ก่อนจะกล่าวถึงการรบใน เดนมาร์กของ Sir Arthur Wellesley นั้นมากล่าวถึงความขัดแย้งกันระหว่าง อังกฤษและเดนมาร์กกันซะก่อนครับ คือช่วงก่อนนโปเลียนจะเป็นจักรพรรดินั้น ในปี ค.ศ. 1800 ทางฝากฝั่งแผ่นดินยุโรป ทั้ง ปรัสเซีย สวีเดน และ รัสเซีย นั้นรวมกลุ่มกันตั้ง League of Armed Neutrality หรือ สันนิบาตเหนือขึ้น เพื่อถ่วงดุลอำนาจทางทะเลกับอังกฤษ โดยมีพระเจ้าซาร์ Paul I แห่งรัสเซีย เป็นหัวเรือใหญ่ ผลปรากฏว่ารัสเซียนั้นก็ส่งทูตมายังเดนมาร์กเพื่อต้องการดึงเดนมาร์กเข้าร่วม สันนิบาต ด้วย แต่ในทางกลับกันอังกฤษนั้นก็ส่งทูตมาที่ เดนมาร์ก และบอกให้ทำตรงกันข้ามกับที่ฝั่งสันนิบาตบอก เดนมาร์กนั้นกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะต้องเจอกับมหาอำนาจทั้ง 2 ขนาบข้าง ซ้ายก็อังกฤษ ขวาก็ รัสเซีย แต่ฝั่งรัสเซียและปรัสเซียนั้นสามารถรุกรานเดนมาร์กทางบกได้โดยตรง ดังนั้น เดนมาร์กจึงตัดสินใจเข้าร่วมกับ สันนิบาต แต่อีกไม่นานพวกเขาก็จะรู้ว่าพวกคิดผิดเมื่อ เหล่าชาวเดนทั้งหลายนั้นประมาทสมุทรานุภาพของอังกฤษเกินไป!! กองเรืออังกฤษนำโดยพลเรือโท Horatio Nelson ถล่มกองเรือเดนมาร์กซะเละเทะมิหนำซ้ำยังระดมยิงใส่เมืองหลวงของเดนมาร์กอย่าง โคเปเฮเกน อีกตะหาก ทำให้ เดนมาร์กนั้นยอมสงบศึกและรักษาความเป็นกลางไว้ในขณะเดียวกัน พระเจ้าซาร์ Paul I แห่งรัสเซียก็ถูกลอบสังหาร พระเจ้าซาร์ Alexander I ขึ้นครองราชย์แทนและเปลี่ยนนโยบายการเมืองมาจับมือกับ อังกฤษแทน พอรัสเซียเปลี่ยนนโยบาย ปรัสเซีย และสวีเดนก็เปลี่ยนตามเป็นผลพลอยทำให้สันนิบาตนั้นถูกยุบไปโดยปริยาย
แต่ยุโรปกลับมาสั่นสะเทือนอีกครั้งในปี ค.ศ. 1806 เมื่อ เกิดสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 ขึ้น (War of forth coalition) โดยฝั่ง ฝรั่งเศส นั้น ต้องประมือกับ ปรัสเซีย รัสเซีย และ อังกฤษ!! นโปเลียนกรีธากองทัพอันเกรียงไกรเข้าบดขยี้ปรัสเซียซะราบคาบในเวลาอันสั้น ส่งผลทำให้สถานะความเป็นกลางของ เดนมาร์กนั้นค่อนข้างสุ่มเสี่ยง เพราะเท่ากับว่ากองทัพฝรั่งเศสสามารถจะเข้ามารุกรานเดนมาร์กได้ทันที!! นอกจากนี้นโปเลียนยังพิชิตกองทัพรัสเซียได้ที่ Friedland ทำให้รัสเซียตัดสินใจยอมลงนามในสนธิสัญญา Tilsit ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ทำให้ นโปเลียนนั้นแผ่อำนาจครอบคลุมทั้งยุโรป และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบภาคพื้นทวีปหรือ Continental System เพื่อเป็นการบอยคอตอังกฤษ กะให้อังกฤษอดตายคาเกาะนั้นแหละ 555 แน่นอนว่าทาง เดนมาร์กนั้นก็ถูกแรงกดดันจากทั้ง รัสเซีย และ ฝรั่งเศสให้ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีปแต่โดยดี และก็เข้าอีหรอปเดิมครับ นั้นคือ อังกฤษนั้นก็ยื่นคำขาดมายัง เดนมาร์คเช่นกัน และบอกว่าควรจะร่วมมือกันเป็น พันธมิตรซะ นัยน์หนึ่งนั้นคือ อังกฤษ ก็ระแวงเดนมาร์กเช่นกันครับ เนื่องจาก