Battle of Jena - Auerstadt "สงครามถล่มปรัสเซีย"

นับตั้งแต่ความพ่ายแพ้ของปรัสเซียในการยุทธที่ Valmy เมื่อปี ค.ศ.1793 ปรัสเซียก็ถอนตัวออกจากสงครามปฎิวัติฝรั่งเศสและไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝรั่งเศสอีกเลยนับแต่นั้น พระเจ้า Frederick William III กษัตริย์หนุ่มแห่งปรัสเซียในสมัยนั้นไม่โปรดสงคราม และเน้นนโยบายการพัฒนาภายในราชอาณาจักรซะมากกว่า บ้านเมืองในสมัยพระองค์ถือว่ารุ่งเรืองและดูร่มเย็นดี ทุกอย่างดูไปได้สวย จนกระทั่งไฟสงครามเริ่มลุกลามมาถึงปรัสเซียอีกครั้ง เมื่อ นโปเลียนได้ขึ้นมาเป็นผู้นำฝรั่งเศส สัญญาณแห่งความรุนแรงเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ฝรั่งเศสรุกราน รัฐผู้คัดเลือกให้ Hannover ในปี ค.ศ. 1803 แม้ Hannover จะมีประมุขเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ แต่เขตแดนของ Hannover ก็เป็นชายแดนของปรัสเซียพอดี การยึดครอง Hannover สร้างความหนักใจให้ปรัสเซียยิ่งหนัก แต่นั้นยังไม่จบเมื่อสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 เริ่มขึ้น นโปเลียนได้เปิดฉากนำ กองทัพอันเกรียงไกรรุกรานยุโรปตอนกลางอย่างเต็มรูปแบบ โดยเป้าหมายของ นโปเลียนคือการยกทัพเข้าล้อมกรอบกองทัพฮับร์บูร์กออสเตรียใน Ulm แต่ ก็เกิดเรื่องขึ้นเมื่อ เมื่อจอมพล Bernadotte นำกองทัพน้อยที่ 1 (Corps I) เคลื่อนทัพลงใต้จาก Hannover เข้าสู่เมือง Ansbach ของปรัสเซียเพื่อตีวงล้อมกองทัพออสเตรีบที่อยู่ในเมือง Ulm!! แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้สร้างความไม่พอใจให้กับปรัสเซียที่ละเมิดความเป็นกลางกระนั้นพระเจ้า Frederick William III ยังไม่กล้าประกาศสงครามกับฝรั่งเศสตรงๆ



พระเจ้า Frederick William III กษัตริย์ปรัสเซีย




จอมพล Jean Baptiste Jules Bernadotte แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส



ไม่พอน้องเขยของนโปเลียนจอมพล Joachim Murat ยกทัพข้าม รัฐ Cleve และ Berg ของปรัสเซียและยังไล่ตะเพิดทหารปรัสเซียที่อยู่แถวนั้นไปให้พ้นยิ่งสร้างรอยร้าวเพิ่มเติมระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย แต่ไม่นานหลังจากนั้นนโปเลียนสามารถล้อมและทำลายกองทัพออสเตรียที่อยู่ใน Ulm ได้อย่างไม่ยากเย็น และยังได้ทำลายกองทัพออสเตรีย - รัสเซียได้ในการยุทธที่ Austerlitz เมื่อวันที่ 1 - 2 ธันวาคม ค.ศ.1805 ชัยชนะที่นโปเลียนได้นั้นเด็ดขาดและออสเตรียยอมขอสงบศึกกับฝรั่งเศสไม่กี่วันให้หลังจากการยุทธ ส่วนรัสเซียหนีกลับไปเลียแผล เหตุการณ์นี้ทำให้ดุลย์อำนาจของยุโรปเริ่มสั่นคลอน นโปเลียนประกาศตั้งสหพันธรัฐลุ่มแม่น้ำไรน์ 12 กรกฎาคม ค.ศ.1806 มันคือการรวมรัฐยิบย่อยๆต่างในเยอรมันเข้าด้วยกันภายใต้การพิทักษ์ของฝรั่งเศส แน่นอนว่าย่อมกระทบกับปรัสเซียที่เป็นอาณาจักรเยอรมันที่มีอิทธิพล ...... เพราะเท่ากับว่านโปเลียนมีฐานทัพในเยอรมันและกองทัพพร้อมจ่อคอยปรัสเซียได้ตลอดเวลา แต่ นโปเลียนได้ยอมทำสัญญาตกลงกับปรัสเซียว่า จะยอมยก Hannover ให้แลกกับ Ansbach, Cleve, Neufchatel และ Wesel ที่ตนยึดไปช่วงสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 เป็นการแลกเปลี่ยนที่ว่าเจ๊าะๆกัน ซึ่งตอนแรก พระเจ้า Frederick William III ก็ตกลงตามนั้น




