สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
คือ ตอนนี้มีคนเอาวัว JP มาผสมกับพันธุ์พื้นเมืองไทยแล้วนะครับ
จะอธิบายให้ฟัง อย่าง Thai-French พวก โคขุน โพนยางคำ คือ วัวพื้นเมืองไทย ผสมกับ ฝรั่งเศส จะได้ออกมาเป็น วัวแดง หรือ ขาวครับ
แต่ ณ ปัจจุบัน ก็มีคนเอาแนวคิดเรื่องวัว JP มาเลี้ยงในไทยครับ แต่ก็อย่างว่า วัวต่างประเทศ โดยเฉพาะเขตหนาว เอามาเลี้ยงที่ไทย คงไม่รอด
เลยมีการผสมหลายสายพันธุ์ กล่าวคือ เอาวัว Angus ที่ให้เนื้อเยอะ ผสมกับวัวพื้นเมือง (หรือพวกวัวชาโลเลย์, อาจจะมี บรามัน บ้าง หรือ วัวยุโรปอื่นๆ (ซึ่งเลี้ยงในไทยมากนานแล้ว เลยกลายเป็นพันธุ์พื้นเมือง) เอามาผสมกันก่อน แล้วให้ลูก
แล้วค่อยเอาลูกครึ่งนั้น มาผสมสายพันธุ์วากิวอีกทีครับ ก็จะได้เป็นวัวขนสีดำ ที่มีเลือดพื้นเมือง 25% เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศบ้านเรา แต่ให้เนื้อเยอะแบบ Angus และความหอมอร่อยแบบวัว JP ก็จะออกมาเป็น ไทยวากิว หรือ ไทยแบล็ค นั่นเองครับ (สุรินทร์ / โคราช)
เห็นได้ว่า กว่าจะทำวัวขุนแบบไทยวากิวได้ มีขั้นตอนยุ่งยากมาก และการที่จะให้ได้ลายไขมันแทรก (Marbeling) ณ จุดนี้ยังไม่นิ่งครับ อาจจะเพราะความเข้าใจในการขุนวัวของบ้านเรายังเป็นระดับเริ่มต้นมากๆ ทำให้การที่จะได้ลายไขมันแทรกสูงๆ หรือที่เรียกว่า Marbeling Score (MBS) ยังมีน้อยอยู่ เลยทำให้ราคาต่อกิโล ค่อนข้างสูงมากครับ (2000 - 4000 / kg. เทียบเท่า เนื่อ JP เลย)
นี่คือเนื้อไทยวากิวที่ส่วนใหญ่จะได้ลายไขมันแทรกแบบกลางๆ MBS 3-4 และนานๆๆๆๆที จะได้แบบ MBS 5 ขึ้นไปครับ
อันนี้น่าจะ MBS 5-6
แน่นอนว่ายังห่างไกลกับ JP Wagyu ระดับ A5 อย่างมากมายมหาศาล เพราะเราเริ่มได้ไม่ถึง 5 ปีดีเลยครับ
แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ ความเข้าใจของผู้เลี้ยง ในแง่ของการขุนวัว จะมีเพิ่มขึ้น และถึงตอนนั้น เนื้อ ก็จะมีความนิ่งขึ้น และราคา ก็จะน่าจะลดลง ทำให้สามารถซื้อมารับประทานได้ง่ายขึ้นครับ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ คุณภาพของเนื้อวัว ที่ผมเอาใจช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถสู้กับรายใหญ่แบบ Aus. ได้ (รายนั้นทำเนื้อมานาน มี Wagyu ของตัวเอง แถมมี FTA ทำให้ขายในไทยได้ถูกมากครับ)
อันนี้เป็น Thai Wagyu RibEye ครับ flame grilled มีความหอมชัดเจนมากๆ ต่างจากเนื้อ Aus เนื้อ US ครับ
อันนี้เนื้อไทยแบล็คโคราช ส่วนสันไหล่ (Chuck) MBS 5-6
แต่บางทีฟลุกๆเนื้อไทยก็มีแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ว่าไม่ใช่ทั้งไทยแบล็คหรือโพนยางคำ
จะอธิบายให้ฟัง อย่าง Thai-French พวก โคขุน โพนยางคำ คือ วัวพื้นเมืองไทย ผสมกับ ฝรั่งเศส จะได้ออกมาเป็น วัวแดง หรือ ขาวครับ