เดนมาร์กนั้นยังเหลือเรือจำนวนมากซึ่งหากฝรั่งเศสได้เรือเหล่านี้ไปจะก็เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาแน่นอน แต่ เดนมาร์กนั้นก็ยังไม่ให้การตอบรับใดๆกลับมาเนื่องจากยังลังเลอยู่ อังกฤษก็ส่งกองเรือมาที่ เดนมาร์กอีกครั้ง โดยเป้าหมายนั้นคือ การยกพลขึ้นบกที่เกาะ Zealand อันเป็น ที่ตั้งเมืองหลวงของ เดนมาร์ก นั้นเองครับ โดยผู้ที่นำกองทัพยกพลขึ้นบกนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนท่าน นายพล Sir Arthur Wellesley นั้นเองครับ
ในตอนนี้กองทัพหลักๆของ เดนมาร์กนั้นอยู่ที่ Holstein ทางตอนใต้ของเดนมาร์ก เนื่องจากไว้เฝ้าระวังการบุกของฝรั่งเศสที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ในเมื่ออังกฤษเล่นยกพลขึ้นบกมาที่เกาะ Zealand เอาดื้อๆอย่างงี้ก็ทำเอา พระเจ้า Christian VII แห่ง เดนมาร์ก ปวดหัวใหญ่ เขาจึงสั่งเขาได้แต่งตั้งผู้บัญชาการทัพใหม่ Ernst Peymann เพื่อเข้าต่อกรกับอังกฤษ ซึ่ง Ernst นั้นรวมไพร่พลทั้งสิ้น 7,000 นาย ทหารม้าอีก 600 นาย และปืนใหญ่อีก 13 กระบอก ในขณะที่ฝั่ง อังกฤษนั้นมี ทหารราบ อังกฤษ – เยอรมัน 6,000 นาย ประกอบด้วย ทหารม้า 1,376 นาย และปืนใหญ่ 12 กระบอก โดยกองทัพทั้ง 2 นั้นมาเจอกันทางใต้ของ โคเปเฮเกน ที่เมือง Køge ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1807 ถึงแม้กำลังจะต่างกันไม่มาก แต่กองทัพเดนมาร์กนั้นเป็นกองทัพที่ถูกตั้งได้ใหม่ๆ ขาดซึ่งประสบการณ์การฝึกฝนและขวัญกำลังใจ ซึ่งแน่นอนว่าก็ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งฟอร์มการรบอันร้อนแรงของ Arthur ได้ เขาเอาชนะกองทัพเดนมาร์กอย่างง่ายดาย โดยฝ่ายอังกฤษนั้นเสียชีวิตเพียง 29 นายเท่านั้น และบาดเจ็บเพียง 122 นาย ในขณะที่ฝ่ายเดนมาร์กตาย 152 นาย บาดเจ็บ 204 นาย ตกเป็นเชลย 1,158 นาย ส่วนที่เหลือนั้นหนีไปได้ โดยระหว่างที่ทหารเดนมาร์กหนีนั้นพวกเขาต่างปารองเท้าไม้ “Clog” อันหนักอึ้งของพวกทิ้งจนเกลื่อนกลาดพื้นไปหมดจนทำให้ที่นี่ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “Clogs Battle” ทั้งการรบบนบกล้มเหลวการรบทางทะเลก็ไม่ต่างเมื่อ เรือเดนมร์กนั้นจอดเทียบอยู่แต่ในท่าและไม่พร้อมรบแม้แต่ลำเดียวทำ ฝั่งอังกฤษจึงระดมยิงใส่เมืองหลวง โคเปเฮเกน อย่างไม่ลืมหูลืมตาเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 6 กันยายน ค.ศ.1807 จนทำให้พลเมืองเสียชีวิตไปกว่า 195 คน!! ทำให้ Ernst ตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข (โดยไม่ได้รับการยินยอนจากพระเจ้า Christian VII และการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เขาถูกประหารชีวิตในภายหลัง) หลังการยอมจำนนของ โคเปเฮเกน อังกฤษสามารถยึดเรือที่อยู่ใน โคเปเฮเกน ได้หมด และพวกเขานั้นได้ยื่นข้อเสนอขอเป็นพันธมิตรกับ เดนมาร์ก อีกครั้ง แต่พระเจ้า Christian VII คงจะกริ้วมากที่อังกฤษกระทำแบบนี้จึงละทิ้งความเป็นกลางไปเป็น พันธมิตรฝรั่งเศสซะเลย!!
