นับแต่ช่วงสงครามปฎิวัติฝรั่งเศสมาตอนนั้นเกือบทุกชาติในยุโรปตัดสินใจรุมยำฝรั่งเศสเพราะกลัวผลพวงของการปฎิวัติและแนวคิดชาตินิยมจะเผยแพร่เข้ามาในชาติตนเอง และหนึ่งในชาติที่ยกทัพมายำฝรั่งเศสด้วยก็คือ รัสเซีย ... .ในปี ค.ศ. 1799 พระเจ้าซาร์พอลที่ 1 ได้ร่วมมือกับอังกฤษในการรุกรานฮอลแลนด์ (ซึ่งเป็นพันธมิตรฝรั่งเศสในตอนนั้น) แต่แล้วแผนการณ์การก็พังทลายเนื่องด้วยสภาพอากาศเลวร้าย ทหารรัสเซียกว่า 3 ใน 4 ของปฏิบัติการณ์ถูกทิ้งไว้ในฮอลแลนด์โดยปราศจากความช่วยเหลือจากเรือรบอังกฤษ เหตุการณ์นี้ท ำให้ความสัมพันธอังกฤษ - รัสเซียแย่ลง และความสัมพันธของอังกฤษก็สะบั้นลงเมื่ออังกฤษไม่ยอมมอบเกาะมอลต้าร์ให้ คณะอัศวิน St. John หลังจากที่ยึดเกาะนี้จากฝรั่งเศสได้ ไม่พอเรือรบของอังกฤษยังได้เข้ายึดและทำลายเรือสินค้าของเดนมาร์กในคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ ทำให้พระเจ้าซาร์พอลที่ 1 หวาดระแวงอิทธิพลอำนาจทางทะเลของอังกฤษที่ แพร่ขยายไปทั้ง เมดิเตอร์เรเนียน และ ทะเลบอลติก!!
พระเจ้าซาร์พอล จัดตั้ง League of Armed Neutrality โดยมี สวีเดน ปรัสเซีย และ เดนมาร์ก เป็น พันธมิตร จุดประสงค์การตั้งสหพันธ์นี้ก็เพื่อดุลย์อำนาจทางทะเลกับอังกฤษและบล๊อคการค้าขายทางทะเลกับอังกฤษ ยังไม่พอพระเจ้าซาร์ยังเริ่มทำการติดต่อลับๆกับศัตรูเก่า อย่าง นโปเลียน เพื่อประสานความร่วมมือในการบล๊อคการค้าขายกับอังกฤษ และทั้งคู่ยังมีแผนการณ์ลับร่วมกันซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปฎิบัติการณ์ทางทหารที่หากมันสำเร็จแล้วย่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกนี้ใหญ่หลวงเลยทีเดียว นั้นคือ การรุกราน British India!!
โดยแผนการณ์นี้เป็นแผนที่เป็นการตกลงอย่างลับๆระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย โดยจะใช้กำลังพลจากรัสเซีย 35,000 นาย สนับสนุนด้วยทหารม้า Cossack อีก 20,000 และ ทหารฝรั่งเศสอีก 35,000 นาย ภายใต้การบัญชาการของ นายพล André Masséna กองทัพฝรั่งเศสจะเดินทัพตามแม่น้ำดานูบ และข้ามทะเลดำ ไปพบกับกองทัพรัสเซียที่เมือง Astrakhan ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัสเซีย หลังจากนั้นกองทัพ ฝรั่งเศส - รัสเซียจะล่องเรือข้ามทะเลสาบแคสเปียนไปเทียบท่าที่ Astrabad ใน เปอร์เซีย ซึ่งจะเป็นศูนย์การบัญชาการของกองทัพพันธมิตร หลังจากเดินทัพทั้งหมด 15 วัน พวกเขาก็จะเดินทางถึง อัฟกานิสถาน และจะไปถึง British India....