แต่ ณ ปัจจุบัน ก็มีคนเอาแนวคิดเรื่องวัว JP มาเลี้ยงในไทยครับ แต่ก็อย่างว่า วัวต่างประเทศ โดยเฉพาะเขตหนาว เอามาเลี้ยงที่ไทย คงไม่รอด
เลยมีการผสมหลายสายพันธุ์ กล่าวคือ เอาวัว Angus ที่ให้เนื้อเยอะ ผสมกับวัวพื้นเมือง (หรือพวกวัวชาโลเลย์, อาจจะมี บรามัน บ้าง หรือ วัวยุโรปอื่นๆ (ซึ่งเลี้ยงในไทยมากนานแล้ว เลยกลายเป็นพันธุ์พื้นเมือง) เอามาผสมกันก่อน แล้วให้ลูก
แล้วค่อยเอาลูกครึ่งนั้น มาผสมสายพันธุ์วากิวอีกทีครับ ก็จะได้เป็นวัวขนสีดำ ที่มีเลือดพื้นเมือง 25% เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศบ้านเรา แต่ให้เนื้อเยอะแบบ Angus และความหอมอร่อยแบบวัว JP ก็จะออกมาเป็น ไทยวากิว หรือ ไทยแบล็ค นั่นเองครับ (สุรินทร์ / โคราช)
เห็นได้ว่า กว่าจะทำวัวขุนแบบไทยวากิวได้ มีขั้นตอนยุ่งยากมาก และการที่จะให้ได้ลายไขมันแทรก (Marbeling) ณ จุดนี้ยังไม่นิ่งครับ อาจจะเพราะความเข้าใจในการขุนวัวของบ้านเรายังเป็นระดับเริ่มต้นมากๆ ทำให้การที่จะได้ลายไขมันแทรกสูงๆ หรือที่เรียกว่า Marbeling Score (MBS) ยังมีน้อยอยู่ เลยทำให้ราคาต่อกิโล ค่อนข้างสูงมากครับ (2000 - 4000 / kg. เทียบเท่า เนื่อ JP เลย)
นี่คือเนื้อไทยวากิวที่ส่วนใหญ่จะได้ลายไขมันแทรกแบบกลางๆ MBS 3-4 และนานๆๆๆๆที จะได้แบบ MBS 5 ขึ้นไปครับ
อันนี้น่าจะ MBS 5-6
แน่นอนว่ายังห่างไกลกับ JP Wagyu ระดับ A5 อย่างมากมายมหาศาล เพราะเราเริ่มได้ไม่ถึง 5 ปีดีเลยครับ
แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ ความเข้าใจของผู้เลี้ยง ในแง่ของการขุนวัว จะมีเพิ่มขึ้น และถึงตอนนั้น เนื้อ ก็จะมีความนิ่งขึ้น และราคา ก็จะน่าจะลดลง ทำให้สามารถซื้อมารับประทานได้ง่ายขึ้นครับ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ คุณภาพของเนื้อวัว ที่ผมเอาใจช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถสู้กับรายใหญ่แบบ Aus. ได้ (รายนั้นทำเนื้อมานาน มี Wagyu ของตัวเอง แถมมี FTA ทำให้ขายในไทยได้ถูกมากครับ)
อันนี้เป็น Thai Wagyu RibEye ครับ flame grilled มีความหอมชัดเจนมากๆ ต่างจากเนื้อ Aus เนื้อ US ครับ
อันนี้เนื้อไทยแบล็คโคราช ส่วนสันไหล่ (Chuck) MBS 5-6
แต่บางทีฟลุกๆเนื้อไทยก็มีแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ว่าไม่ใช่ทั้งไทยแบล็คหรือโพนยางคำ
แสดงความคิดเห็น
ว่าด้วยวัว วากิว ทำไมที่อื่นถึงเลี้ยงแบบนี้ไม่ได้บ้าง
คนญี่ปุ่น จะเลี้ยงวัวน้อยลงมากเพราะเหนื่อย
วัววากิวจะแพงขึ้นมากเพราะ กระแสโลก ดีมานด์สูง ซัพพลายด์ต่ำ
ซึ่งเอาจริงไทยก็พอทำได้ https://www.thairath.co.th/content/959085
แต่ดูจากจุดนี้ จุดสำคัญคืออากาศต้องหนาวเย็น อาหารต้องถึง ต้องเลี้ยงเอาใจใส่
ไทยเลยไม่คุ้มนัก เพราะเปลืองค่าแอร์
แต่ในแง่นี้ทำไมจีน หาที่อากาศหนาวๆถึงไม่เลี้ยงกันล่ะครับ