เรือ Bombbard ของอังกฤษกำลังระดมยิงใส่กรุง โคเปเฮเกน
ถึงแม้เหตุการณ์ในเดนมาร์กจะยังไม่สงบดีแต่ Arthur นั้นก็กำลังจะเดินทางไปยังสมรภูมิต่อไป สมรภูมิที่จะทำให้เขานั้นโด่งดังและชื่อเสียงขจรไกลมากขึ้นนั้นคือ peninsular war!! หรือ สงครามคาบสมุทรนั้นเองครับ
ปล. ถามว่าทำไมเดนมาร์กต้องโดนกระทำเช่นนี้ ทำไมอังกฤษไม่ไปบังคับชาติอื่นที่ไม่ใช่ เดนมาร์กล่ะ ถ้าถามความผมนั้นก็เพราะ ชัยภูมิของเดนมาร์กนั้นเป็นแหลมยื่นออกมาปิดทางออกทะเลบอลติก พอดีครับ ซึ่งนั้นเท่ากับจะขวางเรือที่จะแล่นเข้าออกในแถบนั้นพอดี ถ้าใครคุมเดนมาร์กได้ก็เหมือนคุมบอลติกได้ เดนมาร์กเลยกลายเป็นหมากตัวสำคัญที่ ชาติมหาอำนาจในยุโรปใช้เป็นเครื่องมือ มันก็เป็นด้วยประการฉะนี้แหละครับ 55+
ความรู้จากเพจ History of war thailand ครับ
"The Iron Duke" Part 5 : สงครามถล่มเดนมาร์ก
แต่ยุโรปกลับมาสั่นสะเทือนอีกครั้งในปี ค.ศ. 1806 เมื่อ เกิดสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 ขึ้น (War of forth coalition) โดยฝั่ง ฝรั่งเศส นั้น ต้องประมือกับ ปรัสเซีย รัสเซีย และ อังกฤษ!! นโปเลียนกรีธากองทัพอันเกรียงไกรเข้าบดขยี้ปรัสเซียซะราบคาบในเวลาอันสั้น ส่งผลทำให้สถานะความเป็นกลางของ เดนมาร์กนั้นค่อนข้างสุ่มเสี่ยง เพราะเท่ากับว่ากองทัพฝรั่งเศสสามารถจะเข้ามารุกรานเดนมาร์กได้ทันที!! นอกจากนี้นโปเลียนยังพิชิตกองทัพรัสเซียได้ที่ Friedland ทำให้รัสเซียตัดสินใจยอมลงนามในสนธิสัญญา Tilsit ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ทำให้ นโปเลียนนั้นแผ่อำนาจครอบคลุมทั้งยุโรป และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบภาคพื้นทวีปหรือ Continental System เพื่อเป็นการบอยคอตอังกฤษ กะให้อังกฤษอดตายคาเกาะนั้นแหละ 555 แน่นอนว่าทาง เดนมาร์กนั้นก็ถูกแรงกดดันจากทั้ง รัสเซีย และ ฝรั่งเศสให้ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีปแต่โดยดี และก็เข้าอีหรอปเดิมครับ นั้นคือ อังกฤษนั้นก็ยื่นคำขาดมายัง เดนมาร์คเช่นกัน และบอกว่าควรจะร่วมมือกันเป็น พันธมิตรซะ นัยน์หนึ่งนั้นคือ อังกฤษ ก็ระแวงเดนมาร์กเช่นกันครับ เนื่องจาก เดนมาร์กนั้นยังเหลือเรือจำนวนมากซึ่งหากฝรั่งเศสได้เรือเหล่านี้ไปจะก็เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาแน่นอน แต่ เดนมาร์กนั้นก็ยังไม่ให้การตอบรับใดๆกลับมาเนื่องจากยังลังเลอยู่ อังกฤษก็ส่งกองเรือมาที่ เดนมาร์กอีกครั้ง โดยเป้าหมายนั้นคือ การยกพลขึ้นบกที่เกาะ Zealand อันเป็น ที่ตั้งเมืองหลวงของ เดนมาร์ก นั้นเองครับ โดยผู้ที่นำกองทัพยกพลขึ้นบกนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนท่าน นายพล Sir Arthur Wellesley นั้นเองครับ