จอมพล Joachim Murat แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส



ในตอนแรกดูเหมือนว่าฝรั่งเศส - ปรัสเซีย ยังคุยกันรู้เรื่องแต่มีข่าวหลุดมาว่า ฝรั่งเศสเจรจากับอังกฤษเรื่องการคืน Hannover ให้อังกฤษเพื่อแลกสันติภาพ การกระทำนี้เหมือนการตบหน้าพระเจ้า Frederick William III ฉาดใหญ่ พระองค์โกธรมากที่ได้ยินข่าวนี้ ถึงกับตรัสออกมาว่า "ถ้านโปเลียนตกลงกับอังกฤษเรื่อง Hannover เขาต้องทำลายฉันแน่ๆ!!" ในตอนนี้ทั้งสภาและพระมหสีของของพระราชินี Louise ต่างยุให้กษัตริย์ปรัสเซียทำสงคราม พระเจ้า Frederick รู้ว่าลำพังกำลังรบของตนไม่พอสู้กับฝรั่งเศสเขาต้องหาพันธมิตรเพิ่มเติม ในที่สุดปรัสเซียก็ตกลงกับอังกฤษ และ รัสเซียได้ 3 ชาติมหาอำนาจของยุโรปรวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 ต่อต้านนโปเลียนอีกครั้ง

ก่อนหน้านี่ในปลายปี ค.ศ.1805 ทั้งพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 พระเจ้า Frederick William III และ พระราชินี Louise เคยพบปะกันอย่างลับๆมาก่อนที่ Potsdam ณ สุสานของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช การพบปะครั้งนี้ก็เพราะพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียต้องการให้กษัตริย์ปรัสเซียเข้าร่วมสงครามแต่แน่นอนว่าพระองค์ตัดสินใจช้าไปเกือบปี!!

ในที่สุดวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1806 ปรัสเซียก็ประกาศกร้าว่าให้เวลา 2 อาทิตย์ ฝรั่งเศสจะต้องถอนทหารออกจากฝั่งตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ให้หมดไม่งั้นเจอดีแน่ แต่ดูเหมือนพระองค์จะประมาณกำลังของตัวเองสูงไปนิสหนึ่ง

จริงอยู่ที่กองทัพปรัสเซียในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชได้ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลก แต่มาบัดนี้กาลเวลาผ่านล่วงเลยมานาน กองทัพปรัสเซียขาดการฝึกที่มากพอการทหารถูกปล่อยป่ะละเลบมานานและมีปัญหาข้อใหญ่ๆด้วยกัน 3 ประการ

1. นายทหารส่วนใหญ่ในกองทัพปรัสเซียยังคงเป็นนายทหารชราที่ผ่านศึกสมัยสงคราม 7 ปี ยกตัวอย่างเช่นา นายพลปรัสเซียในปี ค.ศ. 1806 มีทั้งสิ้น 142 คน อายุเกิน 80 ปี 4 คน เกิน 79 ปี 13 คน เกิน 62 ปี 60 คน และ 25% ของผู้บังคับการกรมทหารมีอายุเกิน 60 ปี

2. กองทัพปรัสเซียมีกำลังพลทั้งสิ้น 210,000 นาย ในปี ค.ศ.1806 แต่ ต้องแบ่งทหารกว่า 100,000 นาย ไปเฝ้าเขตโปแลนด์ที่มีปัญหาในขณะนั้นทำให้เหลือกองทัพที่จะเผชิญหน้ากับฝรั่งเศสเพียง 110,000 นาย

3. กองทัพปรัสเซียมีสายการบังคับบัญชาที่งงงวยและสับสนมาก เพราะมีเสนาธิการกองทัพถึง 3 คน ประจำ 3 กองทัพที่พระองค์แบ่งออกมา และมีแผนการณ์ทางยุทธศาสตร์ในตอนแรกถึง 5 แผนการณ์!!! ซึ่งแต่ละกองทัพมีอิสระในการดำเนินการณ์ตามแผนของตนเอง บางแผนก็ตั้งใจจะโจมตีฝรั่งเศสอย่างฉับพลันให้พ้นจากแม่น้ำไรน์ แต่เสนาธิการบางคนก็เสนอว่ากำลังรบเราน้อยกว่าให้ถอยไปทางตะวันออกเรื่อยๆเพื่อสมทบกับกองทัพรัสเซียจำนวน 120,000 นาย แต่สุดท้ายก็ยังเป็นที่ตกลงกันไม่ได้ว่าจะปฎิบัติตามแผนไหนจนสุดท้ายกลายเป็นว่าฝรั่งเศสเริ่มบุกก่อนและปรัสเซียทำได้แต่ป้องกันตนเอง... จนกระทั่ง Carl Von Clausewitz กล่าวออกมาว่า "อนาคตช่างดูริบหรี่เหลือเกิน"

