1. คนในสังคม (ส่วนใหญ่) ยกย่องความร่ำรวย จึงเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง

2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์

3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่าง ๆ

4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ

5. การแข่งขันอย่างเข้มข้นเพื่อช่วงชิงตำแหน่งและผลประโยชน์ในหน่วยงาน องค์กร และการเมืองภาครัฐ



ปัจจุบันการคอร์รัปชั่นในหน้าที่มีหลายรูปแบบ โดยมีให้เห็นตั้งแต่

     (1) การซื้อการจัดจ้าง ตั้งแต่การเรียกค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ในการอนุมัติคำร้องเพื่อดำเนินกิจการต่าง ๆ

     (2) การยักยอกทรัพย์ของทางราชการ หรือการเบิกค่าเบี้ยค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน เช่น การใช้พาหนะ โดยเบิกค่าพาหนะ หรือการเบิกเบี้ยเลี้ยงเกินวันเวลาที่ปฏิบัติงาน หรือการเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ได้เช่าบ้านจริง

     (3) การเรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์ในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้ายไปในพื้นที่ๆอยากไป โดยการให้ค่าตอบแทน หรือเรียกว่า การซื้อขายเสียง และหาเสียงสนับสนุน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่