ในตอนนี้กองทัพหลักๆของ เดนมาร์กนั้นอยู่ที่ Holstein ทางตอนใต้ของเดนมาร์ก เนื่องจากไว้เฝ้าระวังการบุกของฝรั่งเศสที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ในเมื่ออังกฤษเล่นยกพลขึ้นบกมาที่เกาะ Zealand เอาดื้อๆอย่างงี้ก็ทำเอา พระเจ้า Christian VII แห่ง เดนมาร์ก ปวดหัวใหญ่ เขาจึงสั่งเขาได้แต่งตั้งผู้บัญชาการทัพใหม่ Ernst Peymann เพื่อเข้าต่อกรกับอังกฤษ ซึ่ง Ernst นั้นรวมไพร่พลทั้งสิ้น 7,000 นาย ทหารม้าอีก 600 นาย และปืนใหญ่อีก 13 กระบอก ในขณะที่ฝั่ง อังกฤษนั้นมี ทหารราบ อังกฤษ – เยอรมัน 6,000 นาย ประกอบด้วย ทหารม้า 1,376 นาย และปืนใหญ่ 12 กระบอก โดยกองทัพทั้ง 2 นั้นมาเจอกันทางใต้ของ โคเปเฮเกน ที่เมือง Køge ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1807 ถึงแม้กำลังจะต่างกันไม่มาก แต่กองทัพเดนมาร์กนั้นเป็นกองทัพที่ถูกตั้งได้ใหม่ๆ ขาดซึ่งประสบการณ์การฝึกฝนและขวัญกำลังใจ ซึ่งแน่นอนว่าก็ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งฟอร์มการรบอันร้อนแรงของ Arthur ได้ เขาเอาชนะกองทัพเดนมาร์กอย่างง่ายดาย โดยฝ่ายอังกฤษนั้นเสียชีวิตเพียง 29 นายเท่านั้น และบาดเจ็บเพียง 122 นาย ในขณะที่ฝ่ายเดนมาร์กตาย 152 นาย บาดเจ็บ 204 นาย ตกเป็นเชลย 1,158 นาย ส่วนที่เหลือนั้นหนีไปได้ โดยระหว่างที่ทหารเดนมาร์กหนีนั้นพวกเขาต่างปารองเท้าไม้ “Clog” อันหนักอึ้งของพวกทิ้งจนเกลื่อนกลาดพื้นไปหมดจนทำให้ที่นี่ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “Clogs Battle” ทั้งการรบบนบกล้มเหลวการรบทางทะเลก็ไม่ต่างเมื่อ เรือเดนมร์กนั้นจอดเทียบอยู่แต่ในท่าและไม่พร้อมรบแม้แต่ลำเดียวทำ ฝั่งอังกฤษจึงระดมยิงใส่เมืองหลวง โคเปเฮเกน อย่างไม่ลืมหูลืมตาเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 6 กันยายน ค.ศ.1807 จนทำให้พลเมืองเสียชีวิตไปกว่า 195 คน!! ทำให้ Ernst ตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข (โดยไม่ได้รับการยินยอนจากพระเจ้า Christian VII และการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เขาถูกประหารชีวิตในภายหลัง) หลังการยอมจำนนของ โคเปเฮเกน อังกฤษสามารถยึดเรือที่อยู่ใน โคเปเฮเกน ได้หมด และพวกเขานั้นได้ยื่นข้อเสนอขอเป็นพันธมิตรกับ เดนมาร์ก อีกครั้ง แต่พระเจ้า Christian VII คงจะกริ้วมากที่อังกฤษกระทำแบบนี้จึงละทิ้งความเป็นกลางไปเป็น พันธมิตรฝรั่งเศสซะเลย!!
ถึงแม้เหตุการณ์ในเดนมาร์กจะยังไม่สงบดีแต่ Arthur นั้นก็กำลังจะเดินทางไปยังสมรภูมิต่อไป สมรภูมิที่จะทำให้เขานั้นโด่งดังและชื่อเสียงขจรไกลมากขึ้นนั้นคือ peninsular war!! หรือ สงครามคาบสมุทรนั้นเองครับ
ปล. ถามว่าทำไมเดนมาร์กต้องโดนกระทำเช่นนี้ ทำไมอังกฤษไม่ไปบังคับชาติอื่นที่ไม่ใช่ เดนมาร์กล่ะ ถ้าถามความผมนั้นก็เพราะ ชัยภูมิของเดนมาร์กนั้นเป็นแหลมยื่นออกมาปิดทางออกทะเลบอลติก พอดีครับ ซึ่งนั้นเท่ากับจะขวางเรือที่จะแล่นเข้าออกในแถบนั้นพอดี ถ้าใครคุมเดนมาร์กได้ก็เหมือนคุมบอลติกได้ เดนมาร์กเลยกลายเป็นหมากตัวสำคัญที่ ชาติมหาอำนาจในยุโรปใช้เป็นเครื่องมือ มันก็เป็นด้วยประการฉะนี้แหละครับ 55+
ความรู้จากเพจ History of war thailand ครับ