มาดูทางฝั่งกองทัพฝรั่งเศสบ้าง ตั้งแต่นโปเลียนรู้ว่าต้องทำสงครามกับปรัสเซียเขาก็วางแผนจะเข้าโจมตีกองทัพปรัสเซียอย่างฉับพลันทันทีก่อนที่กองทัพรัสเซียจะตามมาสมทบ โดยนโปเลียนจะใช้ยุทธศาสตร์แบบเดียวกับที่ใช้ในสงครามครั้งก่อนคือ "การเคลื่อนทัพเข้าโจมตีอย่างฉับพลัน" และ "เคลื่อนโอบไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว" โดยกองทัพฝรั่งเศสจะเคลื่อนเข้าหากองทัพปรัสเซียอย่างว่องไว ในขณะที่อีกกองทัพจะเคลื่อนอ้อมหลังตัดขาดกองทัพปรัสเซียกับ กรุงเบอร์ลิน เคล็ดลับของความสำเร็จนี้คือการต้องเคลื่อนทัพอย่างฉับไวเกินกว่าข้าศึกจะทันตั้งตัวซึ่งฝรั่งเศสทำเรื่องนี้ได้ดีกว่าปรัสเซีย ปัจจัยแรก คือกองทัพฝรั่งเศสส่วนใหญ่ยังไม่ได้ถอนตัวกลับประเทศแต่ยังคงอยู่ในเยอรมันและตามชายแดน ปัจจัย ข้อ 2 คือ การเดินทัพ ทหารปรัสเซียเดินทัพได้วันละ 15 ไมล์ ส่วนทหารฝรั่งเศสที่ถูกฝึกมาอย่างเชี่ยวชาญและประสบการณ์โชกโชนเดินทัพได้วันล่ะ 20 - 25 ไมล์ ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1806 นโปเลียนเดินทางมาถึง Bamberg ในเยอรมันเมื่อได้ยินคำขาดจากปรัสเซียในวันต่อมา นโปเลียนประกาศเรียกรวมกำลังพลทันที!! เขาได้พูดปราศัยต่อเหล่าหน้าทหารหาญด้วยความองอาจ

"ทหารคำสั่งที่จะกลับปารีสได้ออกมาแล้ว งานฉลองชัยชนะรอพวกท่านอยู่ แต่เสียงเรียกร้องสงครามดังจาก เบอร์ลิน เราถูกกระตุ้นด้วยคำขาดอันเคืองแค้นของข้าศึก ทหาร ไม่มีใครอยากกลับฝรั่งเศสโดยไม่ได้รับเกียรติยศ!! เราจะไม่กลับจนกว่าจะได้เดินทางไปถึงซุ้มประตูชัย (น่าจะหมายถึงประตูชัยเบอร์ลิน) ทหารเราต่อสู้มาทั้งในทะเลทราย ชนะมาได้ทั้งยุโรป นำชัยชนะตั้งแต่ตะวันออกจรดตะวันตกเพื่อกลับฝรั่งเศสในฐานะ ผู้หนีภัย กระนั้นหรือ?? เราทอดทิ้งพันธมิตรและได้ยินเสียงพญาอินทรีย์แห่งฝรั่งเศสหลบหนีกองทัพปรัสเซีย กระนั้นหรือ??"

แน่นอนด้วยคำปราศรัยของนโปเลียนทำให้ทหารของเขานั้นฮึกเหิมพร้อมออกศึกอีกครั้ง!!! กองทัพฝรั่งเศสประกอบด้วยนายทหารรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ไฟแรงมีจิตใจรักชาติและรักในจักรพรรดิของพวกเขา กองทัพฝรั่งเศสมีการจัดระบบกองทัพแบบใหม่ และมีประสบการณ์โชกโชนในการสงคราม พวกเขาพร้อมรบอีกครั้ง และสงครามกำลังเกิดขึ้นในอีกไม่นาน



สหพันธรัฐแห่งลุ่มน้ำไรน์ใน ปีค.ศ.1805 (Bavaria , Wuttemburg , Hessen , Cleve และอื่นๆ) จะเห็นได้ว่าดินแดนนี้เป็นใจกลางยุโรปและมีพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างปรัสเซียและฝรั่งเศส



เดี๋ยวมาต่อครับ.....
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่