ข้ามโลกกันเลยทีเดียว
แต่แผนการณ์นี้นับว่าเสี่ยงมาที่กองทัพทั้ง 2 ต้องเดินทางไกลข้ามโลกขนาดนี้โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่ต้องเดินทัพไกลกว่า 7,000 กิโลเมตร!!! นโปเลียนค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับแผนการณ์นี้เช่นกัน เขาจึงได้ซักถามความเสี่ยงที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
และนี้คือคำถามที่นโปเลียนถามพระเจ้าซาร์พอล
1. มีเรือพอจะรองรับทหารฝรั่งเศสที่จะล่องจากแม่น้ำดานูบออกสู่ทะเลดำหรือไม่
2. สุลต่านแห่งออตโตมันจะยอมให้ข้าพเจ้ายกทัพผ่านดินแดนเขาหรือไม่ และเขาจะให้ความช่วยเหลือในการเดินทัพครั้งนี้หรือไม่
3.มีเรือพอจะรองรับทหารฝรั่งเศส - รัสเซีย ร่วมแสนในการข้ามทะสาบแคสเปียนและทะเลดำพอหรือไม่
4.หากจอมพลเรือ Keith (ผู้บัญชาการกองเรืออังกฤษในเมดิเตอร์เนียน) ทราบถึงการเดินทางนี้ เขาจะต้องส่งกองเรือเข้ามาในทะเลดำและทำลายกองเรือฝรั่งเศสเป็นแน่
5.ถึงแม้จะเดินทาง Astrabard ในเปอร์เซีย แต่มั่นใจได้ยังไงว่าก็ทัพของเราจะเดินทางถึงอินเดีย เพราะดินแดนรอบๆนั้นทั้งป่าเถื่อนและยังไม่ได้รับการสำรวจใดๆมาก่อน
ทางพระเจ้าซาร์ได้ตอบกลับนโปเลียนด้วยคำตอบดังนี้
1.เป็นการง่ายที่จะจัดหาเรือมากพอที่จะขนทหารมาตามแม่น้ำดานูบโดยใช้เรือจากท่าที่ Walachia และ Moldavia
2.ผมได้ตกลงกับสุลต่านไว้แล้ว
3. ทางจักรพรรดิรัสเซียมีเรือน้อยใหญ่กว่า 300 ลำในทะเลดำและแคสเปียน โลกต่างตระหนักดี่ว่ารัสเซียครองทะเลดำ
4.ถ้าสุลต่านแห่งออตโตมันยอมปล่อยให้พวกอังกฤษข้ามช่องแคบ ดาร์ดะเนลส์ มา รัสเซียก็จะส่งกองเรือเข้าขัดขวางอังกฤษอย่างเต็มที่ (อย่างที่เขาบอกไปข้างต้น รัสเซียเป็นเจ้าทะเลดำ)
5.ทางเดินระหว่าง Astrabard ในเปอร์เซียไปถึงลุ่มน้ำสินธุ เป็นเส้นทางที่กองคาราวานผ่านเป็นปกติ หนทางต่างอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วย ลำน้ำ อาหาร ผลไม้ และสัตว์ป่า อุปสรรคอย่างเดียวคือระยะทางที่ยาวไกลต้องใช้เวลา 35 -40 วันกว่าจะเดินทางถึง อินเดีย แต่ด้วยความ กล้าหาญ อดทน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของทหารฝรั่งเศส – รัสเซีย อุปสรรคนี้ย่อมไม่ใช่ปัญหาสำหรับพวกเขา
พระเจ้าซาร์พอลที่ 1
ด้วยคำตอบทั้ง 5 ข้อนี้แสดงว่า พระเจ้าซาร์นั้นเตรียมตัวมาดีพอสมควรในการบุกรุกอินเดีย ก่อนหน้านี้เขาได้ติดต่อกับผู้ปกครองรัฐอินเดียแถบนั้นหลายคนว่าอย่าขัดขวางการเดินทัพของพันธมิตรจุดประสงค์ของพวกเขาคือการรุกราน British India ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็ยอมตกลงด้วย และตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1799 รัสเซียได้ตั้งสถานีการค้าในแถบทางตอนเหนืออินเดียคล้ายๆกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ .. เพื่อเป็นการกรุยทางสู่การปฎิบัติการณ์ทางการทหารในอนาคต การเดินทัพครั้งนี้นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแล้วยังมีจุดประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ด้านการค้าขายนั้นทั้ง รัสเซีย ฝรั่งเศสก็อยากติดต่อค้าขายกับอินเดีย แต่กระทำได้ไม่สะดวกเพราะมีอังกฤษขวางคออยู่ การรุกรานอินเดียจึงเปรียบเสมียนเปิดประตูรับสินค้าทางตะวันออกที่หลั่งไหลเข้ามา นอกจากนี้ยังจะมีการส่งทั้งนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ร่วมในการเดินทัพครั้งนี้ด้วย จุดประสงค์ก็เพื่อการซึมซับเอาวัฒนธรรมของอินเดียนั้นเอง ถ้าแผนการครั้งนี้สำเร็จมันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกมหาศาลเลยทีเดียว
ในเดือนมกราคม ค.ศ.1801 พระเจ้าซาร์มีคำสั่งให้ Vasily Petrovich Orlov นายพลผู้บัญชาการกองทหารม้า Cossack นำกองทหารม้า Cossack ร่วม 20,000 เข้าไปในเอเชียกลางเพื่อเตรียมการบุก British India ขั้นแรก แต่เมื่อเข้าไปถึงบริเวณทะเลสาบอารัล กลับได้ข่าวว่าพระเจ้าซาร์พอลที่ 1 ถูกลอบสังหารและเสียชีวิต เขาเลยหยุดและถอนทัพกลับทันที และแผนการบุกรุกอินเดียก็ตายไปพร้อมกับพระเจ้าซาร์ นโปเลียนเองก็หมดโอกาสบุกอินเดีย เพราะลูกของเขาพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็หันไปจับมือกับอังกฤษและรบกับ นโปเลียนอีกครั้ง ........
แผนลับระหว่าง ฝรั่งเศส - รัสเซีย การรุกรานอินเดียของพระเจ้าซาร์พอลที่ 1
พระเจ้าซาร์พอล จัดตั้ง League of Armed Neutrality โดยมี สวีเดน ปรัสเซีย และ เดนมาร์ก เป็น พันธมิตร จุดประสงค์การตั้งสหพันธ์นี้ก็เพื่อดุลย์อำนาจทางทะเลกับอังกฤษและบล๊อคการค้าขายทางทะเลกับอังกฤษ ยังไม่พอพระเจ้าซาร์ยังเริ่มทำการติดต่อลับๆกับศัตรูเก่า อย่าง นโปเลียน เพื่อประสานความร่วมมือในการบล๊อคการค้าขายกับอังกฤษ และทั้งคู่ยังมีแผนการณ์ลับร่วมกันซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปฎิบัติการณ์ทางทหารที่หากมันสำเร็จแล้วย่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกนี้ใหญ่หลวงเลยทีเดียว นั้นคือ การรุกราน British India!!
โดยแผนการณ์นี้เป็นแผนที่เป็นการตกลงอย่างลับๆระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย โดยจะใช้กำลังพลจากรัสเซีย 35,000 นาย สนับสนุนด้วยทหารม้า Cossack อีก 20,000 และ ทหารฝรั่งเศสอีก 35,000 นาย ภายใต้การบัญชาการของ นายพล André Masséna กองทัพฝรั่งเศสจะเดินทัพตามแม่น้ำดานูบ และข้ามทะเลดำ ไปพบกับกองทัพรัสเซียที่เมือง Astrakhan ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัสเซีย หลังจากนั้นกองทัพ ฝรั่งเศส - รัสเซียจะล่องเรือข้ามทะเลสาบแคสเปียนไปเทียบท่าที่ Astrabad ใน เปอร์เซีย ซึ่งจะเป็นศูนย์การบัญชาการของกองทัพพันธมิตร หลังจากเดินทัพทั้งหมด 15 วัน พวกเขาก็จะเดินทางถึง อัฟกานิสถาน และจะไปถึง British India....
แต่แผนการณ์นี้นับว่าเสี่ยงมาที่กองทัพทั้ง 2 ต้องเดินทางไกลข้ามโลกขนาดนี้โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่ต้องเดินทัพไกลกว่า 7,000 กิโลเมตร!!! นโปเลียนค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับแผนการณ์นี้เช่นกัน เขาจึงได้ซักถามความเสี่ยงที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
และนี้คือคำถามที่นโปเลียนถามพระเจ้าซาร์พอล
1. มีเรือพอจะรองรับทหารฝรั่งเศสที่จะล่องจากแม่น้ำดานูบออกสู่ทะเลดำหรือไม่
2. สุลต่านแห่งออตโตมันจะยอมให้ข้าพเจ้ายกทัพผ่านดินแดนเขาหรือไม่ และเขาจะให้ความช่วยเหลือในการเดินทัพครั้งนี้หรือไม่
3.มีเรือพอจะรองรับทหารฝรั่งเศส - รัสเซีย ร่วมแสนในการข้ามทะสาบแคสเปียนและทะเลดำพอหรือไม่
4.หากจอมพลเรือ Keith (ผู้บัญชาการกองเรืออังกฤษในเมดิเตอร์เนียน) ทราบถึงการเดินทางนี้ เขาจะต้องส่งกองเรือเข้ามาในทะเลดำและทำลายกองเรือฝรั่งเศสเป็นแน่
5.ถึงแม้จะเดินทาง Astrabard ในเปอร์เซีย แต่มั่นใจได้ยังไงว่าก็ทัพของเราจะเดินทางถึงอินเดีย เพราะดินแดนรอบๆนั้นทั้งป่าเถื่อนและยังไม่ได้รับการสำรวจใดๆมาก่อน
ทางพระเจ้าซาร์ได้ตอบกลับนโปเลียนด้วยคำตอบดังนี้
1.เป็นการง่ายที่จะจัดหาเรือมากพอที่จะขนทหารมาตามแม่น้ำดานูบโดยใช้เรือจากท่าที่ Walachia และ Moldavia
2.ผมได้ตกลงกับสุลต่านไว้แล้ว
3. ทางจักรพรรดิรัสเซียมีเรือน้อยใหญ่กว่า 300 ลำในทะเลดำและแคสเปียน โลกต่างตระหนักดี่ว่ารัสเซียครองทะเลดำ
4.ถ้าสุลต่านแห่งออตโตมันยอมปล่อยให้พวกอังกฤษข้ามช่องแคบ ดาร์ดะเนลส์ มา รัสเซียก็จะส่งกองเรือเข้าขัดขวางอังกฤษอย่างเต็มที่ (อย่างที่เขาบอกไปข้างต้น รัสเซียเป็นเจ้าทะเลดำ)
5.ทางเดินระหว่าง Astrabard ในเปอร์เซียไปถึงลุ่มน้ำสินธุ เป็นเส้นทางที่กองคาราวานผ่านเป็นปกติ หนทางต่างอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วย ลำน้ำ อาหาร ผลไม้ และสัตว์ป่า อุปสรรคอย่างเดียวคือระยะทางที่ยาวไกลต้องใช้เวลา 35 -40 วันกว่าจะเดินทางถึง อินเดีย แต่ด้วยความ กล้าหาญ อดทน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของทหารฝรั่งเศส – รัสเซีย อุปสรรคนี้ย่อมไม่ใช่ปัญหาสำหรับพวกเขา
ด้วยคำตอบทั้ง 5 ข้อนี้แสดงว่า พระเจ้าซาร์นั้นเตรียมตัวมาดีพอสมควรในการบุกรุกอินเดีย ก่อนหน้านี้เขาได้ติดต่อกับผู้ปกครองรัฐอินเดียแถบนั้นหลายคนว่าอย่าขัดขวางการเดินทัพของพันธมิตรจุดประสงค์ของพวกเขาคือการรุกราน British India ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็ยอมตกลงด้วย และตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1799 รัสเซียได้ตั้งสถานีการค้าในแถบทางตอนเหนืออินเดียคล้ายๆกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ .. เพื่อเป็นการกรุยทางสู่การปฎิบัติการณ์ทางการทหารในอนาคต การเดินทัพครั้งนี้นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแล้วยังมีจุดประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ด้านการค้าขายนั้นทั้ง รัสเซีย ฝรั่งเศสก็อยากติดต่อค้าขายกับอินเดีย แต่กระทำได้ไม่สะดวกเพราะมีอังกฤษขวางคออยู่ การรุกรานอินเดียจึงเปรียบเสมียนเปิดประตูรับสินค้าทางตะวันออกที่หลั่งไหลเข้ามา นอกจากนี้ยังจะมีการส่งทั้งนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ร่วมในการเดินทัพครั้งนี้ด้วย จุดประสงค์ก็เพื่อการซึมซับเอาวัฒนธรรมของอินเดียนั้นเอง ถ้าแผนการครั้งนี้สำเร็จมันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกมหาศาลเลยทีเดียว
ในเดือนมกราคม ค.ศ.1801 พระเจ้าซาร์มีคำสั่งให้ Vasily Petrovich Orlov นายพลผู้บัญชาการกองทหารม้า Cossack นำกองทหารม้า Cossack ร่วม 20,000 เข้าไปในเอเชียกลางเพื่อเตรียมการบุก British India ขั้นแรก แต่เมื่อเข้าไปถึงบริเวณทะเลสาบอารัล กลับได้ข่าวว่าพระเจ้าซาร์พอลที่ 1 ถูกลอบสังหารและเสียชีวิต เขาเลยหยุดและถอนทัพกลับทันที และแผนการบุกรุกอินเดียก็ตายไปพร้อมกับพระเจ้าซาร์ นโปเลียนเองก็หมดโอกาสบุกอินเดีย เพราะลูกของเขาพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็หันไปจับมือกับอังกฤษและรบกับ นโปเลียนอีกครั้ง ........